©ulture

ถึงแม้ว่า มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้เหยียบดวงจันทร์ 

แต่หลายคนอาจมีโอกาสสัมผัสพระจันทร์ด้วยมือตัวเองในอาร์ตโปรเจกต์ชื่อ Museum of the Moon’ ผลงานประติมากรรมดวงจันทร์ขนาดยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เมตร ลอยกลางอากาศ

Museum of the Moon
(photo: Joe Klamar / AFP)

ศิลปินชาวอังกฤษ ลุค เจอร์แรม (Luke Jerram) เป็นผู้ลงมือสร้างสรรค์และพาดวงจันทร์ดวงนี้เดินทางไปโชว์รอบโลกตั้งแต่ปี 2016 

Museum of the Moon
Luke Jerram ศิลปินผู้สร้างโปรเจกต์ Museum of the Moon (photo: https://farmweek.com)

ดวงจันทร์ของลุคมีพื้นผิวเหมือนของจริงทุกประการ เพราะเป็นภาพพรินท์ความละเอียดสูง จากภาพดวงจันทร์ที่ถ่ายโดยยาน Lunar Reconnaissance Orbiter ของ NASA ซึ่งเป็นยานอวกาศที่โคจรอยู่รอบดวงจันทร์และมีกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูงติดอยู่

ทว่าดวงจันทร์ของเขาไม่ใช่ของแข็งและขรุขระ แต่เป็นลูกโป่งยักษ์ที่สร้างโดยบริษัทบอลลูนชื่อดัง Cameron Balloons 

museum of the moon
Museum of the Moon ในออสเตรเลีย เมื่อปี 2018 (photo: https://my-moon.org)

ลุคได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ครบรอบ 50 ปีที่นักบินอวกาศของ NASA ฝากรอยเท้าไว้บนดวงจันทร์ 

รวมทั้งการสังเกตความแตกต่างของแนวน้ำขึ้นและระดับน้ำลงในย่านที่เขาอาศัยอยู่ในเมืองบริสโทล

นอกจากนี้ ลุคเชื่อว่า ดวงจันทร์เป็นมากกว่าวัตถุที่โคจรรอบโลก แหล่งให้กำเนิดแสงสว่างยามค่ำคืน หรือเป็นปฏิทินและเครื่องบอกเวลา แต่เป็นกระจกสะท้อนวัฒนธรรมและความเชื่อของผู้คนมากกว่า 100 ปี รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์สร้างงานวรรณกรรม บทกวี และเสียงเพลง

Museum of the Moon
พระจันทร์ในโปรเจกต์ Museum of the Moon ที่จัดแสดงโชว์ในสระว่ายน้ำสาธารณะแห่งหนึ่งในเมือง เรนเนส (Rennes) ประเทศฝรั่งเศส (photo: https://www.lonelyplanet.com)

ลุคมองว่า ในโลกสมัยใหม่ เราต่างถูกโอบล้อมด้วยตึกสูงหลายสิบชั้นและเต็มไปด้วยแสงสังเคราะห์ จนรู้สึกถูกตัดขาดจากท้องฟ้าในช่วงยามค่ำคืน

เขาจึงอยากนำพระจันทร์ของเขาไปแสดงในเมืองต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้ผู้คนได้ใกล้ชิดดวงจันทร์มากขึ้น เช่นเดียวกับในอดีต

Museum of the Moon
พระจันทร์ของลุคจัดแสดงที่เทศกาล Light Night Leeds ณ เมืองลีดส์ (Leeds) ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2017 (photo: Oli Scarff / AFP)

ในแต่ละเมืองที่ลุคเดินทางไป เขาจะทำการค้นคว้าหาข้อมูลเรื่องความความเชื่อและความสัมพันธ์ของพระจันทร์และคนในท้องถิ่น เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศรอบตัวของผู้คนให้ดื่มด่ำไปกับดินแดนแห่งจินตนาการ

Museum of the Moon
บอลลูนรูปพระจันทร์ลอยอยู่กลางงาน Bristol International Balloon Fiesta เมืองบริสโทล (Bristol) ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2016 (photo: Oli Scarff / AFP)

ดังนั้น พระจันทร์ดวงกลมโตของลุคจึงถูกจัดแสดงแตกต่างกันในแต่ละที่ บางแห่งเขาจัดวางไว้ในพิพิธภัณฑ์ บางแห่งก็เป็นพื้นที่กลางแจ้ง และมีงานศิลปะอื่นๆ ที่ได้แรงบันดาลใจจากดวงจันทร์โชว์ควบคู่กันไป

Museum of the Moon
ลุคและทีมงานลอยบอลลูนยักษ์ใกล้ท่าเรือในเมืองบริสโทล (Bristol) (photo: Bristol Harbour Office / https://my-moon.org)
Museum of the Moon
Museum of the Moon ในงานเทศกาลดนตรีที่โด่งดังที่สุดในโลกอย่าง Glastonbury ปี 2019 (photo: Lukonic Photography / https://my-moon.org)
Museum of the Moon
(photo: Joe Klamar / AFP)
พระจันทร์ของลุคลอยอยู่กลางงาน Freedom Festival และ British Science Festival (photo: Tom Arran / https://my-moon.org)

ช่วงปลายปี 2019 และต้นปี 2020 โปรเจกต์ Museum of the Moon ยังไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ ในหลายเมือง หลายทวีป เช่น Natural History Museum ที่ลอนดอน Powerhouse Museum ที่ซิดนีย์ Paradise City ที่กรุงโซล Natural History Museum Vienna ที่เมืองเวียนนา 

และสำหรับปี 2020 ลุคยังคงตั้งใจพาดวงจันทร์ดวงใหญ่กลมโตของเขา เดินทางไปทั่วโลก

เพื่อให้ผู้คนและดวงจันทร์ผูกสัมพันธ์กันเช่นในอดีต.

Museum of the Moon
(photo: Joe Klamar / AFP)

อ้างอิง

  • Mymoon.About.https://my-moon.org/about
  • Mymoon.Tour Dates.https://my-moon.org/tour-dates
  • Mymoon.Research.https://my-moon.org/research
  • Wikipedia.MuseumoftheMoon.https://en.wikipedia.org/wiki/Museum_of_the_Moon