©ulture

บทเพลงจีนที่ฟังไม่รู้เรื่องดังลอยมาแต่ไกลจากประตูไม้ของบ้านเก่าหลังหนึ่ง

คล้ายว่าเสียงนั้นกำลังเชื้อเชิญให้เราเดินเข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนในย่านนี้

ในตรอกเล็กๆ ตรอกหนึ่งที่ตั้งอยู่ในย่านเยาวราช ย่านคนไทยเชื้อสายจีนที่มีประวัติยาวนาน

ตั้งแต่ร้านขายกระดาษไหว้เจ้า ประตูบ้านที่ทำจากแผ่นไม้เก่าที่สีซีดจางไปตามวันเวลา

หน้าต่างชั้นบนที่สีหลุดร่อน รวมถึงผู้คนที่ดำเนินชีวิตอยู่ภายในซอยเล็กๆ ซอยนี้

เหล่านี้เมื่อรวมกันกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครของตรอกแห่งนี้

“จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานที่ดินพร้อมตึกแถวในย่านเจริญไชยให้แก่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า บริพัตร สุขุมพันธุ์ เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่า ตึกแถวเหล่านี้มีอายุกว่าร้อยปี”

ข้อความจากแผ่นพับที่จัดทำโดยกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูชุมชนเจริญไชยบอกที่มาของตรอกแห่งนี้ไว้เช่นนั้น

ตรอกที่มีระยะทางเพียงแค่สั้นๆ แต่กลับมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน

#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
‘ตรอกเจริญไชย ชุมชนเก่าย่านเยาวราช’
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
คนงานที่ถือกระดาษไหว้เจ้าเพื่อไปส่งยังร้านค้า ถือเป็นสีสันที่พบเห็นได้ ณ ที่แห่งนี้
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
คุณยายที่มาเดินจับจ่ายใช้สอยภายในตรอกเจริญไชย
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
ชายคนหนึ่งขณะกำลังหาบกระดาษไหว้เจ้าไปบนถนนแปลงนามในยามบ่าย
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
แสงและเงาของบานประตู
#becommon #PHOTOESSAY #ซอยเจริญไชย
หนึ่งในวิถีชีวิตของผู้คนที่ดำเนินไป ณ ซอยแห่งนี้
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
สภาพของบานหน้าต่างชั้นสองที่เก่าไปตามวันและเวลา
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
ประตูไม้เก่าที่ผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน
#PHOTOESSAY #ตรอกเจริญไชย #เยาวราช #becommon
ตรอกที่มีระยะทางเพียงแค่สั้นๆ แต่กลับมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน