w©rld

การศึกษาอาจเปรียบเหมือนใบเบิกทางสู่อนาคต แต่ดูเหมือนว่าการเรียนในโรงเรียนจะล้มเหลวในการถ่ายทอดทักษะในชีวิตที่สำคัญที่สุด

Tony Wagner โทนี่ แว็กเนอร์
ดร.โทนี่ แว็กเนอร์

ดร.โทนี่ แว็กเนอร์ (Dr.Tony Wagner) ผู้อำนวยการร่วมของกลุ่ม Harvard’s Change Leadership Group ระบุว่าโรงเรียนในเวลานี้กำลังเผชิญหน้ากับ “global achievement gap” หรือช่องว่างระหว่างสิ่งที่โรงเรียนสอนกับทักษะที่เด็กต้องการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของโลก 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ

หนึ่ง การเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจเชิงความรู้ และ สอง โรงเรียนกระตุ้นให้นักเรียนเรียนรู้จากอินเทอร์เน็ต

นักเรียน อ้วน ทำการบ้าน โรงอาหาร โรงเรียน
เด็กนักเรียนกำลังนั่งทำการบ้านในโรงอาหาร (Photo: Nicolas Asfouri / AFP)

เมื่อสิ่งที่เรียนให้ห้องเรียนไม่อาจถมช่องว่างของทักษะที่จำเป็นในชีวิตจริง คำถามคืออะไรคือทักษะสำคัญที่เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้

ดร.โทนี่ แว็กเนอร์ เฉลยคำตอบนี้ไว้ในหนังสือ The Global Achievement Gap ของเขาว่า ทักษะที่จะช่วยให้เด็กๆ เอาตัวรอดในชีวิตการทำงานวันข้างหน้าได้นั้น มีทั้งหมด 7 ทักษะ ได้แก่

1. คิดเชิงวิเคราะห์ มองเห็นปัญหา

บริษัทจำนวนมากต้องการพัฒนาสินค้า กระบวนการทำงาน รวมถึงบริการเพื่อที่จะแข่งขัน แต่การจะทำสิ่งนี้ได้ บริษัทเหล่านั้นจำเป็นต้องมีพนักงานที่มีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ และรู้จักตั้งคำถามที่ถูกต้อง เพื่อจะชี้ต้นตอของปัญหา ซึ่งเป็นต้นทางของการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

GO โกะ จีน เด็ก
เด็กชาวเกาหลีใต้ดวลโกะ ซึ่งเป็นเกมกระดานที่มีมิติในการเดินมหากซับซ้อนกว่าหมากรุกหลายเท่าตัว (Photo: slate.com)

2. รู้จักคำว่า “ทีม” เป็นผู้ตามและนำผู้อื่นได้

ด้วยธรรมชาติของโลกธุรกิจที่เชื่อมโยงถึงกัน ทักษะความเป็นผู้นำ ความสามารถในการจูงใจ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น จะยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น แว็กเนอร์บอกว่า กุญแจสำคัญสำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพคือ การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และทำงานถูกต้องตามหลักจริยธรรม

Japan Students ญี่ปุ่น นักเรียน
เด็กญี่ปุ่นทำท่าทักทายระหว่างพักเบรกคาบเรียน (Photo: Behrouz Mehri / AFP)

3. คล่องแคล่ว พร้อมปรับตัว

ทักษะที่สำคัญยิ่งต่อความสำเร็จ คือ ความสามารถในการปรับตัว และเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว คนทำงานในวันข้างหน้าจะต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา ซึ่ง ‘ทักษะการเรียนรู้’ คือที่ทุกคนต่างมองหาในตัวผู้สมัครงาน

ลูกเสือ เตะบอล สนาม โรงเรียน เนตรนารี
เด็กนักเรียนสวมชุดลูกเสือกำลังเตะบอลกับเพื่อนในสนามของโรงเรียน (Photo: Lillian Suwanrumpha / AFP)

4. มีความคิดริเริ่มและหัวใจผู้ประกอบการ

ไม่มีอะไรน่ากลัวในความพยายาม บ่อยครั้งผู้คนหรือองค์กรธุรกิจมักจะมีแนวโน้มที่จะกลัวความเสี่ยง แต่การลองพยายามทำ 10 อย่างแล้วสำเร็จสัก 8 อย่างย่อมดีกว่าการพยายามทำ 5 อย่าง แล้วทุกอย่างประสบผลสำเร็จ (แต่โลกนี้มีหรือที่จะทำอะไรแล้วสำเร็จ 100%)

Moziah Bridges โมซิอาห์ บริดจส์ หูกระต่าย
โมซิอาห์ บริดจส์ วัย 15 ปี เจ้าของแบรนด์หูกระต่าย Mo’s Bows อันโด่งดังในอเมริกา ที่เริ่มต้นทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 9 ขวบ “ผมชอบใส่หูกระต่าย ผมว่ามันทำให้ผมดูดีแล้วก็รู้สึกดีด้วย”

5. พูดดี เขียนได้ สื่อสารเป็น

มีเด็กรุ่นใหม่จำนวนไม่มากที่สามารถใช้ไวยากรณ์หรือสะกดคำได้อย่างถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การสื่อสารสิ่งที่ต้องการได้อย่างชัดเจนผ่านคำพูด การเขียน หรือแม้กระทั่งขณะพรีเซนต์งานก็เป็นสิ่งที่จำเป็น “ถึงคุณจะมีไอเดียที่สุดยอดมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณสื่อสารมันออกมาไม่ได้ ทุกอย่างก็จบ” แว็กเนอร์บอก

Greta Thunberg เกรตา ธันเบิร์ก
เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ชาวสวีเดน อายุ 15 ปี ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมแก้ปัญหาโลกร้อน COP24 ของสหประชาติ ปี 2018 “พวกคุณพูดแต่เรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืน เพียงเพราะคุณกล้วที่จะไม่ได้รับความนิยม”

6. เข้าถึงข้อมูล วิเคราะห์ให้เกิดผล

คนทำงานในยุคนี้ต้องรับมือกับข้อมูลจำนวนมหาศาลในแต่ละวัน ความสามารถในการกลั่นกรองข้อมูล รู้จักหยิบใช้และเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน นับเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโลกวันนี้ที่ข้อมูลเกิดขึ้นและแปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

Learning Coding เขียนโค้ด เรียน STEM
เด็กๆ อายุ 10-14 ปี กำลังนั่งเรียนการเขียนโค้ดเพื่อพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์ ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมอบรมการฝึกทักษะแห่งอนาคต (STEM) ของมหาวิทยาลัย Texas Southern ในสหรัฐอเมริกา (Photo: tsu.edu)

7. เปี่ยมจินตนาการ อยากรู้ และสร้างสรรค์

ความอยากรู้และจินตนาการคือกุญแจสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมและการแก้ปัญหา แต่สิ่งเหล่านั้นกลับถูกฆาตกรรมโดยสถาบันการศึกษา แว็กเนอร์บอกว่า “เราทุกคนเกิดมาพร้อมความอยากรู้อยากเห็น ความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ …เด็กอายุ 4 ขวบมักถามคำถามเฉลี่ย 100 คำถามต่อวัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป เด็กอายุ 10 ขวบ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย กลับมัวกังวลกับคำตอบที่ถูกต้อง มากกว่าจะเป็นการถามคำถามที่ดี

“เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองและคุณครูต้องทำคือ การรักษาความอยากรู้อยากเห็นและจินตนาการที่เด็กทุกคนมีอยู่ในตัวให้คงอยู่”.

ZIMBABWE เด็ก ซิมบับเว การศึกษา
เด็กๆ ชาวซิมบับเวยิ้มขณะนั่งฟังคุณครูเล่านิทานพื้นบ้าน (Photo: Jekesai Njikizana / AFP)

 

*หมายเหตุ: ภาพปกมาจากฉากในภาพยนตร์เรื่อง ฉลาดเกมส์โกง (Bad Genius) โดย imdb.com

อ้างอิง:

แปลและเรียบเรียง : นิรชรา ตันสุขี