life

คนญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่าให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวสูงสุด

จึงยากไม่ต่างจากงมเข็มในมหาสมุทร ที่ผู้อ่านจะมีโอกาสได้เห็นภาพห้องทำงาน รวมถึงใบหน้าค่าตาของนักเขียนที่พวกเขาติดตามผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบรรดานักเขียนมังงะ หรือการ์ตูนญี่ปุ่น

becommon พยายามค้นคว้าไปยังจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์ผลงานมังงะที่เกิดขึ้นบนโต๊ะภายในห้องส่วนตัวของนักเขียนมังงะ ซึ่งพบว่า น้อยคนนักจะยินดีเปิดเผย

ภาพที่ค้นพบเหล่านี้จึงอาจช่วยยืนยันเหตุผลของความเป็นส่วนตัวได้ว่า บางทีห้องที่ใช้เขียนมังงะอาจเป็น Sanctuary หรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งขอสงวนไว้ให้กับการทุ่มเทสร้างสรรค์ผลงาน กลับกัน พวกเขาคงปรารถนาว่าความชอบต่อมังงะของผู้อ่าน ก็ควรเกิดจากความชอบในผลงานมากกว่าตัวผู้เขียน

แต่อย่างน้อย การได้เห็นภาพเบื้องหลังของการทำงานอย่างหนักและตั้งใจจนประสบความสำเร็จของนักเขียนมังงะคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่น ย่อมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้พบเห็น และอาจปลุกเร้าพลังแห่งการลงมือทำอะไรสักอย่างในเกิดขึ้นได้จริง

 

เทะซุกะ โอซะมุ
บิดาแห่งวงการมังงะ 

เทะซุกะ โอซะมุ (Tezuka Osamu) เปลี่ยนเส้นทางชีวิตจากแพทย์ มาสู่อาชีพนักเขียนเต็มตัวเพราะใจรัก เขาสร้างสรรค์ผลงานไว้มากกว่า 700 เล่ม รวมทั้งเป็นผู้บุกเบิกสร้างอนิเมะในประเทศญี่ปุ่น เจ้าหนูปรมาณู (Astro Boy) คือ ผลงานเรื่องเอกที่สร้างชื่อเสียงและความสำเร็จในอาชีพให้เขา โอซะมุกลายเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้นักเขียนการ์ตูนรุ่นต่อมา จนทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการมังงะ  

Photo: https://tezukaosamu.net/en/about/album02.html

โต๊ะทำงานของโอซะมุ มีชั้นไม้ลักษณะเป็นช่องๆ วางคู่อยู่ด้วย เขาสั่งทำเพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้จัดเก็บแผ่นกระดาษหลังจากเขียนมังงะแต่ละหน้าเสร็จ รวมถึงภาพวาดแต่ละเฟรมที่ต้องนำไปเรียงต่อกันสำหรับถ่ายทำอนิเมะ

Photo: https://tezukaosamu.net/en/about/album02.html
Photo: https://tezukaosamu.net/en/about/album02.html

 

ูจิโกะ เอฟฟูจิโอะ
ผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน 

ฟูจิโกะ เอฟฟูจิโอะ (Fujiko F. Fujio) เป็นนามปากกาของ ฟูจิโมโตะ ฮิโรชิ (Fujimoto Hiroshi) เขาคือนักเขียนการ์ตูนผู้สร้างผลงานมังงะหลายเรื่องร่วมกับเพื่อนสนิท เช่น อสูรน้อยคิทาโร่ (Kitaroก่อนจะแยกมาเขียนมังงะเป็นผลงานเดี่ยวตามแนวทางที่เขาสนใจ ในปี 1970 ฟูจิโอะได้ให้กำเนิดมังงะสำหรับเด็กเรื่อง โดราเอมอน (Doraemon) ทั้งความโดดเด่นของตัวละคร และความประทับใจจากเนื้อเรื่องที่แฝงด้วยข้อคิด ทำให้มังงะเรื่องนี้กลายเป็นผลงานคลาสสิกระดับโลก

Photo: https://www.moviesbook.it/show-chunen-superman-saenai-shi/

ตัวละครโดราเอมอนเปิดโอกาสให้ฟูจิโอะเติมแต่งเรื่องราวเหนือจินตนาการได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการสร้างสรรค์บรรดาของวิเศษที่เก็บในกระเป๋า บนโต๊ะทำงานของเขาจึงมีกองหนังสือและนิตยสารวิทยาศาสตร์วางอยู่ข้างๆ ในระยะที่หยิบจับได้สะดวก เพื่อสืบค้นข้อมูลใหม่ๆ สำหรับประดิษฐ์ของวิเศษ

Photo: https://gigazine.net/news/20110822_desk_fujiko_f_fujio_museum/

ส่วนรูปปั้นไดโนเสาร์ที่วางอยู่เต็มโต๊ะ เป็นที่มาของแรงบันดาลใจซึ่งทำให้เขาผลิตโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขนาดยาว ตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ (1980)

Photo: https://gigazine.net/news/20110822_desk_fujiko_f_fujio_museum/

 

รุมิโกะ ทะกะฮะชิ
ผลลัพธ์ของความพยายาม

แม้จะร่ำเรียนมาทางด้านโบราณคดี และไม่เคยให้ความสนใจมังงะมาก่อน แต่หลังจากที่รุมิโกะ ทะกะฮะชิ (Rumiko Takahashi) ได้อ่านสมุดบันทึกของเพื่อน ซึ่งวาดตัวการ์ตูนด้วยลายเส้นง่ายๆ ไว้ด้วย เธอกลับรู้สึกว่าน่าดึงดูดและสวยงามในเวลาเดียวกัน นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทะกะฮะชิหลงใหลในมังงะ และหันมาฝึกฝีมือจนสำเร็จเป็นผลงานที่เกิดจากความชอบและความพยายามอย่างหนัก เช่น อิกโคคุ บ้านพักหรรษา (Maison Ikkokuรันม่า ½ ไอ้หนุ่มกังฟู (Ranma ½) อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน (Inuyasha)

Photo: https://twitter.com/Dom_Auffret/status/1108479328302649346/photo/1

ระหว่างวาดภาพและลงสี ทะกะฮะชิต้องการความสว่างของแสงอย่างคงที่ ไม่ใช่แสงธรรมชาติที่ผันแปรไปตามการเคลื่อนของดวงอาทิตย์ เพราะอาจทำให้สีผิดเพี้ยนได้ บนโต๊ะของเธอจึงมีโคมไฟขนาดใหญ่

Photo: https://www.youtube.com/watch?v=BCxk1gu_Ouc

ทะกะฮะชิยังแบ่งพื้นที่รอบๆ โต๊ะทำงาน เพื่อวางผลงานมังงะเล่มก่อนๆ ที่เคยตีพิมพ์ เหนือกองหนังสือเหล่านี้ คือ ที่วางพักกองกระดาษที่เธอเพิ่งวาดขึ้นใหม่สำหรับใช้พิมพ์เป็นภาพปก หรือโปสเตอร์ขนาดใหญ่ รวมถึงกองกระดาษสำหรับตรวจดูความถูกต้องก่อนส่งพิมพ์ต่อไป

Photo: https://kotaku.com/the-messy-workspaces-of-famous-manga-artists-1763478307

 

เออิจิโระ โอะดะ
เจ้าแห่งโจรสลัดตัวจริง 

เออิจิโระ โอะดะ (Eiichiro Oda) คือนักเขียนมังงะเจ้าของผลงาน วันพีช (One Piece) ซึ่งได้รับการบันทึกสถิติโดย Guinness World Records ว่า เป็นมังงะที่มีจำนวนตีพิมพ์สูงสุดของโลก มากกว่า 320 ล้านเล่ม โอะดะเริ่มต้นสร้างจักรวาลวันพีตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยม โดยมีซีรีส์การ์ตูนเรื่อง Vickey The Viking (1972) ซึ่งเขาเคยดูในวัยเด็ก และลายเส้นของมังงะเรื่อง ดราก้อนบอล เป็นแรงบันดาลใจให้เขาสร้างเรื่องราวการผจญภัยโพ้นทะเลของโจรสลัดกลุ่มหมวกฟาง

Photo: http://onepiecegold.altervista.org/eiichiro-odas-workplace/

ขณะเขียนมังงะ โต๊ะของโอะดะค่อนข้างรกและไร้ระเบียบมาก แผ่นกระดาษกระจัดกระจาย มีสมุดวาดเขียนที่เขาเอาไว้ในร่างภาพตัวละครโดยเฉพาะวางเรียงราย แผ่นรองเขียนเลอะเประเปื้อนด้วยปากกาหมึกสีที่เขาเอาไว้ใช้ลองก่อนลงสีบนกระดาษจริง

Photo: https://images.keizai.biz/umeda_keizai/photonews/1585033895_b.jpg
Photo: http://onepiecegold.altervista.org/eiichiro-odas-workplace/

บนชั้นวางเหนือโต๊ะเป็นที่เก็บหนังสือการ์ตูนวันพี และที่วางโมเดลตัวละครสัตว์จากอนิเมะและเอเลี่ยนจากภาพยนตร์แนวไซไฟ ซึ่งเป็นของสะสมส่วนตัวที่โอะดะชอบมากเป็นพิเศษ

Photo: https://twitter.com/ZLuru/status/995229478199541760/photo/2
Photo: https://twitter.com/ZLuru/status/995229478199541760/photo/2

 

อ้างอิง