©ulture

ค่ำวันสุดท้ายก่อนวันตรุษจีน ชาวจีนจะหวนคืนสู่บ้านเกิด เพื่อกลับไปร่วมโต๊ะกินอาหารกับครอบครัวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

ไม่ว่าใครจะทำงานต่างถิ่นหรือแยกย้ายไปอยู่ที่ไหน พวกเขาจะกลับมาหาพ่อแม่ที่กำลังเฝ้าคอย และบ้านหลังเดิมที่เคยอยู่

หากเป็นผู้ชายที่แต่งงานแล้ว เขาจะกลับมาพร้อมกับลูกเมีย หากเป็นผู้หญิงที่แต่งออก เธอจะติดตามสามีไปที่บ้านของเขา แล้วค่อยหวนกลับมาหาพ่อแม่ที่บ้านหลังเก่าหลังตรุษจีนผ่านพ้นไปหนึ่งวัน

นี่คือธรรมเนียมแต่เดิม ซึ่งบางคนวันนี้อาจยึดถือหรือผ่อนคลาย แต่ ‘หัวใจ’ ของการกลับบ้านดูเหมือนจะไม่เคยเปลี่ยนแปลง

การกลับมาพบพ่อแม่ยังคงเป็นโอกาสที่จะได้แสดงถึงความกตัญญูอย่างใกล้ชิด

การกลับมาเจอกันระหว่างพี่น้องยังคงเป็นการสานสัมพันธ์ ที่บางครั้งดูเหมือนจะห่างหายไม่ให้จืดจาง

การกลับมาร่วมโต๊ะทานข้าว ยังคงสร้างบทสนทนาที่เป็นมากกว่าการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ แต่ยังทำให้เราได้เห็นชีวิตของกันและกัน

วันนี้ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เป็นวันก่อนตรุษจีนหนึ่งวัน

คุณกำลังเดินทางกลับบ้าน…หรืออยู่ที่ใด?

ตรุษจีน
(Photo: WANG ZHAO / AFP)

ณ สถานีรถไฟปักกิ่ง ชาวจีนคนหนึ่งเดินแบกกระเป๋าเพื่อไปขึ้นรถไฟกลับบ้านเกิดช่วงตรุษจีน

ตรุษจีน
(Photo: WANG ZHAO / AFP)

ใครบางคนกำลังหาทางกลับบ้าน

ตรุษจีน
(Photo: Nicolas ASFOURI / AFP)

กลุ่มชาวจีนยืนรอด้านนอกสถานีรถไฟปักกิ่ง เพื่อรอโดยสารรถไฟกลับไปยังบ้านเกิด

ตรุษจีน
(Photo: Nicolas ASFOURI / AFP)

ผู้คนภายในสถานีรถไฟปักกิ่งต่างเดินมุ่งหน้าผ่านประตูตรวจตั๋วไปที่รถไฟ

ตรุษจีน
(Photo: Nicolas ASFOURI / AFP)

ครอบครัวนี้นอนพักผ่อนระหว่างการเดินทาง โดยมีบ้านเกิดเป็นจุดหมาย เด็กๆ กำลังจะได้พบอากงอาม่าของพวกเขา

ตรุษจีน
(Photo: Anthony WALLACE / AFP)

หญิงสาวชาวฮ่องกงแวะหาซื้อของตกแต่งบ้านในช่วงตรุษจีน

 

ตรุษจีน
(Photo: Manan VATSYAYANA / AFP)

คนงานหญิงชาวเวียดนามเก็บธูปที่ลานบ้าน ณ ‘หมู่บ้านธูป’ เขตชานเมือง กรุงฮานอย เธอคือหนึ่งในคนงานนับร้อยที่ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อผลิตธูปให้เพียงพอต่อความต้องการในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ตรุษจีน
(Photo: Anthony WALLACE / AFP)

ซาลาเปาไส้หมูที่วางขายในฮ่องกง ทำเป็นรูปหมู ซึ่งเป็นปีนักษัตรวันตรุษจีน พ.ศ.2562

ตรุษจีน
(Photo: Anthony WALLACE / AFP)

เทียรี่ โชว (Thierry Chow) ซินแสด้านฮวงจุ้ยในออฟฟิศที่ฮ่องกงช่วงเทศกาลตรุษจีน

ตรุษจีน
(Photo: SAM YEH / AFP)

นักท่องเที่ยวโพสท์ท่าอย่างสนุกสนานกับหุ่นหมูยักษ์

ตรุษจีน
(Photo: FRED DUFOUR / AFP)

ไคเฟิง หรือ Kaifang Culture คือคณะเชิดสิงโตที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือของจีน เปิดดำเนินการมาแล้วสี่ชั่วคน ในภาพเหล่านักแสดงกำลังฝึกซ้อมเชิดสิงโต

ตรุษจีน
(Photo: FRED DUFOUR / AFP)

หนึ่งในคนเชิดสิงโตของคณะไคเฟิง

ตรุษจีน
(Photo: FRED DUFOUR / AFP)

สำหรับชาวจีน สิงโตถือเป็นสัตว์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ที่จะบันดาลโชคลาภมาให้ ทั้งคอยช่วยปกป้องและปัดเป่าโพยภัยต่างๆ เชื่อกันว่าผู้ใดได้ชมการเชิดสิงโต จะมีโชคลาภ เจริญรุ่งเรือง และเป็นสิริมงคล

ตรุษจีน
(Photo: Mohd RASFAN / AFP)

นักประดาน้ำแสดงการเชิดสิงโต ณ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Aquaria KLCC กรุงกัวลาลัมเปอร์

ตรุษจีน
(Photo: Manan VATSYAYANA / AFP)

อักษรสีทองคือ  แปลว่า “พร” หรือ “ความเป็นสิริมงคล”

ตรุษจีน
(Photo: STR / AFP)

ชายคนหนึ่งกำลังปาดหมึกลงบนกระดาษสีแดง โดยถ้อยคำบนกระดาษจะเป็นคำอวยพรหรือคำที่เป็นสิริมงคล

ตรุษจีน
(Photo: WANG ZHAO / AFP)

ชายชาวจีนฝึกไทเก๊กท่ามกลาง ‘โคมแดง’ ซึ่งบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ นิยมนำมาประดับในช่วงเทศกาลตรุษจีน

ตรุษจีน
(Photo: SAM YEH / AFP)

เด็กผู้หญิงยืนถ่ายรูปกับหมูทอง รูปปั้นที่หน้าห้างสรรพสินค้า เมืองเถาหยวน ประเทศไต้หวัน

ตรุษจีน
(Photo: STR / AFP)

หญิงชาวจีนเซลฟี่กับไฟประดับรูปมังกร

ตรุษจีน
(Photo: STR / AFP)

ไฟประดับรูปนักษัตรต่างๆ ณ สวนอวี้หยวน เซี่ยงไฮ้

ตรุษจีน
(Photo: STR / AFP)

ไฟประดับรูปหมูช่วงเทศกาลตรุษจีน ณ สวนอวี้หยวน เซี่ยงไฮ้

ตรุษจีน
(Photo: STR / AFP)

รถไฟหัวกระสุนในจังหวัดกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เตรียมพร้อมสำหรับผู้คนหลายร้อยล้านคนที่จะเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดในช่วงตรุษจีน

อ้างอิง: