w©rld

เมื่อพูดถึงเสื้อผ้าของมนุษย์อวกาศ เชื่อว่าภาพแรกที่เรานึกถึงคือ ชุดอวกาศตัวโต อุปกรณ์แน่น ที่เป็นชุดหลักในการปฏิบัติงาน

แต่เคยสงสัยกันไหมว่า นอกจากชุดที่เราคุ้นตา มนุษย์อวกาศยังสวมเสื้อผ้าอื่นๆ หรือไม่ ถ้ามี เสื้อผ้าแต่ละชิ้นแตกต่างกับชุดที่เราใส่อย่างไร

common เดินทางมาหาคำตอบที่ พิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งรัสเซีย (Memorial Museum of Cosmonautics) ประเทศต้นกำเนิดชุดมนุษย์อวกาศชุดแรก ที่สวมใส่โดย ยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกของโลก

YURI GAGARIN
ยูริ กาการิน

อีกทั้งยังเป็นที่รวมคอลเลคชั่นเสื้อผ้าของนักบินอวกาศทั่วโลก ตั้งแต่ยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบันกว่า 100 แบบ

 

ชุด SK-1 ของยูริ กาการิน ที่ใช้เดินทางไปกับยาน Vostok ในวันที่ 12 เม.ย. 1961 ถือเป็นต้นแบบของชุดมนุษย์อวกาศรุ่นอื่นในเวลาต่อมา
ชุด SK-1 ของยูริ กาการิน ที่ใช้เดินทางไปกับยาน Vostok ในวันที่ 12 เม.ย. 1961 ถือเป็นต้นแบบของชุดมนุษย์อวกาศรุ่นอื่นในเวลาต่อมา
(Photo 1 : https://kremlintour.com, Photo 2 : www.cynic.org.uk)
จาก SK-1 พัฒนามาจนถึงชุด Sokol-KV2 ในปัจจุบัน สนนราคา 1 ล้านดอลล่าร์ ครองตำแหน่งเสื้อผ้าที่มีราคาแพงที่สุดในโลก
จาก SK-1 พัฒนามาจนถึงชุด Sokol-KV2 ในปัจจุบัน สนนราคา 1 ล้านดอลล่าร์ ครองตำแหน่งเสื้อผ้าที่มีราคาแพงที่สุดในโลก

นอกจากชุดหลักสำหรับการนำยานขึ้น-ลง และชุดปฏิบัติภารกิจภายนอกแล้ว เห็นได้ว่ามีชุดที่เหมือนจะ ‘ธรรมดา’ แบบที่เราใส่บนพื้นโลกอยู่หลายชุด ทั้งเสื้อยืด เสื้อโปโล กางเกงขาสั้น-ขายาว

โดยเสื้อผ้าทั้งหมดของมนุษย์อวกาศนั้น ใช้บุคลากรในการออกแบบจำนวนมาก ตั้งแต่หัวหน้านักออกแบบ แพทย์ วิศวกร ผู้ชำนาญการด้านกลไก และช่างตัดเย็บ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะมีชีวิตรอดในทุกกรณี  

 

‘ไม่ซัก-ใส่ซ้ำ-เปลี่ยนใหม่’ วิธีใช้เสื้อมนุษย์อวกาศ

มนุษย์อวกาศต้องปฏิบัติหน้าที่ในสถานีอวกาศเป็นระยะเวลา 6 เดือน พวกเขาจะใส่ชุดป้องกันขนาดใหญ่โดยเฉลี่ยเพียงแค่ 22 ชั่วโมงเท่านั้น คือช่วงเวลาบินและการต้องออกไปนอกยานหากจำเป็น

ฉะนั้นเสื้อผ้าที่ต้องใส่ส่วนใหญ่ จึงไม่ใช่ชุดอวกาศแบบที่เราคุ้นตา แต่เป็นชุดที่ดูธรรมดาๆ นี่แหละ และนี่คืองานหนักที่ทีมออกแบบต้องขบคิด ว่าทำอย่างไรจึงจะออกแบบเสื้อผ้าได้อย่างเหมาะสมที่สุด เมื่อต้องอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก แต่เสื้อผ้าก็ต้องเอื้อทั้งประโยชน์ใช้สอยและความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตภายในสถานีอวกาศ ที่เป็นทั้งที่ทำงานและบ้านในเวลาเดียวกัน

ทีมตัดเย็บมากประสบการณ์จาก NPO SVEZDA บริษัทผู้พัฒนาเสื้อผ้าสำหรับมนุษย์อวกาศแห่งรัสเซีย
ทีมตัดเย็บมากประสบการณ์จาก NPO SVEZDA บริษัทผู้พัฒนาเสื้อผ้าสำหรับมนุษย์อวกาศแห่งรัสเซีย

เสื้อผ้าของมนุษย์อวกาศ เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่ช่วงปี 1970 พร้อมๆ กับการพัฒนาสถานีอวกาศ มนุษย์อวกาศที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ต้องมีเสื้อผ้าที่เหมาะกับการทำงาน โดยมีชุดหลักๆ อยู่ 3-4 ประเภท ไม่มีการซักระหว่างใช้งาน ทุกคนต้องใส่จนกว่าจะไม่สามารถใส่ซ้ำได้แล้ว การเปลี่ยนชุดจะทำทุก 3 – 10 วัน แล้วแต่ประเภทของชุด

 

Flight Suit ชุดเครื่องแบบหรือชุดทำงาน

ชุดที่ใส่ทำงานในสถานีอวกาศต้องคำนึงถึงทั้งเรื่องสุขลักษณะ พื้นฐานของสรีรวิทยา และต้องสามารถป้องกันความร้อนทั้งในสถานีอวกาศและบนภาคพื้นได้ โดยปกติจะออกแบบมาให้เหมาะสมกับอุณหภูมิประมาณ 18-23ºC

Flight suit ของ V.N. Kubasov ใช้ในภาระกิจร่วม อพอลโล-โซยุส (Apollo-Soyuz Test Project) บนยานอวกาศโซยุส 19 (Soyuz-19) ระหว่าง 15-21 ก.ค. 1975
Flight suit ของ V.N. Kubasov ใช้ในภาระกิจร่วม อพอลโล-โซยุส (Apollo-Soyuz Test Project) บนยานอวกาศโซยุส 19 (Soyuz-19) ระหว่าง 15-21 ก.ค. 1975
Flight suit ของ Vladimir Dzhanibekov ผู้บัญชาการยาน Soyz-27 ใช้ในสถานีอวกาศซัลยูต 6 (Salyut-6) ระหว่าง 10-16 ม.ค. 1978
Flight suit ของ Vladimir Dzhanibekov ผู้บัญชาการยาน Soyz-27 ใช้ในสถานีอวกาศซัลยูต 6 (Salyut-6) ระหว่าง 10-16 ม.ค. 1978
ชุดใส่ทำงานในยุคหลังๆ ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยใช้ผ้า Whipcord ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนและประกายไฟ มีกระเป๋าตามจุดต่างๆของชุด เพื่อใส่เครื่องมือที่จำเป็นส่วนบุคคล ชุดนี้ใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติช่วงปี 2004
ชุดใส่ทำงานในยุคหลังๆ ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยใช้ผ้า Whipcord ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนและประกายไฟ มีกระเป๋าตามจุดต่างๆของชุด เพื่อใส่เครื่องมือที่จำเป็นส่วนบุคคล ชุดนี้ใช้ในสถานีอวกาศนานาชาติช่วงปี 2004
PK-14 คือ Flight suit คอลเลคชั่นล่าสุดจาก NPO SVEZDA ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งความสบาย โดยเสื้อด้านในเป็นผ้าถัก รองรับอุณภูมิระดับ 18ºC
PK-14 คือ Flight suit คอลเลคชั่นล่าสุดจาก NPO SVEZDA ที่เน้นเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังไม่ทิ้งความสบาย โดยเสื้อด้านในเป็นผ้าถัก รองรับอุณภูมิระดับ 18ºC

Exercise Suit ชุดออกกำลังกาย

การออกกำลังกายคือเรื่องจำเป็นสำหรับมนุษย์อวกาศ เพราะในสภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อทั้งกล้ามเนื้อ มวลกระดูก และเลือด ทุกคนต้องออกกำลังกายวันละ 2-3 ชั่วโมง เพื่อรักษาร่างกายให้ปกติ

ชุดออกกำลังกายในที่นี้ มีทั้งชุดที่ใส่สำหรับออกกำลังกาย และชุดที่ใส่เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลัง ถือเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างสมดุลร่างกาย ให้ใกล้เคียงกับเมื่อตอนอยู่บนพื้นโลกมากที่สุด

ชุดออกกำลังกายชุดแรก ที่ออกแบบมาสำหรับ V.I. Patsayev วิศวกรอวกาศ และลูกเรือคนแรกที่ขึ้นไปปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศซัลยูต (Salyut)
ชุดออกกำลังกายชุดแรก ที่ออกแบบมาสำหรับ V.I. Patsayev วิศวกรอวกาศ และลูกเรือคนแรกที่ขึ้นไปปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศซัลยูต (Salyut)
Pingvin Exercise Suit หรือ ชุดเพนกวิน ออกแบบโดยจำลองผลกระทบของแรงโน้มถ่วงบนร่างกาย มีแถบยืดหยุ่นที่สร้างแรงดึงระหว่างไหล่ เอว และข้อเท้า เพื่อลดการสูญเสียมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ นี่คือชุดต้นแบบรุ่นแรกที่ทำขึ้นช่วงปี 1969 -1971 โดย NPO SVEZDA
Pingvin Exercise Suit หรือ ชุดเพนกวิน ออกแบบโดยจำลองผลกระทบของแรงโน้มถ่วงบนร่างกาย มีแถบยืดหยุ่นที่สร้างแรงดึงระหว่างไหล่ เอว และข้อเท้า เพื่อลดการสูญเสียมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ นี่คือชุดต้นแบบรุ่นแรกที่ทำขึ้นช่วงปี 1969 -1971 โดย NPO SVEZDA
ชุดเพนกวินรุ่นปรับปรุง บนสถานีอวกาศซัลยูต 7 (Salyat-7) ในปี 1982 (Photo : http://www.spacefacts.de)
ชุดเพนกวินรุ่นปรับปรุง บนสถานีอวกาศซัลยูต 7 (Salyat-7) ในปี 1982
(Photo : http://www.spacefacts.de)
Exercise Suit ที่ช่วยป้องกับกล้ามเนื้อลีบระหว่างการบิน มีอุปกรณ์ “Braslet M” รัดขา 2 ข้าง ออกแรงดึงกับร่างกายในแนวดิ่งเสมือนเวลาที่อยู่บนโลก เพื่อป้องกันการ redistribution ของเลือด และช่วยให้ระบบหัวใจและเลือดทำงานได้อย่างปกติระหว่างการเดินทางในอวกาศ
Exercise Suit ที่ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อลีบระหว่างการบิน มีอุปกรณ์ “Braslet M” รัดขา 2 ข้าง ออกแรงดึงกับร่างกายในแนวดิ่งเสมือนเวลาที่อยู่บนโลก เพื่อป้องกันการ redistribution ของเลือด และช่วยให้ระบบหัวใจและเลือดทำงานได้อย่างปกติระหว่างการเดินทางในอวกาศ

ปัจจุบัน ชุดที่ใส่ออกกำลังกาย จะไม่มีอุปกรณ์ที่ยุ่งยาก เป็นเพียงกางเกงขาสั้น เสื้อยืดผ้านุ่มสบาย คล้ายๆ กับที่เราใส่บนโลก แต่เสื้อออกกำลังกายของมนุษย์อวกาศจะพิเศษตรงที่มีการผสมไฟเบอร์ป้องกันเชื้อโรคไว้ในใยผ้า เพื่อสุขลักษณะและสามารถใส่ได้ต่อเนื่อง 3-4 วันโดยไม่ต้องซัก

(Photo : https://cosmosmagazine.com)
(Photo : https://cosmosmagazine.com)

ชุดสำหรับพักผ่อนและทำงานเบาๆ ภายในสถานีอวกาศ

น่าจะเป็นชุดที่มนุษย์อวกาศสวมใส่บ่อยที่สุดตลอดระยะเวลาการปฏิบัตงาน จึงต้องเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายและเหมาะสม ส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อโปโลหรือเสื้อยืด กางเกงคาร์โก้ หรือกางเกงขาสั้น สวมใส่สบายในอุณภูมิประมาณ 22-23ºC ลูกเรือสามารถเลือกชุดได้ว่าต้องการของรัสเซียหรืออเมริกา ก่อนการเดินทาง 1 เดือน เสื้อผ้าจะได้รับการจัดส่งไปยังสถานีอวกาศก่อนพวกเขาไปถึง ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้งาน

ชุดลำลองที่เคยสวมใส่จริง โดย Greg Olsen นักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่ขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในฐานะนักท่องเที่ยว (Space tourist) ในปี 2005 (Photo of Greg Ols
ชุดลำลองที่เคยสวมใส่จริง โดย Greg Olsen นักธุรกิจชาวอเมริกัน ที่ขึ้นไปบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในฐานะนักท่องเที่ยว (Space tourist) ในปี 2005
(Photo of Greg Olsen : http://www.spaceadventures.com)
 (Photo 1 : https://www.airspacemag.com, Photo 2 : https://canoe.com)
(Photo 1 : https://www.airspacemag.com, Photo 2 : https://canoe.com)

ชุดไล่ความร้อน

นี่คือชุดที่เรียกว่า Water Cooling ใช้สวมใส่ชั้นในสุดก่อนใส่ชุด Orlan EVA Space ซึ่งเป็นชุดสำหรับใส่ในการปฏิบัติหน้าที่นอกสถานี (Space Walk) เพื่อไล่ความร้อนออกจากร่างกาย ประกอบด้วยท่อพลาสติกเล็กๆ ยาว 65 เมตร ถักทออยู่ทั่วทั้งตัว ความเย็นของชุดเกิดจากการผ่านน้ำเข้าไปในท่อพลาสติกด้วยเทคนิคเฉพาะ สามารถนำความร้อนออกได้ในระดับ 400 วัตต์

ชุด Water Cooling ใช้สวมก่อนใส่ชุด Orlan EVA Space (Photo :https://www.quora.com/How-does-one-don-enter-an-Orlan-space-suit)
ชุด Water Cooling ใช้สวมก่อนใส่ชุด Orlan EVA Space
(Photo :https://www.quora.com/How-does-one-don-enter-an-Orlan-space-suit)

เมื่อเทียบกับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโครงการอวกาศของรัสเซีย ดูเผินๆ เรื่องเสื้อผ้าเหมือนจะเป็นสิ่งเล็กน้อยที่สุด แต่ทุกองค์ประกอบล้วนเป็นจิ๊กซอว์ของความยิ่งใหญ่ในวันนี้ทั้งสิ้น รัสเซียก็คงเชื่อเช่นนั้น สังเกตจากการนำวลีหนึ่งของ ‘ลูเครเชียส’ นักปราชญ์ชาวโรมัน มาติดไว้เป็นประโยคเปิดในห้องแสดงเสื้อผ้าของพิพิธภัณฑ์อวกาศ

“So far as it goes, a small thing may give analogy of great things,

and show the tracks of knowledge.”

 

“สิ่งเล็กน้อยอาจเป็นที่มาของสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และนำมาซึ่งหนทางแห่งความรู้

 

อ้างอิง: