©ulture

22 .. 2555 ลอร่า เดกเกอร์ (Laura Dekker) สาวน้อยนักผจญภัยวัย 16 ปี ชาวเนเธอร์แลนด์ กลับถึงท่าเรือเกาะเซนต์มาร์เท่น หลังออกเดินทางนาน ปีกับอีก วัน ล่องเรือที่ชื่อ กัปปี้ แล่นรอบโลกได้สำเร็จ รวมระยะทาง 50,004 กม.

ข้อความดังกล่าวเป็นข่าวไม่ใหญ่ที่หลายคนไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า ลอร่าเป็นบุคคลอายุน้อยที่สุดในโลกที่สามารถล่องเรือรอบโลกตามลำพังคนเดียวได้สำเร็จ 

และแม้กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด จะไม่รับรองสถิตินี้ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการส่งเสริมให้ผู้เยาว์กระทำในภารกิจเสี่ยงอันตราย แต่ด้วยความเป็นเด็กรุ่นใหม่ของลอร่า เธอก็มั่นใจและกล้าพอที่จะประกาศสถิตินี้ให้โลกรู้ด้วยตัวเอง 

ซึ่งอันที่จริง โลก โซเชียล ก็เป็นประจักษ์พยานให้เธอมาตลอดการเดินทางอยู่แล้ว เพราะถึงจะแล่นเรืออย่างโดดเดี่ยวไปรอบโลก แต่ลอร่าไม่เคยเดียวดาย เพราะเธอทั้งเขียนบล็อกและทวีตเล่าประสบการณ์เดินทางอย่างละเอียดตลอดเส้นทาง 

แต่ก่อนหน้าจะถึงยุคของนักผจญภัยรุ่นใหม่อย่างลอร่า มีหญิงสาวรุ่นพี่ รุ่นป้า รุ่นย่า และรุ่นทวดของเธออีกหลายชีวิตที่เป็นเจ้าของภารกิจออกเดินทางสำรวจโลกที่สนุกสุดขั้วไม่แพ้เธอ แต่จะแตกต่างก็ตรงที่กว่าผู้คนจะได้รับรู้ประสบการณ์ของพวกเธอ กาลเวลาก็ผ่านไปนานมากแล้ว หลายคนแม้จะเขียนหนังสือบันทกการเดินทางวางขาย แต่ก็ใช่ว่าจะกระจายไปถึงมือนักอ่านทั่วโลกได้

FemaleExplorersAtlas

Female Explorers’ Atlas จึงทำหน้าที่เป็นสมุดแผนที่บันทึกการเดินทางของเหล่าสตรีนักสำรวจโลกทั้งสิ้น 22 ชีวิตในเล่มเดียว โดยไล่มาตั้งแต่ภารกิจของ มาเรีย ไซบิลลา เมอเรียน (Maria Sibylla Merian) คุณแม่นักเดินทางวาดรูปแมลงและดอกไม้ ที่ล่องเรือจากเนเธอร์แลนด์ไปไกลถึงทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ .. 1600 กว่าๆ จนถึงเรื่องราวของลอร่า เดกเกอร์ ในปัจจุบัน ครบครันด้วยการเดินทางทุกรูปแบบทั้งบุกภูเขา ฝ่าทะเล ร่อนเร่ในทะเลทราย ตกอยู่ในวงล้อมของมนุษย์กินคน ผจญความหนาวเหน็บในขั้วโลกใต้ และออกไปไกลถึงนอกอวกาศ

FemaleExplorersAtlas

เรื่องราวชีวิตสุดเข้มข้นของหญิงสาวแต่ละคนถูกนำมาเล่าใหม่แบบกระชับย่นย่อในรูปแบบของภาพการ์ตูน ที่เขียนเรื่องและวาดรูปโดย ริกการ์โด ฟรังกาวียา (Riccardo Francaviglia) ผู้เป็นสามี และช่วยระบายสีโดย มาร์เกริตา สการ์ลาตา (Margherita Sgarlata) ผู้เป็นภรรยา ทั้งคู่เป็นทั้งนักเดินทาง นักเขียน และนักวาดภาพประกอบ ที่ปักหลักใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเชิงภูเขาไฟในเมืองกาตาเนีย แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี และบ่อยครั้งที่พวกเขามักเก็บกระเป๋าออกเดินทาง พร้อมกับพกหุ่นมือไปเปิดการแสดงตามแต่ละสถานที่ที่พวกเขาไปเยือน

FemaleExplorersAtlas

เมื่อนักเล่าเรื่องหลงใหลการเดินทางขนาดนี้ เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ใน Female Explorers’ Atlas จึงสนุกและได้อรรถรสครบทุกบททุกตอน ริกการ์โดเลือกเล่าเรื่องราวของนักผจญภัยแต่ละคนไล่เรียงมาตามยุคสมัย เพื่อให้คนอ่านค่อยๆ เห็นภาพวิวัฒนาการในการเดินทางของแต่ละยุคสมัยไปโดยปริยาย 

นอกจากนี้ เขายังแทรกเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการใช้ชีวิตของแต่ละคนแบบไม่ต้องจงใจ แต่คนอ่านจะเข้าใจได้เองผ่านจังหวะการเล่าเรื่องที่ลื่นไหล ซึ่งโดยภาพรวมพบว่า การออกเดินทางของผู้หญิงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแบบปุบปับตามใจฉัน แต่พวกเธอจะปฏิบัติหน้าที่ของความเป็นเมีย เป็นแม่ เป็นพี่สาว หรือน้องสาวของสมาชิกครอบครัวไม่ให้มีขาดตกบกพร่องเสียก่อน แล้วค่อยเก็บกระเป๋า ก้าวเท้าออกจากบ้าน แล้วออกเดินทางไล่ล่าคว้าฝันของตัวเอง

FemaleExplorersAtlas

ยกตัวอย่าง ไอด้า ไฟเฟอร์ (Ida Pfeifferแม่บ้านธรรมดาๆ ชาวออสเตรียน ที่หลังจากเป็นหม้าย และเลี้ยงดูลูกๆ ตามลำพังจนเติบใหญ่พอที่จะรับผิดชอบชีวิตตัวเองได้แล้ว เธอจึงค่อยออกเดินทางไปสำรวจโลกกว้างในวัย 44 ปี เริ่มต้นที่ปาเลสไตน์ ก่อนจะไล่ทยอยปักหมุดยังประเทศแปลกๆ ทั่วโลก โดยจุดหมายสุดท้ายอยู่ที่มาดากัสการ์ ซึ่งไอด้าโชคร้ายไปติดไข้เมืองร้อนเข้า ทำให้เธอต้องเดินทางกลับมารักษาตัวที่กรุงเวียนนา และเสียชีวิตลงในวัย 61 ปี 

แอนนี สมิธ เพ็ค (Annie Smith-Peck) เองก็ต้องพิสูจน์ตัวเองอย่างหนัก เมื่อมหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกายุค 1800 ไม่เปิดรับนักศึกษาหญิง ดังนั้น เมื่อเธอสอบเข้าเรียนด้านภาษาละตินและกรีกโบราณที่ University of Michigan ได้สำเร็จ แอนนี่จึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสามารถคว้าเกียรตินิยมเหรียญทองมาครอง

FemaleExplorersAtlas
แอนนี่ สมิธ เพ็ค
Photo: https://racingnelliebly.com/strange_times/annie-peck-scaled-myriad-peaks/

และใช่แค่เรียนจบด้วยคะแนนสูงสุดเท่านั้น แอนนี่ยังใช้เวลาที่เหลือทั้งชีวิตทำตามสิ่งที่เธอหลงใหล นั่นคือ การออกเดินทางพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดหลายแห่งในยุโรปและอเมริกา ซึ่งเธอไม่ได้ทำสำเร็จในวัยสาว กว่าที่แอนนี่จะพิชิตยอดเขาแมทเธอร์ฮอร์นในสวิสเซอร์แลนด์ได้สำเร็จ เธอมีอายุ 45 ปีเข้าไปแล้ว  

หลังจากนั้นอีก 20 ปี เธอก็พิชิตภูเขาไฟโคโรปูนาในเปรูสำเร็จ โดยแอนนี่ปีนเขาเป็นครั้งสุดท้ายในวัย 82 ปี ซึ่งก่อนหน้านี้ในวัย 80 ปี เธอได้ร่วมเดินทางในเที่ยวบินโดยสารรอบอเมริกาใต้ เพื่อพิสูจน์ให้สาธารณะชนได้ประจักษ์ว่าเครื่องบินเป็นยานพานะที่ปลอดภัยในการเดินทาง เพราะครั้งนั้นในยุค 1930 การเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเรื่องเสี่ยงภัยมากกว่าจะสะดวกสบาย

FemaleExplorersAtlas

เนื่องจากเป็นนักข่าวที่แฝงตัวไปทำสกู๊ปในโรงพยาบาลบ้านาน 10 วัน จนได้สกู๊ปข่าวชิ้นเด็ดมาสร้างกระแสให้ The New York World ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ทำให้ เนลลี่ บลาย (Nellie Bly) ได้รับมอบหมายภารกิจต่อไปจาก โจเซป พูลิทเซอร์ (Joseph Pulitzer) บรรณาธิการของเธอทันที โดยเขาอยากให้นักข่าวสาวดาวรุ่งออกเดินทางตามรอยตัวเอกในวรรณกรรมขายดีของ จูลส์ เวิร์น (Jules Verne) เรื่อง Around The World in 80 Days 

พูลิทเซอร์ไม่ได้บังคับให้เนลลี่ออกเดินทางรอบโลกคนเดียว เขาคะยั้นคะยอให้เธอพาผู้ช่วยของเขาเดินทางไปด้วยกัน แต่เนลลี่ยืนกรานว่าฉายเดี่ยวสะดวกกว่า และโปรดจงมั่นใจว่าภารกิจนี้สำเร็จแน่นอน 

ว่าแล้วเธอก็สวมวิญญาณนักข่าวและนักผจญภัยออกเดินทางในวันที่ 14 พฤศจิกายน .1889 โดยข้าวของที่เธอแพ็คใส่กระเป๋าหนังใบย่อมติดตัวไปด้วยมีแค่เครื่องเขียน เข็มเย็บผ้ากับด้าย เสื้อคลุมอาบน้ำ ผ้าพันคอ ผืน แก้ว ใบ หมวก ใบ ถุงน่อง คู่ แจ็กเก็ตกันลม ชุดชั้นใน และผ้าเช็ดหน้าอีกไม่กี่ผืน แม้แต่ของจำเป็นอย่างกล้องถ่ายรูปเธอยังลืมพกไปด้วยซ้ำ 

และแล้วเนลลี่ก็ปฏิบัติภารกิจสำเร็จ โดยใช้เวลาไม่ถึง 80 วันในการเดินทางรอบโลก (เนลลี่ใช้เวลาเดินทาง 72 วัน ชั่วโมง 11 นาที กับอีก 14 วินาที) ระหว่างการเดินทางเธอยังแวะไปสนทนากับจูลส์ เวิร์น เจ้าของบทประพันธ์ ในเมืองอาเมียง ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศสอีกด้วย

FemaleExplorersAtlas
ภาพเขียนแสดงเหตุการณ์ตอนที่ชาวเกาะตาฮิติจับได้ว่าบาเรต์ปลอมตัวเป็นชาย
Photo: https://www.telegraph.co.uk/travel/activity-and-adventure/female-explorers-who-changed-the-world-forever/

เหล่านี้เป็นเพียงน้ำจิ้มของชีวิตจริงที่สนุกยิ่งกว่านิยายของสตรีนักท่องโลก ที่ยังมีอีกหลายชีวิตที่น่าสนใจรอให้นักอ่านได้เปิดโลกของการผจญภัยผ่านจินตนาการตามรอยประสบการณ์ของพวกเธอ อาทิ ฌานน์ บาเรต์ (Jeanne Baret) แม่บ้านที่ต้องปลอมเป็นชายเพื่อแฝงตัวไปในกองเรือของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ก่อนที่ความจะแตกทันทีที่เรือแล่นเข้าเทียบท่าบนเกาะตาฮีติ เมื่อชาวพื้นเมืองมองปราดเดียวก็รู้ทันทีว่านี่คือผู้หญิงปลอมตัวมา 

หรือครั้งหน้าที่คุณหยิบภาพยนตร์คลาสสิคเรื่อง Lawrence of Arabia มาชมอีกรอบ คุณอาจจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจขึ้นมาทันที เมื่อในหนังไม่มีตัวละครหญิงเลยสักตัว เพราะจริงๆ แล้ว โธมัส เอ็ดเวิร์ด ลอว์เรนซ์ ไม่ได้เป็นสายลับในทะเลทรายแค่คนเดียว แต่ เกอธรูด เบลล์ (Gertrude Belle) ต่างหากที่เป็นราชินีแห่งทะเลทรายตัวจริง ฯลฯ 

หนังสือภาพสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาสนุก อ่านง่าย และมอบแรงบันดาลใจเล่มนี้ อาจทำให้คุณรื้อจิ๊กซอทางประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนรู้ เพื่อประกอบใหม่ขึ้นอีกรอบ และเติมบางชิ้นส่วนที่ขาดหายไปให้เต็ม 

เพราะไม่ได้มีแค่ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, กัปตันเจมส์ คุก หรือเฟอร์ดินานด์ แม็กเจลแลน เท่านั้นที่ค้นพบโลกใหม่ยังมีนักสำรวจสาวอีกหลายรายที่บุกเบิกพรมแดนได้กว้างไกลไม่แพ้ชายชาตรี