w©rld

แม้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์จะถูกกดปุ่ม pause อีกครั้ง ทว่ายังมีบางความจริงที่เราอาจไม่เคยรู้ หรือไม่สนใจที่จะรับรู้ นอกเสียจากจะได้เห็นและอ่านข้อเท็จจริงให้ประจักษ์กับสายตา 

เพราะสื่อกระแสหลักนิยมนำเสนอภาพการสู้รบอันดุเดือด เปลวไฟและฝุ่นควันจากระเบิด คราบเลือดและเสียงร้องไห้โหยหวนจากความสูญเสีย ซึ่งในบางครั้ง ดราม่า ก็ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนปิดบังความจริงบางส่วนให้ซ่อนอยู่ใต้พรม 

ก่อนจะเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ถูกหลงลืมไป becommon ขอบันทึกบางเสี้ยวส่วนในหน้าประวัติศาสตร์ดินแดนปาเลสไตน์ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.. 2564 เอาไว้ ผ่านข้อความจากแผ่นป้ายประท้วงจากผู้คนที่รักในความยุติธรรมจากทั่วทุกมุมโลก 

ปฏิเสธไมได้ที่จะต้องทบทวนต้นสายปลายเหตุของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ระลอกใหม่ในครั้งนี้ ที่ถูกจุดชนวนขึ้นจากคำตัดสินของศาลแขวงเมืองเยรูซาเลมในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว  

เมื่อศาลตัดสินให้ครอบครัวชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 12 ครอบครัวในย่าน Sheikh Jarrah ออกไปจากที่อยู่อาศัยของตัวเอง และมอบบ้านเหล่านั้นให้ครอบครัวชาวยิวที่ชนะคดี 

การประท้วงเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังจากศาลไม่รับคำร้องอุทธรณ์ของชาวปาเลสไตน์ และต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนใกล้ครบกำหนดเส้นตายที่ต้องย้ายออกในวันที่ พฤษภาคม กองกำลังอิสราเอลได้เข้าจู่โจมบ้านเรือนเหล่านั้นด้วยการโยนแก๊สน้ำตาเข้าไปในบ้าน เพื่อให้ ‘เจ้าของบ้าน’ ออกมา 

เช่นเดียวกับชาวยิวที่เข้ามาตั้งถื่นฐานใหม่ก็ได้โจมตีเจ้าของบ้านด้วยการใช้กำลังขับไล่เช่นกัน จึงสร้างความไม่พอใจให้ชาวปาเลสไตน์จนเกิดการชุมนุมขึ้นที่บริเวณทางเข้ามัสยิดอัลอักซอ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมต้องมารวมตัวเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอนพอดี 

แต่การณ์กลับไม่พอดี เพราะทางการอิสราเอลปิดกั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปยังมัสยิด นำมาสู่การจู่โจมเพื่อสลายการชุมนุมด้วยกำลัง ทั้งการยิงแก๊สน้ำตาและกระสุนโลหะหุ้มยางเข้าไปในมัสยิดขณะที่มีการละหมาด 

โปรดสังเกตว่าเหตุการณ์ในช่วงนี้ยังไม่ถือเป็นการปะทะกัน เพราะฝ่ายหนึ่งติดอาวุธ ส่วนอีกฝ่ายมีแค่เสียงสวดภาวนา 

เมื่อสถานการณ์เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ (โดยที่ชาวโลกก็ยังไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร เพราะสื่อกระแสหลักยังไม่รายงานข่าว มีเพียงสำนักข่าวใหญ่อย่าง Al Jazeera, RT, TRT ที่นำเสนอเรื่องนี้อย่างละเอียดและต่อเนื่อง) กลุ่มฮามาสในกาซา ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธของปาเลสไตน์ จึงออกคำเตือนพร้อมกับขีดเส้นตายให้อิสราเอลยุติการใช้กำลัง และถอนกำลังออกจากมัสยิดอัลอักซอ 

แน่นอนว่าอิสราเอลไม่หยุดยิง จึงนำมาสู่การยิงจรวดโดยฮามาส และเกิดการปะทะที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นการนองเลือดอีกครั้ง ณ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 

ผู้คนในทั่วทุกมุมโลกจึงพร้อมใจกันร่วมชุมนุมระหว่างวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2564 เพื่อต่อต้านการกระทำอันแข็งกร้าวและรุนแรงเกินกว่าเหตุของอิสราเอล โดยล่าสุดข้อตกลงการหยุดยิงระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา นำไปสู่การยุติการยิงจรวดและทิ้งระเบิดโจมตีกันตลอดระยะเวลา 11 วัน 

เมื่อเพ่งมองในใจความของถ้อยแถลงที่ผู้ชุมนุมต่างชาติหลากภาษาพากันเปล่งเสียงผ่านตัวอักษร เราจะได้ยินเสียงร่ำร้องเพื่อคืนอิสรภาพแก่ชาวปาเลสไตน์ดังก้อง โดยไม่จำเป็นต้องตะโกน

ปากีสถาน

palestine
Photo: Aamir QURESHI/ AFP

“From the river to the sea, Palestine will be free” 

‘จากแม่น้ำสู่ทะเล คืนอิสระสู่ปาเลสไตน์’ ถือเป็นสโลแกนทางการเมืองที่ได้รับการหยิบยกมาอ้างถึงเสมอเมื่อเกิดกรณีพิพาทในดินแดนดังกล่าว 

โดยอาณาเขตของ ‘จากแม่น้ำสู่ทะเล’ นั้นกินพื้นที่ของแผ่นดินซึ่งตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำจอร์แดนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งก็คือ ดินแดนปาเลสไตน์ ที่เรียกร้องเอกราชมานานกว่า 70 ปี 

ภาพบรรยากาศการชุมนุม  กรุงอิสลามาบาด ประเทศปากีสถาน

palestine
Photo: Arif ALI/ AFP

“นี่หรือที่เรียกว่าการป้องกันตัว?” 

การคร่าชีวิตเด็กๆ ผู้บริสุทธิ์เป็นหนึ่งในข้อความที่ผู้ประท้วงต้องการสื่อสารให้ชาวโลกได้รับรู้มากที่สุด  

ภาพบรรยากาศการชุมนุมในกรุงลาฮอร์ เมืองหลวงของแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

สหรัฐอเมริกา

palestine
Photo: Jason Redmond/ AFP

“ยุติการแบ่งแยกชาติพันธุ์ในอิสราเอล” 

ข้อความขนาดกระชับ ที่กินความหมายมากกว่านั้นผ่านการเลือกใช้ลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของผ้าคลุมสวดภาวนาเป็นพื้นหลัง 

ภาพจากการชุมนุมในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

palestine
Photo: Jason Redmond/ AFP

“ถ้าคุณเหนื่อยหน่ายที่จะได้ยินเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปาเลสไตน์ ลองนึกดูแล้วกันว่าชาวปาเลสไตน์เองต้องทนทุกข์อยู่ในสภาวะนั้นมานานแค่ไหน” #ปลดปล่อยปาเลสไตน์ 

ส่วนแผ่นป้ายด้านข้างๆ เป็นรายชื่อของเด็กๆ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์อิสราเอลถล่มปาเลสไตน์เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2564 

ภาพจากการชุมนุมในเมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา

palestine
Photo: CHANDAN KHANNA/ AFP

“เนทันยาฮูคือร่างอวตารของฮิตเลอร์” 

หนึ่งในข้อความจากผู้ร่วมชุมนุมต่อต้านการใช้ความรุนแรงของอิสราเอลที่มีต่อปาเลสไตน์ โดยเปรียบเปรยพฤติกรรมของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู แห่งอิสราเอล ว่าเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหม่  

ภาพจากบรรยากาศการชุมนุมหน้าอาคารรัฐบาลกลางและสำนักงานศาลแห่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา

palestine
Photo: SETH HERALD/ AFP

“การเพิกเฉยในสหรัฐก่อให้เกิดการประหัตประหารในอิสราเอล” 

ชาวอเมริกันจำนวนหนึ่งมาชุมนุมที่สวนสาธารณะลาเพียร์ในเมืองเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เพื่อเรียกร้องให้ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีอิสราเอล ก่อนที่ในวันถัดมา ไบเดนจะต่อสายตรงถึงเนทันยาฮู โดยแสดงความคาดหวังถึงการลดระดับความรุนแรง และหาหนทางที่จะนำไปสู่ข้อตกลงการหยุดยิง

palestine
Photo: RINGO CHIU/ AFP

“ไม่ควรเรียกว่า ‘การปะทะกัน’ เพราะฝ่ายนึงมีปืน ส่วนอีกฝ่ายทำได้แค่สวดภาวนา” #ปลดปล่อยปาเลสไตน์ 

หนึ่งในข้อความจากกลุ่มผู้ชุมนุม บริเวณหน้าสถานกงสุลอิสราเอลในเมืองลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

อาร์เจนตินา

palestine
Photo: RONALDO SCHEMIDT/ AFP

“พวกเราหายใจไม่ออกมาตั้งแต่ปี 1948 แล้ว” 

ความในใจจากหนี่งในผู้ร่วมชุมนุมบริเวณหน้าสถานทูตอิสราเอล กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา 

แอฟริกาใต้

palestine
Photo: Phil Magakoe/ AFP

“ชาวปาเลสไตน์ก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน” 

ข้อความบนป้ายประท้วงของสมาชิกสภานักเรียนแอฟริกาใต้ (SASCO) ที่มาร่วมชุมนุมบริเวณหน้าสถานทูตอิสราเอลในเมืองพริทอเรีย ประเทศแอฟริกาใต้

ชิลี

palestine
Photo: Martin BERNETTI/ AFP

สมาชิกจากชุมชนชาวปาเลสไตน์ชูภาพวาดเชิงสัญลักษณ์ของดินแดนปาเลสไตน์ ระหว่างการประท้วงต่อต้านปฏิบัติการทางทหารที่เกิดขึ้นในกาซา (Gaza) บริเวณหน้าสถานทูตอิสราเอลในกรุงซานเตียโก เมืองหลวงของประเทศชิลี  

ทั้งนี้ ชิลีเป็นประเทศที่ชาวปาเลสไตน์อพยพมาก่อตั้งชุมชนชาวปาเลสไตน์ขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นแห่งแรกนอกตะวันออกกลาง 

ออสเตรเลีย

palestine
Photo: BIANCA DE MARCHI/ AFP

“เยี่ยมมากขบวนการไซออนนิสต์ ฮิตเลอร์ต้องภูมิใจแน่” 

ข้อความประชดประชันเสียดสีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ จากใจผู้ร่วมชุมนุมบริเวณหน้าศาลากลางในกรุงซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย 

ฝรั่งเศส

palestine
Photo: LOIC VENANCE/ AFP

ภาพมัสยิดอัลอักซอถูกวาดเขียนบนหน้ากากผ้า พร้อมระบุข้อความ กาซาถูกโจมตี กับแววตาอีกหนึ่งคู่ที่สื่อความหมายโดยไม่ต้องเอ่ยคำใดของผู้ร่วมประท้วงให้หยุดยิงในปาเลสไตน์ ณ เมืองน็องต์ ทางตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส

อ้างอิง  

Azad Essa.Sheikh Jarrah: How the US media is erasing Israel’s crimes. https://bit.ly/3bHCh3t 

Aljazeera.In Pistures: Celebrations across Gaza after 11 days of bombing. https://bit.ly/3v8DhVX