pe©ple

“ผมไม่ได้ต้องการเป็นเหมือนคุณพ่อทุกอย่าง แต่ผมต้องการสานต่อสิ่งที่พ่อทำ”

โรเบิร์ต เออร์วิน

ถ้าคุณเคยดูรายการสารคดีโทรทัศน์เกี่ยวกับสัตว์โลกชื่อ ‘The Crocodile Hunter’ ที่ออกอากาศตั้งแต่ปี 1996-2007 ต้องรู้จัก สตีฟ เออร์วิน (Steve Irwin) นักอนุรักษ์สัตว์และพิธีกรสารคดีผู้ห้าวหาญ ที่กล้าจับสัตว์ร้ายด้วยมือเปล่า จนได้รับฉายา “นักล่าจระเข้”

Steve Irwin
(Photo: ozy.com)

โรเบิร์ต เออร์วิน (Robert Irwin) คือลูกชายของสตีฟ ในวันที่เขาจากไป หลังถูกเงี่ยงปลากระเบนแทงเข้าที่หัวใจระหว่างดำน้ำถ่ายทำสารคดีชุด Ocean’s Deadliest ในปี 2006 ขณะนั้นโรเบิร์ตอายุเพียง  3 ขวบ

Steve Irwin
(Photo: Bindi Irwin / Instagram)

ตลอดชีวิตท่ีผ่านมา สตีฟทำงานเกี่ยวกับสัตว์ป่าในบทบาทต่างๆ ทั้งนักอนุรักษ์ นักดูแลสวนสัตว์ พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่ปรุงรสชาติสารคดีสัตว์ให้เป็นเรื่องสนุกและน่าตื่นเต้น

“ผมเชื่อว่าการศึกษาเกิดจากความรู้สึกตื่นเต้นสนใจบางสิ่ง แล้วถ้าเราทำให้สิ่งนั้นดูน่าหลงใหล เราก็จะสื่อสารสิ่งที่ต้องการบอกไปถึงคนอื่นๆ ได้ง่ายขึ้น”

รายการสารคดีของสตีฟมักจะมีซีนซนๆ ให้คนดูร่วมลุ้นระทึก อย่างจับงูพิษด้วยมือเปล่า กระโดดลงไปปล้ำจระเข้ในแม่น้ำอะแมซอน หรือเดินลุยป่าฝ่าดงแล้วเข้าไปจับสัตว์ที่เห็นดื้อๆ (ด้วยความชำนาญ) ก่อนจะหันมาให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ตัวนั้นด้วยสีหน้า แววตา และน้ำเสียง ราวกับกำลังเล่าเรื่องที่ตื่นเต้นที่สุดในโลก

Steve Irwin
(Photo: Pinterest)

หลายคนมองว่าเขาบ้าบิ่น โดยเฉพาะการกระโดดไปปล้ำกับจระเข้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่สตีฟกลับมองต่างออกไป

“จระเข้นั้นง่าย พวกมันชัดเจนที่จะเขมือบคุณ คนสิยากกว่า เพราะบางครั้งพวกเขาจะแสร้งเป็นเพื่อนกับคุณก่อน”

สตีฟเข้าหาสัตว์แต่ละตัวด้วยความระมัดระวัง แต่ไม่มีท่าทีหวาดหวั่น และปฏิบัติกับพวกมันอย่างทะนุถนอม ราวกับสัตว์ทุกตัวเป็นเพื่อนของเขา จนคนที่เห็นอดไม่ได้ที่จะรู้สึกเอ็นดูพวกมันไปด้วย

“เราต้องสอนให้คนรู้จักสัตว์ป่ามากขึ้น เราถึงจะช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นได้”

Steve Irwin
(Photo: Youtube)

แม้บทบาทพิธีกรสารคดีสัตว์ทางโทรทัศน์จะสร้างชื่อเสียงและเงินทองให้สตีฟไม่น้อย แต่สิ่งที่เขาอุทิศชีวิตให้มีเพียงอย่างเดียวคือ ‘การอนุรักษ์’

“ผมคิดว่าตัวเองเป็นนักรบสัตว์ป่า ภารกิจของผมคือช่วยชีวิตสัตว์โลกที่ใกล้สูญพันธุ์”

สตีฟเคยพูดถึงงานของตัวเองที่หลายครั้งดูเสี่ยงอันตรายว่า “ผมไม่กลัวเสียชีวิตนะ ถ้าผมสามารถช่วยเหลือโคอาลา จระเข้ จิงโจ้ หรืองู ซึ่งเป็นเพื่อนของผม ผมจะช่วยพวกมันแน่นอน”

Steve-Irwin
(Photo: Wikimedia Commons)

ปัจจุบันโรเบิร์ต เออร์วิน ลูกชายของสตีฟได้เติบโตจากเด็กน้อยเป็นเด็กหนุ่มวัย 14 ปี ที่สนุกกับการทำหน้าที่นักอนุรักษ์ นักเขียน พิธีกรรายการโทรทัศน์ที่ให้ความรู้เรื่องสัตว์ป่า ร่วมกับแม่และพี่สาวทางสื่อของสวนสัตว์ออสเตรเลียและสื่อต่างๆ

Robert Irwin
(Photo: boredpanda.com)

นอกจากนี้ โรเบิร์ตยังหลงใหลการถ่ายภาพสัตว์ป่า ฝีมือของเขา ‘ไม่ธรรมดา’ ผลงานหลายชิ้นติดไฟนอลลิสท์การประกวดภาพถ่ายระดับโลก และบางชิ้นก็คว้ารางวัล

The Catch (Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
The Catch (Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)

ครั้งหนึ่งโรเบิร์ตเขียนแคปชั่นใต้ภาพ ‘แมงมุมกินกบ’ (The Catch) ที่ได้รับการยกย่องอย่างมากในฐานะภาพที่ถ่ายโดยช่างภาพอายุระหว่าง 11-14 ปีในอินสตาแกรมของเขาว่า

“ตื่นเต้น! ภาพของผมจะได้เป็นส่วนหนึ่งของงานแสดงภาพถ่ายที่จะเดินทางไปทั่วโลก หวังว่ามันจะสร้างแรงบันดาลใจให้หนุ่มสาวคนอื่น ๆ หันมาถ่ายรูป และซาบซึ้งกับธรรมชาติของโลกใบนี้”

ความหลงใหลและรักสัตว์อยู่ในแววตาของโรเบิร์ต ซึ่งเป็นแววตาเดียวกับที่แฟนรายการเคยเห็นในแววตาของสตีฟ

พ่อลูกคู่นี้เหมือนกันมากจนสื่อนำไปเปรียบเทียบกับสำนวน ‘Like father, like son’ หรือ ‘ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น’

โรเบิร์ต เออร์วิน (ซ้าย) สตีฟ เออร์วิน (ขวา)
โรเบิร์ต เออร์วิน (ซ้าย) สตีฟ เออร์วิน (ขวา)

แต่หลายคนก็อดสงสัยไม่ได้ว่า โรเบิร์ตซึมซับเรื่องเหล่านี้มาตอนไหน เพราะตอนที่สตีฟจากไป เขาเพิ่ง 3 ขวบเท่านั้น

“มันอยู่ในสายเลือด ในดีเอ็นเอของผม” โรเบิร์ตตอบ “และมันอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมทำ

“พ่อไม่เคยแคร์ว่าเขาจะเป็นที่รู้จัก เขาแคร์แค่สิ่งที่เขาต้องการจะสื่อสาร และนั่นคือสิ่งที่ผมพยายามจะทำและสานต่อ”

สตีฟเชื่อเสมอว่าการอนุรักษ์สัตว์ป่าจะเกิดขึ้น คนต้องรู้จักและสัมผัสถึงพวกมัน จนเกิดความรัก “เพราะว่ามนุษย์ต้องการรักษาสิ่งที่พวกเขารัก”

Robert Irwin
(Photo: Luke Reavley / Twitter)

สตีฟจึงพยายามสื่อสารแมสเสจนี้ไปถึงผู้คนทั่วโลกผ่านสารคดีของเขา เช่นเดียวกับโรเบิร์ตที่พยายามสื่อสารแมสเสจนี้ต่อไป ผ่านสิ่งที่เขาทำและภาพถ่ายที่สวยสะดุดตา จนทำให้ใครก็ตามที่ได้เห็น ตกหลุมรักสัตว์เหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว

เพราะเมื่อ ‘รัก’ แล้ว เราจะอยาก ‘อนุรักษ์’ สิ่งนั้นให้คงอยู่.

(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)
(Photo: Robert Irwin / robertirwinphotos.com)

 

อ้างอิง: