life

“30 แล้วทำไมยังไม่แต่งงานอีก” อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไปกับมนุษย์โลกยุคนี้ 

ตั้งแต่ปี 1973 จนมาถึง 2013 ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษระบุว่าอัตราอายุเฉลี่ยในการแต่งงานของหนุ่มสาวชาวอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง ปี โดยผู้ชายจะอยู่ที่ 32.5 และผู้หญิงอยู่ที่ 30.6 ปี 

ช่วงวัยรุ่น ขยายจากช่วงอายุจาก 19 ไปเป็น 24 ปี  

ศาสตราจารย์ซูซาน ซอว์เยอร์ (Susan Sawyer) ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพวัยรุ่นที่โรงพยาบาลเด็กรอยัลในเมลเบิร์นระบุเช่นนั้น แม้กฎหมายจะอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปี แต่บทบาทของผู้ใหญ่และความรับผิดชอบต่างๆ จะเกิดขึ้นหลังจากนั้น 

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา วัยรุ่นก็ขับรถยนต์น้อยลง และยังพบอีกว่าพวกเขาไม่สนใจจะทำกิจกรรมอย่างที่ผู้ใหญ่ทำกัน อย่างออกเดท มีเซ็กส์ หรือดื่มแอลกอฮอล์ 

สิ่งนี้เกิดขึ้นจาก ‘สภาพเศรษฐกิจ’ ที่เปลี่ยนไป 

เศรษฐกิจ มีผลกับการขยายช่วงเวลาของวัยรุ่นในหลายด้าน หากอธิบายปรากฏการณ์นี้ด้วยทฤษฏี ‘Life history theory’ จะสรุปได้ว่าเด็กที่เติบโตในสภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนมักจะโตเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่โตมาในครอบครัวที่มั่นคงด้านการเงิน เพราะพวกเขาต้องรับมือกับความเสี่ยงในชีวิตหลายๆ ด้าน 

ยิ่งไปกว่านั้นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ทำให้โลกเป็นเหมือนสนามแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิด ‘Slow-life strategy’ วิถีชีวิตแบบช้าๆ มีลูกจำนวนน้อยๆ และเลี้ยงให้เติบโตอย่างสมบูรณ์แบบ จึงต้องเตรียมความพร้อมด้านการเงินให้มั่นคง อาจทำให้หลายคนแต่งงานช้า และเป็นการยืดระยะเวลาให้ช่วงวัยรุ่นยาวนานขึ้นอีก 

ต่างจากสัก 20 ปีก่อนที่เรายังใช้ชีวิตกันแบบ ‘Fast-life strategy’ รีบสร้างครอบครัว มีลูกเยอะๆ ให้โตทันใช้ เด็กจบใหม่ต้องรีบทำงานเพื่อเก็บเงิน เมื่อเข้าสู่วิถีชีวิตนี้เมื่อไหร่ ก็ราวกับเป็นการประกาศเป็นนัย ว่าชีวิตวัยรุ่นได้สิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ  

เมื่อช่วงชีวิตวัยรุ่นยาวนานขึ้น ความฝันของพวกเขาก็เปลี่ยนไป สิ่งที่ตอบสนองความต้องการในชีวิตอาจไม่ใช่การเติบโตในหน้าที่การงาน หรือทำงานเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว แต่อาจหมายถึงการได้ลองใช้ชีวิตอย่างที่อยากทำไปหลายๆ แบบเพื่อค้นหาตัวเองก่อนจะเริ่มลงหลักปักฐานกับงานใดๆ 

สิ่งสำคัญของปรากฏการณ์นี้ คือ เราต้องต้องหยุดกำหนดวัยด้วยเลข 18 และควรขยายสวัสดิการต่างๆ ให้ครอบคลุมกับเยาวชนที่อาจมีอายุเพิ่มขึ้น 

เช่น การรักษาด้านจิตเวชสำหรับวัยรุ่น ควรงดใช้เกณฑ์อายุมาวิเคราะห์หาวิธีการรักษาแบบตายตัว หรือใช้วิธีการรักษาแบบผู้ใหญ่กับใครก็ตามที่อายุเกิน 18 ปี เพราะนั่นคงไม่ได้ผลในสภาพสังคมที่เปลี่ยไป เพราะมนุษย์เรามีความแตกต่างหลากหลาย และมีพัฒนาการทางจิตใจไปตามช่วงเวลาและช่วงวัยที่ไม่เหมือนกัน 

โลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและได้เปลี่ยนนิยามของ ‘วัยรุ่น’ ไปแล้ว 

 

อ้างอิง