©ulture

‘การออกแบบประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะกับการมีส่วนร่วมของชุมชน’

คือจุดเริ่มต้นของแนวคิดโครงการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่กรุงเทพมหานครของ รศ.จักรพันธ์ วิลาสินีกุล และ อาจารย์พิเชฐ เขียวประเสริฐ อาจารย์ประจำภาคประติมากรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะลงบนฝาท่อพักน้ำและสาธารณูปโภค ให้มีความสวยงามและแปลกตาไปจากเดิม

ซึ่งลวดลายบนฝาท่อทั้ง 5 ชิ้นต่างมีเรื่องราวที่เชื่อมโยงไปกับวิถีชีวิตของผู้คนในย่านนี้ อาทิ ฝาท่อลายคนแจวเรือที่สื่อถึงการดำเนินชีวิตของผู้คนในอดีต ฝาท่อลายเวสป้าที่มีผ้าบรรทุกอยู่ด้านท้ายสื่อถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านพาหุรัดโดยใช้รถเวสป้าเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า ฝาท่อลายพระนครและลายสัมพันธวงศ์ที่กำลังบอกว่าคลองโอ่งอ่างนั้นอยู่ในพื้นที่ของทั้ง 2 เขต และสุดท้าย ฝาท่อคำว่าสวัสดีที่คล้ายการกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือน

โดยฝาท่อทั้ง 5 ชิ้นได้ถูกวางกระจัดกระจาย อยู่ทั้งสองฝั่งทางเดินที่ขนานไปกับลำคลองสายนี้ ส่วนจะอยู่จุดไหนบ้างนั้น เราอยากจะชวนให้ทุกคนเดินทางออกไปค้นหากัน เพราะศิลปะมีอยู่ทุกที่และอาจไม่ใช่แค่เพียงบนฝาท่อ

#PHOTOESSAY #ฝาท่อ #becommon
‘ฝาท่อลายเวสป้า’ ที่สื่อถึงวิถีชีวิตของผู้คนในย่านพาหุรัดโดยใช้รถเวสป้าเป็นพาหนะในการขนส่งสินค้า
#PHOTOESSAY #ฝาท่อ #becommon
‘ฝาท่อลายคนแจวเรือ’ ที่สื่อถึงการดำเนินชีวิตของผู้คนในอดีต
#PHOTOESSAY #ฝาท่อ #becommon
‘ฝาท่อลายสัมพันธวงศ์’ สื่อถึงครอบครัวชาวจีนที่อาศัยในพื้นที่เขตสัมพันธวงศ์
#PHOTOESSAY #ฝาท่อ #becommon
‘ฝาท่อคำว่าสวัสดี’ ที่คล้ายกับว่าเป็นการกล่าวต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนยังที่แห่งนี้
#PHOTOESSAY #ฝาท่อ #becommon
‘ฝาท่อลายพระนคร’ ที่กำลังสื่อว่าคลองโอ่งอ่างนั้นอยู่ในพื้นที่ของทั้ง 2 เขต คือเขตพระนครและเขตสัมพันธวงศ์