©ulture

ผมไม่ชอบสิ่งของที่ถูกสร้างไว้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะผมอยากทำของเล่นด้วยตัวเอง ชอบทดลองปรับเปลี่ยน ซ่อมแซมสิ่งต่างๆ หรือไม่ก็ทำลายมันโดยสิ้นเชิง เพื่อที่จะดูว่ากลไกการทำงานข้างในเป็นอย่างไร 

ฟรองซัวส์ จูนอด (François Junodเล่าถึงชีวิตวัยเด็กของเขา นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาก้าวเข้าสู่การเป็นปรมาจารย์ด้านศิลปะ Automata หรือ ศิลปะเชิงกลที่เคลื่อนไหวด้วยการทำงานของกลไกแบบดั้งเดิมที่ใกล้จะหายไปทุกที 

François Junod กำลังตั้งใจตรวจสอบกลไกการทำงานของหุ่นตัวตลก (photo : Fabrice Coffrini / AFP)

สตูดิโอของ Junod ตั้งอยู่ในเมืองเซนต์ครอย (Sainte-Croix) เทือกเขาจูรา (Jura) ทางทิศตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ ห่างจากชายแดนฝรั่งเศสไม่ถึง กิโลเมตร พื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งกำเนิดการผลิตนาฬิกาสวิสและศิลปะเชิงกลแบบดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน 

นกน้อยที่สามารถกระพือปีก เคลื่อนไหวร่างกายและส่งเสียงร้องอันน่าอภิรมย์ในสตูดิโอของ Junod (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
หุ่นยนต์ที่เคยใช้ในการแสดงละครตั้งโดดเด่นอยู่บริเวณทางเข้าสตูดิโอของ Junod (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
ศีรษะที่ใช้สำหรับการขึ้นรูปตั้งเรียงรายอยู่มุมหนึ่งของสตูดิโอ (photo : Fabrice Coffrini / AFP)

ความโดดเด่นของ Swiss Automata ซึ่งผสมผสานความเป็นท้องถิ่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันทำให้งานศิลปะเชิงกลแบบดั้งเดิมใน Sainte-Croix ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage) 

จิตวิญญาณอันแรงกล้าของเขาถ่ายทอดผ่านผลงานที่ยังคงเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวา ผลงานที่ทำให้ Junod เป็นที่รู้จัก เช่น หุ่นนักกวีผู้ยิ่งใหญ่แห่งรัสเซีย Alexander Pushkin ซึ่งเคลื่อนไหวด้วยกลไกที่ซับซ้อน สามารถเขียนบทกวีต่างๆ ได้ถึง 1,458 บท และหุ่น Leonardo da Vinci อัจฉริยะแห่งอิตาลีที่สามารถขยับร่างกาย วาดภาพ รวมถึงเขียนข้อความกลับด้านในกระจกเป็นภาษาละตินได้ 

ส่วนศีรษะของหุ่น Leonardo da Vinci (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
กลไกที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาของหุ่น Leonardo da Vinci (photo : Fabrice Coffrini / AFP)

ปัจจุบัน François Junod วัย 61 ปีทายาทรุ่นที่ จากครอบครัวช่างฝีมือใน  Sainte-Croix ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์และธำรงการผลิตงานศิลปะแบบดั้งเดิมให้คงไว้ พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้เหล่านี้สู่ทายาทรุ่นต่อไป “เสน่ห์ของงานฝีมือนี้คือการลงมือทำด้วยจิตวิญญาณ คุณต้องชอบความยาก ต้องอดทนและมีใจรัก” Junod กล่าว 

François Junod กับเครื่องมือในการทำงานและศีรษะที่ใช้สำหรับการขึ้นรูป (photo : Fabrice Coffrini / AFP)  
หุ่นตัวตลกกำลังเคลื่อนไหวเขียนจดหมายด้วยปากกาขนนกในมือ (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
กลไกที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาของหุ่นตัวตลกเขียนจดหมาย (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
พนักงานกำลังทำงานอย่างขมักเขม้น ท่ามกลางโมเดลศีรษะต่างรูปทรงที่แขวนอยู่โดยรอบ (photo : Fabrice Coffrini / AFP)
ชิ้นส่วนต่างๆ ของหุ่นที่รอวันถูกนำไปประกอบ (photo : Fabrice Coffrini / AFP)

อ้างอิง 

  • AFP. Switzerland’s timeless art mechanics embraces 3D futurehttps://bit.ly/39BOUMO 
  • Michèle Laird. François Junod, the automaton wizardhttps://bit.ly/3pGg6zz
  • เปรม ถาวรประภาสวัสดิ์. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ 2559: การรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้https://bit.ly/2MPiG7I