pe©ple

“จักรพรรดิแห่งวงการสถาปนิกญี่ปุ่น”

คือคำยกย่องอันคู่ควรที่ อาราตะ อิโซซากิ (Arata Isozaki) สถาปนิกรุ่นเก๋าวัย 87 ปี ของแดนอาทิตย์อุทัย ได้รับจาก ทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando)* สถาปนิกรุ่นน้องชื่อดังของโลก

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
อาราตะ อิโซซากิ (photo: https://news.yahoo.com)

เพราะอิโซซากิเป็นเจ้าของผลงานสถาปัตยกรรมชื่อดังมากกว่า 100 แห่งทั่วโลก อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในนครลอสแอนเจลิส หอประชุมแห่งชาติในประเทศการ์ต้า สนามกีฬาปาเลา เซนต์ ฆอดีย์ในบาร์เซโลนา ซึ่งเป็นสถานที่จัดโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1992 ที่สเปน หอสมุดกลางคิตะคิวชูและตึกศิลปะมิโตะในญี่ปุ่น พิพิธภัณฑ์ศิลปะไฟน์อาร์ตในปักกิ่ง พิพิธภัณฑ์โดมุสในประเทศสเปน ซึ่งล้วนแล้วมีเอกลักษณ์และดีไซน์ล้ำกว่ายุคสมัย

หอประชุมแห่งชาติในประเทศการ์ต้า (photo: https://www.amlak.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยในนครลอสแอนเจลิส (photo: https://culturacolectiva.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
สนามกีฬาปาเลา เซนต์ ฆอดีย์ในบาร์เซโลนา (photo: https://www.archdaily.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
หอสมุดกลางคิตะคิวชู ในประเทศญี่ปุ่น (photo: https://www.dezeen.com)

นอกจากนี้ งานออกแบบระดับอินเตอร์และท้องถิ่นของเขายังสะท้อนสภาพสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด จนทำให้ปี 2019 นี้ เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize)* รางวัลเกียรติยศสูงสุดของวงการสถาปัตยกรรมโลก ซึ่งเขาบอกติดตลกว่า “รู้สึกเหมือนได้มงกุฎไว้สำหรับวางบนหลุมศพ” 

อาราตะ อิโซซากิ นับเป็นคนญี่ปุ่นคนที่ 8 ที่คว้ารางวัลใหญ่นี้ ตั้งแต่มีการมอบรางวัลครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1979

อะไรคือเบื้องหลังและแรงบันดาลใจการทำงานของ ‘จักรพรรดิแห่งวงการสถาปนิกญี่ปุ่น’ คนนี้

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
(photo: https://www.nytimes.com)

จากเด็กหนีตายสงครามสู่สนามสถาปนิก

“ผมโตในจุดศูนย์กลางระเบิดปรมาณู”

อิโซซากิเคยเล่าถึงชีวิตวัยเด็กของเขาในบ้านเกิดที่เมืองโออิตะ บนเกาะคิวชู ซึ่งอยู่ใกล้ฮิโรชิม่า ในวัย 14 ปี เขาต้องเผชิญความยากลำบากในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ามกลางซากปรักหักพังที่ราบเป็นหน้ากลองเพราะระเบิดปรมาณู  

แรงบันดาลใจในเส้นทางอาชีพสถาปนิกของเขา จึงไม่ได้มาจากสถาปัตยกรรมหรืออาคารบ้านเรือนอันสวยงาม หากแต่เป็นคำถามที่เกิดในใจ ท่ามกลางบรรยากาศช่วงสงครามที่มีเพียงค่ายทหารและบ้านพักชั่วคราวของผู้ประสบภัยว่า

“ผู้คนจะสร้างบ้านและฟื้นฟูเมืองใหม่อีกครั้งได้อย่างไร”

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
(ขวา) อาราตะ อิโซซากิ ในวัยเด็ก (photo: https://www.pritzkerprize.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
อาราตะ อิโซซากิ ในวัยหนุ่ม (photo: https://www.pritzkerprize.com)

จากคำถามในวันนั้น ทำให้เด็กไร้บ้านคนนี้เลือกเรียนสถาปัตยกรรมที่มหาวิทยาลัยโตเกียวจนจบปริญญาเอก และเติบโตในหน้าที่การงานอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้มีโอกาสทำงานกับสถาปนิกชื่อดังในอดีตหลายคน เช่น Kenzo Tange สถาปนิกผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งสถาปัตยกรรมหลังสงครามของญี่ปุ่น โดยผลงานในช่วงแรกของอิโซซากิในช่วงแรก เริ่มจากโปรเจกต์พัฒนาบ้านเกิดที่ญี่ปุ่นก่อน

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
ผลงาน Art Tower Mito ของอาราตะ อิโซซากิ ตั้งอยู่ในเมืองมิโตะ จังหวัดอาบารากิ อยู่ห่างจากโตเกียวออกไปไม่ไกล (photo: https://www.artrabbit.com)
ห้องสมุดที่เมืองโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น สร้างเมื่อปีค.ศ.1962 ผลงานสไตล์ Brutalism ของอาราตะ อิโซซากิ (photp: http://fuckyeahbrutalism.tumblr.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
ห้องสมุดกลางของเมืองคิตะคิวชู (photo: http://www.arquitecturaviva.com)

มากกว่าตึกอาคาร คือสถาปัตยกรรมสะท้อนสังคม

อิโซซากิตั้งบริษัท Arata Isozaki & Associates ในปีค.ศ.1963 และมีผลงานอันโดดเด่นอยู่ทั่วโลก ทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และออสเตรเลีย โดยมีคอนเซปต์การออกแบบสถาปัตยกรรม คือ ‘invisible’ ที่เน้นความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งเขาเคยเปรียบเทียบงานของเขาเสมือนจักรวาล

“การออกแบบสถาปัตยกรรมเริ่มจากความว่างเปล่า และกลายเป็นบางสิ่ง และกลับเป็นความว่างเปล่าอีกครั้ง”

“การออกแบบสถาปัตยกรรมเริ่มจากความว่างเปล่า และกลายเป็นบางสิ่ง และกลับเป็นความว่างเปล่าอีกครั้ง”

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
(photo: https://www.straitstimes.com)

นอกจากนี้ ตึกอาคารที่อิโซซากิออกแบบยังเต็มไปด้วยความหมาย สัญลักษณ์ รวมทั้งสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วยดีไซน์สุดล้ำที่ผสมผสานระหว่างสไตล์ตะวันตก ตะวันออก ความโมเดิร์นสุดล้ำทั้งในระดับโลกและท้องถิ่นเข้าด้วยกัน รวมทั้งศาสตร์ต่างๆ อย่างปรัชญา ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ Domus ในประเทศสเปน
(photo: https://www.archdaily.com)
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
หอจัดแสดงคอนเสิร์ตนารา สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ.1992-เมือง Nara ประเทศญี่ปุ่น
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
เซี่ยงไฮ้คอนเสิร์ตฮอลล์ ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน (photo: https://www.designboom.com)

สถาปนิกรุ่นเก๋าขวัญใจคนรุ่นใหม่

อิโซซากิได้ชื่อว่าเป็นสถาปนิกที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาสถาปัตยกรรมทั่วโลก เขาสนับสนุนให้สถาปนิกรุ่นใหม่ได้มีโอกาสใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ โดยจัดโปรเจกต์ เช่น Fukuoka Nexus World Housing และ Toyama Prefecture’s Machi-no-Kao และเชิญสถาปนิกรุ่นใหม่จากทั่วโลกมาร่วมกันพัฒนาบ้านและเมืองในญี่ปุ่น

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
(photo: https://cdn.saleminteractivemedia.com)

ก่อนหน้านี้เขาได้รับรางวัลการันตีความสามารถของเขามาโดยตลอด อาทิเช่น Annual Priz ในเวที Architectural Institute of Japan ในปีค.ศ.1967 และ 1975 International Award “Architecture in Stone”  ในปีค.ศ.1987 Chicago Architecture Award ในปีค.ศ.1990 และในเดือนพฤษภาคมนี้ อิโซซากิจะเดินทางไปรับรางวัลใหญ่แห่งวงการสถาปัตยกรรมอย่างรางวัลพริตซ์เกอร์ ประจำปี 2019 ที่ปารีส พร้อมรับคำชมที่คณะกรรมการของเวทีมอบให้

“อิโซซากิเป็นสถาปนิกที่เข้าใจถึงความจำเป็นของสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก”

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
หนึ่งในผลงานชื่อดังของอิโซซากิ โปรเจกต์ ‘Ark Nova’ บอลลูนที่มีรูปทรงเป็นอาคารสูบลมขนาดยักษ์5ถูกสร้างเป็นที่แสดงคอนเสิร์ตและอีเวนต์ต่างๆ สามารถจุคนได้ถึง 500 คน (photo: http://www.archipanic.com)

การตามหา ‘ความหมายของสถาปัตยกรรมที่แท้จริง’

ช่วงการทำงานสุดเข้มข้นในวัยหนุ่ม อิโซซากิไม่ได้นั่งออกแบบอยู่ในบริษัทสถาปนิกเก๋ๆ แต่เขามักเดินทางไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลายครั้ง เพื่อไปสัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น เขาไม่ได้สนใจเพียงเมืองในญี่ปุ่นหรือเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังท่องเที่ยวไปตามประเทศมุสลิม ภูเขาลึกในจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมตามหา ‘ความหมายของสถาปัตยกรรมที่แท้จริง’ ซึ่งเป็นคำถามที่อยู่ในใจสถาปิกรุ่นใหญ่คนนี้เสมอมา

ตลอดการทำงาน 60 กว่าปี อิโซซากิออกแบบสถาปัตยกรรมมากกว่า 100 อาคาร ทุกแห่งมีดีไซน์ที่ไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง

“ตัวตนของผมเลือกสร้างความแตกต่างในทุกงาน ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สไตล์เดียว แต่การออกแบบทุกครั้งผมจะนึกถึงบริบทแวดล้อม และเน้นการสร้างสถาปัตยกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม”.

Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019
(photo: https://www.portalpolitico.tv)

Fact Box

  • รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือ การสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม
  • ทาดาโอะ อันโดะ (Tadao Ando) สถาปนิกชาวญี่ปุ่น ผู้มีชื่อเสียงในการออกแบบที่เน้นเรื่องความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติโดยใช้ระบบสัญลักษณ์เชิงปรัชญา และมีผลงานสถาปัตยกรรมชื่อดังหลายแห่งทั่วโลก จนเขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ในปีค.ศ.1995
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019 Tadao Ando
ทาดาโอะ อันโดะ สถาปนิกชื่อดังก้องโลก
Isozaki Pritzker Architecture Prize 2019 Tadao Ando
ผลงาน Church of Light ของทาดาโอะ อันโดะ สถาปนิกชื่อดังของโลก (photo: https://uk.phaidon.com)

อ้างอิง:

  • The Guardian.’Buildings that defy categorization’ – Arata Isozaki wins 2019 Pritzker architecture prize.https://bit.ly/2NKh9My
  • Wikipedia.Arata_Isozaki.https://bit.ly/2EStDyM
  • Dezeen.Arata Isozaki to receive Pritzker Prize 2019.https://bit.ly/2EQqIXq
  • Dezeen.Eight key projects by Pritzker Prize 2019 laureate Arata Isozaki.https://bit.ly/2HmqNDZ
  • Wikipedia.Tadao Ando.https://bit.ly/2TlaRcd
  • Wikipedia.Pritzker Architecture Prize.https://bit.ly/2Uq6AB4