©ulture

ทีมออกแบบของเราตระหนักดีว่าเทคโนโลยีที่ใส่ไปในรองเท้ากีฬาจะช่วยให้สุขภาพเท้าของผู้คนดีขึ้นได้ 

ทิงเคอร์ แฮทฟิลด์ (Tinker Hatfield) รองประธานแผนกออกแบบและโปรเจคท์พิเศษของ Nike เล่าถึงเหตุผลที่แบรนด์ Nike เอง รวมถึงแบรนด์รองเท้ากีฬาชั้นนำทั่วโลก ไม่เคยหยุดคิดค้นพัฒนาสรรหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ใส่เข้าไปในรองเท้า 

ล่าสุด Nike เพิ่งเผยโฉม Nike GO FlyEase รองเท้าเทรนเนอร์รุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล FlyEase ที่สามารถสวมใส่ได้ทันที โดยไม่ต้องใช้มือหรือเท้าอีกข้างช่วยเหยียบส้นให้รู้สึกทุลักทุเลทั้งตอนใส่และตอนถอด ส่งผลให้รองเท้าเทรนเนอร์รุ่นนี้กลายเป็นคำตอบของรองเท้าที่ช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกยิ่งขึ้น จึงหมาะกับชีวิตวุ่นๆ ของคนยุคนี้มากที่สุด

training shoes
Nike GO FlyEase
Photo: https://www.dezeen.com/2021/02/01/nike-go-flyease-trainer-hands-free/

 

แต่กว่าที่รองเท้ากีฬาจะวิวัฒนาการมาถึงขั้นสวมได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้มือสัมผัสรองเท้า ประวัติศาสตร์อายุเกือบ 200 ปีของรองเท้ากีฬาบอกกับเราว่า รองเท้ากีฬาเป็นหนึ่งในไอเท็มเครื่องแต่งกายของมนุษย์ที่มากด้วยเรื่องราวเปี่ยมด้วยสีสัน และมีพัฒนาการแบบก้าวกระโดดมากที่สุดชิ้นหนึ่งก็ว่าได้ 

รองเท้ากีฬารุ่นแรกเกิดจากการแค่นำผ้าใบมาเย็บติดกับแผ่นยางหนาๆ ก่อนจะมีการนำเชือกมาร้อยเพื่อสะดวกแก่การสวมใส่และกระชับตัวรองเท้าให้พอดี พัฒนาไปสู่การนำแถบเวลโคร (Velcro) มาใช้เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใส่ และยิ่งง่ายขึ้นไปอีก เมื่อมีการนำมอเตอร์ชิ้นเล็กๆ มาฝังไว้ในสายรัดรองเท้า เพื่อให้สามารถขยับปรับความกระชับให้พอดีได้โดยอัตโนมัติ สู่การนำเซนเซอร์มาติด และท้ายที่สุดก็จัดการเอาเชือกออกไปจากดีไซน์ แล้วออกแบบใหม่ให้ยางยืดชนิดพิเศษที่รัดระหว่างตัวรองเท้าและส้นรองเท้า ทำหน้าที่แทนมือในการช่วยสวมรองเท้าแทน 

วัสดุที่นำมาทำตัวรองเท้าและพื้นรองเท้าเองก็มีพัฒนาการที่น่าสนใจไม่แพ้กัน จากาใบขยับขยายมาเป็นนัง วัสดุสังเคราะห์ และปัจจุบันแต่ละแบรนด์ต่างก็แข่งกันพัฒนาการทำรองเท้าจากวัสดุธรรมชาติหรือวัสดุรีไซเคิล เพื่อลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด 

มาสำรวจประวัติศาสตร์ของรองเท้ากีฬาไปพร้อมกันว่าหลังจากที่เจ้าของแบรนด์ Nike ทดลองเทน้ำยางลงในเตาอบวาฟเฟิลของภรรยา เพื่อคิดค้นดอกยางรองเท้าที่ทรงประสิทธิภาพ หรือ adidas เองที่เคยเอาเหล็กจากหมวกกันกระสุนของทหารมาทำส้นรองเท้า ตอนนี้รองเท้ากีฬาพัฒนาไปถึงไหนแล้ว

.. 1839 

กำเนิดพื้นรองเท้าจากยางรถยนต์

training shoes
Photo: https://whereilivect.org/charles-goodyear-makes-a-discovery/

 

เชื่อว่าทุกคนต้องคุ้นหูนามสกุลของชายคนนี้ เพราะ กู๊ดเยียร์ เป็นหนึ่งในชื่อแบรนด์ยางรถยนต์ชั้นนำของโลก ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ (Charles Goodyear) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันที่ขยันคิดค้นวิธีผลิตยางให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม และหลังจากที่เขาทดลองผสมกำมะถันและใช้ความร้อนสูง หรือที่เรียกว่า Vulcanization ผลลัพธ์ที่ได้ ก็คือ ยางที่มีคุณสมบัติขึ้นรูปได้ดีและกันน้ำยอดเยี่ยม เหมาะแก่การนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในอนาคต 

อนาคตที่ว่านับเป็นเวลานานหลายสิบปี กว่าที่จะมีการนำยางของกู๊ดเยียร์มาผลิตเป็นพื้นรองเท้า เพื่อความทนทานในการสวมใส่ใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการนำไปผลิตเป็นพื้นรองเท้า Plimsolls ในช่วงต้นปี 1900 ซึ่งพลิมโซลส์นี่เองที่ถือเป็นบรรพบุรุษของรองเท้ากีฬาในปัจจุบัน

training shoes
รองเท้า Plimsolls
Photo: https://en.wikipedia.org/wiki/Plimsoll_shoe

 

อันที่จริง รองเท้า Plimsolls ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ ค.. 1830 แล้ว โดยโรงงานผลิตรองเท้าในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ ที่ผลิตรองเท้าทำจากผ้าใบ (canvas) ทากาวติดกับพื้นยางที่หนาประมาณ เซ็นติเมตร ไว้ใช้สำหรับเดินริมชายหาดแทนรองเท้าหนัง และเรียกขานรองเท้าทรงนี้ตามศัพท์ในการเดินเรือที่ว่า Plimsoll Line ซึ่งหมายถึง เส้นระดับน้ำบนเรือเดินสมุทรที่เอาไว้ใช้บ่งบอกว่าน้ำขึ้นสูงเกินไปแล้วหรือยัง เทียบได้กับขอบพื้นยางของรองเท้าพลิมโซลส์ที่หากใส่ไปลุยน้ำที่สูงเกินไป ก็จะทำให้น้ำเปียกถึงตัวรองเท้าผ้าใบได้ 

1900-1910’s 

ย่องเบาเข้าอเมริกา

training shoes
Photo: https://www.pinterest.com/pin/95068242104406354/

 

ใช้เวลานานเกือบ 60 ปี กว่าที่รองเท้าพลิมโซลส์จะเดินทางข้ามมหาสมุทรไปปักหมุดความนิยมบนแผ่นดินสหรัฐอเมริกา โดยบริษัท U.S. Rubber Company ได้ผลิตรองเท้าพื้นยางทรงนี้ออกจำหน่าย ภายใต้ชื่อแบรนด์ Keds ในปี 1916 และแทนที่อเมริกันชนจะเรียกรองเท้าจากเกาะอังกฤษว่าพริมโซลส์เหมือนเดิม กลับพร้อมใจกันเรียกขานรองเท้าชนิดนี้ด้วยชื่อใหม่ว่า Sneakers ที่แปลว่า นักย่องเบา เพราะใส่แล้วสามารถเดินได้อย่างเงียบเชียบราวกับย่องเบาจริงๆ

training shoes
Photo: https://www.pinterest.com/pin/171981279491825837/

 

ปีถัดมา Converse ก็ปล่อยรองเท้าในตำนานอย่างรุ่น All Star ลงชิงชัยในท้องตลาด และประสบความสำเร็จถล่มทลายในช่วงต้นทศวรรษที่ 1920 เมื่อ Converse ได้ ชัค เทย์เลอร์ (Chuck Taylor) โค้ชและนักบาสเกตบอลชื่อดังแห่งยุค มาร่วมการันตีคุณภาพของรองเท้าผ้าใบพื้นยาง Converse All Star พลอยทำให้ชื่อของชัค เทย์เลอร์ ผูกติดอยู่บนรองเท้าคอนเวิร์สตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ 

1920-1940’s 

รองเท้าเยอรมันประกาศศักดา 

ข้ามกลับไปทางฝั่งยุโรปอีกครั้ง ในเมือง Herzogenaurach ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยช่างทำรองเท้าในยุคนั้น อดอล์ฟ “อะดิ” ดาสเลอร์ (Adolf “Adi” Dassler) เด็กหนุ่มผู้หลงใหลการเล่นกีฬา ได้ทดลองตัดเย็บรองเท้าที่เหมาะกับนักกีฬาขึ้นเพื่อใช้เอง โดยใช้ห้องซักรีดของแม่แทนห้องผลิตรองเท้า

training shoes
โรงงานผลิตรองเท้า Dassler Brothers Sports Shoe Factory
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/history-of-puma-i194

 

แต่ในยามนั้น สงครามโลกครั้งที่ เพิ่งสงบ เยอรมนีในฐานะประเทศผู้แพ้สงครามตกอยู่ในภาวะข้าวยากหมากแพง วัตถุดิบในการทำรองเท้าจึงแทบหาไม่ได้ อะดิต้องไปตระเวนเก็บเอาเศษซากของสงครามมาใช้ประดิษฐ์รองเท้ากีฬาในยามที่เขาว่างจากงานหลักอย่างอาชีพช่างซ่อมรองเท้า เช่น นำเหล็กจากหมวกกันกระสุนและหนังจากกระเป๋าทหารมาทำพื้นรองเท้า เอาผ้าจากร่มชูชีพมาทำรองเท้าแตะ ให้เพื่อนที่เป็นช่างตีเหล็กลองทำหมุดมาตอกเข้ากับพื้นรองเท้า เพื่อทำรองเท้าวิ่ง รวมถึงการทดลองเอาหนังฉลามและหนังจิงโจ้มาผลิตรองเท้ากีฬาที่แข็งแรง แต่มีน้ำหนักเบา 

ขณะที่อะดิกำลังหมกมุ่นอยู่กับการประดิษฐ์รองเท้ากีฬาให้ออกมามีประสิทธิภาพสูงสุด รูดอล์ฟ ดาสเลอร์ (Rudolf Dassler) พี่ชายของเขาก็หันหลังให้อาชีพตำรวจ แล้วมาช่วยน้องชายก่อตั้งโรงงานผลิตรองเท้า Dassler Brothers Sports Shoe Factory ขึ้นในปี 1924

training shoes
ดาสเลอร์ในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งใหม่
Photo: https://bit.ly/3jUxgak

 

รองเท้ากีฬาของพี่น้องดาสเลอร์สั่งสมชื่อเสียงมาเรื่อยๆ และโด่งดังเป็นพลุแตกหลังจากที่ เจซี โอเวนส์ (Jesse Owens) นักวิ่งผิวสีชาวอเมริกัน สวมรองเท้าของดาสเลอร์วิ่งไปคว้า เหรียญทองมาได้จากการแข่งขันโอลิมปิกที่เบอร์ลิน ในปี 1936

training shoes
เจสซี่ โอเวนส์ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เบอร์ลิน ปี 1936
Photo: https://en.wikipedia.org/wiki/Jesse_Owens

 

ในขณะที่ทีมบาสเกตบอลอเมริกันสวมรองเท้า Converse เข้าคว้าชัยชนะในโอลิมปิกปีนั้นเช่นกัน 

จะเห็นได้ว่า สังเวียนการต่อสู่ในแวดวงออกแบบรองเท้ากีฬาให้เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภทเริ่มดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ

training shoes
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/adidas-sneaker-history-i192

 

และแล้ว ไม่รู้ว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายหรือชวนยินดี เมื่อในที่สุด สองพี่น้องดาสเลอร์ก็ถึงคราวแตกหัก กลายเป็นผู้สวมสโลแกนของรองเท้าคอนเวิร์ส ออลสตาร์ ทางใครทางมัน เสียเองในปี 1949 ต่างฝ่ายต่างแยกย้ายบุกเบิกกิจการรองเท้ากีฬาของตัวเอง โดยอดอล์ฟเป็นเจ้าของแบรนด์ adidas และรูดอล์ฟสร้างอาณาจักร Puma มาเป็นคู่แข่ง ที่ฟาดฟันกันได้อย่างสมศักดิ์ศรี พลอยทำให้คนทั้งโลกมีรองเท้ากีฬาคุณภาพดีไว้สวมใส่เพิ่มอีกแบรนด์

training shoes
Puma เปิดตัวด้วยรองเท้าฟุตบอลรุ่น Super Atom ในปี 1952
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/history-of-puma-i194

1950’s 

รองเท้ากีฬา = ขบถ 

ตลอดทศวรรษที่ 1950 นี้เอง ที่เด็กๆ ชาวอเมริกันเริ่มนิยมใส่รองเท้ากีฬาเข้ากับยีนส์ตัวโปรดอย่างแพร่หลาย ซึ่งจัดเป็นเครื่องแบบที่ผิดระเบียบสำหรับบางโรงเรียนในยุคนั้น และก็ไม่ได้มีแต่เด็กวัยรุ่นเท่านั้น ที่หยิบรองเท้ากีฬามาแมทช์กับชุดไปรเวท เพราะดาราดังอย่าง แมริลีน มอนโร และมาร์ลอน แบรนโด ก็เลือกสวมรองเท้ากีฬากับยีนส์เช่นกัน ด้ยความที่รองเท้ากีฬานั้นสวมใส่สบาย ดูทะมัดทะแมง และเคลื่อนไหวได้สะดวก ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นขบถในตัว ผู้พร้อมจะก้าวออกไปจากกรอบข้อจำกัดต่างๆ ทางสังคม

training shoes
มาริลีน มอนโร กับ คีธ แอนดีส สวมรองเท้าผ้าใบขณะกำลังถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง Clash by Night ในปี 1952
Photo: https://bit.ly/3jUxgak

1960’s 

adidas บุกยึดทุกหัวหาด 

adidas ส่งรองเท้าเทนนิสรุ่น Haillet ออกวางจำหน่ายใน ค.. 1965 โดยตั้งชื่อตาม โรแบร์ ไอเยต์ (Robert Haillet) นักเทนนิสชาวฝรั่งเศสที่โด่งดังมากในยุคนั้น ต่อมาเมื่อไอเยต์แขวนแร็กเก็ต adidas จึงทาบทามนักเทนนิสชาวอเมริกันอีกคนมาเซ็นสัญญาแทน ซึ่งชื่อของเขาเป็นที่จดจำและเปลี่ยนภาพลักษณ์ของรองเท้าเทนนิสให้กลายเป็น street wear ที่บรรดาคนรักสนีกเกอร์ทุกคนต้องมีไว้ในครอบครองอย่างน้อย คู่

training shoes
adidas Haillet
Photo: https://www.mendetails.com/style/stansmith-history/

 

ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง adidas Stan Smith นั่นเอง 

จุดเด่นของ adidas Stan Smith คือ เป็นรุ่นที่ไม่ได้ใช้แถบ เส้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ adidas แปะอยู่บนด้านข้างของรองเท้า แต่ใช้การเจาะรูระบายอากาศเรียงเป็น เส้นแทน และมีรูปใบหน้าของสมิธประดับอยู่บนลิ้นรองเท้า พร้อมใช้สีเขียวเป็นสีหลักในการตกแต่ง

training shoes
adidas Stan Smith
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/adidas-sneaker-history-i192

 

ความเจ๋งของรองเท้าเทนนิสที่ฮิตตลอดกาลคู่นี้ คือ นอกจากจะเป็นรองเท้าเทนนิสคู่แรกในโลกที่ใช้หนังในการผลิตแล้ว ยังมีตำนานที่ได้รับการกล่าวขานรุ่นสู่รุ่นว่า แม้แต่คู่แข่งของสมิธเองก็ยังสวม adidas Stan Smith มาต่อกรกับเขาบนคอร์ทอยู่เสมอๆ

training shoes
Fosbury Flop ของดิ๊ค ฟอสบิวรี่
Photo: https://cyber.harvard.edu/people/tfisher/Yoga/Fosbury.html

 

หลังจากนั้นอีก ปี adidas ยังส่ง adidas Gazelle มาประกาศศักดาในวงการกระโดดสูงเพิ่มอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ เมื่อ ดิ๊ค ฟอสบิวรี่ (Dick Fosbury) นักกีฬากระโดดสูงชาวอเมริกัน สวมรองเท้ารุ่นนี้เหินฟ้าด้วยท่า Fosbury Flop จนคว้าทั้งเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1968 ที่เม็กซิโกมาครอง และเปิดศักราชใหม่ให้ท่ากระโดดสูงที่พิสดารในสายตาคนยุคนั้นกลายเป็นท่ามาตรฐานในยุคนี้

training shoes
adidas Gazelle
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/adidas-sneaker-history-i192

1970’s 

ได้เวลา สายฟ้าฟาด 

ระหว่างที่ adidas กำลังกอบโกยชื่อเสียงในโลกกีฬาอยู่นั้นเอง คลื่นใต้น้ำแห่งวงการรองเท้ากีฬาก็ค่อยๆ ก่อตัวอย่างเงียบๆ เมื่อ ฟิล ไนท์ (Phil Knight) และบิล บาวเออร์แมน (Bill Bowerman) โค้ชวิ่งโอลิมปิก ร่วมกันก่อตั้ง Blue Ribbon Sports (BRS) ขึ้นเมื่อปี 1964 ในมลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา เริ่มจากการนำเข้า Onitsuka Tiger รองเท้ากีฬาแบรนด์ญี่ปุ่นเข้ามาขายในอเมริกา

training shoes
เอกสิทธิ์ดอกยางลายวาฟเฟิลของ Nike
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/nike-sneaker-history-i195

 

ผ่านไป ปี บาวเออร์แมนคิดค้นกรรมวิธีผลิตรองเท้ากีฬาเป็นของตัวเอง ด้วยการทดลองเทน้ำยางลงในเตาอบวาฟเฟิลของภรรยา ผลลัพธ์ที่ได้คือ พื้นรองเท้าลายวาฟเฟิล ที่พลิกโฉมวงการวิ่งไปตลอดกาล  

และในปีรุ่งขึ้น BRS ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Nike โดยตั้งตามชื่อของเทพเจ้าแห่งชัยชนะตามตำนานกรีก มาพร้อมโลโก้ Swoosh หน้าตาเหมือนขีดเครื่องหมายถูก ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเส้นสายแทนการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วแบบสายฟ้าฟาด หรือเสียงตวัด หวือ ในอากาศนั่นเอง

training shoes
Nike Moon Shoe
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/nike-sneaker-history-i195

 

จากนั้น Nike ก็เดินเครื่องลุยเต็มสูบ ประเดิมด้วย Nike Moon Shoe ในปี 1972 รองเท้ารุ่นแรกที่ใช้พื้นรองเท้าวาฟเฟิล และประทับลายสวูชบนตัวรองเท้า ก่อนส่งไปให้นักกีฬาโอลิมปิกทดลองใช้ในการแข่งขัน และปีเดียวกันนี้เอง Nike Cortez ก็สร้างความฮือฮากันในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เม็กซิโก เพราะเป็นรองเท้ารุ่นแรกที่นำนวัตกรรมพื้นโฟมมาใช้

training shoes
Nike Blazer
Photo: https://www.fatbuddhastore.com/nike-sneaker-history-i195

 

ปี 1973 Nike รุกเข้าสู่ตลาดบาสเกตบอล โดยออกรองเท้า Nike Blazer เพื่อให้ จอร์จ เกอร์วิน (George Gervin) เจ้าของฉายา The Iceman ใส่ในการแข่งขันบาสเกตบอล NBA เท่านี้แฟนๆ บาสเกตบอลก็พร้อมกันจดจำอีกหนึ่งโฉมใหม่ของ Nike ไว้ในใจ

 

training shoes
คารีม อับดุล-จับบาร์
Photo: https://sneakerpedia.wordpress.com/tag/kareem-abdul-jabbar/

 

นอกจากนี้ ภาพรวมตลอดทศวรรษ 1970 ของตลาดรองเท้ากีฬายังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่อยากดูดีดูเท่ตามอย่างนักกีฬาและเซเลบริตี้ในดวงใจ พร้อมๆ กับการที่ผู้คนเริ่มหันมาเอาใจใส่ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายแบบฟิตเนสกันมากขึ้น วัยรุ่นบางคนอาจจะอยากเท่เหมือน คารีม อับดุล แจ๊บบาร์ (Kareem Abdul-Jabbar) นักบาสเกตบอลคนโปรดที่สามารถสปริงตัวขึ้นไปชู้ตบาสได้ด้วยรองเท้า adidas คู่นั้น

 

training shoes
ฟาราห์ ฟอว์เซ็ตต์ สวม Nike Cortez ในปี 1976
Photo: https://bit.ly/3jUxgak

 

และนอกจากจะยีผมพองฟูให้ได้ที่จนกลายเป็นทรงฟาราห์ สาวๆ ในยุคนั้นก็คงอยากจะดูเท่เหมือนอย่าง ฟาราห์ ฟอว์เซ็ตต์ (Farrah Fawcett) นักแสดงนำจากภาพยนตร์ Charlie’s Angels ที่สวม Nike Cortez สุดคลาสสิคทรตัวบนสเก็ตบอร์ด จนกลายเป็นภาพจำไปตลอดกาล 

1980’s til now 

เมื่อรองเท้ากีฬาทะยานสู่ท้องถนน 

ความนิยมของรองเท้ากีฬาในระดับมหาชนยังคงต่อเนื่องมาจนถึงทศวรรษที่ 1980 เมื่อ ไมเคิล จอร์แดน (Michael Jordan) ดำเนินรอยตามบรรดานักกีฬารุ่นพี่ ด้วยการให้ไนกี้ใช้ชื่อของเขาไปตั้งชื่อรองเท้ารุ่น Nike’s Air Jordans ในปี 1984 ส่วน Reebok เองก็ได้พัฒนารองเท้ากีฬาสำหรับผู้หญิงขึ้นเป็นแบรนด์แรก

training shoes
Air Jordans ปรากฏโฉมในเกมระหว่าง New York Knicks และ Chicago Bulls ในปี 1995
Photo: https://bit.ly/3jUxgak

 

ในที่สุด รองเท้ากีฬาก็ขยายอาณาเขตออกไปนอกสนาม คอร์ท ลู่ และลานกีฬาต่างๆ สู่ท้องถนน กลายเป็น รองเท้าเทรนนิ่ง’ (Training Shoes) ที่ผู้คนสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันและใส่ออกกำลังกายได้ในคู่เดียว แต่ละแบรนด์จึงเริ่มออกแบบรองเท้าเทริ่งที่มีคุณสมบัติกลางๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นรองเท้าสำหรับใส่วิ่ง เล่นบาสเกตบอล หรือเล่นเทนนิส ดังนั้น รองเท้าเทรนนิ่งยุค 80 จึงเต็มไปด้วยดีไซน์ใหม่ๆ สีสันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

training shoes
รองเท้า Converse คู่ที่ เมจิค จอห์นสัน (Magic Johnson) ใส่ในการแข่งขัน NBA ปี 1988
PHOTO / Timothy A. CLARY / AFP

 

ทั้งยังได้รับความนิยมแบบคูณสอง เมื่อบรรดาศิลปินฮิปฮอปและแร็ปเปอร์ในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็น LL Cool J, Grandmaster Flash, Run DMC ต่างก็สวมรองเท้าเทรนนิ่งเป็นเครื่องแบบประจำตัวกันทุกคน การได้ครอบครองรองเท้าเทรนนิ่งรุ่นเดียวกับศิลปินในดวงใจจึงแทบจะเป็น wish list ของเด็กวัยรุ่นยุคฟังซาวด์อะเบาท์ไปโดยปริยาย

training shoes
ไมเคิล เจ ฟ็อกซ์ (Michael J. Fox) รับบท มาร์ตี้ แม็คฟลาย กำลังสวมรองเท้า Nike Air MAG ในภาพยนตร์เรื่อง Back to the Future II
Photo: https://www.dezeen.com/2016/03/21/tinker-hatfield-interview-nike-designer-self-lacing-hyperadapt-trainers-sneakers/

 

โดยเฉพาะเมื่อภาพยนตร์ไตรภาคชื่อดังแห่งยุคอย่าง Back to the Future ออกฉาย ยิ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก ทั้งตัวเรื่องที่สนุกและชาญฉลาดในการเขียนบท ทั้งยังวาดภาพแห่งโลกอนาคตให้คนในยุคนั้นได้ตื่นตะลึงไปตามๆ กันใน Back to the Future II (1989) ที่มาร์ตี้ แม็คฟลาย (Marty McFlyข้ามเวลาไปสู่โลกอนาคตในปี 2015 ที่อะไรๆ ก็บินได้ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ โฮเวอร์บอร์ด แม้แต่รองเท้าเองยังสามารถใส่ได้พอดีโดยอัตโนมัติ

training shoes
Nike Air MAG
Photo: https://www.dezeen.com/2016/03/21/tinker-hatfield-interview-nike-designer-self-lacing-hyperadapt-trainers-sneakers/

 

และไอเดียนี้ไม่ได้มีแค่ในหนัง แต่เป็นโปรเจคท์ที่ผ่านการพัฒนาอย่างยาวนานมาเกือบ 30 ปี ก่อนที่ Nike บริษัทเจ้าของไอเดียรองเท้าของมาร์ตี้จะผลิตรองเท้า Nike Air MAG ขึ้นจริงในปี 2015 ตรงตามที่ระบุไว้ในภาพยนตร์ 

รองเท้าคู่นี้ไม่ได้แค่รัดสายคาดให้แน่น แต่ยังเกลี่ยแรงดันให้กระจายอย่างทั่วถึง จึงกระชับเข้ากับทุกรูปเท้า” แฮทฟิลด์ ผู้เป็นเจ้าของไอเดียรองเท้าในหนังสู่การผลิตขึ้นสำหรับใช้งานจริง โดยติดมอเตอร์ชิ้นเล็กๆ เข้ากับสายรัดรองเท้า พร้อมปุ่มกดสำหรับรัดและคลาย โดยฝังแบตเตอรี่ไว้ที่ส้นรองเท้า และสามารถชาร์จแบบไร้สาย สมนิยามรองเท้าแห่งอนาคต

training shoes
ทิงเคอร์ แฮทฟิลด์
Photo: https://www.dezeen.com/2016/03/21/tinker-hatfield-interview-nike-designer-self-lacing-hyperadapt-trainers-sneakers/

 

แฮทฟิลด์ไม่ได้ออกแบบ Nike Air MAG แค่เพราะมันเคยปรากฏอยู่ในหนัง แต่ด้วยฟังก์ชันที่ปรับความพอดีได้อัตโนมัติในทุกการเคลื่อนไหวนี้เองที่เหมาะกับนักกีฬา ซึ่งต้องเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเกม จึงไม่ควรเสียเวลากับการก้มลงผูกเชือกรองเท้าบ่อยๆ

training shoes
Nike Hyperadapt 1.0
Photo: https://www.dezeen.com/2016/03/21/tinker-hatfield-interview-nike-designer-self-lacing-hyperadapt-trainers-sneakers/

 

และอีกสองปีต่อมา Nike ก็ประสบความสำเร็จในการผลิตรองเท้าที่ ผูกเชือกได้เอง’ อย่าง Nike Hyperadapt 1.0 โดยใช้เซ็นเซอร์ที่ทำงานควบคู่กับระบบผูกเชือกดัดแปลง ที่จะปรับรองเท้าให้พอดีกับรูปเท้าของผู้สวมใส่ในทุกกิจกรรม 

ก่อนจะพัฒนาต่อไปอีกเรื่อยๆ เมื่อพบว่ารองเท้าที่ผูกเชือกได้เองก็ยังต้องอาศัยมือในการสวมใส่รองเท้าอยู่ดี จะดีกว่าไหมถ้าสามารถผลิตรองเท้าที่อ้าอยู่เสมอ แค่รอให้เราก้าวเท้าลงไปได้อย่างพอดี แล้วออกเดินหรือวิ่งได้โดยไม่ต้องก้มๆ เงยๆ อีกต่อไป

training shoes
Photo: https://www.dezeen.com/2021/02/01/nike-go-flyease-trainer-hands-free/

 

นี่จึงเป็นจุดกำเนิดของ Nike GO FlyEase รองเท้าเทรนนิ่งแห่งปี 2021 ที่เกิดจากการทดลองหั่นส่วนของตัวรองเท้ากับส้นเท้าให้แยกออกจากกัน แต่ไม่ขาดเป็นสองท่อน เพราะเชื่อด้วยยางยืดชนิดพิเศษ ที่อ้าส้นรองเท้าเอาไว้ตอนถอด และหุบกลับเข้ามาโดยอัตโนมัติทันทีที่สวมใส่ โดยไม่ต้องใช้มอเตอร์ เซ็นเซอร์ หรือเทคโนโลยีล้ำยุคให้วุ่นวาย 

ที่จริงแล้ว ต่อให้ไม่ต้องใส่นวัตกรรมใดๆ ลงไป รองเท้ากีฬาก็ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ด้วยตัวของมันเอง ทั้งยังกลายเป็นเครื่องหมายแสดงสถานะทางสังคมที่บ่งบอกอะไรได้หลายอย่าง ทั้งความสนใจทางกีฬา วัฒนธรรม รสนิยมทางดนตรี การใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

training shoes
บรรยากาศร้านรองเท้าในกรุงเบอร์ลิน ปี 2020
Photo: Odd ANDERSEN / AFP

 

ดังนั้น จึงมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ยอดขายรองเท้ากีฬาในตลาดโลกมีสิทธิ์ทำรายได้มากถึง 95.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์รองเท้าชื่อดังหรือแบรนด์แฟชั่นระดับสูงต่างก็แข่งกันออกแบบและพัฒนารองเท้าเทรนเนอร์ออกมาปีละหลายรุ่น ไม่ว่าจะ Prada, LOEWE, Gucci ฯลฯ ล้วนมีไลน์รองเท้ากีฬาเป็นของตัวเองทั้งสิ้น 

ส่วนใครใคร่ซื้อหารองเท้ากีฬาแบรนด์ใดมาสวมก็อยู่ที่รสนิยมและทรัพย์ในกระเป๋าสตางค์ว่าจะยอมจ่ายที่สนนราคาเท่าไร เพื่อจะได้ใส่รองเท้าเทรนนิ่งที่บ่งบอกความเป็นคุณมากที่สุด 

อ้างอิง