life

ยังมีประชากรโลกราวๆ 10 % ชื่นชอบช่วงเวลาตื่นตกใจที่ทำให้สารอะดรีนาลีนหลั่ง

นั่นทำให้บางคนชอบดูหนังสยองขวัญ ซึ่งเต็มไปด้วยฉากขนหัวลุก เลือดสาด และจังหวะชวนสะดุ้งและนอกจากเรื่องสยองขวัญแล้ว จะสังเกตเห็นได้ว่าหลายคนยังชอบเครื่องเล่นหวาดเสียว ทำกิจกรรมผาดโผน ท้าทายให้หัวใจเต้นแรง 

จังหวะ jump scare ในหนังสยองขวัญ ที่ทำให้เราตกใจเป็นตัวการให้ร่างกายหลั่งสาร อะดรีนาลีน ออกมา เราจะปรับสู่โหมด สู้หรือหนี (Fight or Flight Response)’ ซึ่งทำให้หัวใจเต้นแรง กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยอัตโนมัติเพื่อให้พร้อมต่อสู้หรือวิ่งหนีอันตรายตรงหน้าอย่างทันท่วงที 

(Photo : ภาพยนตร์เรื่อง It Chapter Two, 2019)

แทนที่จะเข็ดขยาดกับอาการตกใจ บางคนกลับหลงใหลและเสพติดความรู้สึกนี้ เหมือนเป็นของหวานที่ยิ่งลิ้มรสยิ่งทำให้รู้สึกดี ยิ่งสถานการณ์ในเรื่องบีบคั้น ตึงเครียด และชวนตกใจแค่ไหน พอหนังจบก็ยิ่งทำให้รู้สึกดีเท่านั้น 

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เรื่องสยองขวัญยังคงได้รับความนิยมตลอดกาล เป็นเพราะมนุษย์เราอยากรู้อยากเห็น อยากเผชิญหน้ากับความสยดสยองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เราจึงชอบเสพสิ่งเหล่านี้ โดยมีข้อแม้คือ นั่นต้องไม่ใช่เรื่องจริง 

ผลการทดลองของ Haidt, McCauley และ Rozin ในปี 1994 เผยว่ากว่า 90% ของผู้เข้าร่วมทดลองไม่สามารถทนดูสารคดีที่มีฉากสยดสยองได้จนจบ เพราะนั่นเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ในขณะที่ภาพยนตร์สยองขวัญยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย 

(Photo : ภาพยนตร์เรื่อง Don’t Breathe,2016)

ภาพยนตร์ เรื่องเล่า วรรณกรรมที่ปรากฏภาพน่าสะอิดสะเอียนเป็นทางที่ทำให้เราได้ลองเผชิญหน้ากับความเลวร้ายโดยที่ไม่มีกระทบกับชีวิตจริงของเรา ประโยชน์ของสิ่งนี้คล้ายคลึงกับข้อดีของการฝันร้าย ซึ่งช่วยให้สมองของเราได้ฝึกเรียนรู้แก้ไขปัญหาและรับมือกับอันตรายที่อาจมาเยือนได้ 

อย่างไรก็ตามหนังสยองขวัญไม่ได้เป็นที่โปรดปรานเสมอไป เพราะมันค่อนข้างส่งผลกระทบกับจิตใจด็กๆ อายุ 5-7 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่ยังแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องเล่าออกจากกันไม่ได้ อีกทั้งกับคนที่อ่อนไหวและตกใจง่ายการดูหนังสยองขวัญก็อาจทำให้ไม่สนุกอย่างที่หลายๆ คนชื่นชอบ 

อ้างอิง