w©rld

ถ้าคอลผ่านแอพคุยกันอยู่ดีๆ แล้วสัญญาณหลุด หาย ตัดแบบดื้อๆ ขึ้นมา คุณจะรู้สึกยังไง?

“หงุดหงิดเวลาที่คอลแล้วกระตุก จนต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบโทรศัพท์ธรรมดาแทน”

“รำคาญ ถ้าสัญญาณไม่ดีก็วางเลย”

“หัวร้อน เสียงก็แตก”

“หงุดหงิด แต่ก็คิดว่าคงเป็นที่สัญญาณเน็ตของเราเอง”

 “รู้สึกดี… ดีนะที่ยังไม่เขวี้ยงมือถือทิ้ง”

ฯลฯ

นี่คือหลากหลายอารมณ์ความรู้สึกจริงที่เกิดขึ้นของผู้ใช้สมาร์ทโฟนยุคใหม่ เมื่อต้องใช้แอพคอลคุยกับคนที่อยู่ไกล แล้วถูกขัดจังหวะด้วยขีดจำกัดบางอย่างของระบบผู้ให้บริการ

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

เพราะกิจกรรมหลักๆ ในช่วง #อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ เพื่อช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ นอกเหนือจากการเล่นโซเชียลมีเดีย ดูหนัง ฟังเพลง ทำกับข้าว ออกกำลังกาย ฯลฯ การคอลคุยกับคนไกลนี่ล่ะ ที่จะช่วยบำบัดความเหงา บรรเทาความห่วงใย ทำให้เรารู้สึกเหมือนคนใกล้ตัวไม่ได้หายไปไหน

และจะดีกว่าไหม ถ้าเรามีทางเลือกที่ดีกว่า …แน่นอนว่าต้องเป็นแอพที่ให้บริการฟรี!

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

ผู้เขียนขอเปิดรีวิวในฐานะผู้ใช้งานจริงของแอพฯ Google Duo ซึ่งใช้งานมานานร่วมปี และสัมผัสได้ถึงคุณภาพที่แตกต่างอย่างชัดเจนจนอยากบอกต่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางความคิดถึงและความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างช่วงเวลา Physical Distancing แบบนี้

Google Duo แอพดีที่มีมาตั้งแต่ปี 2016

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

ย้อนกลับไปเมื่อสิงหาคม ปี 2016 Google Duo ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็น Video Chat Mobile Application ที่กูเกิ้ลพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารด้วยภาพและเสียง

ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันนั้น กูเกิ้ลก็คลอดด Allo ลูกพี่ลูกน้องของ Duo ออกมาคู่กัน ใช้สำหรับการส่งข้อความโดยเฉพาะ แต่น่าเสียดายที่ Allo ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ถูกพับเก็บเข้ากรุในปี 2018 ขณะที่ Duo ยังยืนหยัดอยู่ได้ตามที่กูเกิ้ลเคยให้คำมั่นสัญญาไว้ว่า “Duo จะต้องเป็นแอพวิดีโอคอลที่มีคุณภาพสูงที่สุด” (The highest quality video calling app.) 

แล้วอะไรคือความเจ๋งของ Google Duo?

Knock Knock ฟีเจอร์เด็ดที่ไม่เหมือนใคร ภาพสวยสมจริง เน็ตช้าก็คุยได้ไม่มีสะดุด

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

Google Duo โดดเด่นด้วยการเป็นแอพลิเคชั่นผู้ให้บริการระบบวิดีโอคอลและการสนทนาด้วยเสียงที่มีคุณภาพ

ที่น่าสนใจคือ ฟีเจอร์ ‘Knock Knock’ ที่จะบอกให้คุณรู้ว่าใครติดต่อมาหา ก่อนที่จะตัดสินใจรับสาย โดยคุณจะได้เห็นว่าปลายสายเป็นใคร ซึ่งอีกฝ่ายจะไม่สามารถเห็นคุณได้จนกว่าจะตอบรับ ในทางกลับกัน หากคุณเป็นฝ่ายที่ติดต่อไปหา แล้วไม่มีใครตอบรับ คุณก็สามารถทิ้งข้อความ ฝากเสียง หรือส่งข้อความเป็นวิดีโอไว้ได้ แถมยังมีลูกเล่นเอฟเฟกต์และอิโมจิคอนต่างๆ ให้เป็นกิมมิคด้วย

ในระหว่างที่วิดีโอคอล หากแสงหน้าจอโทรศัพท์ของคุณไม่สว่างพอ แอพจะปรับให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ภาพวิดีโอสมจริงและชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้

และถ้าหากมีปัญหาทางเทคนิคที่ควบคุมไม่ได้ อย่างเช่น สัญญาณขัดข้องหรือช้าลง ระบบจะปรับลดคุณภาพวิดีโอลงอย่างแนบเนียน กล่าวคือ ถ้าสัญญาณ WiFi ไม่ดี Duo จะดึงสัญญาณโทรศัพท์หรือ Cellular มาใช้งานแทน โดยที่ผู้ใช้งานแทบไม่รู้ตัว หรืออย่างแย่ที่สุด ก็จะปรับจาก Video Call มาเป็น Audio Call ให้โดยอัตโนมัติ

และนี่เป็นเหตุผลที่ Duo ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในอินเดีย เพราะที่อินเดียยังมีระบบ 2G ซึ่งมี Bandwidth ที่ค่อนข้างต่ำ การพูดคุยด้วยแอพ Duo จึงตอบโจทย์คนอินเดียมากที่สุด

ไม่มีโฆษณา

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

ไม่เพียงแค่นั้น Duo ยังนับเป็นแอพเพียงไม่กี่แอพในหมวดหมู่ Video Chat Mobile Application ที่เป็นอิสระจากโฆษณาทั้งหลาย นั่นหมายความว่าคุณสามารถใช้งานแอพ Duo ได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีโฆษณามากวนใจ

และไม่ใช่แค่เราที่ทดสอบมาแล้วว่าแอพนี้ดีจริง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีหลายๆ คนที่เคยพิสูจน์และเปรียบเทียบ ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า Duo มีคุณภาพดีกว่า สีสันสมจริง และให้การเชื่อมต่อที่มีเสถียรภาพ อย่างน้อยๆ ก็พอวางใจได้ว่าระหว่างที่วิดีโอคอลอยู่ ภาพจะไม่ค้างให้ต้องสูญเสียความมั่นใจ

เหมาะคุยกับก๊วนเพื่อน ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกดักฟัง

Google Duo แอพคอล วิดีโอคอล ดี เจ๋ง ไม่ขาด สัญญาณไม่สะดุด ไม่มีโฆษณา

Duo เหมาะแก่การเป็นแอพฯ ที่ใช้คอลทั้งแบบเสียงและเห็นหน้ากับครอบครัว หรือก๊วนเพื่อน แต่หากจะใช้ในการประชุม จะมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ใช้งานที่ใช้ได้ไม่เกิน 12 คน (เพิ่งปรับเพิ่มขึ้นจาก 8 คนในช่วงวิกฤติ COVID-19 ระบาดหนักทั่วโลกนี่เอง) และถ้าอยากใช้ Duo กับอุปกรณ์อื่นๆ ด้วย ก็อาจจะต้องผูกกับอีเมลของ Google เสียก่อน

ในเรื่องของความปลอดภัยและการรักษาความเป็นส่วนตัว Google Duo รักษาความปลอดภัยด้วยระบบ end-to-end encryption ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยตามมาตรฐานที่จะไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์โจมตีทางระบบที่ทำให้เกิดการดักฟังบทสนทนา ซึ่งเรียกว่า Man-in-the-Middle (MitM)

อย่างที่บอกเล่าไปว่า Duo ยืนหนึ่งเรื่องการคุยแบบเสียงสนทนาและภาพเคลื่อนไหว นั่นจึงทำให้ Duo มีข้อด้อยในเรื่องของการไม่รองรับการพิมพ์ข้อความแบบปัจจุบันทันด่วน (พูดง่ายๆ คือคุยไปด้วย พิมพ์ข้อความให้อีกฝ่ายอ่านไปด้วย) เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ในตลาด ก็อาจไม่ใช่แอพสื่อสารที่ครบจบในแอพเดียว

แต่ถ้าไม่อยากหัวเสียระหว่างที่กำลังเม้าท์มอยมันๆ หรือไม่อยากให้วิดีโอต้องสะดุด Google Duo จะไม่ทำให้คุณผิดหวัง

ดาวน์โหลด Google Duo มาลองใช้กันได้ที่

iOS: https://apps.apple.com/app/id1096918571

Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.google.android.apps.tachyon

 

อ้างอิง: