life

“ช่วงนี้ยุ๊งยุ่ง” หรือ “ไม่ว่างอ่ะ”

หลายครั้งเรามักปฏิเสธนัดหมายที่ไม่อยากไป หรือคำชวนของใครบางคน ด้วยประโยคข้างต้น และคำนี้ฟังดูก็เข้าท่าดี เพราะเวลานั้นมีจำกัด ใช่ว่าจะหาเพิ่มได้เหมือนเงินทอง

แต่ความจริงแล้ว การปฏิเสธด้วยการบอกว่าไม่มีเวลา ในมุมหนึ่งอาจทำให้คนฟังรู้สึกว่า คุณกำลังให้ความสำคัญกับสิ่งที่คุณกำลังวุ่นวาย มากกว่าสิ่งที่เขาหรือเธอร้องขอ

“ก็ฉันไม่มีเวลาจริงๆ นี่นา” บางคนอาจคิดเช่นนั้น

แต่เชื่อหรือไม่ Harvard Business School ได้ศึกษาเรื่องนี้ โดยถามกลุ่มคนทำงาน 300 คน พบว่าการบอกปฏิเสธด้วยเหตุผล “ยุ่งจนไม่มีเวลา” นั้นน่าเชื่อถือน้อยกว่าและส่งผลกระทบกับความสัมพันธ์มากกว่าการบอกว่า “ช่วงนี้ทรัพย์จาง” เพราะคนเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า คนส่วนใหญ่มักควบคุมเรื่องส่วนตัว เช่น เงินซ็อต ได้น้อยกว่าเรื่องสถานการณ์ภายนอกอย่างภารกิจการงาน

แกรน ดอนเนลลี่ Grant Donnelly
แกรน ดอนเนลลี่

แกรน ดอนเนลลี่ (Grant Donnelly) หัวหน้าทีมวิจัยแนะนำว่า การบอกว่าทรัพย์จางอาจเข้าท่า แต่ใช่ว่าข้อแก้ตัวดังกล่าวจะใช้ได้กับทุกสถานการณ์

ดังนั้น ถ้าจะปฏิเสธทั้งที ลองปฏิเสธแบบรื่นหู ด้วยวิธีต่อไปนี้ ดีไหม?

1. บอกพวกเขาว่า คุณกำลังติดพันอะไร

ยุ่งมาก ไม่ว่าง การปฏิเสธ คำปฏิเสธ รักษาน้ำใจ มารยาท เคล็ดลับ การทำงาน เข้าสังคม

ไม่ต้องสาธยายสิ่งที่คุณต้องทำเป็นหางว่าว เพื่อบอกว่า คุณยุ่งมากแค่ไหน เพียงแค่บอกสิ่งที่คุณต้องทำ อาจเป็นงานใหญ่ที่ต้องโฟกัส หรือภาระงานที่กำลังจะเกิดขึ้น

เป้าหมายคือการพาบทสนทนาที่ชวนอึดอัดเพราะการปฏิเสธ ไปสู่ตอนสุดท้ายอันรื่นรมย์ การบอกถึงสิ่งที่คุณต้องทำ จะช่วยให้อีกฝ่ายเข้าใจมากขึ้น ในทางกลับกัน พวกเขาก็จะสามารถแชร์กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นให้คุณฟัง

เผื่อว่าจะหาความเป็นไปได้ในอนาคต

2. ขอต๊ะไว้ก่อน

ยุ่งมาก ไม่ว่าง การปฏิเสธ คำปฏิเสธ รักษาน้ำใจ มารยาท เคล็ดลับ การทำงาน เข้าสังคม

วิธีนี้เหมาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณจะปฏิเสธหัวหน้าหรือคนที่มีสถานะสูงกว่า เช่น ผู้อาวุโส เจ้านาย แม่ยาย ฯลฯ

“ตอนนี้ผมมีสิ่งที่ต้องทำ คือ ก. ข. และ ค. แต่ก็อยากไปนะครับ ถ้าอย่างนั้นเราพอจะเจอกันสักช่วงอาทิตย์หน้า ตอนที่ทุกๆ อย่างเริ่มลงตัว ดีไหมครับ?”

การปฏิเสธแบบนี้ จะแสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน (เช่น แสดงถึงการจัดลำดับความสำคัญ) และยังช่วยให้หัวหน้าไม่คิดว่าคุณกำลังพยายามจะหลบหน้าพวกเขา เผลอๆ อาจทำให้พวกเขาประทับใจ และมองว่าคุณเป็นคนที่จัดการงานที่รับผิดชอบได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ปฏิเสธนัด และพยายามหาความเป็นไปได้ เพื่อให้การนัดหมายเกิดขึ้น

3. จริงใจ และพยายามยื่นมือช่วย

ยุ่งมาก ไม่ว่าง การปฏิเสธ คำปฏิเสธ รักษาน้ำใจ มารยาท เคล็ดลับ การทำงาน เข้าสังคม

การบอกปฏิเสธดื้อๆ โดยเฉพาะในที่ทำงาน ย่อมไม่เป็นผลดีแน่ เพราะคุณและเพื่อนร่วมงานจะต้องเจอและมีเรื่องให้พึ่งพากันและกันไปอีกนาน

สิ่งที่ควรทำคือการบอกเหตุผลและแสดงความรู้สึกอย่างจริงใจ ว่าคุณติดงานอะไร และมีทางไหนที่คุณพอจะยื่นมือช่วยเหลือได้บ้าง

เช่น “วันนี้เราคงเข้าร่วมประชุมระดมสมองไม่ได้ เพราะมีงานที่ต้องรีบส่ง และยังไม่มีทีท่าว่าจะเสร็จเลย ขอโทษด้วยนะ แล้วเราพอจะช่วยอะไรได้ไหม หากเราจะส่งไอเดียให้ในวันพรุ่งนี้”

หรือ “ฉันคงไปร่วมงานสัมมนาช่วงอาทิตย์หน้าไม่ได้ เพราะคืนนั้นฉันมีนัดดินเนอร์พอดี ซึ่งเป็นนัดที่ฉันเป็นคนเลื่อนแล้วสองรอบ และฉันไม่อยากเลื่อนนัดอีกเป็นครั้งที่สาม ว่าแต่…ฉันรู้มาว่าเพื่อนในบริษัทเราสองสามคนอยากไปงานนี้นะ จะให้ฉันชวนพวกเขาให้หรือเปล่า?”

หัวใจสำคัญสำหรับการบอกปฏิเสธด้วยวิธีนี้คือ จริงใจ แสดงให้เห็นว่าคุณแคร์ และอยากช่วยเหลือมากแค่ไหน

4. ก็แค่พูดว่า “ได้เลย”

ยุ่งมาก ไม่ว่าง การปฏิเสธ คำปฏิเสธ รักษาน้ำใจ มารยาท เคล็ดลับ การทำงาน เข้าสังคม

ไม่ต้องเข้าโรงเรียนหรืออ่านตำราเล่มไหน ทุกคนรู้ดีว่า เราต่างต้องการเป็นที่ชื่นชอบ เป็นที่รัก และต้องการคำตอบว่า “ตกลง” มากกว่าปฏิเสธ

แม้โลกความจริงจะสอนว่า ไม่มีใครได้ดั่งใจหวังทุกครั้ง แต่ลึกๆ ในใจทุกคนก็ยังหวังว่า จะได้สิ่งที่ใจปรารถนา

ดังนั้น ถ้าใครเอ่ยถามคุณ เพื่อขอความร่วมมือหรือให้ช่วยเหลืออะไรสักอย่าง ในใจพวกเขาลึกๆ ล้วนหวังว่า คุณจะสละเวลาอันมีค่าเพื่อสิ่งนั้น

และบางครั้ง ทางออกที่ดีและเรียบง่ายที่สุด อาจไม่ใช่การตอบปฏิเสธ

แต่คือการตอบว่า “ได้เลย” แล้วก็พยายามหาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้

ง่ายๆ แค่นั้นเอง.

 

อ้างอิง: