©ulture

ถอยเวลากลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ขาช้อปน่าจะคุ้นเคยกับการไปเดินเที่ยวตลาดกลางคืนแห่งแรกในกรุงเทพฯ อย่างสวนลุมไนท์บาซาร์ ทีมากมายด้วยสารพันเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า งานศิลปะ ฯลฯ ให้เลือกซื้อหา ในบรรยากาศการช้อปปิ้งที่สนุกทั้งคนซื้อและคนขาย

แม้สวนลุมไนท์บาซาร์จะถูกลบไปจากแผนที่เดิม แต่การเติบโตของพ่อค้าแม่ขายที่เคยเริ่มต้นอาชีพ ณ ที่แห่งนั้น ยังคงแตกหน่อต่อมาจนถึงปัจจุบัน หลายร้านเล็กๆ กลายเป็นแบรนด์ที่ยืนหยัดและมีฐานลูกค้าเหนียวแน่นขึ้นเรื่อยๆ 

หนึ่งในนั้นก็คือ Made by Hotcake ของ ตุ้ม – กรรณิการ์ แสงจันทร์ ที่เริ่มต้นด้วยการคัดเสื้อผ้ามือสองสไตล์วินเทจมาขายภายใต้ชื่อ Hotcake Vintage ก่อนที่เธอจะค่อยๆ ตกตะกอนความคิดจากประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวทั่วประเทศ และสะสมผ้าไทยโดยไม่รู้ตัว จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นแบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นผ้าไทย ที่คัดเลือกผ้าท้องถิ่นจากหลายภูมิภาคส่งขึ้นดอยไปให้ชาวเขาตัดเย็บ เพื่อกระจายรายได้สู่แต่ละชุมชนอย่างทั่วถึง 

อีกหนึ่งแบรนด์ที่เป็นเพื่อนกับ เค้กร้อน มาตั้งแต่ยังเป็นแก๊งพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่แห่งสวนลุมไนท์ฯ ก็คือ Muzina แบรนด์รองเท้าและกระเป๋าหนังของหนุ่มญี่ปุ่น ทากะยูกิ อิโมริ ที่เดิมตั้งใจแค่แบ็คแพ็คมาเที่ยวทะเลพัทยา แต่แล้วก็เหมือนชาวต่างชาติหลายรายที่เกิดอาการหลงรักเมืองไทยจนถอนตัวไม่ขึ้น ทากะยูกิจึงปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ทำมาค้าขายจนปลุกปั้นแบรนด์รองเท้าหนังดีไซน์ดี สีสันจัดจ้านที่สุดแบรนด์หนึ่ง ที่ชื่อแบรนด์มีความหมายว่า ตัวทานุกิ สัตว์พื้นเมืองที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นปิศาจที่แปลงร่างได้

Thai Craft
ทากะยูกิ อิโมริ เจ้าของแบรนด์ Muzina
และ กรรณิการ์ แสงจันทร์ เจ้าของแบรนด์ Made By Hotcake

ตุ้มกับทากะรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี แต่ก็มีบางช่วงของชีวิตที่หน้าที่การงานพาให้มิตรภาพห่างหายกันไป จนเมื่อไม่นานมานี้ ทากะผู้ซุ่มติดตามผลงานการเดินทางของ Made by Hotcake มาได้พักใหญ่ และชื่นชมความสามารถของตุ้มในการพัฒนาเสน่ห์ของผ้าไทย เจ้าของแฮชแท็ก #สนับสนุนเราเท่ากับสนับสนุนชุมขน 

ทากะจึงทักทายตุ้มผ่านทางเฟสบุ๊ก ทำให้ตุ้ม ซึ่งตอนนั้นผ่านการเดินทางพาผ้าไทยไปโปรยเสน่ห์ถึงแผ่นดินอินเดียและฝรั่งเศสมาแล้ว ปิ๊งไอเดียใหม่ในการแมทช์ผ้าปักฝีมือชาวม้งและผ้าใยกัญชงสีคราม ให้ไปประดับอยู่บนรองเท้าดีไซน์พิเศษของเพื่อนผู้เป็นนักออกแบบรองเท้าที่โคจรกลับมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง

Thai Craft

โปรเจคท์พิเศษ Made by Hotcake x Muzina: From The Mountain to Town จึงเกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ตุ้มเขียนเล่าถึงที่มาของการชวนกันมาทำงานในครั้งนี้เอาไว้ทางอินสตาแกรม @madebyhotcake ว่า 

พวกเราชวนกันไปเอาผ้าบนดอยจากชาติพันธุ์ม้งมาต่อยอดใหม่ เอาผ้าใยกัญชงที่เป็นผ้าอยู่กับม้งมาช้านาน ผ้าที่เรารู้จักกันว่าราคาและคุณภาพสวยสมราคาเพียงใด ซึ่งกระบวนการทั้งการปลูก การตาก การทอ รวมไปถึงการเขียนลายด้วยเทียน ทั้งหมดต้องใช้ความพยายามและใช้เวลามาก 

มันคืองานศิลปะ คืองานแฮนด์เมดที่มีความสวยงามในเนื้อผ้า และความคงทนมาอย่างเนิ่นนาน ต้องยอมในราคาและคุณค่าจริงๆ 

Thai Craft

พี่ๆ ที่นี่บอกเสมอว่าผ้าใยกัญชงมีอายุถึงร้อยปีและทนมาก นั่นแปลว่า เรามีสิทธิ์จากไปก่อนผ้าหนึ่งผืนจะสลายเป็นจุณ พวกเราเลยจับความเป็นกัญชงและผ้าปักมือม้งมาเล่าใหม่ให้สนุกมากขึ้น ให้เป็นเมืองมากขึ้น หยิบเอาผ้าครามทอมือจากอุบลมาตัดเย็บร่วมกันกับผ้าใยกัญชง แมทช์กับรองเท้าที่ถูกตกแต่งด้วยผ้าจากบนดอย 

แฟชั่นเซ็ตนี้ถ่ายทอดผ่านฟิล์ม โดยนางแบบคุณยายวัยเก้าสิบกว่าปีที่อยู่บนดอยบ้านแม่สาน้อย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ คุณยายยังแข็งแรง เดินไปทำสวนได้เองในทุกๆ วัน เซ็ตนี้ชวนกันมาทั้งหลานสาวและคนในชุมชนบนดอย ช่างทอผ้าใยกัญชงมาช่วยกันถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นม้ง กัญชง และดอย 

ดีใจที่ได้ทำอะไรสวยงามและช่วยต่อยอดผ้าไทย ผ้าจากแดนไกลให้ใกล้เมืองมากขึ้น

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

และด้วยเหตุนี้เอง ทานูกิจึงถึงเวลาแปลงร่างสมนิยาม ประเดิมด้วยการนุ่งห่มผ้าทอจากดอยสูง ก่อนที่ในอนาคตอาจเปลี่ยนไปแมทช์กับผ้าปาเต๊ะ ผ้าขาวม้า หรือผ้าทอลวดลายแปลกตาจากท้องถิ่นทั่วไทย จากฝีมือการปลุกปั้นของคนทำผ้าเจ้าของสมญาเค้กร้อน ที่ยินดีเปิดประตูช้อป Made by Hotcake ในย่านลาดพร้าว เพื่อบอกเล่าเรื่องราวจากเมืองสู่ดอย และจากดอยกลับมาสู่เมือง ที่สุดท้ายกลายเป็นเรื่องเดียวกัน 

 เด็กสาวผู้เติบโตมากับกองผ้า 

เรื่องผ้าอยู่ในหัวมาโดยตลอดอยู่แล้ว เพราะเติบโตมากับพ่อแม่ที่ขายเสื้อผ้า เลยโตมากับกองผ้า มีจิตวญญาณแม่ค้าตั้งแต่เด็ก จำได้เลยว่าสมัยเด็ก เวลาที่แม่กำลังขายเสื้อผ้าอยู่ เราจะทำหน้าที่กดดันลูกค้าด้วยการถือถุงกระดาษเตรียมเอาไว้ พร้อมกับปะเหลาะชมเขาว่า งามเด้ เอาหยังบ่อ้าย ซื้อบ่ค่ะ แบบนี้จะไม่ซื้อไหวเหรอ” ตุ้มเล่าถึงเทคนิคการขายที่ติดตัวมาตั้งแต่จำความได้จากการใกล้ชิดป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ห่างกายแม่ ผู้สาละวนอยู่กับการขายเสื้อผ้าบูติกในร้านนวลละออแห่งจังหวัดเลย

Thai Craft
ถุงกระดาษของร้านนวลละออ ขวัญและกำลังใจประจำแบรนด์ Made by Hotcake

แม่ไปรับเสื้อผ้าบูติกจากตลาดโบ๊เบ๊มาขาย ซึ่งก็ขายดีมาก ด้วยความที่แม่เคยเป็นช่างตัดเสื้อผ้ามาก่อน ละเคยขายผ้าที่ตลาดนครพนม อีกทั้งแม่ยังเป็นคนสวย เป็นสาวเปรี้ยว จะต้องตัดชุดสวยเอาไว้สำหรับแต่งตัวเพื่อไปขายเสือผ้า แม่ไม่เคยใส่เสื้อผ้าโหลไปขายผ้า ปากต้องแดงเสมอ ถ้าสีปากเริ่มไม่ค่อยแดงแล้ว แม่ก็จะก้มลงด้านหลังแผงผ้า แล้วเอาลิปเอเตมาทา ก่อนจะขึ้นมาขายของต่อ

Thai Craft

ตุ้มเลยได้รับวัฒนธรรมนี้มาว่า เป็นลูกแม่ค้า อย่าแต่งตัวโทรม อย่าให้แม่ต้องอาย ฉะนั้น เวลาขายของปากต้องแดงเท่านั้น และแม่จะรักในอาชีพมาก ไม่ค่อยหยุดงาน ต่อให้เหนื่อยจนหลับในกองผ้าก็ยอม ยังไงฉันก็จะขายของ พอลูกค้าเดินเข้ามาในร้าน ก็น่าอัศจรรย์มากที่แม่สามารถเฟรชขึ้นมาได้ทันที” ตุ้มเล่าถึงบุคคลต้นแบบในชีวิตด้วยแววตาแห่งความภูมิใจ

Thai Craft

และจากความผูกพันในเสื้อผ้าที่ฝังอยู่ในสายเลือด เมื่อตุ้มเรียนจบและเริ่มทำงาน จึงหนีไม่พ้นการหยิบจับและสร้างสรรค์งานในแขนงนี้ เธอเคยทั้งขายเสื้อผ้ามือสอง เป็นสไตลิสต์ให้กับนิตยสาร และเป็นสไตลิสต์ศิลปิน สั่งสมประสบการณ์นานร่วมสิบปี ก่อนที่เส้นทางในชีวิตจะค่อยๆ หล่อหลอมให้ตุ้มได้มีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเองเหมือนอย่างที่เคยฝันไว้ แม้จะไม่ได้ร่ำเรียนมาทางด้านศิลปะหรือแฟชั่นโดยตรง 

ด้วยความที่ชอบภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็กๆ เลยเลือกเรียนอังกฤษธุรกิจที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต แต่ชอบไปขลุกอยู่กับเพื่อนที่เรียนคณะศิลปกรรม ชอบแต่งตัวประหลาด ชอบคลุกคลีกับคนทำเสื้อผ้า มีความสุขกับการได้ไปดูเขาทำโน่นทำนี่ จนชอบอาชีพสไตลิสต์ หรือคนที่ทำเสื้อผ้าให้ดาราศิลปิน และฝังใจมาตลอดว่าต้องทำงานแฟชั่นให้ได้

Thai Craft

ตอนเรียนปี เพื่อน ไปฝึกงานตามสายการบินหรืองแรตรงตามสายที่เรียน แต่เรากลับขอตามสไตลิสต์รุ่นพี่ไปฝึกงานที่นิตยสาร จนได้เริ่มทำงานเป็นสไตลิสต์ประเดิมทำนิตยสาร OK! ประเทศไทยฉบับปฐมฤกษ์ ทำอยู่ ปี แล้วมาทำนิตยสาร Hamburger ต่อ แต่ไม่เคยทิ้งความฝันว่าจะต้องมีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง 

ระหว่างเป็นสไตลิสต์ประจำนิตยสาร ตุ้มได้ฝึกปรือฝีมืออยู่เรื่อยๆ ทั้งการคัดเสื้อผ้ามือสองมาขาย โดยเริมใช้ชื่อว่า Hotcake Vintage ผสมกับการรับงานดูแลเสื้อผ้าให้ศิลปินนักร้องหลายค่าย ระหว่างนั้น เธอไม่เคยทิ้งกิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบมาโดยตลอด คือ การเดินทางท่องเที่ยว ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นตามจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยไฮไลท์ของตุ้มหนีไม่พ้นการตื่นแต่เช้าไปเดินตลาด เลือกซื้อของกินพื้นเมือง คุยกับชาวบ้านท้องถิ่น และจับจ่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านติดมือกลับมาด้วยเสมอ

Thai Craft

รู้ตัวอีกที ข้าวของต่างๆ โดยเฉพาะผ้าท้องถิ่นจากหลายภูมิภาคทั่วประเทศก็กองอยู่เต็มห้อง  

ตุ้มบอกตัวเองว่า คงถึงเวลาที่จะต้องลงมือทำอะไรสักอย่างแล้ว 

ออกเดินทางไปทำความรู้จักผ้าไทย 

จนถึงวันหนึ่ง เรารู้สึกว่าตัวเองพอจะมีความรู้เรื่องผ้า เรื่องแฟชั่น แลวิชาของแม่ แต่สิ่งที่มากกว่านั้น คือ เราอยากทำงานที่ซัพพอร์ทคนอื่นด้วย ในแบบที่เราได้เงิน และเขาก็ได้เงิน” ตุ้มเล่าต่อถึงก้อนความฝันที่เริ่มตกตะกอนเป็นรูปเป็นร่าง  

เธอตัดสินใจเดินทางไปเรียนทำผ้าย้อมครามกับ เจษฎา กัลยาบาล เจ้าของเจษฎาสตูดิโอ หนึ่งคนทำผ้าย้อมครามชื่อดังแห่งจังหวัดสกลนคร เพื่อเรียนรู้ถึงศาสตร์การทำผ้าพื้นเมืองเบื้องต้น จนเมื่อได้สบเข้ากับแววตาเป็นประกายของเจษฎา กรรณิการ์จึงแตกหน่อการเดินทางของเธอให้กระจายออกไปทั่วประเทศไทย

Thai Craft

เราแครู้สึกสะดุดใจว่า ทำไมเวลาพี่เจพูด ตาเขาถึงเป็นประกายเบอร์นั้น เขาต้อมีความสุขมากเวลาได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องผ้า เพราะเขาทำงานนี้ด้วยใจ พอเรายิ่งอินก็ยิ่งตั้งใจว่าต้องทำแบรนดที่ช่วยเหลือคนอื่นได้จริงๆ ก็เลยเริ่มเฟดจากวินเทจมาเป็น Made by Hotcake และจากสกลนคร ก็เริ่มเดินทางไปแพร่ เชียงใหม่ นครศรีธรรมราช กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ขอนแก่น ไปจนถึงสามจังหวัดชายแดนใต้ 

แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าจังหวัดไหนมีอะไรดี ตุ้มเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการไปเดินช้อปปิ้งตามงาน OTOP ที่มาจัดแสดงในกรุงเทพฯ เดินผ่านร้านผ้าของแม่อุ้ยคนไหน แล้วสบตากันและรู้สึกว่าใช่ เธอจึงค่อยออกเดินทางตามไปหาต้นตอของผลผลิตถึงจังหวัดบ้านเกิดทีหลัง

Thai Craft

ธรรมชาติของคนแต่ละจังหวัดจะไม่เหมือนกัน คนอีสานแบบนึง คนมุสลิมก็น่ารักไปอีกแบบนึง ชาวเขาก็อีกอย่าง คนภาคกลางก็มีเสน่ห์ของเขา อาศัยว่าเราเองก็เป็นเด็กต่างจังหวัดอยู่แล้ว เลยไม่ได้รู้สึกว่าการใช้ชีวิตหรือวัฒนธรรมจะแตกต่างกันมาก ชอบคลุกคลีกับการกินอยู่ง่ายๆ แบบบ้านๆ อยู่แล้ว 

เวลาไปสามจังหวัดชายแดนใต้ คนมักจะถามว่าไม่กลัวเหรอ แต่เรากลับรู้สึกว่าพื้นที่ตรงนั้นสวยมาก และไม่น่ากลัวเลย เพราะจริงๆ แล้วอีกหนึ่งความตั้งใจก็คือ อยากตามรอยในหลวงรัชกาลที่ ซึ่งท่านเสด็จมาแล้วทุกที่ในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สีแดงขนาดไหนก็ตาม ตุ้มเลยตั้งใจอยากนำสิ่งดีๆ เหล่านี้ไปพัฒนาชุมชนเหมือนกับพระองค์ท่าน เราเองทำได้แค่เศษเสี้ยวของท่านก็พอใจแล้ว

Thai Craft

เชื่อไหมว่าทุกหมู่บ้านที่ไป จะมีบุญสัมพันธ์เรื่องในหลวงตลอด มีอยู่ครั้งนึชาวเขาขับรถพาไปชี้ดูภูเขา แล้วบอกว่าเมื่อก่อนพวกพี่อยู่ภูเขาลูกโน้น แล้วในหลวงทรงรับสั่งให้พวกพี่ย้ายมาอยู่ที่นี่ ท่านบอกว่าตรงนั้นไม่ใช่ต้นน้ำ เชื่อเรา ให้ย้ายมาภูเขาลูกนี้ ชาวเขาก็ย้ายมา ซึ่งที่แห่งนั้นก็คือ บ้านแม่สาน้อย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่หนึ่งใน 15 อำเภอที่ทางหน่วยงานภาครัฐอนุญาตให้มีการเพาะปลูกกัญชง เพื่อนำมาแปรรูปเป็นเส้นใยกัญชง ก่อนจะนำไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่มออกจำหน่ายสร้างรายได้ให้แก่หมู่บ้านของชนเผ่าม้ง 

ตุ้มเล่าถึงอีกหลายเหตุการณ์ที่ล้วนเกี่ยวพันกับพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ ซึ่งเป็นดั่งแรงหนุนนำที่ไม่เคยทำให้เธอเหนื่อยหรือท้อตลอดระยะเวลา ปี ที่ออกเดินทางไปทำความรู้จักผืนผ้าทั่วเมืองไทย

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

กระจายรายได้อย่างไรให้ถึงมือคนในชุมชน 

วิธีทำงานของตุ้ม ไม่ใช่การพาตัวเองไปนั่งทอผ้าบนกี่ หรือลงมือต้มผ้าย้อมครามเอง เธอวางตัวเป็นผู้แปรรูปสินค้า ตัวกลางในการดั้นด้นหาวัตถุดิบชั้นดี ก่อนส่งต่อไปยังชาวเขาที่มีฝีมือในการตัดเย็บซึ่งอยู่บนดอยในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ให้ตัดเย็บเสื้อผ้าตามแบบที่เธอดีไซน์ แล้วส่งกลับมาขายในราคาย่อมเยา เพื่อให้ผ้าไทยสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนได้จริง 

ตุ้มจะทำงานตามฤดูกาล อย่างหน้าร้อนก็เลือกที่จะทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากอำเภอคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีพี่อารีย์ ขุนทน เป็นอาจารย์ ซึ่งเขาย้อมผ้าสีธรรมชาติได้เก่งมาก เราก็พาตัวเองไปหาเขาที่คีรีวง แต่พยายามไม่เอาตัวเองเข้าไปทำ เป็นแค่คนแปรรูป เพราะเราให้เกียรติในความเป็นศิลปิน ความเป็นปราชญ์ชุมชนของเขา

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องสั่งผ้าจากจังหวัดนั้นจังหวัดนี้ แล้วค่อยส่งไปเย็บถึงบนดอย กว่าจะส่งมาขายได้ ก็เพราะถ้าเราใช้ช่างบูติกตัดเย็บที่นี่ ก็จะไม่เกิดการกระจายรายได้ อีกทั้งเรารู้ว่าศักยภาพของคนบนดอยมีมากพอที่จะทำงานนี้ และที่ ขายราคาไม่สูง เพราะเงินจะได้หมุนเวียนกลับไปสู่ชุมชนไวๆ 

ถ้าเรามัวแต่ทำแพทเทิร์นยากมาก ตั้งราคาขายตัวละ 3-4 พันบาท แล้วขายไม่ออกเสียที ก็เหมือนตั้งไว้บนหิ้ง ขืนทำแบบนั้นหัวใจจะไม่ได้ทำงาน ไม่สูบฉีด ไม่รู้สึกถึงการแย่งกันซื้อ เราชอบบรรยากาศการซื้อของแบบที่ อุ๊ย ของมาแล้ว คุณตุ้ม พี่จะเอาตัวนี้ เราจึงขายอยู่ที่ราคาพันต้นๆ คนที่เข้าใจคอนเสปท์ของเราก็อยากที่จะอุดหนุน เงินก็จะหมุนเวียนกลับไปชุมชน 

“เราไม่ต้องกินจุ กินแค่อิ่มแล้วแบ่งคนอื่นอิ่มด้วยดีกว่า”

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

มากไปกว่าความรู้สึกอิ่มเอมในหัวใจที่เธอรู้สึกอยู่บ่อยๆ เธออยากให้ชาวบ้านในแต่ละชุมชนเองรู้สึกแบบนี้เหมือนกัน ซึ่งวิธีที่จะทำให้พวกเขารู้สึกได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ก็คือ ต้องทำให้พวกเขาได้เห็นว่ามีใครบ้างที่สวมใส่ผ้าที่พวกเขาทอ ย้อม หรือตัดเย็บด้วยมือ  

วันที่เอาผ้าปะเต๊ะจากสุไหงโกลกไปทำ เราก็ไม่ได้คิดอะไรไปไกลมาก ค่เอามาถ่ายรูปเซตแฟชั่นตามสไตล์เรา จนกระทั่งมีฝรั่งตามมาที่ร้านบอกว่า ฉันจะออเดอร์ปาเต๊ะเธอส่งไปที่ปารีส พอเราเอาเรื่องนี้ไปบอกน้องมุสลิมที่ทำงานนี้ น้องถึงกับร้องไห้ แล้วบอกว่าขอบคุณมาก จริงๆ หนูแทบจะหมดไฟไปแล้ว คือเราทำให้เขาเห็นว่าผ้าปาเต๊ะสามารถเอาไปต่อยอดได้มากกว่าการเป็นแค่โสร่งหรือผ้าชิ้นผืนเดียว จริงๆ แล้วปาเต๊ะบ้านเราไม่แพ้ชาติใดในโลก นี่คือสิ่งที่แบรนด์พยายามทำ

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

หรืออย่างผ้าฝ้ายที่คนเข้าใจว่ามีแต่จังหวัดเลยที่ปลูกฝ้ายได้งาม แต่จริงๆ แล้วฝ้ายจากอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีก็สวยมาก เราเลยอยากทำให้คนรู้จักผ้าฝ้ายโขงเจียมมากขึ้น เลยคิดคอลเล็กชั่น จากโขงเจียมสู่ปารีส ขึ้นมา ออกเงินเอง หอบเสื้อผ้าบินไปหานางแบบ ช่างภาพ ถ่ายทำเองที่ปารีส เพราะอยากให้ชาวบ้านที่ทำผ้าเกิดความภาคภูมิใจว่าผ้าของเขาไปได้ไกลถึงขนาดนั้น 

ตอนเราให้นางแบบใส่ชุดผ้าไหมถ่ายรูปตรงหอไอเฟล เราร้องไห้ออกมาเลย เพราะรู้สึกว่าเรามาถึงตรงนี้ได้แล้ว เราทำให้ชุมชนเกิดอินสไปร์ได้แล้ว และวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อแม่ๆ ที่ทำผ้าเหล่านี้เสียชีวิตไป เราจะไม่มีผ้าเซตนี้อีกแล้ว

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

เมื่อผืนผ้าสอนใจ ให้แง่คิด 

ตั้งแต่การเดินทางของแบรนด์ Made by Hotcake เริ่มต้นขึ้น หลายครั้งเวลาที่ตุ้มคิดงานไม่ออก หรือเกิดอาการเมืองหลวงทำพิษ เธอไม่รีรอที่จะมุ่งหน้าไปสนามบินในตอนสิ้นสุดวัน เพื่อจองตั๋วเดินทางไปหาชาวบ้านสักจังหวัด เพราะเธอมั่นใจว่าผู้คนละผืนผ้าที่นั่นจะทำให้เธอกลับมาสดใส เปี่ยมด้วยไฟในการทำงานอีกครั้ง 

เวลาคิดงานไม่ออก ตุ้มมักจะขึ้นดอยไปหาชาวบ้าน หลายครั้งที่มักจะคิดล่วงหน้าไว้เลยว่า สุดสัปดาห์นี้จะไปจังหวัดไหนดี ไปให้ชาวบ้านเติมไฟให้หน่อย ไปแค่พอให้ได้เห็นลายผ้าสวยๆ ก็จะคิดออกว่า เราจะทำอะไรต่อดี

Thai Craft

และก็มีบางครั้งระหว่างขั้นตอนการทำงาน ที่ผืนผ้ากระตุกเตือนใจให้เธอยอมรับข้อผิดพลาด และน้อมรับการเปลี่ยนแปลงเสียบ้าง 

เมื่อประมาณ ปีที่แล้ว ตุ้มได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในงานของ TCDC เลยคิดที่จะเอาผ้าขาวม้าจากหมู่บ้านตอหลัง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มาตัดเป็นเสื้อคลุม เพื่อใช้ในงานนี้ เลยโทรไปบอกพี่ๆ ชาวเขาว่าตัดเสื้อคลุมตามแบบให้หน่อย แล้วถ้าผ้าเหลือค่อยเอาไปทำหมวก Turban

Thai Craft
หมวก Turban

หมวก Turban เกิดจากไอเดียที่เราไม่อยากให้เกิดขยะจากการทำเสื้อผ้าของเรา เลยเอาเศษผ้าที่เหลือมาทำหมวกที่สวมได้เหมือนผ้าโพก ลูกค้าหลายคนเลือกที่จะซื้อไปเป็นของขวัญให้กับผู้ป่วยมะเร็ง เพราะสวมใส่สบายและสวยกว่าหมวกไหมพรม 

กลับมาที่เสื้อคลุมจากผ้าขาวม้าของเรา ด้วยความที่ไม่รู้ว่าการสื่อสารผิดพลาดตรงช่วงไหน พี่ๆ ชาวเขานึกว่าให้เอาผ้าข้าวม้าไปทำหมวก ก็เลยตัดผ้าเป็นชิ้นเล็กๆ หมดเลย หลังจากนั้นก็รมาถามด้วยความสงสัยว่า น้องตุ้ม ออเดอร์เยอะเหรอ ทำไมทำหมวกเยอะจัง โอ้โห ฟังปุ๊บ ใจตกไปอยู่ตาตุ่มเลย แล้วอีกสองวันเราต้อเอาของไปโชว์แล้ว ทำอะไรไม่ถูก ร้องไห้ฟูมฟายเหมือนจะตายเสียให้ได้

Thai Craft

ทางฝั่งนั้นก็เครียด เขาเลยบอกว่าเดี๋ยวพี่จะลองเอาเศษผ้ามาต่อเป็นตัวดูแล้วกัน ส่วนเราก็ร้องไห้ไม่หยุด เพราะรู้สึกผิดแผนไปหมด ได้แต่บอกเขาว่า ถ้าทำเสร็จให้รีบส่งของมาทางรถทัวร์เลย พอไปรับของที่หมอชิต ลองกางเสื้อดู ในใจก็คิด จะขายได้เหรอ พอลองโพสต์ขาย ปรากฏว่าเสื้อคลุม 5-6 ตัวนั้นขายหมดภายใน 30 นาที จนเราเก็บไว้ได้แค่ตัวเดียว เพื่อเอาไปใช้โชว์ในงาน TCDC

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

หลังจากนั้นวันนึง อยู่ดีๆ มีคนไลน์มาบอกว่า อยากได้เสื้อลายนี้ค่ะ ช่วยส่งมาที่สุขุมวิทตอนนี้เลยได้ไหม เราก็ส่งไปให้ พอตอนเย็นเขาส่งรูปกลับมาให้ดู ถามว่าน่ารักไหมคะ ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจ แต่พอกดดู เฮ้ย ญาญ่าใส่! มือไม้สั่น รีบพิมพ์ไปขอบคุณคนนั้น ซึ่งเป็นคุณน้าของญาญ่า เราก็ส่งรูไปให้ชาวเขาดู หลังจากนั้นก็มีออเดอร์สั่งผลิตเสื้อน้องญาญ่าอีก 200 ตัว จนทำกันแทบไม่ทัน เหตุการณ์นี้มันเติมเต็มในหัวใจมาก และก็สอนอะไรหลายอย่างกับเราว่า ชีวิตต้องมีผิดพลาดบ้าง และก้าวที่ผิดมักจะทำให้เกิดก้าวใหม่ เสมอ

Thai Craft

ก้าวต่อไป เมื่อผ้าไทยไปประดับบนรองเท้า 

วันที่ทากะแอดเฟรนด์มาตลกมาก เป็นเพื่อนกันมา 15 ปี ไม่เคยมีเฟสบุ๊กกัน ทั้งที่เวลาเจอกันตามอีเวนต์ก็ทักกันตลอด” ตุ้มเล่าถึงวันที่ทั้งคู่โคจรมาพบกันอีกครั้งในโลกออนไลน์ 

ทากะบอกว่า I respect you มากในสิ่งที่ยูทำ เราเลยบอกทากะว่า ถ้ามีความเป็นไปได้ เรามาทำอะไรสนุกๆ กันดีกว่า เราถนัดทำเสื้อผ้ากับชาวเขา แต่ยังขาดเรื่องรองเท้าเลยชวนทากะมาเติมเต็ม รู้เลยว่าออกมาต้องสวย

Thai Craft

ตอนตุ้มชวนทำรองเท้าด้วยกันก็ดีใจ อยากทำมาก ผมชอบผ้าอยู่แล้ว และชอบเกี่ยวกับชนเผ่า รู้สึกว่าเป็นวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และอยากเรียนรู้อยู่แล้ว พอตุ้มชวนก็ทำเลย” ดีไซเนอร์รองเท้าจากเมืองไซตามะพูดภาษาไทยคล่องปร๋อ เพราะใช้ชีวิตที่นี่มานานกว่า 15 ปี เล่าถึงการตัดสินใจร่วมงานที่ไม่ต้องเสียเวลาคิดนาน

Thai Craft

Thai Craft

ส่วนเหตุผลที่เลือกผ้าใยกัญชงมาทำ เพราะเป็นผ้าที่ทำยาก ต้องผ่านกระบวนการซับซ้อน เลยอยากส่งเสริมผลิตภัณฑ์ของชุมชนนี้ อีกเหตุผลหนึ่งคือ เมื่อก่อนคนญี่ปุ่นก็เคยปลูกใยกัญชง แต่พออเมริกายึดญี่ปุ่นก็เอาผ้าฝ้ายเข้าไป ด้วยใยกัญชงเลยหายไปจากญี่ปุ่น พอมีสตอรี่แบบนี้ รองเท้า Muzina ที่มีดีไซเนอร์เป็นคนญี่ปุ่นเลยยิ่งเหมาะกับโปรเจคท์นี้” ตุ้มรับหน้าที่แจกแจงรายละเอียด 

หลังจากเอาผ้ามาทำรองเท้าเสร็จ เรากับทากะก็ขึ้นดอยไปถ่ายรูปเซ็ตแฟชั่น โดยให้คุณยายอายุ 90 กว่าปีเป็นนางแบบ จะได้มีส่วนร่วมกันทั้งหมด เราอยากไปพัฒนาอะไรบางอย่างที่เราเห็นกันอยู่ตลอดให้เป็นแฟชั่นที่คนเห็นแล้วอยากใส่ตาม

Thai Craft
Photo: madebyhotcake

ขึ้นดอยสนุกมาก เพราะเป็นช่วงปีใหม่ม้งพอดี” ทากะเสริมถึงความประทับใจ ความฝันก่อนมาเมืองไทยของผมคือ อยากทำเสื้อผ้า จนตอนนี้ได้ทำรองเท้า ซึ่งก็เป็นแฟชั่นอย่างหนึ่ง แต่จริงๆ แฟชั่นเป็นตัวทำลายธรรมชาติมากที่สุดในโลก แต่ผมเป็นคนรักธรรมชาติ ยิ่งทำงานก็เลยยิ่งเครียด บั้นปลายชีวิตผมอยากอยู่กับธรรมชาติ พอได้ไปเจอชุมชนชาวเขาที่ปลูกผักเองตามธรรมชาติ ทำน้ำมันสกัดเอง เลยเกิดเป้าหมายอยากจะเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้

Thai Craft

ทากะมาถามเราเหมือนกันว่าความฝันของตุ้มคืออะไร สำหรับตอนนี้เรามีความมุ่งหวังว่าจะกลับบ้านที่จังหวัดเลยเพื่อดูแลพ่อแม่ ส่วนในอนาคตเมื่อเหลือเราตัวคนเดียวแล้ว อาจจะไปอยู่ต่างประเทศสัก ปี อาจจะเป็นนิวยอร์ค หรือที่ไหนก็ตาม ไปเรียนรู้วัฒนธรรมแฟชั่น ไปเติมเต็มความรู้ให้ตัวเอง เพราะเราไม่ได้จบแฟชั่น อันนั้นคือความฝันของเรา 

แต่ถ้าถามถึง ณ ปัจจุบัน เราไม่ได้อยากเป็นที่รู้จักในฐานะดีไซเนอร์ แต่เราเป็นคนทำผ้าเพื่อสนับสนุนชุมชน

Thai Craft

Made by Hotcake 

Facebook: Made by Hotcake 

Instagram: Made by Hotcake 

Muzina 

Facebook: Muzina 

Instagram: Muzina