©ulture

“พระพุทธรูป คือ รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา”

พระพุทธรูป…อายุพันกว่าปี ตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ล้านนา อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ถูกตั้งวางอยู่ภายในห้องพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

ห้องโถงขนาดใหญ่แห่งนี้รวบรวมประวัติศาสตร์ต่างๆ ของพุทธศาสนาในอดีตไว้ให้เราได้เรียนรู้ ผ่านโบราณวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ถึงแม้จะผ่านวันและเวลามาเนิ่นนานเพียงใดก็ตาม

พระพักตร์ของพระพุทธรูปในแต่ละสมัยนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าอาณาจักรในแต่ละยุคได้รับอิทธิพลจากที่ใดมา

อย่างเช่น สมัยทวารวดี พระพักตร์ของพระพุทธรูปยังคงลักษณะของอินเดียอยู่มาก พระพุทธรูปในสมัยนี้จะมีพระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนและสั้น พระหนุ(คาง)ป้าน

สมัยลพบุรีได้รับอิทธิพลมาจากเขมร พระพุทธรูปในสมัยนี้ก็จะมีพระพักตร์สี่เหลี่ยม สีพระพักตร์ดูเคร่งขรึม

สมัยสุโขทัยได้อิทธิพลมาจากลังกา พระพักตร์จะเป็นรูปไข่สมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่งรับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวมมีเมตตา เป็นต้น

“พระพุทธรูป คือ รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา”

วิกิพีเดีย ให้ความหมายของพระพุทธรูปไว้เช่นนั้น

โดยพระพุทธรูปสามารถเตือนใจให้เราระลึกถึงหลักความดีและคำสอนของพระพุทธเจ้า

ซึ่งก็คือ การทำความดี ละเว้นความชั่ว และขัดเกลาจิตใจให้ผ่องใส หรือถึงที่สุดคือการไม่ติดในดีและชั่ว

อันเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ดำรงอยู่มาสองพันกว่าปี

 

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม เป็นศิลปะในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 -14 ( 1200 – 1300 ปี มาแล้ว ) เป็นเศียรของพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน พระพักตร์ของพระพุทธรูปยังคงลักษณะของอินเดียอยู่มาก ซึ่งพระพุทธรูปในสมัยนี้จะมี พระเกตุมาลาเป็นต่อมนูนและสั้น  พระหนุ(คาง)ป้าน เป็นต้น

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปยืน ปางประทานพร ที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ซึ่งถูกสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี เมื่อประมาณพุทธศตรรษที่ 13 ( 1300 ปีมาแล้ว )

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปปางมารวิชัยนาคปรกเป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้ของไทย สันนิษฐานว่าได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยศรีวิชัย ( เมื่อประมาณปี พุทธศตวรรษที่ 1726 ) พระพุทธรูปองค์นี้เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะเขมรโบราณและฝีมือช่างท้องถิ่นทางภาคใต้ของไทยในเวลานั้น โดยที่ฐานของพระพุทธรูปองค์นี้มีภาษาเขมรโบราณจารึกอยู่ด้านล่าง

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปทรงเครื่องนาคปรก เป็นศิลปะในสมัยลพบุรีหรือศิลปะเขมรโบราณ ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ( 900 ปี มาแล้ว ) โดยเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม มีร่องรอยของการลงรักปิดทอง สีพระพักต์ดูเขร่งขรึม

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นศิลปะในสมัยล้านนา ถูกสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 ( 500 ปีมาแล้ว ) พระเศียรมีขมวดพระเกศใหญ่ พระเมาลีพองและสูงใหญ่ พระเนตรเปิดมองตรง

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยสุโขทัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ( 600 ปีมาแล้ว ) พระพักตร์รูปไข่สมส่วน ยิ้มพองาม พระขนงโก่งรับกับพระนาสิกที่งุ้มเล็กน้อย พระโอษฐ์แย้มอิ่ม ดูสำรวมมีเมตตา ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปในสมัยสุโขทัย

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

พระเศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ซึ่งวัดจากโคนพระเมาลีถึงพระศอได้ 1.67 เมตร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 – กลางพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ศิลปกรรมสมัยอยุธยาได้พัฒนารูปแบบจนเกิดเป็นพระพุทธรูปที่เป็นลักษณะของศิลปะอยุธยาอย่างแท้จริง

#เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture #เศียรพระ #ศิลปะโบราณ #พระพุทธรูป #photoessay #culture

เศียรพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ ประมาณปีพุทธศักราชที่ 2434 พระพุทธรูปในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะนำศิลปะของสุโขทัยและอยุธยามาผสมผสาน เช่น การทำรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก เป็นต้น

*หมายเหตุ: การจัดแสดง “พระพุทธรูป” เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ ‘แผ่นดินไทยในอดีต’ ซึ่งเป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ที่มีคุณค่าและความงามของในแต่ละยุคสมัยทางโบราณคดีของไทย