©ulture

เหตุผลที่ becommon สนใจจับเข่าคุยกับบรรณาธิการสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก แห่ง เพราะเกิดความสงสัยเป็นนักหนาว่าอะไรทำให้คนรักหนังสือในแต่ละยุคสมัย ยอมแลกแรงกายแรงใจทุ่มทุนก่อร่างสร้างสำนักพิมพ์ของตัวเองขึ้นมา 

ทั้งๆ ที่สื่อสิ่งพิมพ์ถูกปรามาสว่า ได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว แต่ยิ่งวันก็ยิ่งมีสำนักพิมพ์ขนาดเล็กทยอยเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง 

ไม่เกินจริงแต่อย่างใด ที่วลี ‘รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง’ ยังดูมีโอกาสและหนทางมากกว่าจะนำมาใช้กับธุรกิจนี้เสียด้วยซ้ำ 

เนื่องจากในประวัติศาสตร์การพิมพ์เองก็ไม่เคยปรากฏหลักฐานว่าเคยมีใครร่ำรวยจากการพิมพ์หนังสือขาย 

แน่นอนว่าคำตอบที่เจ้าของสำนักพิมพ์แต่ละเจ้าที่เราเลือกมา ล้วนตอบโดยพร้อมเพรียง ก็คือ ไม่เคยหวังรวยจากการพิมพ์หนังสือขาย แค่อยากผลิตหนังสือในแบบที่ตัวเองเชื่อว่าดีและตรงใจมากที่สุด ก็เท่านั้น 

ไลบรารี เฮ้าส์ (Library House) มุ่งมั่นคัดสรรวรรณกรรมชั้นดีจากทั่วโลกนำมาแปลให้คนไทยได้อ่าน 

ซอลท์ (Salt) คัดเฉพาะหนังสือวิทยาศาสตร์และปรัชญา ทั้งเชิงสาระความรู้อ่านสนุก และนิยายไซไฟมาขยายขอบเขตแห่งความรู้ให้รอบด้านยิ่งขึ้น 

แมงมุม บุ๊ก (Mangmoom Book) เสาะหาวรรณกรรมภาษาจีนทั้งสำหรับผู้เยาว์และผู้ใหญ่ มาสั่นสะเทือนหัวใจนักอ่าน 

สำนักพิมพ์นาวา อาสากระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทย (และผู้ใหญ่หัวใจเด็ก) ผ่านหนังสือภาพขายดีจากประเทศฟินแลนด์ 

สำนักพิมพ์แมวฮกเกี้ยน เน้นผลิตวรรณกรรมอ่านสนุกฝีมือนักเขียนไทย ภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมี ‘แมว’ เป็นหัวใจในการดำเนินเรื่องราว 

โปรยปกให้รู้จักบุคลิกของแต่ละสำนักพิมพ์เพียงเท่านี้คงไม่พอ เพราะยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังการบริหารงานสำนักพิมพ์อย่างไรให้เดินหน้า แต่ละประสบการณ์มีทั้งเสียงหัวเราะและคราบน้ำตาที่พวกเขายอมแลก เพื่อการผลิตหนังสือให้ถูกใจตัวเองและหวังว่าจะตรงใจนักอ่าน ซึ่งอาจจะเป็นเพียงกำไรเดียวที่ทำให้พวกเขาชุ่มชื่นหัวใจ 

ไลบรารี่ เฮ้าส์

small publishing house

ฟังก์ชั่นของสำนักพิมพ์คือ โรงงานผลิตยาชนิดหนึ่ง ยาตัวนี้ คือ literary medicine ที่เราผลิตมาเพื่อให้คุณซื้อไปเยียวอาการเจ็บป่วยของคุณ มีทั้งยาที่ทรงประสิทธิภาพ ยาที่กินแล้วบรรเทา หรือยาที่กินแล้วแค่ให้ความรู้สึกว่าฉันได้รับวิตามินเข้าสู่ร่าง แต่อย่างน้อยก็เป็นเครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ ที่ยังต้องมี 

หน่อย – รังสิมา ตันสกุล นิยามความสำคัญของสำนักพิมพ์ไว้แบบนั้น จากประสบการณ์การเป็นนักอ่านมาตั้งแต่วัยเยาว์ เติบโตสู่การเป็นนักแปล และเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ ไลบรารี่ เฮ้าส์ ผู้คัดสรรวรรณกรรมระดับโลกมาแปลและเรียบเรียงให้นักอ่านไทยได้ใช้เยียวยาจิตวิญญาณ 

จุดเริ่มต้นของ ‘ห้องสมุดในบ้าน’ แห่งนี้ เกิดจากพันธกิจในการรับผิดชอบต้นฉบับแทนคนอื่น เมื่อสำนักพิมพ์ขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่รังสิมาเคยเป็นหุ้นส่วนเกิดเรือแตก ทั้งยังโยนงานเขียน เล่มให้เธอไปรับผิดชอบต่อ 

การขับเคลื่อนวรรณกรรมระดับโลกให้ออกมาในรูปแบบหนังสือปกสวย ภาษาสละสลวย เล่มแล้วเล่มเล่าจึงได้เริ่มต้นขึ้น

small publishing house
แก็ตสบี้ ความหวังยิ่งใหญ่และหัวใจมั่นคง (The Great Gatsby)

แก็ตสบี้ ความหวังยิ่งใหญ่และหัวใจมั่นคง (The Great Gatsby) ผลงานของ เอฟ สก็อต ฟิตซ์เจอรัลด์ แปลโดย โตมร ศุขปรีชา คือเล่มแรกจากสังกัดไลรารี่ เฮ้าส์ วางขายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 

แต่แทนที่จะรีบๆ พิมพ์หนังสือในมือออกวางขายเพื่อปลดแอกภาระที่แบกไว้ลำพัง รังสิมารู้ดีว่านิยายชั้นดี ที่แน่นด้วยเนื้อหา และหนักด้วยความหนาของตัวเล่ม ไม่สามารถขายได้ง่ายๆ ราวกับดีดนิ้วเสก เธอจึงใช้วิธีคัดสรรวรรณกรรมเล่มบางมาวางขาย เพื่อคั่นจังหวะ และเร่งให้ผู้อ่านอยากทำความรู้จักไลบรารี่ เฮ้าส์มากขึ้น

small publishing house
ดอกไม้สำหรับมิสซิสแฮรีส (Flowers for Mrs. Harris)

เลยไปนั่งดูชั้นหนังสือเก่าของตัวเอง มองหาว่ามีหนังสือเล่มบางๆ เล่มไหนบ้างที่เราชอบ ก็เจอเล่ม ดอกไม้สำหรับมิสซิสแฮรีส (Flowers for Mrs. Harris) เลยเกิดเป็นโปรเจต์ตีพิมพ์ novella และเรื่องสั้นคัดสรรขึ้น 

วิธีนี้ทำให้แบรนดิ้งเกิดขึ้นได้เร็ว คือ หาหนังสือที่ทำได้ง่าย ทำได้เร็ว มาคั่นเล่มที่เราอยากทำมากๆ แต่อาจจะไม่ได้ทั้งเงินทั้งกล่อง 

นั่นเป็นเพียงก๊อกแรก ส่วนก๊อกสองที่รังสิมาทำไปพร้อมๆ กัน นั่นคือ สร้างพันธมิตรระดับนานาชาติ และหาแหล่งทุนจากองค์กรด้านวัฒนธรรม 

ในฐานะที่แต่งตั้งตัวเองเป็นบรรณาธิการบริหาร เราก็ต้องบริหารให้ได้ ดังนั้น ในปีที่ 2-3 ของการทำสำนักพิมพ์ หน่อยจึงเริ่มออกไปทำความรู้จักกับองค์กรวัฒนธรรมต่างๆ ที่มักจะมีทุนสนับสนุนการแปลหรือการพิมพ์ที่เปิดกว้างสำหรับสำนักพิมพ์จากต่างชาติ ทั้งเพื่อสร้างคอนเนกชันและลดต้นทุนในการพิมพ์ของตัวเอง”

small publishing house
รังสิมา ตันสกุล
บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ ไลบรารี่ เฮ้าส์

และถึงจะไม่ใช่ก๊อกสาม แต่ถือเป็นก๊อกเสริมที่สำคัญ นั่นคือ ความพิถีพิถันในการออกแบบปกและรูปเล่มให้สวยงาม ดึงดูดใจนักอ่าน ซึ่งรังสิมาถือว่ารสนิยมที่ดีเป็นสัญชาตญาณที่บรรณาธิการต้องมี 

คนที่สวมหมวกบรรณาธิการต้องมีความเชื่อในรสนิยมของตัวเอง แล้วเราจะรู้ไดเรคชั่นของหนังสือในสำนักพิมพ์ว่ามีทิศทางแบบไหน ยิ่งเราได้ร่วมงานกับนักออกแบบที่พร้อมจะพัฒนาฝีมือไปด้วยกัน เช่น มานิตา ส่งเสริมป้อง Wonderwhale หรือ วี Mongal Navy สามคนนี้คือดีไซเนอร์ที่ยังยึดหัวหาดได้อยู่ จนหน่อยไม่สามารถเอางานศิลปะของน้องทั้งสามคนนี้มาพิมพ์ในกระดาษแบบเดิมๆ ได้ ช่วงสองปีมานี้ หน่อยจึงเป็นบรรณาธิการบริหารที่วุ่นวายกับเรื่องกระดาษมาก” เธอหัวเราะให้การใส่ใจในรายละเอียดของตัวเอง

small publishing house
เพราะความรักมิอาจเร่งร้อน (Die Liebe im Ernstfall)

ด้วยการเอาใจใส่ทุ่มเทในผลงานชนิดกัดไม่ปล่อยทุกขั้นตอน จนหน่อยยอมรับว่า “เหนื่อยจนกระดูกลั่นกร๊อบๆ ทุกวัน” แต่เธอก็ยังยืนหยัดและยินดีฟังเสียงกระดูกตัวเองลั่นต่อไป 

ยอดขายของไลบรารี่ เฮ้าส์ไม่ได้ฟู่ฟ่า แต่ก็เป็นกราฟที่มั่นคงพอสมควร อย่างหนังสือขายดีที่สุด เล่มของเรา ได้แก่ มื้อเช้าที่ทิฟฟานี (Breakfast at Tiffany’s), เนินนางวีนัส (Delta of Venus), ในกรงแก้ว (The Bell Jar), มือสังหารบอด (The Blind Assassin) และห้องของโจวันนี (Giovanni’s Room) ก็ขายดีด้วยเนื้อเรื่องและชื่อนักเขียน การทำวรรณกรรมแปลสำหรับไลบรารี่ เฮ้าส์ โดยส่วนตัวเชื่อว่าชื่อนักเขียนต้องมาก่อน แล้วค่อยมามองว่าใครเป็นคนแปล 

นอกจากนี้ ไลบรารี่ เฮ้าส์ ยังถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ส่งเสียงอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าเพจของเราไม่ค่อยร้าง จะโพสต์โน่นนี่นั่นไปเรื่อยๆ มีลักษณะของความช่างจำนรรจา แต่ไม่ถึงกับเจื้อยแจ้ว ไม่เขียนยาว แต่เขียนอย่างสม่ำเสมอว่า ฉันยังอยู่ตรงนี้ เดี๋ยวฉันจะมีอะไรใหม่ๆ ออกมา 

หนึ่งในสิ่งใหม่ที่ไลบรารี่ เฮ้าส์ โพสต์ถึงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้น .. 2564 ก็คือ การแนะนำน้องใหม่ภายใต้ชื่อ ไลบรารี่ เทอเรส (Library Terrace) ที่ประเดิมเล่มแรกด้วย เด็กหญิงน้ำตาล (Sugar Child) วรรณกรรมเยาวชนเข้มข้นจากรัสเซีย ที่เป็นเหมือนถ้อยแถลงจุดยืนของเจ้าสำนักไปในตัว

small publishing house
เด็กหญิงน้ำตาล (Sugar Child)

หน่อยพบว่ามีสำนักพิมพ์ต่างประเทศส่วนมากมีหนังสือ young adult หรือแม้กระทั่งหนังสือสำหรับเด็กเล็กเยอะมากจนเราตกใจ ในขณะที่บ้านเมืองเราไม่ได้มีการส่งเสริมหนังสือเด็กอย่างเข้มแข็ง แต่สิ่งที่ทำให้ตัดสินใจทำ ไลบรารี่ เทอเรส ก็เพราะแค่อยากทำหนังสือที่เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งให้เด็กและผู้ปกครองได้เลือกอ่าน 

ประกอบกับเหตุบ้านการเมืองเมื่อปีที่แล้วทำให้หน่อยมีโอกาสไปร่วมชุมนุมบ้าง ครั้งหนึ่ง หน่อยกับสามียืนอยู่ด้านหลังสุดของม็อบ มองไปข้างหน้าเห็นบรรดามือที่ชูสามนิ้วทั้งหมดเป็นมือป้อมๆ ของเหล่าเด็กมัธยมต้นทั้งนั้นเลย พอกลับถึงบ้านเราได้แต่นั่งคิดและน้ำตาซึม เพราะรู้สึกว่าตัวเองช่วยอะไรเด็กพวกนี้ไม่ได้เลย จึงกลายเป็นจุดที่ทำให้เราต้องหาเครื่องมือที่ต้องอย่าทำให้ตัวเองกลัว ซึ่งตรงกับเนื้อหาในเล่ม เด็กหญิงน้ำตาล ซึ่งก็มีจุดตั้งต้นจากเหตุการณ์ทำนองนี้ 

เล่มต่อไปของไลบรารี่ เทอเรส เกี่ยวกับประเด็นของครูที่ดูแลเด็กในห้องเรียน ซึ่งหน่อยตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์เล่มนี้ช่วงที่มีข่าวการบุลลี่เด็กในโรงเรียนเอกชน ดังนั้น แรงผลักต่างๆ จึงเกิดจากตัวเองว่า อยากพูดถึงประเด็นอะไร แรงจูงใจเหล่านี้ทำให้หน่อยตื่นขึ้นมาในทุกเช้า แล้วรู้ว่าฉันจะทำอะไรไปเพื่ออะไร 

ไม่เฉพาะเพื่อตอบสนองแรงกระตุ้นในใจตัวเองเท่านั้น แต่จากนี้ต่อไป สำนักพิมพ์ไลบรารี่ เฮ้าส์ จะเป็นมากกว่าแค่สำนักพิมพ์สำหรับรังสิมา ตันสกุล เพียงคนเดียว 

ด้วยความที่หน่อยเริ่มต้นทำหนังสือด้วยแพสชั่นอันล้นเปี่ยมมากๆ พอถึงจุดที่ตัวเองประสบความสำเร็จจนชนเพดานของคำว่าแพสชั่น ถึงค่อยพบว่าเหตุผลที่ที่เรายังทำงานนี้อยู่ ก็เพราะคำว่า ‘สปิริต’ เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเองคนเดียวอีกแล้ว เราอยากเห็นน้องกราฟิคออกแบบงานเจ๋งๆ นักแปลแปลงานที่เนี้ยบ แค่นี้ตัวเราเองก็พร้อมจะหางานมาให้น้องๆ ทำต่อ เราทำเพื่อให้คนที่มีแพสชั่นรุ่นหลังๆ ได้มีเวที มีสนามสำหรับฝึกปรือฝีมือ 

สำนักพิมพ์นาวา

small publishing house

หนึ่งในเหตุการณ์ที่เจ้าสำนักไลบรารี่ เฮ้าส์ เล่าให้ฟัง คือ การบังเอิญได้ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับคนทำสำนักพิมพ์เด็กจากฟินแลนด์ และจากบทสนทนาชั่วระยะสั้นๆ กลับสามารถจุดประกายให้รังสิมาอยากมีโอกาสนำวรรณกรรมฟินนิชดีๆ มาตีพิมพ์ให้ได้ในอนาคต 

ก้อย – กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ เองก็คิดแบบนั้นเหมือนกัน และเธอคิดแบบนี้มานานกว่าสิบปี กว่าที่จะได้ลงมือทำสำนักพิมพ์นาวา สำนักพิมพ์ที่มุ่งผลิตหนังสือภาพเป็นหลัก ประเดิมด้วยวรรณกรรมเยาวชนยอดนิยมแห่งฟินแลนด์อย่าง ‘ตาตุกับปาตุ’ 

พ.ศ. 2548 กัญญ์ชลาเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทสาขา Digital Culture หรือวัฒนธรรมดิจิตัลศึกษา ที่เมืองยูวาสกูล่า ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ YouTube เพิ่งอุบัติขึ้นบนโลกใบนี้ 

ดังนั้น ในยุคสมัยที่โซเชียลมีเดียเพิ่งเริ่มตั้งไข่ สาขาที่เธอเรียนจึงถือว่าล้ำสุดขั้ว สมศักดิ์ศรีประเทศที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยีแหล่งสำคัญ ซึ่งทุกคุณสมบัติของความเป็นประเทศคุณภาพดังกล่าวของฟินแลนด์สะท้อนอยู่ในทุกหน้ากระดาษของการ์ตูนสุดเพี้ยนที่แสนจะอัจฉริยะเรื่องนี้ 

และเป็นเหตุผลที่ทำให้นักเขียนนักวาดชาวไทยคนหนึ่ง ลืมหนังสือเล่มนี้ไม่ลง

small publishing house

 

แม้จะเรียนจบมาเป็นสิบปีแล้ว แต่ก้อยยังนึกถึงตาตุปาตุตลอดเวลา เพราะเป็นหนังสือที่สนุก ตลกโปกฮา และมีประโยชน์แอบแฝงอยู่เยอะมาก เช่น สอนให้เด็กคิดจินตนาการถึงความเป็นไปได้ไม่รู้จบ 

อย่างเล่มแรก สิ่งประดิษฐ์สุดเพี้ยนของตาตุและปาตุ เนื้อหาเกี่ยวกับการที่ทั้งคู่ช่วยกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็กๆ เช่น เด็กมักจะขี้เกียจตื่นเช้า อาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน ตาตุปาตุก็คิดเครื่องเตรียมตัวตอนเช้า ที่แค่กดปุ่ม ตัวเราก็จะไหลไปตามสายพานให้เครื่องช่วยแปรงฟัน อาบน้ำ ล้างหน้า แต่งตัว พร้อมที่จะไปโรงเรียน ซึ่งช่วยตอบสนองจินตนาการของเด็กๆ และเป็นการบอกเด็กๆ ว่าจริงๆ แล้วมีทางแก้ปัญหาเยอะแยะไปหมดเลย ความสนุกอยู่ตรงการคิดหาทางใหม่ๆ ขึ้นมา 

ก้อยมองว่ารายละเอียดที่ซ่อนอยู่ตัวการ์ตูนน่ารัก ภาพสดใส และเนื้อเรื่องก็ตลกเฮฮามากอย่างตาตุปาตุ ถือเป็นต้นกำเนิดของนวัตกรรม ที่ทำให้ฟินแลนด์สามารถพลิกโฉมจากประเทศเกษตรกรรมกลายเป็นประเทศไอทีได้ภายในระยะเวลา 50 ปี เพราะฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้อยมาก ทั้งจำนวนประชากรและช่วงเวลาในการเพาะปลูกเพียงปีละ 3-4 เดือน เขาจึงต้องหาวิธีในการสร้างเศรษฐกิจขึ้นมา และคำตอบก็คือ นวัตกรรม ซึ่งสิ่งที่อยู่ภายใต้นวัตกรรมก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นรากของทักษะที่จำเป็นต่อเด็กรุ่นนี้ด้วย”

small publishing house

หลังสำเร็จปริญญาโท ก้อยเดินทางกลับมาทำงานในวงการสิ่งพิมพ์ไทยเต็มตัว เธอเป็นทั้งนักเขียน นักแปล และนักวาดภาพประกอบ สั่งสมประสบการณ์นานเกินทศวรรษ จนมั่นใจว่าพร้อมแล้วที่จะนำหนังสือภาพในดวงใจมาจัดพิมพ์ ก็ถึงเวลาที่โควิด-19 มาทักทายชาวโลกพอดี 

ในวิกฤติย่อมมีโอกาส ทั้งพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ต้อง work from home ไปพร้อมๆ กับการดูแลลูก จึงพร้อมจะหาซื้อหนังสือออนไลน์มาให้เด็กๆ อ่าน ประกอบกับการเกิดขึ้นของ ‘ตลาดเลี้ยงรุ่น’ ทั้งสถาบันมหาวิทยาลัย มัธยม และประถม ก้อยจึงอาศัยจังหวะนี้เปิด pre-order หนังสือตาตุปาตุฯ เล่ม 1 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

small publishing house

หลังจากที่ สิ่งประดิษฐ์สุดเพี้ยนของตาตุและปาตุ เดินทางไปสู่มือของนักอ่านชาวไทย ในเดือนมิถุนายน 2563 สิ่งประดิษฐ์ย้อนยุคสุดเพี้ยนของตาตุและปาตุ กับ ตาตุและปาตุเด็กฝึกงานสุดเพี้ยน ผลงานลำดับที่ และ ของสำนักพิมพ์นาวาก็ตามออกมาในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำหน้าที่ราวกับสะพานมิตรภาพระหว่างฟินแลนด์และประเทศไทย 

แต่ไม่ได้หมายความว่าสำนักพิมพ์นาวาจะผูกขาดเฉพาะหนังสือภาพจากฟินแลนด์เท่านั้น 

ในช่วงแรกก้อยเลือกเฉพาะงานของฟินแลนด์เพื่อให้ผู้อ่านรู้จักเราก่อน ส่วนในอนาคต ยังมีหนังสือภาพดีๆ ในโลกนี้อีกเยอะแยะที่ก้อยอยากให้คนไทยได้เห็น รวมถึงการทำหนังสือภาพของตัวเอง และการเปิดรับงานของนักเขียน-นักวาดชาวไทย ก็น่าจะเป็นโปรเจต์ที่เกิดขึ้นในอนาคต” เจ้าของสำนักพิมพ์น้องใหม่มองการณ์ไกล ก่อนเล่าต่อถึงการตลาดในแบบ ‘นาวา

small publishing house

การตลาดในแบบของเราคือ เลือกต้นฉบับให้ดี สนุก และมีประโยชน์ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับเด็กๆ และครอบครัว ถ้าเด็กชอบ อ่านแล้วรู้สึกสนุก พ่อแม่เห็นว่ามีประโยชน์ หนังสือก็จะไปต่อได้เองจากการบอกต่อ 

ส่วนความคิดเห็นที่เธอมีต่อความนิยมในการลุกขึ้นมาทำสำนักพิมพ์เองของหนอนหนังสือส่วนหนึ่ง ก็เป็นผลพวงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ต่างอะไรกับจุดเริ่มต้นของสำนักพิมพ์นาวา 

ทุกวันนี้ผู้ทำหนังสือกับผู้อ่านสามารถติดต่อกันได้โดยตรงผ่านสื่อดิจิตัลต่างๆ ฉะนั้นจึงเกิดกลุ่มความสนใจที่เฉพาะทางมากขึ้น เช่น สำนักพิมพ์นี้แปลเฉพาะนวนิยายสืบสวนญี่ปุ่นอย่างเดียว ผู้อ่านก็จะสื่อสารยึดโยงกันด้วยโซเชียลมีเดีย ทำให้เกิดฐานที่ทำให้สำนักพิมพ์อยู่ได้ 

“อีกเหตุผลน่าจะเป็นเรื่องการทำงาน เช่น กลุ่มคนที่สร้างงานอยู่แล้วอย่างนักเขียนที่เขียนหรือสร้างสรรค์งานตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการวาดรูป เขียนฟิกโนเวล ที่ค่อนข้างมีอิสระ ดังนั้น เมื่อเจ้าของผลงานทำสำนักพิมพ์เอง เขาก็จะได้ค่าตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น” เธอปิดท้ายราวกับจะส่งไม้ต่อให้นักเขียนไทยนายหนึ่ง ที่นำชื่อผลงานแจ้งเกิดมาปั้นเป็นสำนักพิมพ์ที่มุ่งมั่นรับใช้วรรณกรรมไทยเป็นสำคัญ 

แมวฮกเกี้ยน

small publishing house

ชื่อของ นฤพนธ์ สุดสวาท เป็นที่รู้จักในฐานะนักเขียนเจ้าของรางวัลเรื่องสั้นยอดเยี่ยม รางวัลนายอินทร์อะวอร์ด .. 2557 จากเรื่อง หอนาฬิกาที่หาช่างซ่อมไม่ได้ ต่อเนื่องด้วยเรื่องสั้นชมเชย รางวัลกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ ครั้งที่ .. 2558 จากเรื่อง ปีนังไม่มีน้ำตา 

.. 2559 เรื่องสั้นทั้ง เรื่อง ถูกจับไปรวมอยู่ในหนังสือรวม เรื่องสั้นของเจ้าตัว หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า ร้านหนังสือแมวฮกเกี้ยน 

และในปลาย พ.. 2563 ร้านหนังสือแมวฮกเกี้ยนก็กลายมาเป็นสถานที่ขายหนังสือจริงๆ ภายใต้สถานะ สำนักพิมพ์แมวฮกเกี้ยน ที่มีผลงานเล่มแรกในชื่อ แมวสังหาร แน่นอนว่าเป็นผลงานของนฤพนธ์

small publishing house
แมวสังหาร
เขียนโดย นฤพนธ์ สุดสวาท

ก่อนหน้านี้ ผมออกงานมา เล่ม ร่วมกับสำนักพิมพ์ขนาดกลางและใหญ่ จึงพอเห็นภาพว่าตอนนี้การจะออกงานสักเล่ม ไม่ใช่แค่ทุน แต่เป็นเรื่องของการตลาด กระบวนการต่างๆ ในการอ่านและแก้ไขต้นฉบับกว่าจะผ่านการตีพิมพ์ ผมจึงมองว่า เราพอไหว ถ้าลัดขั้นตอนเหล่านั้นไป โดยการจัดพิมพ์งานของตัวเองและงานที่เราชอบ” เขาเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ไม่ซับซ้อนในการก่อตั้งสำนักพิมพ์ 

แต่ก็ต้องยอมรับว่าผมยังไม่มีความชำนาญเอาเสียเลยทั้งด้านการบรรณาธิการและการขาย ต้องขอบคุณพี่ๆ ในร้านหนังสืออิสระอย่างร้านฟาธอม บุ๊ก สเปซ ร้านก็องดิด และร้านความกดอากาศต่ำ ที่ช่วยให้ผมเข้าใจบางขั้นตอนที่อาจละเลยไปในช่วงเริ่มต้นวางขายได้ดีขึ้น 

ด้วยความที่เติบโตมากับวรรณกรรมไทยสายแข็ง นฤพนธ์จึงมีความตั้งใจมั่นในการสร้างผู้อ่านกลุ่มใหม่ผ่านวรรณกรรมที่ย่อยง่าย อ่านสนุก และเป็นงานของนักเขียนไทย ซึ่งเขามองว่าในยุคนี้ไม่มีแล้วซึ่งหนังสือกระแสหลัก เพราะเป็นยุคสมัยที่ผู้คนสามารถอ่านภาษาที่สองหรือสามได้มากขึ้น ทำให้ใครต่อใครก็สามารถหาอ่านงานที่พึงใจได้จากทุกแหล่ง

small publishing house
นฤพนธ์ สุดสวาท
เจ้าของสำนักพิมพ์ แมวฮกเกี้ยน

คนไทยอ่านกว้างและลึกขึ้น เพียงแค่เราไม่ได้ไปตามดูเท่านั้นเอง ในออนไลน์คุณจะเห็นเลยว่ามีความหลากหลายมาก อย่างจอยลดา หรือแฟนฟิคต่างๆ ที่มีกลุ่มเหนียวแน่นมาก ในส่วนตัวของผมก็พยายามควานหาคนอ่านของตัวเองอยู่ คนอยากอ่านอะไรที่สนุก นั่นคือ โจทย์ว่า จะทำวรรณกรรมให้อ่านสนุกได้อย่างไร 

การตลาดในแบบนฤพนธ์ที่ทดลองทำเพื่อขายหนังสือของตัวเอง คือ การพยายามทำทุกอย่างให้ผ่านตาคนให้ได้มากที่สุด 

การหารีวิวหรือบทวิจารณ์มาลงในเพจเป็นเรื่องสำคัญมาก เหมือนยุคนึงที่เราจะมักอ่านบทวิจารณ์หนังสือในนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ก่อนจะไปถึงร้านหนังสือหรือสั่งออนไลน์ คนซื้อต้องรู้จักหนังสือเล่มนั้นประมาณนึ 

มีคนพูดกันเล่นๆ ว่า ถ้าอยากรวยอย่าเป็นนักเขียนหรือทำหนังสือ ผมไม่มีหัวธุรกิจเลย มีแต่ความอยากกับความโง่ดื้อรั้น ผมจึงต้องหาเงินจากทางอื่นมาทำหนังสือ ตอนนี้เล่มแรกวางขายมาครึ่งปี ก็แค่พอไปได้ ไม่ได้คิดถึงกำไร แต่ต่อไปคงคิดถึงความอยู่รอดให้มากขึ้น แต่ก็นั่นล่ะ งานเขียนของนักเขียนไทยคือความเสี่ยง อยู่รอดของผมในที่นี้ คือ หวังแต่เสมอตัว พิมพ์ออกมาพันเล่ม ขายได้ 400-500 เล่ม ผมก็พอใจแล้ว” 

small publishing house
ร้านหนังสือแมวฮกเกี้ยน
รวมเรื่องสั้นของนฤพนธ์ สุดสวาท

เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่เขานิยามสำนักพิมพ์ตัวเองว่าไม่ได้เป็นสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก แต่เป็นสำนักพิมพ์ขนาด ‘จิ๋ว’ เลยก็ว่าได้ 

ปัจจุบัน สำนักพิมพ์ขนาดจิ๋วที่มีแมวเป็นแกนนำกำลังจะเข็นหนังสือลำดับถัดไปออกวางตลาด เป็นผลงานของนักเขียนซีไรต์คนล่าสุดอย่าง จเด็จ กำจรเดช ในชื่อ 876 แมวไม่เคยรอใครกลับมา นิยายรักที่เชื่อมโยงกับเหตุโศกนาฏกรรมในเดือนมีนาคม 2557 เมื่อครั้งเที่ยวบิน MH370 ของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์หายไปตลอดกาล 

ถัดไปจากนี้ ผลงานลำดับที่สามและสี่ของสำนักพิมพ์แมวฮกเกี้ยนก็ยังกรุ่นด้วยกลิ่นอายแห่งผลงานของนักเขียนหนุ่มไทย ทั้งจิรัฐฏ์ ประเสริฐทรัพย์ และเจษฎา กลิ่นยอ ที่เจ้าสำนักไม่มีเงื่อนไขอะไรมากไปกว่า ต้องเข้ากับสิ่งที่ผมหวังไว้ นั่นคือ วรรณกรรมอ่านสนุกและมีแมวเป็นส่วนประกอบ”

small publishing house

ทำไมต้องแมวคิดง่ายๆ ว่า หากอยากอ่านงานเขียนของอิตาลี คนย่อมนึกถึงสำนักพิมพ์อ่านอิตาลี อยากอ่านนิยายของ ฮารูกิ มูราคามิ ก็ต้องสำนักพิมพ์กำมะหยี่ ดังนั้น นฤพนธ์จึงหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถทำให้นักอ่านที่สนใจวรรณกรรมแมวๆ บ่ายหน้ามาที่แมวฮกเกี้ยนเท่านั้น 

โดยเฉพาะในยุคสมัยที่แมวกลายเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมไม่แพ้สุนัข ความเฉิดฉายราวกับเซเลบริตี้ของพวกมันก็กลายมาเป็นเนื้อหาในหนังสือหลายต่อหลายเล่ม และบางเล่มก็มียอดขายสูงเกินความคาดหมาย พลอยทำให้สำนักพิมพ์เชิงวิทยาศาสตร์และปรัชญาแห่งหนึ่งยังต้องประหลาดใจ 

ซอลท์

small publishing house

เล่มแมวก็ขายดี พอๆ กับหนังสือวิทยาศาสตร์แนวอื่นๆ”  โตมร ศุขปรีชา กำลังหมายถึง ใครคือเจ้าของบ้าน ฉันหรือแมว (The Lion in the Living Room) หนึ่งในผลงานจากสำนักพิมพ์ซอลท์ (Salt) ที่เขาเป็นหนึ่งในบรรณาธิการผู้ก่อตั้ง 

เอ่ยชื่อ โตมร ศุขปรีชา แน่นอนว่าคนที่ติดตามวงการนิตยสารมานาน (จนแทบไม่เหลือนิตยสารให้ติดตามอีกต่อไป) รวมถึงชอบเสพงานเขียนและงานแปลมานานกว่า 20 ปี ย่อมคุ้นเคยกับชื่อนี้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะหยิบจับเรื่องอะไรมาเขียน ต่อให้เป็นความรู้ชวนปวดขมองแค่ไหน โตมรก็จัดการย่อยให้อ่านสนุกไปเสียทุกเรื่อง

ดังนั้น เมื่อเขาจับมือกับทีมบรรณาธิการแพ็คใหญ่ อย่าง ทีปกร วุฒิพิทยามงคลสฤณี อาชวานันทกุลสรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์แอลสิทธิ์ เวอร์การา และ สุธรรม ธรรมรงค์วิทย์ ร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ซอลท์เมื่อ พ.. 2561 จึงเป็นอีกหนึ่งความน่าทึ่งที่นักอ่านงานสาระเชิงวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และไซไฟ พร้อมที่จะควักกระเป๋าสตางค์

small publishing house
โตมร ศุขปรีชา
หนึ่งในบรรณาธิการร่วมก่อตั้งสำนักพิมพ์ ซอลท์

เกลือไม่ได้หมายความว่าเค็มอย่างเดียว แต่เกลือเป็นผลผลิตของปฏิกิริยาระหว่างสิ่งที่เป็นกรดกับด่างที่มาทำปฏิกิริยากัน ซอลท์เลยหมายถึงการเอาสิ่งที่ไม่ค่อยเหมือนกันมาอยู่ด้วยกัน สำนักพิมพ์ของเราเลยมีทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ในรูปแบบของทั้ง fiction และ non-fiction 

เรื่องของวิทยาศาสตร์กับปรัชญาเป็นหัวข้อที่คนไม่ค่อยเอามาทำหนังสือ ส่วนใหญ่ก็จะทำเนื้อหาเชิงความรู้ แต่ไม่ได้เน้นไปที่วิทยาศาสตร์กับปรัชญาโดยตรง ทั้งๆ ที่คำว่าวิทยาศาสตร์กับปรัชญาไม่ได้แคบๆ คนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องปีนบันไดหรือยากเกินไปหรือเปล่า แต่จริงๆ แล้วมันมีวิทยาศาสตร์และปรัชญาที่สนุกๆ เต็มไปหมดเลย

small publishing house

เมื่อลองกางรายชื่อหนังสือของสำนักพิมพ์ซอลท์ดู ก็จะพบความหลากหลายอย่างที่โตมรเล่า โดยแต่ละเล่มอิงจากความสนใจของบรรณาธิการแต่ละราย เช่น ทีปกรหลงใหลในเทคโนโลยี หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ สรณรัชฏ์ถนัดเนื้อหาเชิงชีววิทยา สฤณีครอบคลุมทั้งเศรษฐศาสตร์ ปรัชญา และความยุติธรรม ส่วนโตมรเองกินรวบได้ทุกแขนงที่รวมๆ แล้วเป็น ‘ความรู้’ สำหรับเขา 

และในเมื่อปัจจุบันเราต่างก็กำลังใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่อยากรู้อะไรก็ได้รู้ แค่พรมนิ้วลงบนเสิร์ชเอ็นจิน หรือแค่ไถหน้าจอ เพจต่างๆ ก็พร้อมจะประเคนสารพันความรู้ยิบย่อยให้ผู้คนได้เลือกที่จะหยุดดู หรือเลื่อนผ่านไป 

ดังนั้น นี่จึงเป็นสนามที่ชาวซอลท์มองเห็นโอกาสในการจัดเก็บความรู้ที่มีมหาศาลและกระจัดกระจายให้อยู่ในรูปแบบของรูปเล่ม ที่หยิบมาอ่านเมื่อไรก็ได้ ไม่ขึ้นอยู่กับกาล

small publishing house

ตลาดหนังสือเชิงความรู้ค่อยๆ เติบโตและใหญ่ขึ้น เพราะถ้าไม่ใหญ่ สำนักพิมพ์ซอลท์อยู่ไม่ได้หรอก เราจะเห็นว่าสำนักพิมพ์อย่างยิปซี ที่เน้นทำเรื่องเชิงประวัติศาสตร์ก็อยู่ได้ หรือบุ๊กสเคป (Bookscapeที่ผลิตหนังสือเชิงความรู้ก็ไปได้สวย 

ปรากฏการณ์นี้ทำให้ผมเห็นว่าสังคมไทยเราสนใจเรื่องเหล่านี้ และสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย อาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะว่าตอนนี้ความรู้หาได้ง่าย เปิดอินเทอร์เน็ตเข้าไป เราก็คิดว่าเราจะต้องได้ความรู้แล้ว แต่เราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าความรู้ก้อนนั้น verified แล้วหรือเปล่า เป็นข่าวเท็จหรือข้อมูลเทียมหรือเปล่า 

และด้วยความที่ข้อมูลเยอะเหลือเกิน คนที่หนึ่งบอกว่าอย่างนี้ ผู้รู้คนที่สองบอกว่าอย่างนั้น ไหนจะมีคนที่สาม สี่ ห้า ตามมา ซึ่งทั้งหมดอาจจะไม่ตรงกันเลย แต่ถ้าเราอ่านหนังสือ เนื้อหาในเล่มเกิดจากการที่ผู้เขียนกรองความรู้จากผู้รู้ที่หลากหลาย นำเรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือให้อ่าน เพราะฉะนั้นคนอ่านก็ไม่ต้องงงเป็นไก่ตาแตกว่าอะไรจริงไม่จริง 

ดังนั้น ยิ่งความรู้ในอินเทอร์เน็ตเยอะขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งต้องการคนคัดกรอง หรือเลือกความรู้เหล่านี้ มาเล่าให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากที่สุด

small publishing house

อีกทั้งเรื่องของความอยากรู้ไม่เข้าใครออกไป คุณตาอายุ 70 กับหลานวัย 17 ปี อาจจะสนใจเรื่องของควอนตัมเวลาเหมือนกันก็ได้ ดังนั้น การตลาดในแบบของสำนักพิมพ์ซอลท์จึงไม่มีกฎตายตัว 

กลุ่มเป้าหมายของเรา คือ คนที่สนใจเรื่องวิทยาศาสตร์กับความรู้ ซึ่งไม่สามารถแยกเป็นอายุได้แล้ว เพราะคนอายุ 70 กับ 17 อาจสนใจเรื่องเดียวกันก็ได้ ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำคือ ทำตัวตนของเราให้แข็งแรง แล้วพอโยนคอนเทนท์ออกไป สุดท้ายคนที่ชอบสิ่งเดียวกันจะดึงดูดเข้าหากัน แต่ของแบบนี้ต้องใช้เวลา มันไม่ง่ายเหมือนเราบอกว่า เราจะทำหนังสือเด็ก เมื่อเรารู้ว่าจะจับกลุ่มเด็ก ก็อาจจะออกแบบรูปเล่มให้ดึงดูดใจเด็กๆ หรือไปโร้ดโชว์ตามโรงเรียน เป็นต้น 

แต่เอาเข้าจริง แม้จะรู้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในการพาหนังสือเข้าไปอยู่กลางใจผู้อ่าน เรื่องนี้สำนักพิมพ์แมงมุม บุ๊ค น่าจะตอบได้ดีที่สุด 

แมงมุม บุ๊ก

small publishing house

สำหรับนักอ่านหลายคน ผีเสื้อของตั๋วตั่ว อาจเป็นหนังสือเล่มแรกที่เปิดประตูให้เขาได้ทำความรู้จักกับแมงมุมบุ๊ก (Mangmoom Book) สำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่เก่งด้านการคัดสรรงานแปลจากประเทศไต้หวัน ซึ่งสามารถสั่นสะเทือนหลายประเด็นในสังคม 

เพราะนิทานที่เขียนโดย ‘ซิ่งเจียฮุ่ย’ นักสิทธิมนุษยชนเด็ก ซึ่งได้รับรางวัลหนังสือจากร้านหนังสือทั่วประเทศไต้หวันเล่มนี้ มาแปลก เพราะมีคู่มือการใช้งานสำหรับผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ในสายงานสังคมสงเคราะห์แนบมาด้วย เนื่องจากเนื้อหาว่าด้วยประเด็นการคุกคามทางเพศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใหญ่เองก็ควรอ่านนิทาน (ไม่) เด็กเล่มนี้ไปพร้อมกับเยาวชนในปกครอง 

และเมื่อผีเสื้อของตั๋วตั่โบยบินไปได้ดีในโลกของการขายหนังสือ นักอ่านที่เริ่มสนใจงานเขียนที่สื่อประเด็นทางสังคมของแมงมุมบุ๊กก็ลองสืบค้นกลับไป เพื่อจะพบว่า สำนักพิมพ์แห่งนี้ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 และมีผลงานแปลนิยายคุณภาพ มาแล้วถึง เล่ม

small publishing house
ผีเสื้อของตั๋วตั่ว

เราเริ่มต้นทำสำนักพิมพ์ เพราะเชื่อมั่นว่าเรามีนักอ่านกลุ่มนึ่งคอยสนับสนุนอยู่ แต่กลุ่มนั้นก็ยังไม่ใหญ่พอ” เบียร์ – อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี นักแปลนิยายจีนเบอร์ต้นๆ ของไทย เอ่ยถึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขาเลือกนิยายเรื่อง ลวง (Souls Embracing) ของคุณหมอ โหวเหวินหย่ง วิสัญญีแพทย์ชาวไต้หวันที่มีแฟนนักอ่านในไต้หวันเป็นจำนวนมาก มาตีพิมพ์เป็นปฐมนิยายแห่งแมงมุมบุ๊ก

ปีต่อๆ มา อนุรักษ์สานต่อด้วยงานแปลของคุณหมอนักเขียนรายเดิม ด้วย หนังสือชื่อสั้นอย่าง แสบ (Dangerous Mind) และ เหยื่อ (The Hospital) ที่ล้วนสะท้อนปัญหาสังคมในแต่ละด้านอย่างเข้มข้น ครบรส 

แต่กลับขายไม่ออกในเมืองไทย 

ผมไม่โทษตลาด แต่เป็นเพราะเราเชื่อในสายส่งมากเกินไป เขารับหนังสือไปวางเฉยๆ ดังนั้น ถ้าสำนักพิมพ์ไม่ลงมือทำอะไร หนังสือก็ไม่เกิด ถือเป็นประสบการณ์ที่เราต้องเรียนรู้ ดังนั้น เราก็ใช้เงินที่หาได้จากอีเวนต์ งานหนังสือ งานแปล เลี้ยงสำนักพิมพ์มาเรื่อยๆ จนกว่าจะพบแนวทางของตัวเอง

small publishing house
เบียร์ – อนุรักษ์ กิจไพบูลทวี และ ก้อย – พัณณ์ชิตา ธนวีร์กิตติโชติ
เจ้าของสำนักพิมพ์ แมงมุม บุ๊ก

แนวทางที่ว่าเกิดจากการทดลองซื้อลิขสิทธิ์หนังสือเด็กมาแปลและตีพิมพ์ขาย ตามความชอบและความถนัดของ ก้อย – พัณ์ชิตา ธนวีร์กิตติโชติ ภรรยาของอนุรักษ์ ที่เป็นอีกหนึ่งแรงแข็งขันในการขับเคลื่อนแมงมุมบุ๊ก 

ปรากฏว่า ม้าสีส้ม และ ข้างหน้ารถมีอะไร หนังสือสำหรับเด็กประถมวัยทั้ง เล่ม ขายดิบขายดีจนทำให้ แมงมุม คิดส์ แจ้งเกิดในกลุ่มแม่และเด็ก ที่กลายมาเป็นฐานลูกค้าสำคัญในการทำให้สำนักพิมพ์แมงมุมสามารถชักใยต่อไปได้

small publishing house

ทั้งคู่ยกความดีความชอบให้อินฟลูเอนเซอร์หลายเจ้าที่เขียนรีวิวหนังสือเหล่านี้จากใจ ไม่ว่าจะเป็นคุณหมอ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ หรือ หมอมิน – เบญจพร ตันตสูติ จากเพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา ที่เป็นมากกว่าโทรโข่งในกระจายหนังสือดีไปสู่คนอ่านในวงกว้าง 

หนังสือเด็กทำให้เรามีทุนในการทำเล่มต่อๆ มา ทั้ง ผีเสื้อของตั๋วตั่ว และ จะไม่ทนเงียบอีกต่อไป” อนุรักษ์เอ่ยถึงผลงานเล่มล่าสุดที่ตีแผ่ปัญหาภัยเงียบที่เกิดขึ้นภายในบ้าน ซึ่งเขาตั้งใจใช้การตลาดในแบบเดียวกัน เพื่อดูว่าจะเข็นหนังสือเล่มนี้ขึ้นสู่ยอดเขาแห่งความสำเร็จได้หรือไม่ 

วิธีที่ผมใช้กับเล่ม ผีเสื้อของตั๋วตั่ว ก็คือ ควานหารีวิวจากต่างประเทศ บทความ บทสัมภาษณ์ต่างๆ มาแปลลงเพจ เพื่อให้เกิดการแชร์ให้มากที่สุด เลยทำให้คนมองเห็นเยอะ พอตอนนี้เรากำลังโปรโม จะไม่ทนเงียบอีกต่อไป ก็เลยใช้วิธีการเดียวกัน ซึ่งก็ยังไม่ใช่สูตรสำเร็จในการขาย เรายังคงมองหาวิธีการทำอย่างไรให้หนังสือแต่ละเล่มถูกมองเห็นมากที่สุด

small publishing house
จะไม่ทนเงียบอีกต่อไป

ตอนนี้เหมือนคนดูใจในไอซียู ดูกันไปวันต่อวัน ไม่มีแผนล่วงหน้านานๆ” หญิงสาวเจ้าสำนักแมงมุม คิดส์ เปรียบเทียบเสียจนเห็นภาพ “ถ้าเล่มนี้ยังขายดี เราก็ออกเล่มต่อไป เราแพลนกันว่าปีนี้ซื้อลิขสิทธิ์มา 10 เล่ม ถ้าทำไหวแค่ เล่ม ก็ออกแค่นั้น 

แต่ผมค่อนข้างเชื่อมั่นในหนังสือเซตที่กำลังจะออกเดือนหน้า เพราะเป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างใหญ่ และผมเชื่อว่ามีตลาดอยู่ เพราะเป็นหนังสือที่เคยตีพิมพ์เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว นั่นก็คือ บันทึกจอมโจรแห่งสุสาน ซึ่งชื่อของอนุรักษ์ กิจไพบูลทวี เกิดมาจากหนังสือชุดนี้ก็ว่าได้ โดยครั้งนี้เรานำมาปรับปรุงใหม่ ทั้งยังได้ลิขสิทธิ์หนังสือเสียงและอีบุ๊กจากทางจีนอีกด้วย 

เราเชื่อว่ายังมีนักอ่านที่ติดตามเรา และตัวนิยายชุดนี้ก็ถูกสร้างเป็นซีรีส์ ดังนั้น จึงมีฐานของกลุ่มแฟนคลับดาราที่เป็นนักแสดงนำ ถ้าหากว่าเราได้จับงานแมสขนาดนี้ แล้วเราทำให้แมสไม่ได้ ก็กลับไปเป็นลูกจ้างรับเแปลงานเสียเถอะ ครั้งนี้คือ วัดใจไปเลย เกิดก็คือเกิด ถ้าดับก็หันมาจับแต่หนังสือเด็กอย่างเดียว” อนุรักษ์ย้ำด้วยน้ำเสียงเด็ดขาด สะท้อนนัยยะกล้าได้ กล้าเสีย ออกมาอย่างชัดเจน

small publishing house
Becoming A Butterfly การเดินทางของผีเสื้อหลากสี

เพราะยอดขายบั่นทอนจิตใจ เสียงสะท้อนจากเด็กและผู้ปกครองจึงกลายเป็นกำลังใจชั้นดีที่ช่วยเยียวยาจิตใจของทั้งคู่ รวมถึงการที่หนึ่งในผลผลิตของสำนักพิมพ์อย่างหนังสือ Becoming A Butterfly การเดินทางของผีเสื้อหลากส งานเขียนเล่มแรกของ ครูเม – เมริษา ยอดมณฑป จากเพจ ตามใจนักจิตวิทยา เพิ่งได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี ประเภทบันเทิงคดี ประจำปี 2564 จากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

เรายังอยากทำสำนักพิมพ์ต่อไป เพราะเรามีฝัน มีอุดมการณ์ มีสาส์นบางอย่างที่ยังอยากนำเสนอ สำนักพิมพ์อื่นก็คงเหมือนกัน ถึงได้เลือกทำงานที่เผาเงินแบบนี้ เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะคืนทุนเมื่อไร หรือคุณอาจจะรวยระเบิดไปเลยก็ได้” 

ถ้าเอาเงินจำนวนเท่ากันกับการทำหนังสือ ไปผลิตแอลกอฮอล์ล้างมือ ป่านนี้รวยไปแล้วค่ะ” แล้วทั้งคู่ก็หัวเราะขึ้นพร้อมกัน

small publishing house

ติดตามความเคลื่อนไหวของแต่ละสำนักพิมพ์ได้ที่