©ulture

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอารมณ์ขันหรือความตลกร้ายกันแน่ที่ทำให้เกิดคำสแลงเหล่านี้ขึ้นมาท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

แต่ในทางภาษาศาตร์ คำสแลง คือ ภาษาพูดที่ใช้สื่อสารกันเฉพาะกลุ่มโดยในชั่วระยะเวลาหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักภาษา

common จึงได้รวบรวมคำสแลงใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาให้ทุกคนได้รู้จัก และอัพเดตว่าอีกากหนึ่งของโลกอย่างประเทศในตะวันตก เขาพูดจาภาษาสแลงอะไรกันในช่วงนี้

ฉันเกิดและอยู่ในยุคโควิด-19

นี่คือยุคสมัยที่เรียกว่า coronials หมายถึงเจเนอเรชันที่เกิดและเติบโตขึ้นมาในช่วงโควิด-19 ระบาดทั่วโลก

ในช่วงเวลานี้ หากครอบครัวที่มีสมาชิกใหม่เป็นทารก เด็กคนนั้นจะถูกเรียกว่า coronababies ส่วนคำว่า quaranteens เอาไว้ใช้เรียกบรรดาวัยรุ่นที่ออกไปไหนไม่ได้ เพราะต้องกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน 

สำหรับพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ ก็กลายเป็นผู้ประสบภัยในภาวะที่เรียกว่า coronacation กันถ้วนหน้า ซึ่งหมายถึงการทำหน้าที่เลี้ยงดูลูก ไปพร้อมๆ กับ work from home (ทำงานที่บ้าน) โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้

ด้านความรักความสัมพันธ์ หากคู่รักคู่ไหนต้องเลิกรากันเพราะพิษจากวิกฤตโควิด-19 เราจะเรียกว่า covidivorce มาจากคำว่า divorce (หย่าร้าง) 

Photo: Louis Janmot, Poem of the Soul – Sunrays (c.1854)
Photo: Raphael, Madonna with Beardless St. Joseph (c.1506)
Photo: Pere Borrell del Caso, Escaping criticism (c.1874)
Photo: Paul Delaroche, Young Mother and Her Children
Photo: Belmiro de Almeida, Arrufos (c.1887)

ยาวไปไม่ขอพูด

ก็เหมือนคนไทยที่มีชื่อเล่นหรือฉายาไว้เรียกแทนชื่อจริงนั่นแหละ เมื่อชีวิตประจำวันต้องพูดคำศัพท์ยาวๆ อยู่บ่อยๆ คำเหล่านี้จึงถูกเปลี่ยนให้เป็นภาษาพูด โดยใช้วิธีตัดบางเสียงทิ้ง หรือปรับบางเสียงเสียใหม่ แต่ยังคงใช้สื่อความหมายเดิม

อย่างคำว่าไวรัสโคโรนาจาก coronavirus ก็ย่อให้เหลือแค่ rona

หรือคำว่า hand sanitizer ที่หมายถึงเจลทำความสะอาดมือ ก็เปลี่ยนมาเรียกอย่างสั้นๆ ว่า sanny นอกจากจะฟังดูน่ารักแล้วยังแฝงความรู้สึกน่าใช้มากขึ้นกว่าเดิมด้วย 

ส่วนคำว่า self-isolation หรือการแยกตัวออกมาเพื่อกักโรคและติดตามอาการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็เรียกอย่างย่อๆ ว่า iso

Photo: Josse Lieferinxe, Saint Sebastian Interceding for the Plague Stricken (c.1497-1499)
Photo: Michelangelo, Creation of Adam (c.1511)
Photo: Edward Hopper, Cape Cod Morning (c.1950)

ทำตัวเช่นไรมีคำสแลงเรียกเช่นนั้น

สำหรับคนที่ชอบทำอะไรเพี้ยนๆ หรือเกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ชีวิตในยามปกติ เพราะมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ก็มีคำสแลงแปลกๆ ไว้เรียกคนเหล่านี้โดยเฉพาะ แต่การใช้คำกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะคำบางคำอาจสร้างความรู้สึกไม่สบายใจให้คนที่ถูกเรียกได้ 

เริ่มต้นจากคำสแลงที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในโซเชียลมีเดีย นั่นคือ covidiot ซึ่งเกิดจากการรวมคำระหว่าง COVID-19 (โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) และ idiot (คนโง่) เพื่อเอาไว้ใช้เรียกใครก็ตามที่ไม่สนใจเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ไม่ยอมกักตัวเองอยู่ในที่พัก (quarantine) และคนที่กักตุนของมากเกินจำเป็น

หรือจะใช้คำว่า moronavirus แทนก็ได้ เพราะสื่อความหมายทำนองเดียวกัน รวมถึงเกิดจากการรวมคำที่มีลักษณะคล้ายกันด้วย คือคำว่า moron (คนโง่) และ coronavirus (ไวรัสโคโรนา)

ตรงกันข้ามกับคำว่า covidient ซึ่งหมายถึงคนที่ปฏิบัติตามนโยบายการป้องกันโรคของรัฐได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

ส่วนคำว่า prepper มากจาก prep (พร้อม) ใช้เรียกคนที่เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 ได้ในทุกสถานการณ์ 

นอกจากนี้ยังมีคำว่า the mail หมายถึงเพื่อนที่ขยันมาหาเราที่บ้านทุกวัน ต่อให้พร่ำบอกว่าช่วงนี้ควรห่างกันสักพัก แต่เพื่อนก็ไม่สนใจ เหมือนกับจดหมายที่จ่าหน้าถึงเรา ต่อให้ไม่อยากรับแค่ไหน สุดท้ายจดหมายทุกฉบับจะมาอยู่ในตู้ไปรษณีย์หน้าบ้านเสมอ

อีกคำที่น่าสนใจ คือ corona bae ปกติ bae เป็นคำหวานๆ สำหรับใช้เรียกคนรักหรือแฟน แต่คำสแลงนี้หมายถึงคนที่เราบังเอิญเห็นในโซเชียลมีเดียแล้วหลงรักขึ้นมาทันที เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นระหว่างกักตัวอยู่คนเดียวอย่างเหงาๆ

Photo: Adriaen van der Werff, The Banishment of Hagar (c.1696-1697)
Photo: Jan Matejko, Stańczyk (c.1863)
Photo: Johannes Vermeer, The Milkmaid (c.1660)
Photo: Carl Bloch, Two women talking (c.1874)
Photo: Caravaggio, Narcissus (c.1594-1596)

คำประดิษฐ์เฉพาะกิจ

เพื่อคลายความเบื่อหน่ายระหว่างกักตัวอยู่บ้าน หลายคนจึงเลือกวิธีสร้างความบันเทิงให้ชีวิตอย่างง่ายที่สุด นั่นคือเปิดหนังและซีรีส์ดูติดต่อกันจนจบซีซัน เราเรียกวิธีการแบบนี้ว่า quarantine and chill 

เพื่อเพิ่มอรรถรส บางคนอาจหาขนมขบเคี้ยว ข้าวโพดคั่ว หรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ไว้กินไปดูไป แต่ถ้าเป็นเครื่องดื่มประเภทค็อกเทลอย่าง martini และ margarita เราจะเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันเป็น quarantini และ coronarita แทน

เมื่อเปลี่ยนมาเข้าสู่โหมดทำงานจริงจัง ก็มีคำสแลงจำนวนหนึ่งที่คนนิยมใช้กันมาก เช่น doom-scrolling หมายถึงการเลื่อนฟีดในสื่อสังคมออนไลน์จนไปเจอข่าวหรือข้อมูลที่ทำให้รู้สึกหดหู่ใจ

หรือระหว่างประชุมงานหรือคุยกับคนอื่นผ่านวิดีโอคอล แล้วมีใครทำบางสิ่งบางอย่างจนกลายเป็นจุดสนใจของทุกๆ คนไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เราจะเรียกว่า zoom-bombing 

ยังมีอีกคำที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ zoom room หมายถึงพื้นที่เล็กๆ หรือมุมใดมุมหนึ่งของห้องถูกจัดเตรียมไว้อย่างเป็นระเบียบและเรียบร้อยที่สุด เพื่อใช้สำหรับวิดีโอคอลเท่านั้น ทั้งๆ ที่มุมอื่นๆ รกไปด้วยของสารพัดสิ่ง

Photo: Charles James Lewis, Reading by the Window (c.1980)
Photo: Philippe Mercier, Portrait of a Girl with a Bottle and a Glass (c.1760)
Photo: Ernst Anders, Ein stiller Moment (c.1878)
Photo: Sandro Botticelli, The Birth of Venus (c.1484–1486)/Artemisia Gentileschi, Penitent Magdalene (c.1625)
Photo: Sandro Botticelli, St Augustin dans son cabinet de travail (c.1490-1494)

ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างคำสแลงในภาษาอังกฤษที่เกิดขึ้นเพราะโควิด-19 หากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในเร็ววัน อาจมีคำสแลงใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาให้เราได้เรียนรู้ผ่านความสนุกของภาษากันอีก

 

อ้างอิง