©ulture

“…หน้าบันพระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายทิวทัศน์แบบจีน และรูปหงส์คู่ซึ่งสื่อถึงสตรีผู้สูงศักดิ์…”

ริมถนนมหาไชยในเขตพระนคร มีวัดไทยที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่กลับมีกลิ่นอายจากวัฒนธรรมจีนแผ่ซ่านอยู่ตามสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณวัด
.
ตั้งแต่พระอุโบสถ ที่ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์
.
หน้าบันพระอุโบสถ ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายทิวทัศน์แบบจีน และรูปหงส์คู่ซึ่งสื่อถึงสตรีผู้สูงศักดิ์ อันหมายถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓)
.
ภาพวาดพงศาวดารจีน ที่อยู่ภายในพระอุโบสถ
.
ตุ๊กตาจีนสลักหิน ที่ตั้งอยู่รอบบริเวณพระอุโบสถ บางตัวมีท่าทางและการแต่งกายแบบจีน บางตัวก็แต่งกายแบบไทย ฯลฯ
.
ลีลาแบบจีนดังกล่าวมีที่มาจากพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพราะพระองค์ได้ทำการค้ากับจีนมาตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
.
ตามบันทึกระบุว่า วัดเทพธิดารามฯ ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแด่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) พระราชธิดาที่พระบรมชนกนาถ (รัชกาลที่ 3) ทรงโปรดปรานยิ่งนัก เพราะทรงเป็นพระราชธิดาที่รับราชการใกล้ชิด
.
และสร้างเสร็จใน พ.ศ.๒๓๘๒ โดยรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามวัดใหม่จากชื่อเดิมว่า “วัดพระยาไกรหลวง” เป็น “วัดเทพธิดารามฯ” จวบจนปัจจุบัน.

 

#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
พระอุโบสถที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะวัฒนธรรมจีน เป็นอาคารแบบไม่มีช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ ซึ่งต่างจากวัดในช่วงสมัยอื่น
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
หมู่พระภิกษุณีที่อยู่ในอิริยาบถต่างๆ ไม่ซ้ำกัน ซึ่งรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ลวดลายจิตรกรรมภาพเขียนที่อยู่ในพระวิหาร
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ภายในพระอุโบสถมีภาพใส่กรอบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเกร็ดพงศาวดารจีนติดอยู่ตามฝาผนังและบริเวณเสา
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ฝาผนังถูกตกแต่งด้วยลายพุ่มข้าวบิณฑ์ดอกพุดตาน ที่อยู่ภายในพระอุโบสถ
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
รูปหล่อพระภิกษุณีในท่ายืน ที่สีทองเริ่มหลุดร่อนเหลือไว้เพียงสีดำจากยางรักที่ทาทับไว้ก่อนหน้า
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
หน้าบันพระอุโบสถเป็นปูนปั้น ช่วงบนประดับกระเบื้องเป็นรูปหงส์คู่และลวดลายทิวทัศน์แบบจีนในช่วงล่าง
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ซุ้มประตูกำแพงพระอุโบสถประดับด้วยลายประแจจีนและลายพวงมาลัย
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ตุ๊กตาสตรีที่แต่งกายแบบไทยขณะกำลังอุ้มลูกตั้งอยู่ในบริเวณพระอุโบสถ ซึ่งเป็นการสลักหินตามแบบฉบับของจีน
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
มุมด้านข้างของศาลาการเปรียญ ที่หลังคาซ้อน 2 ชั้นมี 3 ตับ มุงด้วยกระเบื้องเกล็ด ไม่มีช่อฟ้า ในระกา หางหงส์
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
ลวดลายกระเบื้องเกร็ดของหลังคาพระอุโบสถ
#วัดเทพธิดาราม #วัดเทพธิดารามวรวิหาร #รัชกาลที่3 #Photo Essay
พระปรางค์ 1 ใน 4 องค์ ที่ตั้งประจำทิศทั้ง 4 ของมุมพระอุโบสถ