life

ปรับทัศนคติในการผัดวันประกันพรุ่งอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานสักชิ้น คุณเป็นคนแบบไหน ระหว่าง a. รีบทำทันทีจะได้ส่งงานก่อนใคร b. เอาไว้ก่อน รอมีไฟแล้วค่อยทำ c. ดองนานจนลืมไปเลยว่าต้องทำงานส่ง

แน่นอนว่า ใครๆ ก็อยากเป็นยอดมนุษย์ a หรือมีศัพท์เรียกว่า Pre-crastinator คนขยันผู้ไม่ยอมให้มีงานคั่งค้าง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำงานเสร็จทันเวลาแล้วจะดีเสมอไป เพราะการกดดันตัวเองให้รีบทำงานตลอดเวลาอาจทำให้เกิดความเครียดสะสม หรือได้ชิ้นงานที่ไม่เฉียบขาดพอ

เราเลยอยากชวนคุณให้ลองเป็นมนุษย์ b หรือ Procrastinator นักผัดวันประกันพรุ่งผู้มีประสิทธิภาพ ที่สามารถเพิ่มพื้นที่ว่างให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในหัว และสร้างความผ่อนคลายให้จิตใจ ภายใต้วินัยที่ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป (ไม่เหมือนกับมนุษย์ c หรือ Extreme Procrastinator ที่ผัดวันประกันพรุ่งจนถึงขั้นทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง ซึ่งไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง)

procrastination

แต่การจะเป็นนักผัดวันประกันพรุ่งที่ดีได้นั้น ต้องสั่งสมคุณสมบัติที่เรียกว่า Productive Procrastination เอาไว้ในตัวเสียก่อน

แนวคิดเรื่อง Productive Procrastination อยู่ในงานวิจัยปี 2011 ของเพียร์ส สตีล (Piers Steel) นักจิตวิทยาแห่ง University of Calgary ประเทศแคนาดา หรือเช่นเดียวกับที่ จอห์น เพอร์รี (John Perry) ศาสตราจารย์ปรัชญาแห่ง Standford เรียกว่า Structured Procrastination มาตั้งแต่ปี 1995 ซึ่งมีความหมายเดียวกัน คือ การผัดวันประกันพรุ่งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในตัวได้ เพียงมีทัศนคติดังต่อไปนี้

procrastination

นักผัดวันประกันพรุ่งไม่ใช่คนขี้เกียจ เพราะการเลื่อนสิ่งที่ต้องทำออกไปก่อน ไม่ได้หมายความว่า จะไม่ทำอะไรเลย แต่คนที่ผัดวันประกันพรุ่ง ‘เป็น’ คือคนที่จัดลำดับความสำคัญในชีวิตเก่ง รู้ว่างานไหนรอได้ งานไหนควรทำก่อน ดังนั้น to-do list จึงเป็นคัมภีร์ที่นักผัดวันประกันพรุ่งมีอยู่ในหัว และพร้อมบอกตัวเองเสมอว่า ถึงจะเริ่มต้นช้า แต่เสร็จชัวร์

งานเล็กๆ บันดาลใจให้งานใหญ่ไปได้สวย ปฏิเสธไม่ได้ว่าเวลาที่ตั้งใจทำงานสักชิ้นให้เสร็จ หลายคนมักขอเถลไถลไปไถหน้าฟีดส์เฟสบุ๊กหรืออินสตาแกรมเล่น อ้างว่าเพื่อพักสมองหรือหาแรงบันดาลใจ แต่กลับหมดวันด้วยการไม่ได้งานเป็นชิ้นเป็นอัน ซึ่งต่างจากวิถีของนักผัดวันประกันพรุ่ง ที่มักจะพักงานใหญ่ไว้ก่อน เพื่อลงมือทำงานชิ้นเล็กๆ ให้เสร็จ นอกจากจะไม่ทำให้มีงานค้างแล้ว ระหว่างที่ทำงานย่อยยังอาจเกิดไอเดียดีๆ ที่ช่วยต่อยอดให้พิชิตงานใหญ่สำเร็จแบบเพอร์เฟคท์ในท้ายที่สุด

ผัดผ่อนแบบหูผึ่ง ระหว่างที่เลื่อนการทำงานไปก่อน นักผัดวันประกันพรุ่งมักเปิดหู เปิดตา และเปิดใจให้กว้าง เพื่อรับฟังคำวิจารณ์จากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงานถึงชิ้นงานต่างๆ ไปพลาง พร้อมนำฟีดแบ็คที่ได้รับ หรือความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้ มาพัฒนางานให้ออกมาดีที่สุด

อ้างอิง