©ulture

แม้โลกจะหมุนด้วยเหตุและผล แต่ความ ‘ศรัทธา’ ยังคงขับเคลื่อนจิตวิญญาณของมวลมนุษยชาติ 

ความศรัทธาในพระเจ้า ศาสนา บุคคล หรือสิ่งใดๆ เป็นสัญชาติญาณที่ติดตัวมนุษย์เรามาตั้งแต่กำเนิด แม้ศรัทธาจะดูเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล อย่างไรก็ตาม เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มักต้องการแสวงหาเหตุและผล นั่นจึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ศรัทธา 

มนุษย์สามารถวิเคราะห์และเข้าใจได้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุผลรองรับเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของมนุษย์ด้วยกันเองหรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ในยุคที่เรายังไม่มีวิทยาศาสตร์มาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในจักรวาล มนุษย์จึงจำเป็นต้องเฟ้นหาเหตุผลของปรากฏการณ์ต่างๆ ด้วยจินตนาการและความคิดของตัวเอง นั่นเป็นรากฐานที่นำไปสู่การเกิด ‘ศาสนา’ และ ‘พระเจ้า’ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น 

การหาเหตุผลลักษณะนี้ทำให้เกิดความคิดที่เรียกว่า anismistic thinking’ หรือ การเชื่อว่ามีพลังงานบางอย่างคอยบงการชีวิตและโลกที่เราอาศัยอยู่ ในอดีตที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ทำงาน ‘พระเจ้า’ และความเชื่อของแต่ละศาสนาจึงถูกสถาปนาขึ้นมาเป็นคนบงการโลก และเป็นเหตุผลของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น   

แม้ว่าปัจจุบันวิทยาศาสตร์จะสามารถพิสูจน์เรื่องราวในจักรวาลอย่างเป็นรูปธรรม ทว่ามนุษย์เราก็ยังมีพื้นที่เว้นว่างให้กับ ‘ความศรัทธา’ เสมอ   

เบรต เมอร์ซิเออร์ (Brett Mercier) นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ (University of California Irvine) ศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทำให้ความศรัทธายังคงเข้มข้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับเหตุผลส่วนบุคคลแล้ว ‘สังคม’ ที่เราอาศัยอยู่ก็มีอิทธิพลอย่างล้นหลามเช่นกัน 

ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอัตราการนับถือศาสนาและเชื่อในพระเจ้าน้อยกว่าประเทศยังไม่พัฒนา เพราะรัฐบาลที่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่น มอบสวัสดิการที่เพียงพอจะทำให้ประชาชนรู้สึกปลอดภัยและมั่นคง  

ตรงกันข้ามกับประเทศที่รัฐไร้ซึ่งความน่าเชื่อถือทำให้ประชาชนรู้สึกไม่มั่นคงกับชีวิต ความศรัทธาจะแรงกล้าเป็นพิเศษ ผู้คนเลือกที่จะหันหน้าเข้าหาศาสนา พระเจ้า บุคคล หรือลัทธิใดๆ ก็ตามที่จะสามารถยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ได้ ความศรัทธาที่มีต่อสิ่งเหล่านั้นจะช่วยปลอบประโลมและให้ความมั่นคงทางจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดี 

อ้างอิง