life

The Writer’s Room
No. 20

ห้องลับหลังตู้หนังสือของ ‘แอนน์ แฟรงค์’ เด็กหญิงชาวเยอรมัน เชื้อสายยิวที่จดบันทึกเรื่องราวชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

“สิ่งที่ดีที่สุดคือการที่ฉันสามารถเขียนความคิดและความรู้สึกของฉันได้ ไม่อย่างนั้นฉันคงจะหายใจไม่ออกแน่ๆ ”- แอนน์ แฟรงค์, 16 มีนาคม 1944

ตอนอายุ 13 คุณฝันอยากเป็นอะไร? สำหรับ ‘แอนน์ แฟรงค์’ เด็กหญิงวัย 13 ปีคนนี้ ฝันอยากเป็นนักเขียนมาเสมอ เธอเริ่มเขียนบันทึก เมื่อต้องอพยพไปหลบซ่อนอยู่ในห้องลับ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ตลอดทั้งชีวิตของเธอมีผลงานที่ได้ตีพิมพ์ เล่ม แม้จะเป็นชิ้นเดียว แต่นั่นคือหนังสือทรงอิทธิพลต่อโลกเล่มหนึ่ง ซึ่งคอยย้ำเตือนเราเสมอว่า ‘สงคราม’ โหดร้ายกับมนุษยชาติมากแค่ไหน

อันเนอลีส มารี อันเนอ ฟรังค์ หรือ แอนน์ แฟรงค์ (Anne Frank) เป็นเด็กหญิงชาวเยอรมัน เชื้อสายยิว ที่อาศัยอยู่ในเมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี เธอเป็นลูกสาวคนเล็กของ ออตโต แฟรงค์ (Otto Frank) และ เอดิธ แฟรงค์ ฮอลเลนเดอร์ (Edith Frank-Holländer) มีพี่สาว คน ซึ่งอายุห่างกัน ปี คือ มาร์กอธ แฟรงค์ (Margot Frank)

แอนน์ แฟรงค์

แอนน์เติบโตในครอบครัวฐานะค่อนข้างดี มีห้องสมุดขนาดใหญ่เป็นของตัวเอง ทำให้เธอได้อ่านหนังสือมากมาย ได้เรียนภาษาต่างประเทศ และได้ดูภาพยนตร์หลายเรื่อง เธอจึงเป็นเด็กช่างคิด ช่างฝัน และชอบคุยกับคน นอกจากฝันอยากเป็นนักเขียนแล้ว เธอยังอยากเป็นนักแสดงบนจอเงินอีกด้วย

มาร์กอธ, ออตโต, แอนน์ และเอดิธ

ชีวิตของแอนน์เริ่มเปลี่ยนไปตอนสงครามโลกครั้งที่ เมื่อพรรคนาซี นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ขึ้นเป็นรัฐบาลของเยอรมนี  ฮิตเลอร์เริ่มไล่ล่าและกวาดล้างชาวยิวในเยอรมนี เพราะเชื่อว่าพวกเขาเป็นชนชาติที่เบียดเบียนและเอารัดเอาเปรียบคนเยอรมัน โดยเริ่มออกกฎหมายริดรอนเสรีภาพของชาวยิว สถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ในปีนั้นชาวยิวหลายแสนคนพากันอพยพออกนอกประเทศ รวมถึงครอบครัวของแอนน์ด้วยเช่นกัน

จุดหมายแรกของการอพยพคืออเมริกา แต่ด้วยอุปสรรคหลายอย่าง จึงเปลี่ยนเป็นเนเธอแลนด์แทน พ่อของแอนน์ทำธุรกิจในบริษัทโอเพคทา ซึ่งเป็นบริษัทขายผลไม้สำหรับทำแยม จากนั้นก็เปลี่ยนไปทำบริษัทเพคทาคอน ร้านขายสมุนไพรและเครื่องเทศ แม้กิจการของเขาจะลุ่มๆ ดอนๆ แต่ก็มีเงินมากพอจะส่งลูกสาวทั้งสองคนเรียนหนังสือและใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย

ครอบครัวแฟรงค์และเพื่อนขณะไปงานแต่งของมีป กีส์

ครอบครัวแฟรงค์สุขสงบอยู่ในเนเธอร์แลนด์ได้ไม่นาน กองทัพของฮิตเลอร์ก็บุกโจมตีและเริ่มคุกคามชาวยิวในเนเธอร์แลนด์อีกครั้ง ครั้งนี้ แอนน์และมาร์กอธต้องย้ายไปเรียนในโรงเรียนของชาวยิว ต้องติดสัญลักษณ์ดาวหกแฉกที่แสดงตัวว่าเป็นคนยิว ส่วนพ่อของเธอก็จำใจโอนหุ้นให้กับผู้ช่วย เพราะกฎหมายห้ามชาวยิวเป็นเจ้าของกิจการ

จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของครอบครัวแฟรงค์เกิดขึ้นเมื่อมาร์กอธ ลูกสาวคนโตได้รับหมายเรียกให้ไปรายงานตัวเพื่อเข้าไปทำงานในค่ายกักกัน นั่นหมายความว่าท้ายที่สุดแล้วเธออาจลงเอยด้วยการถูกฆ่า ในเช้าของวันที่ กรกฏาคม 1942 ครอบครัวแฟรงค์จึงทิ้งจดหมายลาเอาไว้ ทำทีว่าหนีไปสวิตเซอร์แลนด์อย่างเร่งด่วน แต่อันที่จริงพวกเขาพากันไปซ่อนตัวในห้องลับที่พ่อของเธอแอบสร้างเตรียมเอาไว้ด้านหลังตึกบริษัท บนถนนปรินเซินครัคต์ เป็นส่วนขยายที่ต่อเติมเข้ามาข้างหลังตึก ทางเข้าลับซ่อนอยู่บนชั้นสอง ด้านหลังตู้หนังสือ ด้านล่างยังคงเปิดบริษัทดำเนินกิจการกันปกติในตอนกลางวันได้อย่างปกติ ไม่ได้ดูผิดสังเกตแต่อย่างใด

ทางเข้าห้องลับ (Photo : annefrank.org)

ภายหลังมีครอบครัวฟัน แป็ลส์ (Van Pels) อีก ชีวิต และ ฟริทซ์ ไฟเฟอร์ (Fritz Pfeffer) ทันตแพทย์ชาวยิวเพื่อนสนิทของครอบครัวมาร่วมชายคาด้วย โดยพวกเขาทั้งหมดได้รับความช่วยเหลือจากพนักงานในบริษัทที่พ่อของแอนน์ไว้ใจ

หลังจากซ่อนตัว แอนน์เริ่มใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการจดชีวิตประจำวันลงในสมุดบันทึกปกสีชมพูลายสก็อตที่พ่อซื้อเป็นของขวัญวันเกิดอายุครบ 13 ปี ไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่จะเข้ามาซ่อนในห้องลับ แอนน์คิดถึงเพื่อนๆ ของเธอมาก จึงเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นจดหมายส่งให้เพื่อนๆ ในจินตนาการของเธอ

สมุดบันทึกของแอนน์ (Photo : annefrank.org)

‘คิตตี้’ เป็นเพื่อนคนโปรดที่สุดของแอนน์ เธอหยิบยืมคาแรกเตอร์และชื่อของคิตตี้มาจากหนังสือชุด Joop ter Heul ของนักเขียนชาวดัตช์นามปากกา Cissy van Marxveldt ซึ่งเป็นเรื่องของกลุ่มเพื่อนผู้หญิงที่พากันออกผจญภัย หนึ่งในสมาชิกของกลุ่มคือ คิตตี้ ฟรังเคน ผู้สดใส ร่าเริงและมีอารมณ์ขัน แอนน์ประทับใจเธอมาก จึงนำชื่อนั้นมาตั้งเป็นชื่อสมุดบันทึกของเธอ

ไดอารีจำลองของแอนน์ แฟรงค์ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เด็ก Indianapolis

“ที่ใดมีความหวัง ที่นั่นมีชีวิต มันเติมเต็มความกล้าหาญและทำให้เราแข็งแกร่งอีกครั้ง” 

เป็นข้อความที่แอนน์บันทึกเอาไว้ แม้จะต้องหลบซ่อน แต่เธอยังคงมีหวังเสมอว่าจะได้ออกไปใช้ชีวิตอย่างอิสระอีกครั้ง เธอไม่ปล่อยให้คืนวันเหล่านั้นสูญเปล่า แอนน์มักใช้เวลาช่วงบ่ายในการเขียนบันทึกหรือเรียนสิ่งต่างๆ ที่เธอสนใจอยู่เสมอ

ในสมุดบันทึกเต็มไปด้วยเรื่องราวและความรู้สึกของเธอ ไม่ว่าจะบ่นแม่ เรื่องความรักระหว่างเธอและเปเตอร์ ฟัน แป็ลส์ ที่เกิดขึ้นอย่างลับๆ ในห้องใต้หลังคา การวิพากษ์วิจารณ์คนในห้องลับ ความคิดของเธอต่อโลกใบนี้ เรื่องที่เธอตกตะกอนได้ในแต่ละวัน รวมถึงนิทานอีก 34 เรื่อง นิยายที่เขียนค้างไว้ และประโยคประทับใจจากหนังสือที่เธออ่าน เธอก็บันทึกมันลงไว้ในนั้นด้วยเช่นกัน

ห้องของแอนน์ แฟรงค์ (Photo : annefrank.org)

สถานที่ที่เธอใช้เขียนบันทึกคือห้องนอน แอนน์เป็นเพื่อนร่วมห้องกับไฟเฟอร์ พวกเขาอยู่ในห้องขนาด 42 ตารางเมตร ที่มีหน้าต่าง บาน  มีเตียง เตียงตั้งอยู่คนละฝั่งผนังห้อง เตียงหนึ่งเป็นของแอนน์ อีกเตียงเป็นของไฟเฟอร์ แอนน์เขียนเล่าไว้ในสมุดบันทึกว่านี่ถือเป็นห้องที่หรูหราแล้ว ถ้าเทียบกับที่ซ่อนลับของคนอื่นๆ ที่เธอเคยได้ยินมา ริมหน้าต่างมีกล้องส่องทางไกลวางอยู่ แอนน์มักจะใช้เวลาช่วงเย็น ส่องดูชีวิตของเพื่อนบ้าน นั่นเป็นอีกหนึ่งความเพลิดเพลินของเธอ ก่อนที่ฟ้าจะมืดสนิทและทุกคนจะอยู่ในความหลับใหล

โต๊ะทำงานของแอนน์และไฟเฟอร์ (Photo : annefrank.org)

บนโต๊ะมีโคมไฟ เครื่องเขียน หนังสือ สมุด และข้าวของทั้งของแอนน์และของไฟเฟอร์ปะปนกัน นั่นทำให้พวกเขามักจะทะเลาะแย่งพื้นที่บนโต๊ะเขียนหนังสือที่มีอยู่เพียงตัวเดียวเป็นประจำ ไฟเฟอร์มองว่างานของแอนน์ไม่สำคัญเท่าการเรียนภาษาของเขา ส่วนแอนน์ก็มองว่าไฟเฟอร์เหมือนเด็กไร้เหตุผล จนท้ายที่สุดพ่อของเธอต้องเข้ามาเจรจาขอให้แบ่งโต๊ะกันใช้จนได้

นักจัดรายการวิทยุ Radio Oranje (Photo : annefrank.org)

วันหนึ่งในปี 1944 แอนน์ลักลอบฟังประกาศทางวิทยุจากช่อง Radio Oranje วันนั้น ฟริทซ์ โบลเคสแตง (Frits Bolkesteinรัฐมนตรีชาวดัตช์ที่หลบหนีไปลอนดอนขอให้ประชาชนชาวดัตช์รวบรวมบันทึกและเอกสารสำคัญเอาไว้ เผื่อในวันที่สงครามสิ้นสุดลง สิ่งเหล่านั้นจะเป็นหลักฐานสำคัญ ช่วยบอกเล่าสิ่งที่ชาวดัตช์เผชิญให้โลกรู้ นั่นทำให้แอนน์เริ่มรีไรต์บันทึกของตัวเองอีกครั้ง โดยตัดพวกความรู้สึกและเรื่องส่วนตัวมากๆ ออกไป ทำเป็นงานเขียนเชิงบันทึกที่รอวันตีพิมพ์เมื่อสงครามสิ้นสุด โดยเธอตั้งชื่อเรื่องว่า Het Achterhuis หรือ The Secret Annex ที่แปลว่า ห้องลับส่วนต่อเติม

งานเขียนของแอนน์ แฟรงค์ (Photo : annefrank.org)

งานเขียนชิ้นนี้ยังไม่มีตอนจบ บันทึกหน้าสุดท้ายของแอนน์ลงวันที่ไว้เมื่อ สิงหาคม 1944 ซึ่งเป็น วันก่อนที่เธอจะถูกจับกุม วันนั้นตำรวจเยอรมันพบที่ซ่อนลับของพวกเขา เพราะมีผู้ไม่ประสงค์ออกนามแจ้งเบาะแส ทำให้ทุกคนในที่ซ่อนและพนักงานผู้ช่วยเหลือบางส่วนถูกจับกุม และต้องนั่งรถไฟไปยังค่ายกักกัน

เมื่อถึงที่หมาย ชายและหญิงถูกแยกออกจากกัน ออตโตและครอบครัวไม่ได้เห็นหน้ากันอีกเลยนับตั้งแต่ตอนนั้น แอนน์ แม่ และมาร์กอธถูกส่งไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์เพื่อใช้แรงงาน ส่วนคนชรา คนพิการ และเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ถูกกำจัดอย่างโหดเหี้ยมด้วยการรมแก๊สทันทีเมื่อถึงที่หมาย ตอนนั้นแอนน์มีอายุ 15 ปี เดือนพอดีจึงรอดมาได้ แต่เธอเชื่อว่าพ่อที่มีอายุ 50 ปีน่าจะจากเธอไปแล้ว

บรรยากาศในค่ายกักกัน

ชีวิตในค่ายกักกันเป็นไปอย่างยากลำบากเพราะสุขอนามัยที่ย่ำแย่ ผู้คนต้องทำงานหนักและได้กินอาหารเพียงน้อยนิด ทำให้หลายคนทนไม่ไหวและล้มป่วย รวมถึงแม่ของแอนน์ ไม่นานนักมีคำสั่งว่าพวกเขาทุกคนต้องย้ายไปยังค่ายค่ายกักกันแบร์เกิน-เบลเซิน ทำให้เอดิธ ผู้เป็นแม่ที่กำลังป่วยหนักไม่ได้ไปด้วย และเสียชีวิตที่ค่ายนั้นในที่สุด

แอนน์ได้เจอกับเพื่อนสนิทสมัยเด็กที่นั่น จากคำบอกเล่าหลังจบสงคราม เพื่อนของเธอเล่าว่าแอนน์ซูบผอมและเปลี่ยนไปมาก เธอดูไม่มีชีวิตชีวาอย่างเคย และเริ่มหมดกำลังใจจะมีชีวิตอยู่ต่อ เพราะแม่ของเธอได้จากไปแล้ว ส่วนพ่อก็ไม่รู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร

แอนน์ แฟรงค์ (Photo : The New York Times)

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1945 เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่ระบาดในค่ายกักกัน สิ่งที่เป็นฟางเส้นสุดท้ายในการมีชีวิตอยู่ของแอนน์คือมาร์กอธ แต่เธอก็เสียชีวิตลงด้วยโรคนี้ ไม่นานนักแอนน์ก็จากไปตามพี่สาว ที่น่าเสียดายคือเป็นช่วงเวลาก่อนทหารอเมริกันจะเข้าช่วยเหลือค่ายกักกันเพียงไม่กี่อาทิตย์เท่านั้น

หลังสงครามจบ ออตโตผู้เป็นพ่อพยายามตามหาครอบครัวของเขา แต่ก็พบว่าทุกคนได้จากไปเสียแล้วและเขาเองเป็นคนเดียวจากห้องลับนั้นที่รอดชีวิต มีป กีส์ (Miep Gies) ผู้ช่วยคนสนิทที่คอยช่วยเหลือครอบครัวแฟรงค์ตอนหลบซ่อน ได้เก็บข้าวของของแอนน์เอาไว้ และนำมาส่งคืนให้กับออตโต เขาจึงได้อ่านบันทึกของแอนน์เป็นครั้งแรก และตัดสินใจทำให้ความฝันครั้งสุดท้ายของลูกสาวเป็นจริงด้วยการตีพิมพ์เป็นหนังสือ

หนังสือเล่มแรกของแอนน์ที่ได้ตีพิมพ์ (Photo : annefrank.org)

บันทึกของแอนน์ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1947 สองปีหลังเธอจากไป และได้แปลเป็นภาษาต่างๆ กว่า 70 ภาษา รวมถึงภาษาไทย ที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ผีเสื้อ ชื่อเรื่องว่า บันทึกลึกลับของแอนน์ แฟรงค์ (The Diary of a Young Girl) ภายหลังมีการนำไปดัดแปลงเป็นทั้งภาพยนตร์ ละครเวที พอดแคสต์ ที่ทำให้ผู้คนได้ฟังเรื่องเล่าของแอนน์อย่างแพร่หลาย 

ออตโตผู้เป็นพ่อยังคงทำงานเพื่อบอกเล่าเรื่องในปีนั้นให้โลกรู้จนวินาทีสุดท้าย เขาหวังว่าคนที่ได้อ่านบันทึกของแอนน์จะตระหนักถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นกับชาวยิว ทั้งการเลือกปฏิบัติ การเหยียดเชื้อชาติ และความเกลียดชังอันนำมาสู่จุดจบอันน่าสะเทือนใจ 

 

อ้างอิง 

  • ฐิติพล ปัญญาลิมปนันท์. แอนน์ แฟรงค์: จากบันทึกลับสู่หนังสือโปรดของนักอ่านไทย. https://bbc.in/3AF6Bp4 
  • The Anne Frank House. The diary. https://bit.ly/3BJFAlv
  • The Anne Frank House. The Secret Annexhttps://bit.ly/3v7Ygcg