w©rld

ผ่านมาแล้ว ปี แต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกยังไม่มีทีท่าว่าจะทุเลาเบาบาง หลายประเทศทยอยฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้วเกินครึ่ง แต่อีกหลายประเทศก็ยังต้องเตรียมมาตรการให้พร้อมรับมือต่อตัวเลขผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประเทศไทยเองก็เช่นกันที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เพราะผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ และกระจายวงค่อนข้างกว้าง ดังนั้น หนึ่งในมาตรการรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็คือ การจัดตั้ง โรงพยาบาลสนาม เพิ่ม จากเดิมที่มีอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง 

หนึ่งในโรงพยาบาลสนามแห่งใหม่ล่าสุด ก็คือ โรงพยาบาลสนาม (เอราวัณ 2) สนามบางกอกอารีน่า เขตหนองจอก ที่เพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 โดยโรงพยาบาลสนามแห่งนี้จะเป็นสถานที่กักตัวผู้ตรวจพบเชื้อโควิด แต่ไม่มีอาการ สามารถรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ 400 เตียง แบ่งเป็นชาย 150 เตียง และหญิง 250 เตียง ครบครันด้วยที่นอน หมอน มุ้ง อาหาร มื้อ และสัญญาณไวไฟ

field hospital
ทิวแถวของเตียงกระดาษที่พร้อมให้บริการผู้ป่วยภายในโรงพยาบาลสนาม (เอราวัณ 2) สนามบางกอกอารีน่า เขตหนองจอก ที่แต่ละหลังตั้งห่างกัน 1.5 เมตร ตรงตามมาตรฐานสากล (Photo: Lillian SUWANRUMPHA/ AFP)

สิ่งที่ดูจะสะดุดตากว่าโรงพยาบาลสนามในประเทศอื่น ก็คือ วัสดุที่ใช้ทำเตียงนอนสนาม ซึ่งทำจากกระดาษรีไซเคิล 100% และได้รับการยืนยันว่าผ่านการออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) เพื่อรองรับการใช้งานของสรีระของคนเอเชีย สามารถรองรับน้ำหนักได้ 100 กิโลกรัมในแนวราบ น้ำหนักเบา ประกอบง่าย ไม่ต้องใช้กาว และใช้ได้นาน เดือน หากไม่โดนน้ำ

field hospital
หนึ่งในอุปกรณ์พื้นฐานที่โรงพยาบาลสนามในประเทศไทยพร้อมให้บริการ คือ มุ้งคนละ 1 หลัง เพื่อป้องกันยุง (Photo: Lillian SUWANRUMPHA/ AFP)

แต่ถ้าเตียงในโรงพยาบาลสนามของประเทศไทยทำจากกระดาษ แล้วเตียงของโรงพยาบาลในระดับนานาชาติ รวมถึงบรรยากาศในโรงพยาบาลสนามแต่ละแห่งจะมีหน้าตาแบบไหน becommon ขออาสาพาไปดู

field hospital
ศูนย์แสดงสินค้า DCU Center ในเมืองวอร์เซสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซ็ต สหรัฐอเมริกา ถูกดัดแปลงเป็นโรงพยาบาลสนาม UMASS Memorial DCU Center เพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด -19 จำนวน 50 เตียง (Photo: Joseph Prezioso/ AFP)
field hospital
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำลังปฏิบัติหน้าที่ภายในโรงพยาบาลสนาม UMASS Memorial DCU Center ในเมืองวอร์เซสเตอร์ รัฐแมสซาชูเซ็ต สหรัฐอเมริกา (Photo: Joseph Prezioso/ AFP)
field hospital
ศูนย์ประชุมและจัดแสดงนิทรรศการ Sokolniki ในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้รับการดัดแปลงให้เป็นโรงพยาบาลสนามอย่างถูกอนามัยและเป็นสัดส่วนไม่ต่างจากโรงพยาบาลหลัก (Photo: Natalia KOLESNIKOVA/ AFP)
field hospital
เจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชากำลังจัดเตรียมพื้นที่ในการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ภายในห้องโถงที่เคยใช้สำหรับจัดงานแต่งงานในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา (Photo: TANG CHHIN Sothy/ AFP)
field hospital
เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำลังดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม ที่เกิดจากการดัดแปลงพื้นที่ภายในศูนย์กีฬา Portimao Arena ในภูมิภาคอัลการ์วี ประเทศโปรตุเกส (Photo: PATRICIA DE MELO MOREIRA/ AFP)
field hospital
โรงยิมแห่งหนึ่งในเมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล ถูกดัดแปลงเป็นโรงพยาบาลสนาม หลังจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในเดือนมีนาคม 2564 (Photo: Miguel SCHINCARIOL/ AFP)
field hospital
บรรยากาศภายในฮอลล์หมายเลข 26 แห่งศูนย์แสดงสินค้าเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ถูกดัดแปลงเป็นโรงพยาบาลชั่วคราวขนาด 488 เตียงในเดือนสิงหาคม 2563 เตรียมพร้อมสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ล้นโรงพยาบาล (Photo: John MACDOUGALL/ AFP)
field hospital
พื้นที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรงภายในโรงพยาบาลสนามแห่งหนึ่งในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ที่ดัดแปลงศูนย์แสดงสินค้าให้กลายเป็นโรงพยาบาลขนาดย่อม เมื่อเดือนมีนาคม 2563 (Photo: MIGUEL MEDINA/ AFP)
field hospital
ต้นแบบโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แห่งแรกๆ ในโลก ณ เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ที่ดัดแปลงโรงยิมมาทำเป็นโรงพยาบาลสนามสำหรับดูแลผู้ติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 (Photo: STR/ AFP)

อ้างอิง 

  • ไทยรัฐออนไลน์.พาไปดูความพร้อมของโรงพยาบาลสนาม เน็ตเร็ว และเตียงที่ทำจากกรดาษรีไซเคิล. https://bit.ly/3twbIVI