life

“ในอนาคตเวลาอ่านนิยายวายเราไม่อยากให้มองแล้วว่าเรื่องนี้เป็นวายหรือเปล่า แต่อยากให้ความวายเป็นแค่รสนิยมทางเพศของตัวละคร นิยายเรื่องนั้นอาจเป็นนิยายสืบสวนสอบสวน เป็นนิยายสะท้อนสังคม หรือเป็นนิยายคอมเมดี้ดีๆ เรื่องหนึ่งที่มีตัวเอกเป็น LGBTQ+ เท่านั้นเอง”

หากพูดถึง แซมม่อน (Sammon) หรือ พญ. อิสรีย์ ศิริวรรณกุล นักเขียนนิยายวายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่อง พฤติการณ์ที่ตาย (Manner of Death) เชื่อว่าคอนิยายวายหลายคนต้องร้องอ๋อ เพราะผลงานของหมอแซมเพิ่งถูกนำมาดัดแปลงเป็นซีรีส์ในโปรเจ็กต์ WeTV ORIGINALS ในชื่อเดียวกัน ซึ่งออกอากาศจบไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมด้วยเสียงชื่นชมอันล้นหลาม ติดท็อป บนเทรนด์ทวิตเตอร์ทุกครั้งที่ออนแอร์ 

หลายปีมานี้กระแสชายรักชายหรือที่เราเรียกกันว่า ‘วาย’ มาแรงขึ้นเรื่อยๆ อาจเพราะสังคมเริ่มเปิดกว้างทำให้คอนเทนต์วายถูกนำเสนอผ่านหลายสื่อ มีการนำนิยายวายหลายเรื่องมาทำเป็นละครหรือซีรีส์ แต่เรื่องราวที่เล่าออกมามักวนเวียนอยู่กับเรื่องความรัก ไม่ได้ไปไหนไกลเกินกว่ารั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จนแทบจะกลายเป็นรูปแบบมาตรฐานของซีรีส์วายไทย

จนกระทั่ง พฤติการณ์ที่ตาย ได้พาวงการซีรีส์วายออกนอกกรอบเดิมๆ ด้วยเนื้อเรื่องแปลกใหม่แนวสืบสวนสอบสวนที่ฉีกจากโรแมนติก หรือดราม่าไปอย่างสิ้นเชิง ตัวละครเอกเป็นแพทย์ที่ต้องร่วมมือกันไขคดีฆาตรกรรมร่วมกับตำรวจ มีเรื่องราวของการต่อสู้กับกระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใสและเหล่าผู้มีอิทธิพล เป็นที่น่าจับตามองว่านี่ซีรีส์เรื่องนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้วงการซีรีส์วายไทยเกิดการแข่งขันและผลิตคอนเทนต์หลากหลายแนวออกมามากขึ้น 

แซมม่อน นักเขียนวายที่มีแนวทางเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน ท่ามกลางกระแสนิยมของนิยายวายสายรักโรแมนติก เธอยังคงมุ่งมั่นจะสร้างผลงานให้ออกมาแปลกและแตกต่างจนมีผู้คนมากมายหันมาให้ความสนใจ 

becommon จึงชวนคุณหมอนักเขียนมาพูดคุยถึงแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์งานวายในฉบับแซมม่อน การเป็นหมอที่ให้อะไรหลายๆ อย่างกับเธอ รวมถึงความคาดหวังเกี่ยวกับวงการนิยายวายในอนาคต ไม่แน่ว่าหลังการพูดคุยในครั้งนี้อาจทำให้เรามองวายในมุมมองที่กว้างหรือแตกต่างไปจากเดิมก็เป็นได้ 

 

แซมม่อนกับความฝันวัยเด็ก 

ปัจจุบัน แซมม่อน หรือ หมอแซม รับราชการตำแหน่งแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัวประจำอยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อถามถึงความฝันวัยเด็กของเธอ คำตอบที่เราได้กลับไม่มีอาชีพหมอรวมอยู่ในนั้น 

แซมอยากเป็นนักสร้างความบันเทิง เป็นสายผลิต ผลิตงานอะไรสักอย่างให้คนอื่นมาเสพแล้วมีความสุข” เธอเล่าเคล้ารอยยิ้มและประกายตาสดใส 

ย้อนกลับไปช่วงประถม แซมม่อนคือเด็กหญิงคนหนึ่งผู้รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ หนังสือเล่มแรกๆ ที่พาให้เธอก้าวเข้ามาเพลิดเพลินในโลกแห่งตัวอักษรคือวรรณกรรมเยาวชนซึ่งมีเนื้อหาไม่ยากเกินความเข้าใจของเด็กวัยนั้น เมื่อโตขึ้นอีกหน่อยเธอก็อ่านหนังาสือหลากหลายขึ้น และ ‘นิยาย’ ก็เป็นหนังสืออีกประเภทที่เธอโปรดปราน 

หลังจากลองอ่านนิยายมาแล้วแทบทุกแนว ตั้งแต่แฟนตาซี ไซไฟ โรแมนติกและอื่นๆ อีกมากมาย แซมค้นพบว่านิยายฆาตกรรม สืบสวนสอบสวนคือแนวที่ใช่ที่สุดสำหรับเธอ อาจด้วยพล็อตเรื่องอันซับซ้อนและการไขปมปริศนาที่ทำให้น่าติดตาม ตื่นเต้น ลุ้นระทึกตลอดเวลา พื้นที่บนชั้นหนังสือของเธอจึงเต็มไปด้วยนิยายสืบสวนสอบสวน 

ไม่ใช่ไม่เคยลองอ่านแนวอื่นนะ จริงๆ แซมอ่านมาเยอะมากแทบจะทุกแนว เคยพยายามอ่านรักโรแมนติกแต่รู้สึกว่ามันยังไม่ใช่ ไม่น่าติดตามเท่าสืบสวนสอบสวนที่มีอะไรให้ลุ้นอยู่ตลอดเวลา 

ฮาร์ลาน โคเบน (Harlan Coben) เป็นนักเขียคนโปรดของแซม 

เขาเป็นเจ้าของผลงานเซ็ตสืบสวนสอบสวนเรื่อง ไมรอน โบลิทาร์ (Myron Bolitar) แซมมีหนังสือของเขาเกือบทุกเล่ม เราได้แรงบันดาลใจและสไตล์การเขียนมาจากเขาค่อนข้างเยอะ เรียกได้ว่าเป็นนักเขียนต้นแบบของแซมเลยก็ว่าได้ 

นอกจากฮาร์ลาน โคเบน แล้วแซมก็อ่านงานของคนอื่นๆ บ้าง อย่าง แดน บราวน์ (Dan Brown) รวมถึงผลงานสืบสวนสอบสวนของฝั่งญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ได้ชื่นชอบนักเขียนท่านไหนเป็นพิเศษ ถ้าถามถึงแรงบันดาลใจจริงๆ ก็มีอยู่แค่คนเดียว 

ความชื่นชอบนวนิยายสืบสวนสอบสวนนี่เองที่หล่อหลอมให้เธอกลายเป็นนักเขียนเจ้าของนามปากกา Sammon ที่แฟนๆ รู้จักกันในปัจจุบัน 

เพราะชอบอ่านจึงอยากเขียน 

เพราะเป็นนักอ่านตัวยงมาตั้งแต่เด็ก แซมจึงใฝ่ฝันอยากมีเรื่องราวที่สร้างขึ้นด้วยตัวเอง เธอเริ่มเขียนงานครั้งแรกตอนเรียนชั้นป.ในยุคที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์คู่ใจจึงมีเพียงสมุดและดินสอ 

เรื่องแรกที่แซมเขียนยังไม่ใช่นิยายแต่ออกแนว non-fiction จำได้ว่าตอนนั้นที่บ้านเลี้ยงกระต่ายไว้ 20 กว่าตัว ค่อนข้างวุ่นวาย ทุกๆ วันจะมีเรื่องราวเกิดขึ้นเยอะแยะมากมาย เราก็เลยหยิบเรื่องตรงนี้มาเขียน”  

การเขียนที่เป็น fiction จริงๆ เริ่มขึ้นสมัยเรียนมัธยม ช่วงที่ F4 เวอร์ชั่นไต้หวันเพิ่งเข้าใหม่ๆ คนเขาฮิตดูซีรีส์กัน เราเองก็ดูด้วย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นให้เขียนนิยายรักกุ๊กกิ๊ก ตอนนั้นเขียนแนวรักโรแมนติก ชาย-หญิง สักพักเริ่มขยับไปเขียนแนวแฟนตาซี พีเรียดย้อนยุค เขียนวนไปเรื่อย ไม่จบสักเรื่อง แต่การได้ลองเขียนหลากหลายแนวก็ทำให้เราได้ค้นหาตัวเองไปเรื่อยๆ พอที่บ้านมีคอมพิวเตอร์แซมก็เริ่มพิมพ์เรื่องสั้นเก็บไว้ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องกระจุกกระจิกมากกว่าจะเป็นนิยายเรื่องยาวจริงจัง จนกระทั่งต้องหยุดเขียนเมื่อตัดสินใจเรียนหมอ 

 

ชีวิตพลิกผันสู่การเป็นหมอ 

ช่วงมัธยมแซมชอบงานศิลปะ ชอบดูอนิเมะญี่ปุ่นมากๆ เลยมีความตั้งใจว่าจะเรียนสายแอนิเมชัน สมัยนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็มีเปิดสอนที่วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี เราก็ล็อกเป้าไว้ตั้งแต่ ม.ว่าจะเข้าคณะนี้ เลยเริ่มหัดเรียนวาดรูป ฝึกโปรแกรม Photoshop หัดทำ 3D Model ด้วยตัวเอง พอฝีมือการวาดภาพพัฒนาแบบก้าวกระโดดก็ยิ่งทำให้มั่นใจว่าเราจะไปสายแอนิเมชันแน่นอน 

พอเล่ามาถึงตรงนี้เราก็ยิ่งสงสัยมากขึ้นไปอีกว่าชีวิตที่ดูจะไปได้สวยกับสายศิลปะ ระหว่างทางเกิดจุดเปลี่ยนอะไรที่ทำให้เธอกลายเป็นคุณหมออย่างทุกวันนี้ 

ชีวิตเราเริ่มพลิกผันตอนเรียน ม.ปลาย เพราะสอบติดโอลิมปิกวิชาการ สาขาชีววิทยา แซมรู้สึกว่าจริงๆ แล้วตัวเองถนัดวิชาสายวิทย์ โดยเฉพาะชีววิทยากับฟิสิกส์ พอพ่อแม่เห็นว่าเรามีศักยภาพด้านนี้เขาก็เริ่มตั้งความหวัง เขารับรู้แล้วว่าเรามีความสามารถพอที่จะเรียนสายหมอหรือสายวิศวะได้ ตอนนั้นเราคิดถึงแต่วิศวะ เริ่มสมัครเข้าค่ายติววิศวะ ตอนม.เป็นช่วงหนึ่งที่เรียกว่าพลิกชีวิตได้เลย คือแซมไปทดลองสอบแล้วผลปรากฏว่าคะแนนถึงเกณฑ์ที่จะเข้าเรียนวิศวะได้ 

พอพ่อแม่รู้ เขาก็พูดกับเราว่า เอาอีกนิดไหม พยายามอีกนิดน่าจะถึงหมอ แซมก็คล้อยตาม เริ่มตั้งเป้าแล้วว่าจะเป็นหมอ แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นเคร่งเครียดกดดันตัวเอง คิดแค่ว่าถ้าคะแนนไม่ถึงก็ยังถอยกลับมาลงวิศวะ ผลคือสอบติดหมอตั้งแต่โควตามหาวิทยาลัยรอบแรก เราเลยทิ้งไม่ได้ ต้องเรียนอย่างเดียว อาชีพในปัจจุบันของเราจึงแตกต่างจากความฝันวัยเด็กลิบลับ แต่สายวิทย์สุขภาพมันก็ตรงกับความถนัดของเราด้วย เลยทำออกมาได้ค่อนข้างดี 

แซมทุ่มเทกับการเป็นนักเรียนแพทย์ไปกว่า ปีเต็ม จนกระทั่งเรียนจบเฉพาะทางเวชศาสตร์ครอบครัว แม้ช่วงแรกๆ จะยุ่งจนต้องพักเขียนงานอย่างที่ชอบไปหลายปี แต่หลังจากที่ชีวิตเริ่มลงตัว เธอก็ไม่รอช้า รีบกลับมาสานต่อความฝันในการเป็นนักเขียนอีกครั้ง 

 

หวนคืนสู่สายผลิตงาน 

เป็นนักเขียนนิยายอย่างที่เคยฝันไว้ตอนเด็ก 

แซมหยุดเขียนเพราะอยากทุ่มเทกับการเรียนอย่างเต็มที่ แต่ความชอบและความฝันที่มีมันไม่ได้หายไปไหน ยิ่งได้เรียนวิชาจิตเวชตอนปี เราก็รู้สึกได้ว่าไอเดียมันพุ่งกระฉูดอยากเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับจิตเวช นั่นเลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้กลับมาเขียนนิยายเรื่องยาวอีกครั้ง และครั้งนี้เราเขียนนิยายวาย ชื่อ การวินิจฉัย (Diagnosis) เนื้อหาเป็นแนวจิตวิทยา เป็นเรื่องของนักศึกษาแพทย์ที่รับเคสผู้ป่วยจิตเวชคนหนึ่ง หลังจากนั้นก็มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย 

แซมบอกกับเราอีกว่าครั้งนี้เธอตั้งใจเขียนเล่นๆ เพื่อหาทางระบายพล็อตออกจากหัวเท่านั้น แต่กลับพบว่าตัวเองเขียนยาวไปได้เกือบครึ่งของเนื้อเรื่องทั้งหมดที่คิดไว้ ถึงอย่างนั้นเธอก็ตัดสินใจหยุดเขียนและทิ้งให้นิยายเรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องที่เขียนไม่จบเหมือนกับทุกเรื่องที่ผ่านมา 

ทว่าไม่เป็นเช่นนั้น เธอเว้นช่วงสักพักแล้วเริ่มเล่าถึงสิ่งที่ทำให้เธอต้องรื้อนิยายเรื่องนี้ขึ้นมาเขียนต่อจนจบ 

เพื่อนส่งลิงก์นิยายวายเรื่องหนึ่งมาให้อ่าน แซมอ่านแล้วรู้สึกว่าวายไทยน่ารักจัง มันทำให้เรานึกถึงเรื่องของตัวเองที่เขียนค้างไว้ มีแพล็ตฟอร์มออนไลน์ให้ลงนิยายตั้งเยอะแยะ ทำไมไม่ลองลงเรื่องของเราให้คนอื่นอ่านดูบ้าง 

พอคิดได้แบบนั้น แซมก็ตัดสินใจอัพนิยายลงในเว็บไซต์ เด็กดี (Dek-D) ยอมรับว่าตอนนั้นฝีมือยังไม่ดีเท่าไหร่ แต่อาจเพราะแนวเรื่องที่แปลกใหม่และรายละเอียดทางการแพทย์ที่เราใส่ลงไป อีกสองสัปดาห์ต่อมาก็มีสำนักพิมพ์ติดต่อขอซื้อลิขสิทธิ์ไปพิมพ์เล่มเลย เรารู้สึกว่ามันเกิดขึ้นเร็วมาก ตอนนั้นน่าจะเป็นช่วงที่นิยายวายแนวนักศึกษาแพทย์กับวิศวะกำลังบูมมากๆ ด้วย 

นามปากกาแซมม่อนเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะนักเขียนนิยายวาย นั่นทำให้เรานึกสงสัยว่าจากที่เคยเขียนนิยายรักโรแมนติกแบบชาย-หญิง เธอเริ่มหันมาสนใจนิยายวายได้อย่างไร 

เธอยกกาแฟขึ้นจิบก่อนจะเล่าให้เราฟังด้วยน้ำเสียงสดใส 

ความวายของแซมเริ่มมาตั้งแต่สมัยมัธยม ไม่ได้เกิดจากคู่ชิปไอดอลเกาหลีอย่างที่เด็กๆ สมัยนี้คุ้นเคยกัน เราเสพวายจากทางฝั่งญี่ปุ่น เรียกได้ว่าเป็นเด็กที่รับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาเต็มๆ เราอ่านการ์ตูนญี่ปุ่น คัฟเวอร์เพลง วาดการ์ตูน เขียนโดจิน ชอบดูอนิเมะมาก่อน จะมีการจับคู่ให้ตัวละครชาย-ชายเป็นเรื่องปกติ นี่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สร้างความเป็นตัวตนและความเป็นสาววายของเรา 

เมื่อรสนิยมส่วนตัวของเราเป็นแบบนี้ เลยเริ่มมีความคิดว่า หากจะสร้างผลงานขึ้นมาสักเรื่อง งานของเราก็ต้องมีกลิ่นอายความวายเหมือนกัน 

ตอนนี้งานเขียนของแซมเน้นแนววายเป็นหลัก เธอให้เหตุผลว่าเธอประสบความสำเร็จจากนิยายวาย งานแรกที่ได้ตีพิมพ์ก็เป็นวาย งานแรกที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นซีรีส์ก็เป็นแนววายเช่นกัน ดังนั้นในอนาคตอันใกล้นี้เธอก็อยากจะเขียนนิยายวายต่อไปเรื่อยๆ 

ถ้าถามว่าอยากเขียนแนวชาย-หญิง หรือแนวที่ไม่เกี่ยวกับความรักเลยบ้างหรือเปล่า ก็มีความคิดอยู่เหมือนกัน อาจจะต้องเคลียร์งานวายช่วงนี้ให้เรียบร้อยก่อน เพราะเรามีงานค้างอยู่ค่อนข้างเยอะ ทั้งงานติดสัญญา งานซีรีย์ต่างๆ และตอนนี้ชื่อของแซมม่อนก็กลายเป็นชื่อนักเขียนวายไปแล้ว 

 

จาก ‘การวินิจฉัย’ สู่ ‘พฤติการณ์ที่ตาย’  

เมื่อนิยายวายเป็นได้มากกว่าความบันเทิง 

พฤติการณ์ที่ตายเป็นเรื่องที่ทำให้ชื่อของแซมม่อนกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เรายิงคำถามที่อยากรู้มานานว่าเธอได้แรงบันดาลใจในการเขียนนิยายเรื่องนี้มาจากอะไร 

แรงบันดาลใจเริ่มตอนเรียนปี อีกเหมือนกัน นอกจากวิชาจิตเวชที่ทำให้เกิดเรื่องการวินิจฉัยขึ้นมาแล้ว แซมยังได้ไปเรีนนที่แผนกนิติเวชด้วย เขาจะพาเราไปดูงาน ออกชันสูตร ผ่าศพ เรียนทฤษฎีต่างๆ เราชอบ รู้สึกเหมือนกำลังเรียนในสิ่งที่เคยอ่านในนิยายสืบสวนสอบสวน ที่คุณหมอในเรื่องต้องพยายามหาคำตอบจากศพว่าคนคนนี้ตายเพราะอะไร พอเรียนด้วยความสนุก นิติเวชจึงกลายเป็นอีกวิชาหนึ่งที่ชอบ และเราก็เก็บความรู้สึกนั้นไว้ในใจมาตลอด 

จนกระทั่งขึ้นปี หลังจากออกนิยายเรื่องแรก แซมก็อยากเขียนเรื่องต่อมา และจะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิติเวช เพราะเราชอบมากจริงๆ โดยเฉพาะคีย์เวิร์ดคำว่า Manner of Death หรือ พฤติการณ์ที่ตาย ซึ่งเป็นศัพท์ที่ใช้กันจริงในวงการนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนตัวคิดว่ามันเป็นคำที่เท่ดี 

“Manner of Death แปลว่า พฤติการณ์ที่ทำให้คนคนหนึ่งตาย แต่เป็นคนละอย่างกับสาเหตุการตาย สาเหตุการตายหนึ่งอาจเกิดจากพฤติการณ์ที่ตายที่ไม่เหมือนกันก็ได้ เหมือนเจนจิรา (ตัวละครในเรื่องพฤติการณ์ที่ตาย) ดูจากภายนอกเหมือนเธอผูกคอตาย แต่พฤติการณ์ที่ตายแท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นการฆาตกรรมก็ได้ ซึ่งตรงนี้หมอกับตำรวจต้องทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบ 

แซมสร้างเรื่องราวขึ้นมาจากคีย์เวิร์ดนี้ อยากหลอกให้คนอ่านลุ้นตามว่าพฤติการณ์ที่ตายของแต่ละตัวละครมันคือการฆ่าตัวตาย อุบัติเหตุ หรือฆาตกรรม แล้วถ้าเป็นการฆาตกรรม กระบวนการยุติธรรมจะมีวิธีจัดการกับผู้กระทำผิดอย่างไร” แซมเล่าให้เราฟัง 

 

ความเป็นหมอในงานเขียน

เราถามด้วยควาสงสัยว่าแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวคืออะไร หมอแซมอธิบายรีบอธิบายทันที่ว่า หมอด้านเวชศาสตร์ครอบครัวไม่ได้ดูแลเพียงผู้ป่วยอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วยคนนั้นด้วย เหมือนเป็นปราการด่านแรกที่จะป้องกันไม่ให้โรคของคนไข้ลุกลามหนักไปมากกว่าที่เป็นอยู่ 

งานของเราครอบคลุมการให้ความรู้ ส่งเสริมป้องกัน ชะลอการลุกลามของโรค รวมถึงคนไข้ที่ป่วยหายกลับบ้านก็ต้องคอยติดตามผล ลงพื้นที่กายภาพบำบัดถึงบ้าน ช่วงยฟื้นฟูทั้งตัวคนไข้ ครอบครัวและชุมชน เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องกลับมาโรงพยาบาลบ่อยๆ 

 

แซมมองว่านี่เป็นการใช้พลังของสื่อวายซึ่งกำลังถูกจับตามองในวงกว้างส่งต่อความคิดบางอย่างไปสู่ผู้ชม พฤติการณ์ที่ตายอาจไม่ได้สื่อสารประเด็น LGBTQ+ มากนัก แต่ก็ทำให้คนดูตระหนักถึงปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ได้

 

แซมม่อนมองว่างานในโรงพยาบาลและงานเขียนของเธอส่งเสริมซึ่งกันและกัน ดังนั้นเธอจึงไม่เคยมีความคิดที่จะลาออกจากการเป็นหมอ แต่เลือกที่จะทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป 

นิยายหลายๆ เรื่องของแซมจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ที่มาจากงานหมอด้วย ในหนึ่งวันแซมได้เจอคนหลากหลายรูปแบบ แต่ละครอบครัวก็มีเรื่องราวชีวิตแตกต่างกันออกไป สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุดิบที่เรานำมาปรับใช้ในงานเขียนได้”  

เราถามเธอต่อว่าในฐานะนักเขียน นอกจากความบันเทิงแล้วนิยายสามารถให้อะไรกับคนอ่านได้อีกบ้าง เธอหยุดคิดไปพักหนึ่งก่อนจะตอบด้วยน้ำเสียงจริงจังขึ้นกว่าเดิม 

คนพูดกันเยอะว่าเรื่องนี้แตะประเด็นอ่อนไหวในสังคมหลายประเด็น ทั้งเรื่องวงการแพทย์ วงการตำรวจ วงการผู้มีอิทธิพล แซมเองก็ติดตามและเห็นเหมือนกันว่าเนื้อหามันหนักหน่วงมาก เพราะทีมโปรดักชั่นเขาก็อยากสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนปัญหาสังคมและพยายามยกมาตรฐานวงการซีรีย์วายให้แตกต่างไปจากเดิม หลังจากที่ผลิตซ้ำเรื่องความรักในวัยเรียนและเรื่องราวในรั้วมหาวิทยาลัยมานาน 

แซมมองว่านี่เป็นการใช้พลังของสื่อวายซึ่งกำลังถูกจับตามองในวงกว้างส่งต่อความคิดบางอย่างไปสู่ผู้ชม พฤติการณ์ที่ตายอาจไม่ได้สื่อสารประเด็น LGBTQ+ มากนัก แต่ก็ทำให้คนดูตระหนักถึงปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ได้ 

เมื่อนิยายวาย รวมถึงสื่ออื่นๆ ที่ผลิตคอนเทนต์วายในปัจจุบันยังไม่ได้สร้างความเข้าใจกลุ่ม LGBTQ+ อย่างแท้จริง เราจึงถือโอกาสนี้พูดคุยกับแซมในฐานะที่เป็นนักเขียนนิยายวายมาตลอด 

 

ในอนาคตอยากให้เวลาอ่านนิยายเราไม่ต้องมองแล้วว่าเรื่องนี้เป็นวายหรือเปล่า แซมอยากให้ความวายเป็นแค่รสนิยมทางเพศของตัวละคร นิยายเรื่องนั้นอาจเป็นนิยายสืบสวนสอบสวน เป็นนิยายสะท้อนสังคม หรือเป็นนิยายคอมเมดี้ดีๆ เรื่องหนึ่งที่มีตัวเอกเป็น LGBTQ เท่านั้นเอง

 

ต้องยอมรับตามตรงว่าวัตถุประสงค์หลักของการผลิตนิยายวายคือความบันเทิง ดังนั้นอะไรที่สร้างความบันเทิงให้ผู้บริโภคก็จะมีการผลิตซ้ำออกมาเรื่อยๆ เพราะมันขายออกและต่อยอดได้ โดยที่คอนเทนต์วายยังไม่เสริมสร้างความตระหนักหรือเข้าใจใน LGBTQ+ แซมมองว่ามันเป็นสิ่งที่ทั้งทางตัวผู้ผลิตคอนเทนต์วายและทางสังคมเองก็ต้องช่วยกันมองว่าเราจะสามารถพัฒนาวงการนี้ไปในทิศทางไหนได้บ้าง หลังจากนั้นจึงค่อยๆ ช่วยกันปรับให้เหมาะสม”

อย่างที่รู้กันว่าตัวละครหลักของวายเป็น LGBTQ+ เราสามารถใช้พื้นที่ตรงนี้บอกเล่าเรื่องราวนี้ได้พูดเรื่องสมรสเท่าเทียมได้ ใช้ผลักดันกฎหมายใดๆ ก็ตามที่จะเอื้อให้พวกเขามีชีวิตอยู่โดยไม่เป็น minority ในสังคม”

ในอนาคตอยากให้เวลาอ่านนิยายเราไม่ต้องมองแล้วว่าเรื่องนี้เป็นวายหรือเปล่า แซมอยากให้ความวายเป็นแค่รสนิยมทางเพศของตัวละคร นิยายเรื่องนั้นอาจเป็นนิยายสืบสวนสอบสวน เป็นนิยายสะท้อนสังคม หรือเป็นนิยายคอมเมดี้ดีๆ เรื่องหนึ่งที่มีตัวเอกเป็น LGBTQ+ เท่านั้นเอง”

ทุกวันนี้แซมพยายามสร้างนิยายของตัวเองให้เป็นไปในแนวนั้น นำเสนอให้ LGBTQ+ เป็นเรื่องปกติในสังคม เราหวังว่าเราจะเป็นพลังเล็กๆ ที่ทำให้สังคมยอมรับความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ช่วยให้มองเห็นความสำคัญของการผลักดันกฎหมายต่างๆ ที่เอื้อสิทธิความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มมากขึ้น

FACT BOX

  • ชื่อเดิมของแซมคือ ‘Asama’ เธอเคยวาดรูปลงเว็บบอร์ดโดยใช้ลายเซ็น A.sam จนมีแฟนคลับที่ติดตามผลงานเรียกเธอว่า ‘แซมม่อน’ เมื่อเห็นว่าเป็นชื่อที่น่ารักดี เธอจึงใช้นามปากกานี้มาตั้งแต่ตอนนั้น