©ulture

งานประพันธ์ทั่วไปไม่ว่าร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เรียกว่า ‘วรรณกรรม’

วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี มีคุณค่า เรียกว่า ‘วรรณคดี’

ศิลปะหรือกลวิธีในการประพันธ์ เรียกว่า ‘วรรณศิลป์’

ในวรรณศิลป์ นอกจากภาษาที่สละสลวย เร้าอารมณ์ ยังมี ‘กลบท’ ซึ่งเป็นรูปแบบการนำเสนอที่พิสดารพันลึก จนบางครั้งมีการแฝงรหัสนัยซ่อนปริศนา

กลบท วรรณศิลป์ของบทกวีพิสดาร

กลบทพิสดารอย่างไร? ลองดูบทประพันธ์ต่อไปนี้ ที่ดูเผินๆ คล้าย ‘กลอนหก’ แต่เมื่อลองอ่านจะพบว่าสัมผัสนั้นผิดระเบียบ และเนื้อความคล้ายจะขาดหา

(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)

ความจริงก็คือกลอนข้างต้นมีฉันทลักษณ์เป็น ‘กลอนแปด’ แต่ที่ปรากฏเป็นกลอนหกแบบหกคว่ำคะมำหงาย ก็เพราะผู้แต่งได้ ‘เข้ารหัส’ ด้วย กลบทงูกินหาง (หรือ งูกลืนหาง)

หมายความว่าทุกๆ ท้ายบาทจะต้องวนกลับไปอ่านซ้ำที่ต้นบาทจนครบพยางค์

หรือ กลบทคมในฝัก ที่ใช้ลักษณะการเล่นซ้ำคำคล้ายกลบทงูกินหาง แต่อ่านซ้ำแบบถอยคำ และนำมาแทรกไว้กลางบาทเสมือนดาบที่อยู่ในฝัก

(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)
(ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ)

 

สามารถถอดกลออกมาได้เป็น…

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความคมคายของการนำเสนอรูปแบบคำประพันธ์ชนิดกลบท อย่างไรก็ตาม นอกจากกลบทจะสามารถถ่ายทอดออกมาในรูปแบบบรรทัดต่อบรรทัดคล้ายร้อยกรองทั่วไปแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดออกมาเป็น ‘รูป’ หรือ ‘รูปแบบ’ ได้ด้วย

โดยกลบทดังกล่าวจะเรียกว่า ‘กลแบบ’ เช่น

กลโคลงจาตุรทิศ

สามารถถอดกลออกมาเป็นโคลงได้ดังนี้:

โดยหลวงชาญภูเบศร
โดยหลวงชาญภูเบศร

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของกลบทอาจไม่ต้องใช้การถอดรหัส หรือขบคิดเพื่อแก้กลใดๆ เลยก็ได้ เพียงแต่มีชั้นเชิงในการนำเสนอบทประพันธ์ที่เหนือไปกว่าธรรมดา เช่น กลบทตรีประดับ ที่ใช้การผันวรรณยุกต์ 3 ระดับ สามัญ เอก โท ในทุกบาท เพื่อเล่นเสียง

ดังนี้:

จาก ศิริวิบุลกิตติ์ โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
จาก ศิริวิบุลกิตติ์ โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)

หรือ กลบทตะเข็บไต่ขอน ที่ใช้การสลับพยางค์ครุ-ลหุ ตลอดทั้งบท ดังนี้:

จาก ศิริวิบุลกิตติ์ โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)
จาก ศิริวิบุลกิตติ์ โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง)

กลบทในความบันเทิงร่วมสมัย พ.ศ.2561

เป็นที่น่าสังเกตว่า การใช้กลบทที่ผ่านมาเป็นการใช้เพื่อแสดงความสามารถและความชำนาญทางอักษรของกวีเท่านั้น จนกระทั่งต้นปี พ.ศ. 2561 กลบทได้ถูกนำมาใช้ในฐานะความบันเทิงร่วมสมัยผ่านละครเรื่อง กาหลมหรทึก และ หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ที่ผู้เขียนหยิบกลบทมาทำหน้าที่คล้าย ‘ดายอิ้ง เมสเสจ’ (Dying Message) หรือปริศนา (Clues) เพื่อให้ตัวละครได้ไขความลับที่ซ่อนไว้ในกลบทอย่างแนบเนียน

‘ปราปต์’ หรือ ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนา ผู้เขียนเรื่อง กาหลมหรทึก เล่าว่า เขาได้ใช้กลบท ‘พรหมพักตร์’ มาเป็นต้นแบบในการคิด ‘กลโคลงห้าเหลี่ยม’ ในเรื่อง เพื่อซ่อนปริศนาของเหตุฆาตกรรมอันเป็นปมสำคัญหรือจุดไคลแม็กซ์ (Climax) ที่ตัวละครต้องแก้ให้ออก

กลโคลงพรหมพักตร์

ลักษณะของกลแบบพรหมพักตร์จะมีบังคับที่กำหนดให้ทุกบาทขึ้นด้วยคำคำเดียวกัน (จากโคลงบังคับด้วยคำว่า ‘เรียม’) ซึ่งปรากฏอยู่กลางรูป

การถอดโคลงแต่ละบาทจะเริ่มอ่านจากคำที่อยู่กลางรูปเสมอ แล้วจึงไล่ไปยังคำที่อยู่กลางกรอบแต่ละด้าน และวกกลับ ก่อนจะอ่านเวียนทวนเข็มนาฬิกาจนครบ 4 ด้าน รวม 4 บาท เช่นเดียวกับ ‘พักตร์’ หรือใบหน้าของพระพรหมที่มี 4 หน้านั่นเอง

โดยกลแบบข้างต้น สามารถถอดเป็นโคลงได้ดังนี้:

(จารึกวัดพระเชตุพนฯ)
(จารึกวัดพระเชตุพนฯ)

วรรณศิลป์ไร้กระบวนท่า นอกกติกากลบท

ถ้าเปรียบกลบทเป็นกระบวนท่ากระบี่ กลบทรูปแบบต่างๆ ก็คงเป็นกระบวนท่าที่มีชั้นเชิง แต่ในยุทธจักรน้ำหมึก ก็มีกระบวนท่าที่ไร้กระบวนท่า อันเกิดจากกวีสร้างรูปแบบคำประพันธ์ในแบบฉบับของตนเองขึ้นมาใหม่อย่างพิสดารพันลึก

อดุล จันทรศักดิ์
อดุล จันทรศักดิ์

เช่น บทกลอน เวียตนาม ของ “ธารี” ซึ่งเป็นนามปากกาของ อดุล จันทรศักดิ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์ บทความ) พ.ศ. 2551 จากหนังสือ ใบไม้แห่งนาคร โดยบทกลอนชิ้นนี้นำเสนอในรูปแบบของ ‘จดหมาย’

นี่คือตัวอย่างของวรรณศิลป์แบบไร้กระบวนท่า ที่สามารถอ่านเป็นกลอนแปดได้…

ใบไม้แห่งนาคร
ใบไม้แห่งนาคร หนังสือรวมบทร้อยกรองของกวีหลายคน ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2516

จอมยุทธ์ที่มีเพลงกระบี่พิสดารฉันใด ก็เปรียบได้กับวรรณกรรมที่มีวรรณศิลป์ฉันนั้น การศึกษากลวิธีรูปแบบต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะก่อนที่จอมยุทธ์คนหนึ่งจะเป็นจ้าวแห่งเพลงกระบี่ไร้กระบวนท่า ก็ล้วนต้องศึกษาตำราจนแตกฉาน

มิฉะนั้นแล้ว ความไร้กระบวนท่าอาจกลายเป็นความไร้แก่นสาร.

 

อ้างอิง:

  • Black Sword. บ้านกลอนน้อยฯ: สารบัญ กลอนกลบท. http://bit.ly/2CiS7iv
  • ประยอม ซองทอง. คอลัมน์ : ชีวิตคือความรื่นรมย์. นิตยสาร FORMULA ฉบับเดือน มีนาคม ปี 2552. https://www.autoinfo.co.th/article/79349/
  • หอสมุดแห่งชาติ กาญจนาภิเษก สงขลา. ชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ. http://bit.ly/2M79bfG

 

FACTBOX

  • ผู้ที่สนใจสามารถศึกษากลบทรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติมได้จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ (แผ่นจารึกบนแผ่นศิลารายที่อยู่ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร) ตำรากลบท ศิริวิบุลกิตติ์ หนังสือ ชุมนุมตำรากลอน ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ และ หนังสือ จินดามณี หรือทางเว็บไซต์ บ้านกลอนน้อย ที่รวบรวมกลบทต่างๆ ที่ http://www.homelittlegirl.com/index.php?board=40.0