©ulture

“…จะมีบ้างบางสิ่งที่เปลี่ยนไป แต่ก็มีหลายอย่างในสถานที่นี้ยังคงเดิมไม่เคยเปลี่ยน…”

ถึงแม้วันนี้ประเทศไทยจะเริ่มเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วก็ตาม แต่สถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดของไทยอย่าง ‘หัวลำโพง’ ที่เปิดให้บริการตั้งแต่ พ.ศ.2459 หรือนานกว่า 102 ปี ก็ยังคงเปิดให้บริการ และยืนอวดเสน่ห์อันเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เคยเปลี่ยน
อาคารสถานีทรงโค้งครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ ที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมในสมัยนั้น ยังคงความเป็นงานศิลปะชั้นยอด โดยเฉพาะเวลาแสงแดดตกกระทบแผ่นกระจกสีฟ้าและเขียวที่เรียงรายสลับกัน
สถาปัตยกรรมลวดลายปูนปั้นอันอ่อนช้อยคลาสสิกแบบยุโรป ยังคงงดงามเสมอเมื่อได้พบเห็น
นาฬิกาเรือนยักษ์ทรงกลมที่ติดตั้งอยู่ด้านบนกระจกโถงพักคอย ยังคงทำหน้าที่บอกเวลา โดยไม่เคยคิดจะขอลาหยุด
เข็มของมันยังคงเดินไปอย่างช้าๆ เหมือนไม่แยแสกับความเร่งรีบในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ใช่, ตอนนี้เราทุกคนกำลังวิ่งเหมือนคนบ้าที่วิตกจริตกับเวลา
แต่เข็มนาฬิกายังคงเดิน
และยังคงเดินอยู่เช่นนั้น เช่นเดียวกับ ‘หัวลำโพง’.

 

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีกรุงเทพ คือ ชื่อที่แท้จริงของสถานีรถไฟหัวลำโพง แต่คนเรียกหัวลำโพงกันจนติดปาก เพราะเดิมสถานีกรุงเทพนั้นอยู่ติดกับ ‘สถานีหัวลำโพง’ ของรถไฟสายปากน้ำ หลังจากยกเลิกสัมปทาน คนก็ยังเรียกสถานีกรุงเทพว่าหัวลำโพงมาจนถึงทุกวันนี้

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

หลังคาเหล็กโค้งที่ปัจจุบันเป็นที่พักคอยผู้โดยสาร ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิศกรรมที่สำคัญและทันสมัยในเวลานั้น

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

เสาคู่แบบไอโอนิก (Ionic) พร้อมด้วยรูปปั้นหญิงสาวที่เหนือจินตนาการ

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

นาฬิกาเรือนใหญ่ที่คอยบอกเวลา แสดงให้เห็นถึงความเที่ยงตรงและความรวดเร็วของการเดินทางที่ทันสมัยในอดีต

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

กระจกสีเหลืองเข้มและอ่อนเรียงสลับกันไปมา คล้ายกับงานศิลป์บนแผ่นกระจกซึ่งอยู่ทางด้านหลังชานชาลา

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

อดีตที่นี่เคยเป็น ‘โรงแรมราชธานี’ ที่ทันสมัย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นที่ทำการต่างๆ ของการรถไฟฯ

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

มุขทางฝั่งซ้ายที่มีลักษณะคล้ายซุ้มประตูชัย (Triumphal Aroh)

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

เสาคู่ลอยตัวระเบียงไอโอนิก (Ionic)

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

การตกแต่งด้วยปูนปั้นแบบคลาสสิกให้ความรู้สึกอ่อนช้อยนุ่มนวล

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

โถงระเบียงด้านหน้าอาคารที่ได้รับการออกแบบจากสถาปนิกชาวอิตาลี

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

ระเบียงยื่นที่ขอบทำพนักโปร่ง เป็นส่วนต่อเติมที่ทำเป็นที่ขึ้นลงสถานีรถไฟใต้ดินในปัจจุบัน โดยยังคงลักษณะใกล้เคียงกับของเดิม

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

ตราสัญลักษณ์รถไฟไทยที่ติดอยู่ทางด้านหน้าทางเข้าอาคาร

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

ปูนปั้นรูปหญิงสาวแบบคลาสสิคที่ประดับอยู่เหนือซุ้มหน้าระเบียง

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

รายละเอียดอันอ่อนช้อยตามโถงระเบียงทางเข้าด้านหน้าอาคารสถานี

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 คือวันที่สถานีรถไฟหัวลำโพงเปิดให้ประชาชนคนไทยใช้บริการอย่างเป็นทางการ

#Photo Essay #หัวลำโพง #สถานีรถไฟหัวลำโพง

ถึงแม้จะผ่านมา 102 ปี สถานีรถไฟหัวลำโพงก็ยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์เหมือนไม่เคยเปลี่ยนแปลง