‘2050’ คือปีชี้ชะตาว่าโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป
ก่อนหน้านั้นมีการศึกษาว่าโลกจะเปลี่ยนไปตลอดกาลหากอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม 1.5 °C เมื่อเทียบกับช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม น่าตกใจที่ปัจจุบันอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.1 °C แล้ว ซึ่งนั่นทำให้ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีใครอยากเจออาจมาเยือนเร็วกว่านั้น ในปี 2040
คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ยังรายงานอีกว่า 5 ปีที่ผ่านมาโลกร้อนขึ้นที่สุดในประวัติศาสตร์ อัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลครั้งล่าสุดมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า ในขณะที่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรต่างๆ ว่าไว้ไม่ทันการณ์เสียแล้ว เพราะนี่คือวิกฤติเร่งด่วน
โลกบอบช้ำไปแล้วแค่ไหนในหลายศตวรรษที่ผ่านมา เราขอชวนไปสำรวจมุมต่างๆ ชมภาพของโลกที่ไม่มีใครใฝ่ฝัน
กรุงมอสโก, รัซเซีย
27 กุมภาพันธ์ 2009
เป็ดตัวน้อยแหวกว่ายบนผืนน้ำมอสควา ใจกลางกรุงมอสโก ซึ่งเต็มไปด้วยคราบน้ำมัน หลังโฆษกกระทรวงคมนาคมไอร์แลนด์เผยว่ากองทัพเรือรัสเซียออกมายอมรับสารภาพและแสดงความรับผิดชอบ หลังจากที่ทำให้น้ำมัน 500 ตันรั่วไหลไปยังชายฝั่งทางใต้ของไอร์แลนด์
แคนาดา
29 มิถุนายน 2019
เรือตกปลาของเอ็ดเวิร์ด คีน (Edward Kean) กำลังเคลื่อนผ่านภูเขาน้ำแข็งในอ่าวโบนาวิสตา นิวฟาวด์แลนด์ ประเทศแคนาดา “พวกเรากำลังตีตลาดนีชของผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพ” อดีตนักดับเพลิงที่ผันตัวมาเป็นนักล่าน้ำจากภูเขาน้ำแข็งกล่าว
เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่เขาล่องเรือตกปลาไปตามมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือเพื่อนำน้ำแข็งมาละลายเป็นน้ำและขายให้กับพ่อค้าท้องถิ่น โดยที่มีลูกค้ารอซื้อมากมายทั้งโรงงานวอดก้า ไซเดอร์ สุรา เบียร์ และเครื่องสำอาง รวมถึงบริษัทน้ำขวดด้วย เนื่องจากน้ำดื่มจากภูเขาน้ำแข็งขึ้นชื่อเรื่องความบริสุทธิ์ จนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ระดับไฮเอนด์ที่ไม่มีใครเหมือน
เตกูซิกัลปา, ฮอนดูรัส
22 พฤษภาคม 2013
ตุ๊กตาเก่านอนแน่นิ่งอยู่บนพื้นเขื่อนลอสลอเรเลส ทางใต้ของเตกูซิกัลปา เมืองหลวงของฮอนดูรัส ที่ปัจจุบันน้ำแห้งขอด ผืนดินแตกระแหง
เขื่อนหลักสองเขื่อนแห่งนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญของเมือง ซึ่งกักเก็บน้ำไว้สำหรับประชากรกว่าล้านชีวิต แต่ระดับน้ำซึ่งแห้งเหือดลงอย่างวิกฤติหลังประสบภัยแล้งเมื่อ 8 เดือนก่อน
เขื่อนลอสลอเรเลสจุน้ำได้ทั้งถึง 10.5 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ตอนนี้จุได้เพียง 2.5 ล้านลูกบาสก์เมตร ส่วนเขื่อนลากอนเซ็ปซิออนที่จุดได้ 33 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็จุได้เพียง 40% ของที่เคยจุได้เท่านั้น
บิตอลา, สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ
15 ธันวาคม 2009
ฝูงหมูกำลังกินขยะเน่าเสียที่ถูกทิ้งใกล้ๆ กับหอทำความเย็นของโรงไฟฟ้าถ่านหินทางใต้ของเมืองบิตอลา ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของสาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ ห่างจากสกอเปียซึ่งเป็นเมืองหลวง 200 กิโลเมตร
จากการประชุมสมัชชารัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กรุงโคเปนเฮเกน เมื่อ 18 ธันวาคม 2009 พวกเขาหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลงกว่านี้ให้ได้
โปรตุเกส
8 สิงหาคม 2003
เฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่งบรรทุกน้ำบินอยู่เหนือเนินเขาที่กำลังลุกไหม้บริเวณเมืองซีอา ใจกลางโปรตุเกส นักดับเพลิงเข้าควบคุมเพลิงได้มากกว่าเดิม ท่ามกลางไฟป่าที่ยังรุนแรงลุกลามไปทั่วโปรตุเกส อย่างไรก็ตามนักพยากรณ์อากาศยังคงเตือนว่าอุณหภูมิจะสูงขึ้น และในตอนนั้นมีผู้เสียชีวิตรวมแล้วทั้งหมด 14 ราย
เกาะเสม็ด ประเทศไทย
31 กรกฏาคม 2013
พลั่วของเหล่าอาสาสมัครทำความสะอาดปักอยู่บนชายหาดของอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด ที่เปลี่ยนเป็นสีดำเพราะเต็มไปด้วยคราบน้ำมันดิบปกคลุม
นักสิ่งแวดล้อมชี้ว่าบริษัทพลังงานของไทยพยายามปกปิดความจริงเรื่องขอบเขตของน้ำมันที่รั่วไหลจากท่อส่งน้ำมันหลัก ส่วนทางกองทัพเรือออกมาเตือนว่าคราบน้ำมันอาจซัดไปถึงผืนแผ่นดิน
นักท่องเที่ยวพากันเคลื่อนพลออกจากเกาะเสม็ดทางฝั่งอ่าวไทย ในขณะที่เหล่าคนงานที่มาในชุดป้องกันเต็มยศกำลังใช้สายยาง ถังน้ำ และพลั่วทำความสะอาดชายหาดที่อดีตเคยงดงาม แต่ปัจจุบันกลับเป็นสีดำทั้งผืนเพราะคราบน้ำ
เบงกาลูรู, อินเดีย
20 มีนาคม 2012
คนงานคนหนึ่งเดินอยู่ท่ามกลางฝุ่นควันจากท่อขุดเจาะบาดาลลงผืนดินบริเวณชานเมืองเบงกาลูรู เนื่องในโอกาส ‘วันน้ำโลก’ 22 มีนาคมของทุกปี
เมืองทั้ง 6 ของอินเดียได้แก่ มุมไบ เดลี โกลกาตา เบงกาลูรู เจนไน และไฮเดอราบัด เป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำมากที่สุด
ผลการศึกษาคาดว่าในปี 2050 ผู้คนกว่า 119 ล้านชีวิตบนลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเพียงแห่งเดียวกำลังจะเผชิญกับวิกฤติขาดแคลนน้ำในปีดังกล่าว แม้ว่าจะมีฤดูมรสุมทุกๆ ปี ทำให้อินเดียไม่ขาดแคลนน้ำแน่ๆ แต่จะทำอย่างไรที่จะใช้น้ำที่มีอยู่ให้เพียงพอตั้งแต่ฤดูฝนจนไปถึงฤดูร้อน
รีโอเดจาเนโร, บราซิล
13 มีนาคม 2013
ปลาตายมหาศาลลอยอยู่เหนือผิวน้ำของทะเลสาบโรดริโก เด เฟรย์ตัส ข้างๆ กับภูเขาคอร์โควาโดในรีโอเดจาเนโร
นิวเดลี อินเดีย
4 เมษายน 2008
เด็กชายชาวอินเดียกำลังงมหาเหรียญในแม่น้ำยมุนาที่มีโฟมฟูฟ่อง ซึ่งเกิดจากมลพิษทางน้ำ
กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียเป็นผู้ร้ายตัวฉกาจของมลพิษทางน้ำครั้งนี้ เนื่องจาก 79% ของของเสียในแม่น้ำทั้งหมดที่ไหลลงสู่แม่น้ำยมุนามาจากแหล่งน้ำในเมืองใหญ่ทั้งสิ้น
แม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะใช้งบเป็นล้านในการทำความสะอาดแม่น้ำ และสร้างสถานีบำบัดน้ำเสีย ทว่ามลพิษในแม่น้ำก็เอาแต่ทำท่าจะเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ
คริชิม บัลแกเรีย
25 เมษายน 2009
อาสาสมัครพยายามทำความสะอาดเขื่อนกั้นน้ำวาชะ แถบเมืองคริชิม ที่เต็มไปด้วยขวดพลาสติกและขยะที่มาบดบังการไหลของน้ำในเขื่อน
นิวเฮเวน, สหราชอาณาจักร
8 กุมภาพันธ์ 2016
คลื่นสูงซัดเหนือหอประภาคารเมืองนิวเฮเวน ชายฝั่งทางใต้ของอังกฤษ หลังจากี่พายุเพิ่งพัดเข้าถล่มประเทศ ลมกรรโชกแรงโหมกระหน่ำทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของยุโรป ทำให้ทางใต้ของอังกฤษต้องปิดถนน ระงับใช้ทางรถไฟและบริการเรือเฟอร์รี่ ทั้งยังแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังคลื่นสูงทางฝั่งภูมิภาคบริตทานีของฝรั่งเศส
พายุ ฝนฟ้ากระหน่ำ และความเร็วลม 155 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โจมตีทางใต้ของอังกฤษและเวลส์ ทำให้ 50 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม
จิงเหมิน, จีน
3 ธันวาคม 2009
เบื้องหลังของพนักงานที่กำลังเดินทอดน่องคือโทรทัศน์เครื่องเก่ากองพะเนินเป็นภูเขาที่ Green Eco-Manufacture โรงงานรีไซเคิลเครื่องใช้ในบ้านแห่งใหญ่ที่สุดของจีน ที่ตั้งอยู่ในเมืองจิงเหมิน ใจกลางมณฑลหูเปย์
โฆษกรัฐบาลกล่าวอ้างอิงตามงานศึกษาทางวิชาการว่า ประเทศจีนจะต้องลงทุนมากกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อปีเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ตามเป้า ซึ่งปักกิ่งตั้งเป้าหมายไว้ก่อนที่เหล่าผู้นำโลกจะมาประชุมกันที่โคเปนเฮเกนในเดือนนี้ เพื่อถกประเด็นเรื่องสนธิสัญญาโลกร้อนฉบับใหม่ที่จะมาแทนพิธีสารโตเกียวฉบับเก่าซึ่งกำลังจะหมดอายุในปี 2012
มาเทปุระ, อินเดีย
7 กันยายน 2008
ภาพถ่ายทางอากาศจากเฮลิคอปเตอร์บรรเทาทุกข์ของกองทัพอากาศอินเดียเผยให้เห็นฝูงวัวจำนวนหนึ่งติดแหงกอยู่บนเกาะเล็กๆ ที่ล้อมรอบด้วยน้ำท่วม ในอำเภอมาเทปุระ รัฐพิหาร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย
อินเดียกำลังพยายามอย่างหนักเพื่อจะให้อาหารและล้อมคอกสัตว์ เนื่องจากชาวบ้านเกือบล้านคนต้องระหกระเหินออกจากบ้านเพราะน้ำท่วม ในขณะที่ความช่วยเหลือเริ่มส่งไม่ถึง ประชากรราว 900,000 คนต้องอพยพออกจากบ้านด้วยเรือ หลังจากที่แม่น้ำโกสีย์เปลี่ยนเส้นทางทะลักข้ามแนวป้องกันทางชายแดนเนปาล
ปิซ่า, อิตาลี
26 มกราคม 2011
ชายคนหนึ่งกำลังถ่ายภาพวาฬขนาด 25 เมตร ที่ขึ้นมาเกยตื้นตายบนชายหาดของสวนสาธารณะซานรอสโซเร เมืองปิซ่า
สาเก, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
28 กันยายน 2019
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF (World Wildlife Fund) ผู้จัดการโครงการ Ecomakala เยือนป่ายูคาลิปตัสทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งส่วนหนึ่งของต้นไม้ที่นี่ถูกนำไปเผาถ่าน
ในจังหวัดนอร์ทกีวู การผลิตถ่านคือหนึ่งในภัยคุกคามต่อการอนุรักษ์ต้นยูคาลิปตัสในอุทยานแห่งชาติวิรุงกา (Virunga National Park) อีกทั้งการค้าถ่านยังเป็นรายได้หลักของกลุ่มติดอาวุธอีกด้วย