life

ความร่วมสมัยของสีสันจัดจ้านบนผืนเสื่อที่ทอคำว่า รอ คอย เธอ, Kiss Hot (คิดฮอด), Hug Hang (ฮักแฮง) หรือ Aww Load (เอาโลด) ในนิทรรศการอีสานทอรักWeaving Factory ถือเป็นการเปิดตัวกลุ่ม Foundisan ให้กลายเป็นที่รู้จักขึ้นมาทันที 

ทั้งๆ ที่โปรเจกต์ ‘ฟาวอีสาน’ เกิดขึ้นมานานกว่า ปีแล้ว โดย อีฟ – ณัฐธิดา พละศักดิ์ เป็นผู้ค้นพบของดีในถิ่นอีสาน บ้านเกิดของเธอเอง เลยชักชวนเพื่อนพ้องชาวดีไซเนอร์มาร่วมกันพัฒนางานฝีมือพื้นบ้านให้สวยเก๋ เท่ขึ้นไปอีกขั้น โดยยังคงเอกลักษณ์พื้นถิ่นไม้อย่างครบถ้วน 

foundisan
อีฟ – ณัฐธิดา พละศักดิ์
Photo: Adit Sombunsa

แต่จุดเริ่มต้นไม่ได้เกิดจากการที่อดีตดีไซเนอร์สาวเปรี้ยว ผู้ควบตำแหน่งอาจารย์สอนแฟชั่นตามมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ผู้หลงรักการใช้ชีวิตติดสปีดในกรุงเทพฯ มานานร่วมสิบปี ตั้งใจพกอุดมการณ์กลับไปพัฒนาบ้านเกิด 

เธอแค่ถูกแม่บังคับให้กลับบ้าน เลยต้องฝืนใจทนหาอะไรทำที่จังหวัดอุบลราชธานี สลับกับการรับจ๊อบที่กรุงเทพฯ จะได้หาเรื่องบินเข้าเมืองหลวงบ่อยๆ 

หลังจากบินมาเติมพลังชีวิตที่กรุงเทพฯ ทุกอาทิตย์นาน 4 ปี อีฟเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังหลงทางไปสุดกู่ สิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ใช่คำตอบที่เหมาะควรสำหรับการใช้ชีวิต หลังจากเธอลองทำมาแล้วหลายธุรกิจ ทั้งเปิดร้านน้ำเต้าหู้เตาถ่าน ขายเครื่องเกี่ยวข้าวและรถไถ จนท้ายที่สุด กัลยาณมิตรคนหนึ่งก็ได้สะกิดบอกเธอว่า มีของดีอยู่ใกล้ๆ เมื่อไรจะรู้ตัวเสียที 

ของดีที่ว่าก็คือ กับข้าวที่อีฟกินอยู่ทุกวัน ไปจนถึงเสื่อสาด ผ้าทอ และลวดลายหัตถกรรมที่เห็นมาจนเบื่อ ที่ท้ายที่สุดกลายมาเป็นโปรเจกต์ฟาวอีสาน และ ร้าน Zao ซาว ร้านอาหารอีสานรสมือยายที่กลายเป็นจุดเช็กอินสุดฮอตประจำเมืองอุบล 

foundisan
สำรับอีสานแห่งร้าน Zao ซาว
Photo: Adit Sombunsa

หลังค้นพบของดีที่วนเวียนรอบตัว ชีวิตของอีฟที่อุบลก็สนุกสุดขีดในทุกวินาทีที่ตื่น ใครติดตามเธอทางอินสตาแกรมจะพบว่าจุดไข่ปลาบน Story ของเธอเต็มไปด้วยกิจกรรมเรียกรอยยิ้มได้เสมอ (โดยเฉพาะกิจกรรมเดินจ่ายตลาดยามเช้าจนหลายๆ คนชักจะอิจฉา และอยากมีบ้านต่างจังหวัดให้กลับไปมีความสุขแบบนั้นบ้าง 

มองจากภายนอก คนอาจจะมองว่าทำไมอีฟดูมีความสุขจัง ชีวิตคงง่าย ถ้ากลับมาอยู่อีสาน แล้วรู้จักอีฟ ก็อาจจะง่าย เพราะอีฟอาจจะช่วยเชื่อมต่อให้ได้ เพราะเราอยากให้คนกลับมาอยู่บ้านเยอะๆ กลับมาช่วยกันทำให้บ้านเราแข็งแรง ยิ่งกลับมาหลายๆ จังหวัดแล้วรู้จักกัน ช่วยเหลือกัน มันจะยิ่งแข็งแรงมากขึ้น ใครคิดอยากกลับบ้าน มีอะไรให้อีฟช่วย หรือรู้สึกว่าเจอทางตัน มานั่งคุยกันได้เลย”  

ตัวตนที่หายไป 

อีฟกลับมาอยู่อุบลตั้งแต่ พ.. 2553 ซึ่งก็ไม่ได้กลับมาเพราะว่าคิดได้ แต่เป็นเพราะคุณแม่บังคับ เพราะตั้งแต่เรียนปริญญาตรีที่กรุงเทพฯ จนจบมาเป็นอาจารย์ควบคู่ไปกับการทำงานสายแฟชั่น อีฟไม่ค่อยได้กลับบ้านเลย เพราะนอกจากงานจะหนักแล้ว ตัวเองก็ไม่ค่อยอยากกลับด้วย เพราะถูกสังคมครอบให้เป็นคนเมืองจ๋าไปเลย จนไม่เคยมีไอเดียว่าจะกลับบ้านอยู่ในหัว คิดแต่จะปักหลักซื้อบ้านอยู่ที่กรุงเทพฯ 

หลังจากเรียนจบปริญญาโทจากอังกฤษ และเตรียมตัวกลับมาทำงานในมหาวิทยาลัยเดิมที่เคยสอน แม่ก็โทรมาบอกว่า ให้กลับมาอยู่บ้านเราได้ไหม ไม่ต้องไปสอนหรอก กลับมาตอบแทนบุญคุณแม่ ด้วยการกินข้าวเย็นกับแม่ทุกวันได้ไหม เพราะอีฟเป็นลูกคนเดียวที่ไม่ได้กินข้าวกับแม่เลย แม่ขอแค่นั้น ซึ่งอีฟก็ถามแม่ว่า กลับไปแล้วจะทำอะไรกิน แม่บอกแค่ว่า แม่ส่งอีฟไปเรียนขนาดนั้น เดี๋ยวอีฟก็รู้เองแหละว่าจะทำอะไรกิน แค่ลองกลับมาอยู่บ้านดูก่อน อีฟเลยปฏิเสธไม่ได้ จึงต้องกลับมาอยู่บ้าน 

foundisan
Photo: Adit Sombunsa

จริงๆ แล้วอีฟเป็นคนศรีสะเกษ แต่เลือกมาทำธุรกิจที่อุบลฯ เพราะใกล้สนามบิน ขับรถแค่ 15 นาทีก็ถึงแล้ว ซึ่งถ้าเราอยากหนีไปกรุงเทพฯ เมื่อไร ก็แค่ซื้อตั๋วแล้วบินได้เลย ตอนนั้นคิดวิธีหนีเอาไว้แค่นี้เลย 

ปีแรกๆ ที่กลับมาอยู่บ้าน อีฟอยู่ไม่ได้เลย ทุกวันศุกร์ต้องบินเข้ากรุงเทพฯ มาหาเพื่อน ปาร์ตี้กินเหล้าถึงเช้าวันจันทร์ค่อยบินกลับอุบล ตอนนั้นอีฟไม่มีเพื่อนที่อุบลเลย คุยกับใครก็ไม่รู้เรื่อง อีฟเป็นคนพูดเร็ว คิดเร็ว เลยมองว่าคนอื่นเป็นมนุษย์ต่างดาว ทั้งที่จริงๆ แล้วคนที่นี่เขาก็อยู่ของเขาแบบเดิม แค่ระยะเวลาสิบกว่าปีที่เราไปอยู่กรุงเทพฯ เรากลับถูก shape เป็นคนใหม่ แล้วเราดันคิดว่าตัวเองถูก เลยกรี๊ดใส่ทุกอย่างไปหมด 

foundisan
Photo: https://www.facebook.com/Zaoubon/

เวลาไปกินข้าวข้างนอกกับที่บ้าน แล้วอีฟคอมเมนต์ทางร้านตรงๆ ว่า อาหารจานนี้เค็มไปนะคะ ทุกคนบนโต๊ะจะรู้สึกอึดอัดทันที พี่ชายก็บอกอีฟว่าไม่ต้องพูดได้ไหม ทำไมชอบติ อ้าว ก็มันไม่อร่อย ก็ต้องบอกเขาสิ เขาจะได้พัฒนา พี่ชายกลับบอกเราว่า ไม่จำเป็นต้องพูด เพราะคนที่นี่เขาอยู่กันแบบอะลุ่มอล่วย กลายเป็นว่าสิ่งที่เราปฏิบัติทำให้คนทั้งบ้านรู้สึกอึดอัด เราเองก็อึดอัด จนพี่ชายบอกว่า อีฟต้องมีเพื่อนที่นี่ ไม่อย่างนั้นจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนต่างถิ่นมาอยู่ อีฟเลยเริ่มลงเรียนคอร์สต่างๆ เพื่อที่จะหาเพื่อนและปรับตัว ซึ่งผ่านเวลาไป 4 ปีกว่าจะคิดได้แบบนี้ 

ตอนนั้นเหมือนเราหลงทาง ไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาทำไม เรากำลังทำอะไรอยู่ เอาแต่ไปสังสรรค์ทุกคืน ซึ่งไม่มีประโยชน์กับใคร แม้แต่กับตัวเอง ทั้งๆ ที่เรามีความรู้ มีทักษะตั้งหลายอย่างที่ช่วยคนอื่นได้”

foundisan
นิทรรศการอีสานทอรัก: Weaving Factory
Photo: Adit Sombunsa

ค้นพบของดีที่บ้านเกิด 

ช่วงที่กำลังค้นหาคำตอบให้ตัวเอง ก็มีหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่งเชิญอีฟไปเป็นกรรมการคัดสรรเรื่องการแปรรูปฝ้ายเพื่อการส่งออก อีฟถึงเพิ่งได้รู้ว่าแม่ๆ แถบอีสานเก่งๆ กันทั้งนั้น แต่ละคนมีทักษะและของดีในตัวเยอะมาก ทำไมเราถึงไม่เอาความรู้ด้านออกแบบแฟชั่นที่เรียนมาพัฒนาต่อยอดให้กับพวกเขาล่ะ 

foundisan
นิทรรศการอีสานทอรัก: Weaving Factory
Photo: Adit Sombunsa

หลังจากนั้น ภาครัฐก็ให้ีฟทำอีกหนึ่งโปรเจกต์เกี่ยวกับการพัฒนาในอีสาน ทำให้ีฟได้ขับรถไปทำความรู้จักอำเภอต่างๆ ในอีกหลายจังหวัด ได้ลงพื้นที่ไปสอนชาวบ้าน บางครั้งข้าวก็ไม่ได้กิน น้ำมันรถก็หมด ทุลักทุเลมาก แต่เรากลับไม่บ่นเลย มีความสุขมาก หัวเราะตลอดทาง อีฟเพิ่งเห็นตัวเองมีความสุขจริงๆ ก็ช่วงที่ลงพื้นที่ในตอนนั้น และรู้ตัวแล้วว่า ฉันเกิดมาเพื่ออะไร 

foundisan
หมอนขิดจากนิทรรศการอีสานทอรัก: Weaving Factory
Photo: Adit Sombunsa

ฉันเกิดมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แม่ๆ เหล่านี้ลองทำในสิ่งใหม่ เพราะต่อให้คนอื่นมาสอนก็ไม่สามารถเข้าไปสัมผัสหัวใจของแม่ๆ ได้เหมือนกับที่เราบอก เขาเชื่อและกล้าที่จะเปลี่ยนเพราะเราพูดภาษาเดียวกัน ซึ่งมันง่ายกว่าการให้นักออกแบบจากกรุงเทพฯ มาลงพื้นที่ ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองได้เปรียบ อีกทั้งเนื้องานก็สนุก อีฟเลยรู้สึกดีกับการกลับมาอยู่บ้านมากขึ้นเรื่อยๆ 

foundisan
Photo: Adit Sombunsa

มีอีกเรื่องที่ต้องย้อนกลับไปตอนที่กลับมาอยู่บ้านใหม่ๆ ประมาณ พ.. 2558 ช่วงที่ยังกรี๊ดใส่คนอื่นอยู่ ตอนนั้นอีฟทำธุรกิจขายรถเกี่ยวข้าว จึงอยากพัฒนาข้าวให้มีราคา เลยคิดโปรเจกต์เอาข้าวมาทำเหล้าสาโทเพื่อเพิ่มมูลค่า เลยชวน กาย – ไล มิตรวิจารณ์ เจ้าของร้านอาหารเวียดนาม Tonkin – Annam มาเป็นที่ปรึกษา เขาเลยบินมาอยู่ที่อุบลด้วยอาทิตย์นึง 

พอกายได้กินข้าวที่ยายจุย (แม่นมของอีฟทำให้กิน กายย้ำเลยว่า พี่อีฟต้องกินข้าวบ้าน อย่าไปกินข้าวที่อื่น เพราะอาหารที่ยายทำดียิ่งกว่า Chef’s Table เสียอีก นี่เป็น soul food หรืออาหารแห่งจิตวิญญาณจริงๆ เพราะสดทั้งวัตถุดิบและกรรมวิธีการทำ พี่อีฟโชคดีมากนะที่ได้กินอาหารแบบนี้ทุกวัน ซึ่งตอนนี้มีไม่กี่บ้านแล้วที่ได้กินอาหารดีๆ แบบนี้ 

foundisan
บรรยากาศในมื้อ ‘ลาวดี’
Photo: Adit Sombunsa

วันสองวันแรก อีฟก็ยังไม่เข้าใจสิ่งที่เขาพูด จนวันสุดท้าย เราเลยทำโปรเจกต์ทดลองชื่อ ลาวดี ให้คนมากินข้าวที่บ้าน โดยชวนคนมาประมาณ 20 คน คละกันทั้งคนที่กินและไม่กินปลาร้า แต่เราใส่ปลาร้าลงไปในส่วนผสมของอาหารทุกอย่างโดยไม่บอกใคร แค่ตกแต่งหน้าตาอาหารใหม่ ปรากฏว่าคนที่กินปลาร้าไม่ได้กลับกินอาหารทุกจานได้อย่างเอร็ดอร่อย เลยทำให้เรารู้เลยนะว่า ทุกสิ่งเป็นเรื่องของภาพลวงตา เรื่องของความเชื่อ เราหลอกตัวเองกันอยู่ อีฟเลยเริ่มเข้าใจจากตรงนั้น 

foundisan
อีฟกับยายจุย และทีมพนักงานแห่งร้าน Zao ซาว
Photo: https://www.facebook.com/Zaoubon/

อีฟโชคดีที่มีเพื่อนมาแนะว่าเรามีของดีอยู่กับตัว อาหารของบ้านเราก็ดี ผ้าของบ้านเราก็สวย แล้วถ้าคนอื่นเขาไม่มีคนมาบอกแบบนี้ หรือเขาไม่เคยคิดที่จะกลับบ้านเลยล่ะ คงน่าเสียดายแทนอีกหลายๆ บ้านที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีของดีอยู่กับตัว เหมือนที่อีฟก็เคยไม่รู้มาก่อน ถ้าอย่างนั้นเราควรส่งต่อแรงบันดาลใจนี้ให้คนอื่นๆ เพราะไม่อย่างนั้นคนก็จะเข้าใจผิดว่า มันไม่ดีหรอกการกลับมาอยู่บ้าน ทั้งที่จริงๆ แล้ว มันดีมาก”  

ยินดีต้อนรับกลับบ้าน 

ก่อนนี้อีฟเป็นคนโหยเงินมาก ต้องหาเงินเยอะๆ ซึ่งการอยู่กรุงเทพฯ ทำให้หาเงินได้เยอะ แต่พอกลับมาอยู่บ้านก็ต้องยอมรับว่า ทำยังไงก็ไม่มีทางหาเงินได้เยอะเท่าตอนอยู่กรุงเทพฯ อาจจะมีบางอาชีพที่หาได้เยอะกว่า แต่ก็ไม่ง่าย ส่วนความสุขนั้นมีเยอะกว่าแน่ๆ หลังจากตั้งหลักได้แล้ว พอบริบททุกอย่างรอบตัวกลายเป็นดีไปหมด จึงง่ายที่อีฟจะนำเสนอว่าสิ่งนี้ดี สิ่งนี้อร่อย ทำให้เริ่มมีคนติดตามเรามากขึ้น 

มีรุ่นน้องแฟชั่นที่เคยเรียน มศว (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วยกันชื่อ ตั้ว (พุฒิพงษ์ พิจิตร์เคยอยู่ในทีมทำแบรนด์ Dry Clean Only บอกกับอีฟว่า เจ๊ หนูอยากไปอยู่อุบลด้วย หนูรู้สึกว่าชีวิตเจ๊มีความสุขและมีความหมาย อีฟก็ตอบไปว่า หนูมาอยู่กับเจ๊ได้นะ เจ๊มีบ้านให้อยู่ มีข้าวให้กิน แต่หนูต้องหาอาชีพของตัวเอง ซึ่งบอกไม่ได้นะว่าจะทำอะไร มาดู มาเล็งเอาเอง เพราะตอนที่เจ๊มาอยู่ เจ๊ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะขายอะไรหรือทำอะไรด้วยซ้ำ มาอยู่เปล่าๆ ไปสองเดือน เล็งซ้ายเล็งขวาอยู่อย่างนั้น ถึงบอกว่าต้องมาอยู่ แล้วดูทักษะตัวเอง หาจุดที่ตัวเองจะอยู่ยังไงให้อยู่ได้ จนตอนนี้เขาอยู่อุบลมาได้ปีกว่าแล้ว และเปิดร้านกาแฟชื่อ Drink Secondary 

foundisan
อีฟกับแอ็กชั่นเข็นผักที่ตลาดวารินชำราบ
Photo: https://www.facebook.com/Zaoubon/

จริงๆ แล้วการกลับบ้านอาจจะไม่ต้องกลับมาอยู่บ้านก็ได้ เพราะตั้วก็เป็นคนราชบุรี แต่กลับเลือกจะมาอยู่อุบล เพราะการกลับบ้านของเขาอาจหมายถึงการได้รู้จักตัวเอง การที่เขาไม่ต้องไปทนรถติดทุกข์ทรมานอึดอัดจนแทบจะป่วยอยู่ในกรุงเทพฯ แต่พอย้ายมาอยู่อุบล แม้จะได้เงินน้อยลง แต่ตั้วมีความสุขกับการที่ตกเย็นได้ไปตีแบด ได้นั่งกินข้าวกินเบียร์กับเพื่อนหลังเลิกงาน ไม่ต้องดิ้นรนต่อสู้เหมือนเมื่อก่อน ค่าครองชีพแค่หมื่นห้าก็อยู่ได้ ยังหายใจได้ ไม่เหงา แถมมีความสุขมากกว่าด้วยซ้ำ 

อาจต้องเริ่มจากการตอบตัวเองให้ได้ว่าการกลับบ้านของแต่ละคนคือกลับแบบไหน อาจจะไม่ใช่กลับไปอยู่กับพ่อแม่ แต่เป็นการกลับเข้าไปข้างในเพื่อทำความเข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร” 

foundisan
Photo: https://www.facebook.com/Zaoubon/

เหมือนที่อีฟเคยถามตัวเองว่าเราเกิดมาทำไม เรากำลังทำอะไรอยู่ จนตอบตัวเองได้ว่าสิ่งที่อยากทำที่สุดคือ ทำตัวเองให้มีประโยชน์ ใช้ทักษะที่ตัวเองมีส่งต่อให้คนอื่นได้ไปต่อ จากที่เขานับหนึ่งไม่ได้ เราก็สอนให้เขานับหนึ่ง ส่วนสอง สาม สี่ เขาจะไปนับต่อเอาเองไหม ก็เป็นหน้าที่ของเขาแล้ว เราไม่ได้เก่งถึงขั้นพาเขานับไปถึงสิบ แต่อย่างน้อยเรากระตุ้นใครสักคนได้ก็โอเคแล้ว 

รอคอยเธอเสมอ 

“‘โตคือเบิ่งท่าว่ามีความสุขแท้วะ โตคือมีพลังหลายขนาดนี้ 

เป็นคำพูดที่ เจ็ท (พงศธร อ่างยาน เจ้าของคราฟต์เบียร์ I Jet Do) ถามอีฟว่าทำไมถึงดูมีความสุข มีพลังเยอะขนาดนี้ อยู่บ้านยังไงให้มีความสุข เขาเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งกลับมาอยู่ขอนแก่น ซึ่งพอกลับมาอยู่บ้านก็ทะเลาะกับที่บ้านเป็นประจำ เลยอยากรู้ว่าต้องทำยังไง 

ก่อนอื่นเลยต้องคิดก่อนว่า อย่าไปเปลี่ยนพ่อแม่ อย่าคิดว่าเขาประหลาด ตัวเราต่างหากที่เป็นเอเลี่ยน เราแม่งกลายพันธุ์ เราโดนสังคมหล่อหลอมจนกลายเป็นเอเลี่ยนไปแล้ว พอเรากลับมาอยู่บ้าน เรากลับคิดว่าคนอื่นเป็นเอเลี่ยน เฮ้ย ตื่น เขาอยู่ที่เดิม เขาทำทุกอย่างเหมือนเดิม เขาเป็นแบบนี้มาตั้งแต่แรก คนที่เลี้ยงเราคือคนนี้คนเดิม จะไปเปลี่ยนอะไรเขาล่ะ แล้วจะไปหงุดหงิดอะไรเขา ดังนั้นต้องหาตรงกลางให้เจอว่าจะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร 

foundisan
Photo: Adit Sombunsa

เช่น หงุดหงิดมากเลยที่จู่ๆ พ่อก็สร้างศาลานี้ขึ้นมา ต้องถามก่อนว่าเงินเขาหรือเปล่า เดือดร้อนเราไหม เขาทำแล้วเขามีความสุขมากไหม เขาสร้างเพราะเขาคิดว่าศาลานี้ช่วยให้ร้านของลูกดูดี คนได้มานั่ง งั้นก็ปล่อยเขาไป หน้าที่เราคือ คิดว่าจะทำยังไงให้ศาลานี้เป็นประโยชน์ เพราะเราไปเรียนสูงๆ มา เราต้องใช้สติปัญญาให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เอาแต่บ่น เว้นเสียแต่ว่าศาลานี้มันอุบาทว์มาก จนเราหายใจไม่ไหว ก็ทุบเลย แล้วสร้างใหม่ให้เขาในแบบที่เราชอบ ก็แค่นั้น 

“แต่ถ้าวันนี้ยังหายใจออกอยู่ ก็ไม่ต้องคิดเรื่องนี้ เอาเวลาไปทำเรื่องอื่นที่สำคัญกว่าดีกว่า”

foundisan
Photo: Adit Sombunsa

ช่วงโควิดที่ผ่านมา อีฟกับเชฟหนุ่ม (วีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธน์) เจ้าของร้านซาหมวย & ซันส์ ที่อุดรธานี จัดคอร์สดินเนอร์ในคอนเซ็ปต์ ‘รอคอยเธอเสมอ โดยอีฟก็พูดในมุมของแม่ที่รออีฟกลับมากินข้าวด้วย เช่นเดียวกับเชฟหนุ่มที่แม่ก็รอเขากลับมาอยู่บ้านเหมือนกัน ซึ่งอีเวนต์รอคอยเธอเสมอโดนใจหลายคนมาก เพราะตีความเรื่องการรอได้หลากหลาย ส่วนมากคนจะพูดเรื่องการรอที่จะรู้จักตัวเอง รอที่จะเข้าใจว่าเราเกิดมาทำไม เรารอให้ตัวเองทำอะไรอยู่ เราจะทำยังไงให้ชีวิตมีความสุข 

มีคนหลังไมค์มาคุยกับเราเยอะมาก ทำให้อีฟรู้ว่ามีคนกำลังรอที่จะเข้าใจตัวเอง รอเวลาที่จะได้กลับบ้าน หรือรออะไรก็ไม่รู้อยู่เยอะมาก สุดท้ายแล้วถ้ายังรออยู่ มันไม่เสร็จ ต้องเอาตัวเองเข้าไป ต้องเริ่มแอ็กชันได้แล้ว

อีฟเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนชีวิตตัวเองได้ ไม่จำเป็นว่าเกิดมาจนแล้วจะต้องจนไปตลอด ไม่จริง หรือเกิดมาเก่งสิ่งนี้แล้วจะทำได้แค่สิ่งเดียว อีฟไม่เชื่อ เพราะตัวเองก็เคยเป็นเด็กสายวิทย์คณิตที่ฝันอยากเป็นนักเคมี และวาดรูปไม่เป็นเลย ตอนนี้อีฟสามารถวาดรูปเสื้อผ้าได้ ขายเสื้อผ้าส่งออกในงานแฟร์ด้านเสื้อผ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ฝรั่งเศสมาแล้ว 

ดังนั้น จึงอยู่ที่ตัวเองว่าเราจะขีดตัวเองให้เป็นแบบไหน แล้วพาตัวเองไปได้หรือเปล่า