©ulture

‘เพื่อความปลอดภัยในการข้ามถนนซึ่งเป็นการเสี่ยงอันตรายจากการที่จะถูกรถชนตาย 

เพราะปรากฏมาแล้วว่าบนถนนพญาไท ที่หน้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มีผู้ถูกรถยนต์ชนตายไปหลายรายแล้ว บาดเจ็บสาหัสก็หลายราย

ข้อมูลจากเว็บไซต์หอประวัติจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเขียนโดยอเนก บุโรดม

ได้ระบุไว้ถึงเหตุผลในการสร้างทางข้ามถนนที่อยู่ใต้ดินแห่งแรกของไทยไว้เช่นนั้น

ซึ่งในขณะนั้นได้ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 800,000 บาท

โดยทางจุฬาฯและทางเทศบาลร่วมกันออกคนละครึ่ง

แต่ถึงอย่างไรก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อกรณีการก่อสร้างอุโมงค์ในครั้งนั้น อาทิ

เมื่อสร้างแล้วกลัวจะพังบ้าง กลัวจะเป็นที่จี้ปล้นของมิจฉาชีพ สร้างแล้วจะไม่มีคนใช้

แต่หนักที่สุดก็น่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง

ที่กล่าวว่า ทำไมจะต้องมาสร้างที่นี่มาสร้างให้พวกเทวดาเดินกัน…

เป็นระยะเวลากว่า 47 ปีแล้ว ที่อุโมงค์แห่งนี้ได้รับใช้นิสิต นักศึกษาของจุฬาฯ

รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่สัญจรผ่านไปมาให้ได้รับความปลอดภัยจากการเดินข้ามฟากไปยังอีกฝั่งของถนน

ท้ายที่สุดแล้วไม่แน่ใจว่า หากในวันนั้นผู้มีอำนาจให้ค่ากับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากกว่าประโยชน์ของประชาชน

ในวันนี้เราอาจไม่มีอุโมงค์ข้ามถนนใต้ดินที่เป็นที่แรกของไทยก็เป็นได้

 

#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
อุโมงค์ทางลอดหน้าจุฬาฯ
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
ป้ายบอกทาง
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
ทางลงสีเหลืองสดใส
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
ทางลงจักรยาน
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
สีสันภายใอุโมงค์ที่มีอายุกว่า 47 ปี
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
แสงและเงา
#PHOTOESSAY #becommon #อุโมงค์หน้าจุฬาฯ #จุฬาฯ
อุโมงค์ข้ามถนนใต้ดินที่เป็นที่แรกของไทย