life

‘เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว’

เมื่อกลีบดอกไม้แม้เพียงกลีบเดียวถูกเด็ดจากต้น อาจทำให้ดวงดาวไม่เหมือนเดิม แก้วน้ำพลาสติกที่ถูกทิ้งลงในถังขยะ ก็อาจทำให้เกิดภัยพิบัติอันคาดไม่ถึงได้

แม้กลีบดอกไม้จะถูกเด็ดออกมานับไม่ถ้วน แต่ผู้คนทุกหย่อมหญ้ากำลังเริ่มปลูกต้นใหม่อีกครั้ง

วันนี้มีผู้คนมากมายที่ตระหนักถึงวิกฤติโลกร้อนและกำลัง ‘เปลี่ยน’ ด้วยความหวังว่า การกระทำเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แม้เพียงเล็กน้อยของพวกเขานั้นจะมีพลังมหาศาล เหมือนผีเสื้อที่กระพือปีกพัดความเปลี่ยนแปลงมาเยียวยาโลกที่บอบช้ำได้

ไม่เพียงแค่ ‘เรา’ ในฐานะประชาชนคนไทยและพลเมืองโลก ที่ตระหนักรู้ได้ว่า ‘โลกของเรากำลังป่วย’ ระดับองค์กรและภาครัฐต่างก็ตระหนักได้เหมือนกันว่า ถ้าไม่เริ่มทำเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วันนี้ โลกอาจไม่มีวันหายดีได้อีก

แม้การกระทำของคนเพียงหนึ่งคนจะช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากมาย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หากเป็นความร่วมมือขององค์กรและภาครัฐในระดับนโยบาย ย่อมช่วยรักษาอาการป่วยของโลกได้อย่างยิ่งใหญ่กว่าและทันท่วงที

หนึ่งในองค์กรที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อโลกคือ ‘โตโยต้า’ หรือ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เพราะตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 โดยปรับเปลี่ยนนโยบายขององค์กรและออกแบบเทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงานยันในโชว์รูมรถ เช่น ใช้พลังงานสะอาดในการผลิตไฟฟ้า ใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่า ออกแบบนวัตกรรม ‘Karakuri’ กลไกอัจฉริยะสำหรับเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนภายในโรงงาน ที่ใช้หลักกลศาสตร์และแรงโน้มถ่วงของโลกโดยไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อสร้าง ‘สังคมแห่งความเป็นการทางคาร์บอน’ (Carbon Neutrality Society)

จนถึงวันนี้ โตโยต้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตไปได้มากถึง 1 ใน 3

นอกเหนือจากในโรงงาน โตโยต้ายังต้องการส่งต่อแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมไปยังคนทั่วไป ผ่านกิจกรรมมากมายที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือกิจกรรมปลูกป่า ภายใต้โครงการ ‘โตโยต้าเมืองสีเขียว เพื่อธรรมชาติ เพื่อทุกชีวิต’

ภาพกิจกรรม โตโยต้า ครบรอบ 60 ปี ปลูกป่า 600,000 ต้น ปลูกป่าลดคาร์บอน

เพราะต้องการคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ธรรมชาติ โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวคอยทำหน้าที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2551 โตโยต้าจึงริเริ่มปลูกป่านิเวศ ณ โรงงาน โตโยต้าบ้านโพธิ์ และอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ทำให้ในปัจจุบัน โตโยต้าปลูกป่านิเวศไปแล้ว 1,350,000 ต้น ส่วนป่าชายเลน ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) โตโยต้าได้เริ่มต้นปลูกป่าชายเลยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา จำนวน 642,800 ต้น

รวมต้นไม้กว่า 2 ล้านต้นที่โตโยต้าปลูก ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราว 19,200* ตันต่อปี

ภาพกิจกรรม โตโยต้า ครบรอบ 60 ปี ปลูกป่า 600,000 ต้น ปลูกป่าลดคาร์บอน
ภาพกิจกรรม โตโยต้า ครบรอบ 60 ปี ปลูกป่า 600,000 ต้น ปลูกป่าลดคาร์บอน

ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ริเริ่มแคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ขึ้นมา ที่ชวนทุกคนมาลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อจุดประกายแรงบันดาลใจให้ทุกคนหันมาเปลี่ยนแปลงโลกไปด้วยกัน

แคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ซีซันแรกจึงเริ่มต้นในปี 2019

เป็นปีเดียวกันที่…เกรตา ธันเบิร์ก (Greta Thunberg) นักกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า “How dare you!” บนเวทีโลก เพื่อดึงสติให้ทุกคนหันมาสนใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง

เป็นปีเดียวกันที่…ประเทศไทยตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง มีทั้งงานเสวนาและการเดินรณรงค์

เป็นปีเดียวกันที่…เด็กๆ พากันหยุดเรียนในวันศุกร์ (Friday for Future) เพื่อออกมาเดินขบวนส่งเสียงบอกทุกคนว่า โลกกำลังวิกฤติและพวกเราต้องรีบแก้ไข

และ เป็นปีเดียวกันที่…พวกเราเดินมาถึงทางแยกว่า ‘โลกจะไปต่อหรือพอแค่นี้’ เมื่ออุณหภูมิกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และหากเพิ่มขึ้นอีกเพียง 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าเราจะไม่สามารถเรียกคืนโลกที่มีอากาศปกติกลับมาได้อีกแล้ว

วิธีที่ ‘เรา’ ในฐานะพลเมืองโลกพอจะทำได้ คือ การลดใช้ทรัพยากรย่อยสลายยากและทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งในกระบวนการผลิตและย่อยสลายเกินจำเป็น โดยเฉพาะ ‘พลาสติก’

ในซีซันแรกของแคมเปญลดเปลี่ยนโลกได้ชวนคนหันมาลดการใช้พลาสติกทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหลอด แก้วน้ำ หรือภาชนะต่างๆ ชวนให้คนหันมาพกแก้วส่วนตัวไปซื้อเครื่องดื่ม ไม่รับหลอด และใช้กล่องข้าวแทน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 30,000 คน และช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งไปได้มากถึง 33,707 กิโลกรัม

ส่วนปีนี้ แคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ซีซันสอง กลับมาอีกครั้งกับกิจกรรมที่หลากหลายกว่า โดยมีเป้าหมายเพื่อสานต่อความตั้งใจของโตโยต้า ที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จึงชวนคนไทยมาร่วมกันลดเพื่อเปลี่ยนให้โลกของเราดีขึ้นด้วย 4 แอ็กชันนี้ ได้แก่

  • ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ เพื่อลดใช้พลังงาน ลดค่าใช้จ่ายการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาลงในแต่ละเดือน
  • พกถุงผ้า หรือถุงกระดาษไปชอปปิงที่ Tops Market เพื่อไม่ต้องรับถุงพลาสติกเพิ่ม
  • เติมน้ำมันพลังงานทางเลือก เช่น น้ำมัน E20, E85, B7, B10, B20
  • สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Grab โดยไม่รับช้อน ส้อม และหลอดพลาสติกจากร้านค้า

ตลอดระยะเวลาจัดแคมเปญฯ ตั้งแต่ 22 เมษายน จนถึง 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 21,656 คน เกิดแอ็กชันลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วกว่า 51,486 ครั้ง นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมพิเศษที่ชวนทุกคนมาแชร์ไอเดียและไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมของเราอีกด้วย

นำทีมโดยพรีเซนเตอร์ และเหล่า Greensters หรืออินฟลูเอนเซอร์บนโลกออนไลน์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ร่วมกันออกมาชวนคนในสังคมให้ทำแอ็กชันลดคาร์บอนไดออกไซด์และส่งต่อแนวคิด ‘สังคมแห่งความเป็นกลางทางคาร์บอน’ ไปยังหัวใจของคนรุ่นใหม่และคนไทยทั่วประเทศ

‘พิชญา มีมากบาง’ หนึ่งในคนรุ่นใหม่ผู้เชื่อว่านี่เป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้โลกเปลี่ยนไป ได้เผยความรู้สึกทิ้งท้ายหลังเข้าร่วมแคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ว่า

“ทุกวันนี้ คนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมและทุกๆ การกระทำของตัวเองกันมากขึ้น เพราะปัญหาโลกร้อนที่ทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ตามมา ทั้งมลพิษและภัยพิบัติจนระบบนิเวศถูกทำลาย มีต้นตอมาจากน้ำมือของมนุษย์ ดังนั้น ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้ไปอีกนาน หนทางที่เราทำได้ทันทีเพื่อเยียวยาโลกเอาไว้ ก็คือทำแอ็กชันทั้ง 4 อย่างต่อไป”

 

‘WE DO TO BALANCE THE WORLD’
เราจะมุ่งมั่นทำต่อไปเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ให้ดีกว่าเดิม

แม้ว่าแคมเปญ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ในปีนี้จะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่โตโยต้าเชื่อมั่นว่าชาเลนจ์และทุกกิจกรรมจะสร้างแรงบันดาลใจเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติให้ทุกคนหันมาดูแลโลกด้วยสองมือของเราได้ไม่สิ้นสุด เหมือนกับที่โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นหาหนทางลดคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ภายในปี 2050 และเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมเยียวยาและเปลี่ยนโลกใบนี้ไปด้วยกัน

เพราะความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ ล้วนเกิดจากการเริ่มต้นของคนตัวเล็กๆ ที่ตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมแล้วลงมือเปลี่ยนโลกใบใหญ่อย่างไม่รีรอ และหวังเพียงว่า สิ่งสำคัญที่กำลังผลิบานอย่างยั่งยืนในหัวใจของผู้คน คือความรักต่อโลกใบนี้ เป็นความรักทำให้เรามีชีวิต และอยากรักษาสิ่งที่เรารักให้คงอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน

*อ้างอิงจากค่าเฉลี่ย การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าไม้ยืนต้นที่ 8 กิโลกรัมต่อต้น ต่อปี และพันธุ์ไม้ชายเลนยืนต้นโตเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 13 ตันต่อปี ต่อไร่ (ICLEI: International Council for Local Environment Initiatives – Local Governments for Sustainability)