w©rld

Pride Month หรือเดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+ปีนี้ไม่เหมือนปีไหน

เพราะสถานการณ์เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งที่เคยจัดงานเดินขบวนยิ่งใหญ่จำเป็นต้องยกเลิกไป ส่วนประเทศที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้วหรือในบางพื้นที่ที่ยืนยันจัดงานก็ต้องกำหนดแนวทางให้ผู้เข้าร่วมงานปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดลักษณะเป็นกลุ่มหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ใหม่

becommon ร่วมฉลอง Pride Month 2021 ผ่านภาพถ่ายจากหลากหลายประเทศที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามและการยืนหยัดเรียกร้องการยอมรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม เพราะเรื่องเพศไม่มีกรอบ และมนุษย์ทุกคนก็ไม่ควรถูกตัดสินหรือตีตราด้วยเหตุแห่งเพศ

และถึงแม้ Pride Month ปีนี้ไม่เหมือนปีก่อน แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยคือ ความรัก เพราะรักยังคงเป็นรัก #LoveIsLove และความรักชนะทุกอย่างเสมอ #LoveWins

 

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ก่อนหน้านี้ ศาลแขวงในเมืองซัปโปโร ได้ชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างคู่รักเพศเดียวกันกับรัฐบาล โดยตัดสินว่า หากรัฐบาลห้ามหรือไม่ยอมรับให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกัน เท่ากับการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของประเทศ

การตัดสินครั้งประวัติศาสตร์นี้จึงกลายเป็นแนวทางให้ศาลในเมืองอื่นๆ พิจารณาคำตัดสินไปในทิศทางเดียวกัน นับเป็นก้าวสำคัญที่เปิดโอกาสให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายในอนาคตและยิ่งปลุกกระแสให้คู่รักเพศเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นช่วยกันผลักดันให้สังคมตระหนึกถึงความเท่าเทียมทางเพศ

Photo: Philip Fong / AFP
(ตรา) กฎหมายที่ดูแลชีวิตทุกคน
เพศคือความเสมอภาค รักคือเสรีภาพ
Photo: Philip Fong / AFP

 

กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน

การเหยียดและกีดกันกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในยูเครน เป็นปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีต้นตอมาจากแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่ง

กลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศและนักกิจกรรมทางการเมืองจึงเดินขบวนมาปักหลักบริเวณด้านหน้าอาคารปฏิบัติงานของ โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี (​Volodymyr Zelensky) ประธานาธิบดียูเครน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมาย N5488 เพราะกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้ให้ความคุ้มครองและปกป้องสิทธิพลเมืองเท่านั้น แต่ยังกำหนดความผิดทางอาญากับทุกการกระทำที่จงใจเหยียดเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และเพศของคนที่มีทัศนคติเกลียดชังผู้มีความหลากหลายทางเพศ เพราะถือเป็นอาชญากรรมรูปแบบหนึ่ง

Photo: Sergei Supinsky / AFP
Photo: Sergei Supinsky / AFP
Photo: Sergei Supinsky / AFP

 

กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เหล่านักฟุตบอลสโมสรปารีส แซงต์-แชร์กแมง (Paris Saint-Germain) สวมเสื้อตัวพิเศษที่เปลี่ยนเลขเป็นสีรุ้งตามสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศระหว่างลงสนาม หวังปลุกสำนึกให้ทุกคนที่ชมการแข่งขันเข้าใจความสำคัญของความเสมอภาคทางเพศ และเปิดรับความหลากหลายของผู้คน

Photo: Franck Fife / AFP
Photo: Franck Fife / AFP
Photo: Franck Fife / AFP
Photo: Franck Fife / AFP

 

กรุงเยรูซาเลม ประเทศอิสราเอล

บรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง อิสราเอลถือเป็นประเทศที่เปิดกว้างและยอมรับกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศมากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้น กฎหมายในปัจจุบันก็ยังไม่รับรองให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสร่วมกันได้

ผู้คนจำนวนหลายพันคนจึงออกมาร่วมเดินขบวน หลังจากทางการประกาศยกเลิกมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อรณรงค์และเรียกร้องให้แก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าว

Photo: Emmanuel Dunand / AFP
Photo: Emmanuel Dunand / AFP
Photo: Emmanuel Dunand / AFP
Photo: Emmanuel Dunand / AFP

 

กรุงการากัส ประเทศเวเนซุเอลา

ทุกปีกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในเวเนซุเอลาจะกำหนดประเด็นหรือหัวข้อที่ต้องการสื่อสารต่อสังคมในวงกว้าง สำหรับปีนี้พวกเขาให้ความสำคัญกับการต่อต้านการเลือกปฏิบัติและอาการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน

ทุกคนจึงร่วมเดินขบวนด้วยความตั้งใจเหมือนกัน คือเรียกร้องให้เคารพต่อในความเป็นมนุษย์เท่ากัน ไม่แบ่งแยกหรือกีดกันใครบางคนเพราะรสนิยมรักเพศเดียวกัน

ยุติความเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน
Photo: Yuri Cortez / AFP
Photo: Yuri Cortez / AFP
Photo: Yuri Cortez / AFP

 

อ้างอิง