life

ห้องสมุดสยามสมาคมฯ ถือเป็นสวรรค์ของหนอนหนังสือผู้คลั่งไคล้ประวัติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมไทย รวมทั้งประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เพราะมีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้มากกว่า 50,000 เล่ม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนังสือหายาก

common ขออาสาพาไปพูดคุยกับ สุพรัตน์ รูปสวย บรรณารักษ์อาวุโส และ พิณทิพย์ เกิดผลานันท์ บรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสยามสมาคมฯ 

พร้อมคัดสรร 5 หนังสือ ‘พิเศษ’ จากห้องสมุดแห่งนี้มาแนะนำกัน

siam Society library

siam Society library
สองบรรณารักษ์ประจำห้องสมุดสยามสมาคมฯ

library

1.หนังสือ Art and Art Industry in Siam

siam Society library

หนังสือเล่มแรกที่บรรณารักษ์ทั้งสองคนพาไปชมเป็นหนังสือขนาดใหญ่และมีน้ำหนักค่อนข้างมาก วางอยู่บนโต๊ะอ่านหนังสือเฉพาะ 

หนังสือเล่มนี้ชื่อ Art and Art Industry in Siam เล่าเรื่องราว ‘ลายรดน้ำ’ หนึ่งในศิลปะชิ้นเอกของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาที่เห็นได้ตามบานประตูโบสถ์ บนตู้พระธรรมในวัด ซึ่งปัจจุบันบางลายหาดูได้ยากยิ่ง และหลายเล่มลายสูญหายไปแล้ว 

คาร์ล ดอห์ริง (Karl Döhring) สถาปนิก นักประวัติศาสตร์ศิลปะ และนักโบราณคดีชาวเยอรมัน ผู้ทำงานรับใช้ราชสำนักสมัยรัชกาลที่ 6 รวบรวมจัดพิมพ์ไว้

และทางสยามสมาคมได้จัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นใหม่เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

ตอนนี้หนังสือเล่มนี้กลายเป็นหนังสือหายากและราคาสูง

siam Society library

2.วารสาร The Journal of the Siam Society 

library

วารสาร The Journal of the Siam Society (JSS) เกี่ยวกับความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา จัดพิมพ์ตั้งแต่สมัยเริ่มก่อตั้งสยามสมาคมฯ ในปี พ.ศ.2447 หรือราวๆ 100 ปีก่อน และพิมพ์ต่อเนื่องเรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบันเป็นเล่มที่ 108 พร้อมส่งออกไปทั่วโลก ถือเป็นผลงานใหญ่ของสมาคมฯ 

หนึ่งในจุดเด่นของวารสารเล่มนี้ คือ การนำเสนอเรื่องราวในช่วงที่สยามเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยในหลากหลายมิติ โดยทางสมาคมฯ ต้องการให้ความรู้กับคนทั่วไปในเรื่องนี้ด้วยความร่วมมือของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ 

หลายบทความในวารสารถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่าอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับคนรุ่นใหม่ 

และทางสยามสมาคมฯ จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้คนทั่วไปสามารถอ่านวารสารย้อนหลังตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบันได้ที่ http://www.siam-society.org/OJS/index.php/JSS/index

3.หนังสือพิมพ์ The Bangkok Time 

library

เคยเห็นหนึ่งในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษฉบับแรกของเมืองไทยกันไหม

The Bangkok Time คือหนังสือพิมพ์เล่มนั้น ตีพิมพ์ในช่วงรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นยุคทองของกิจการหนังสือพิมพ์ในเมืองไทย

หนังสือพิมพ์ The Bangkok Time บอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ของประเทศไทยในอดีต ณ ขณะนั้น ซึ่งทางห้องสมุดสยามสมาคมเก็บรักษาฉบับแรกที่มีอายุเกือบ 100 ปี 

แม้สภาพอาจชำรุดไปบ้างตามกาลเวลา แต่ก็ถือว่าเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด 

นอกจากนี้ ยังมีหนังสือพิมพ์ The Bangkok Time ฉบับอื่นที่ครบสมบูรณ์ ซึ่งหาได้ยาก และหาอ่านได้ที่ห้องสมุดแห่งนี้ และหอสมุดแห่งชาติกรุงเทพมหานครเท่านั้น 

สำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์ในช่วงรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา สามารถเข้ามาค้นคว้าหาอ่านหนังสือพิมพ์ The Bangkok Time ได้ที่นี่ แม้ว่าทางบรรณารักษ์ไม่สะดวกให้ยืมต้นฉบับจริง แต่ก็จัดทำไฟล์รูปแบบดิจิทัลไว้บริการให้ยืมอ่านได้อย่างเต็มที่

library
Bangkok Times

library
4.หนังสือประชุมสมุดภาพสำคัญในประวัติศาสตร์

library

สยามสยามคมฯ ชวนเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ผ่าน หนังสือประชุมสมุดภาพสำคัญในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมภาพเก่าภาพสำคัญหายากในอดีต ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงปลายสมัยรัชกาลที่ 5 และต้นรัชกาลที่ 6 ทั้งภาพสถานที่ บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์ในอดีต 

เพื่อบอกเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยนั้น ซึ่งหลายภาพคนรุ่นหลังอาจไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

siam Society library
(photo: www.preechabooks.com)
siam Society library
(photo: www.preechabooks.com)

5.บันทึกการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ 

library
หนังสือ บันทึกการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นบันทึกการประชุมในภาษาอังกฤษ และจัดทำขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2447-2547 

ซึ่งถือเป็นเอกสารทางด้านสังคมประวัติศาสตร์ที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งของประเทศไทย 

ความพิเศษของบันทึกการประชุมเล่มนี้ คือเมื่อปี พ.ศ.2556 ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก (The Memory of the World) ชิ้นล่าสุดของประเทศไทย โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ในฐานะที่เป็นบันทึกความร่วมมือในการค้นคว้าวิจัย และเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ

บันทึกเล่มนี้จึงถือเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าในระดับโลกที่ควรไปหยิบจับและเปิดอ่านกันสักครั้ง.

library

library

FACT BOX

  • มรดกความทรงจำแห่งโลกชิ้นที่ 4: ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีสิ่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก 3 รายการ ได้แก่ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ขึ้นทะเบียน พ.ศ.2546) เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เอกสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2552) และจารึกวัดโพธิ์ (ขึ้นทะเบียน พ.ศ.2554) ล่าสุดบันทึกการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสยามสมาคมฯได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นรายการล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2556

ห้องสมุดสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์

ที่ตั้ง: 131 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110

เปิด: วันอังคาร – วันเสาร์ 9:00 – 17:00 น.

เบอร์โทร: 02-661-6470-3

เว็บไซต์: http://www.siam-society.org/index_th.html, https://www.facebook.com/TheSiamSocietyUnderRoyalPatronage