“…หน้าบันพระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายทิวทัศน์แบบจีน และรูปหงส์คู่ซึ่งสื่อถึงสตรีผู้สูงศักดิ์…”
ริมถนนมหาไชยในเขตพระนคร มีวัดไทยที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่กลับมีกลิ่นอายจากวัฒนธรรมจีนแผ่ซ่านอยู่ตามสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณวัด
.
ตั้งแต่พระอุโบสถ ที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์
.
หน้าบันพระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายทิวทัศน์แบบจีน และรูปหงส์คู่ซึ่งสื่อถึงสตรีผู้สูงศักดิ์ อันหมายถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓)
.
ภาพวาดพงศาวดารจีน ที่อยู่ภายในพระอุโบสถ
.
ตุ๊กตาจีนสลักหิน ที่ตั้งอยู่รอบบริเวณพระอุโบสถ บางตัวมีท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวก็แต่งกายแบบไทย ฯลฯ
.
ลีลาแบบจีนดังกล่าวมีที่มาจากพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพราะพระองค์ได้ทำการค้ากับจีนมาตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
.
ตามบันทึกระบุว่า วัดเทพธิดารามฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) พระราชธิดาที่พระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ 3) ทรงโปรดปรานยิ่งนัก เพราะทรงเป็นพระราชธิดาที่รับราชการใกล้ชิด
.
และสร้างเสร็จใน พ.ศ.๒๓๘๒ โดยรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามวัดใหม่จากชื่อเดิมว่า “วัดพระยาไกรหลวง” เป็น “วัดเทพธิดารามฯ” จวบจนปัจจุบัน.