w©rld

โควิด-19 เป็นโรคระบาดครั้งใหญ่อีกครั้งของมวลมนุษยชาติ ทำให้ภาพของการฉีดวัคซีนถูกพบเห็นได้อีกครั้งจากทั่วทุกมุมโลก

วัคซีนเกิดขึ้นมาแล้วหลายร้อยปี ในอดีตพระธุดงค์ในป่าก็ดื่มพิษงูเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ปลอดภัยจากการถูกงูกัด หรือบางที่ก็มีการเอาเชื้อโรคฝีดาษมาทาแผลเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันจากไข้ทรพิษ โดยหลักการทำงานของวัคซีนคือการนำเอาเชื้อไวรัสที่ตายแล้วหรือเชื้อโรคที่อ่อนแอ ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาต้านโรคนั้นๆ

ปี 1976 เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) เป็นคนแรกที่พัฒนาวัคซีนในโลกฝั่งตะวันตกอย่างเป็นทางการ เมื่อเขาฉีดไวรัสโรคฝีดาษให้กับเด็กชายวัย 13 ปี เพื่อป้องกันโรคไข้ทรพิษ หลังจากนั้นอีก ปีวัคซีนไข้ทรพิษตัวแรกก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และใช้กันมาตลอดทั้งศตวรรษที่ 18-19 

วัคซีนถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เพื่อป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในแต่ยุคสมัยนั้นๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ที่กลายพันธุ์ทุกๆ ปี ก็จะมีวัคซีนตัวใหม่เกิดขึ้นมาทุกปีเพื่อป้องกันโรคนี้ด้วยเช่นกัน  

การต่อแถวฉีดวัคซีน ถกแขนเสื้อ ให้เข็มจิ้มแขน มีให้เห็นทุกครั้งเมื่อมีโรคระบาดที่พรากชีวิตผู้คนไปนับไม่ถ้วน เราขอชวนไปย้อนเวลา ดูประมวลภาพวันฉีดวัคซีนของผู้คนในอดีตกันอีกครั้ง

ในปี 1961 เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ในฮ่องกง ทำให้ประชากรต่อแถวรับวัคซีนกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง ณ บริเวณหด้านหน้าศูนย์การแพทย์แห่งหนึ่งในย่านหว่านไจ๋ (Photo : AFP)

 

เด็กหญิงชาวฮ่องกงรับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค หลังจากที่โรคนี้ระบาดครั้งใหญ่ในฮ่องกง (Photo : AFP)

 

มารี โจเซ็ตต์ ฟรานคู (Marie Josette Francou) พยาบาลกำลังฉีดวัคซีนให้กับเด็กเล็กชาวเวียดนาม เมื่อ 10 ตุลาคม ปี 1953 หลังจากที่เกิดอหิวาตกโรคระบาดใหญ่ในเมือง Mong Duc แถบคาบสมุทรอินโดจีน (Photo : INTERCONTINENTALE / AFP)

 

เด็กหญิงคนหนึ่งรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ในนิวยอร์ก ปี 1955 ขณะที่เธอกำลังดู ดร.โจนัส อี. ซอล์ค ผู้ประดิษฐ์วัคซีนในโทรทัศน์ (Photo : INTERCONTINENTALE / AFP)

 

The Windmill Girls กลุ่มนักแสดงจากโรงละคร Windmill ในกรุงลอนดอน ต่อแถวฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เมื่อ 12 กันยายน 1963 (Photo : AFP)

 

ในปี 1959 มีรายงานว่าชาวสิงคโปร์ 2-3 รายติดโรคไข้ทรพิษ ทำให้รัฐบาลประเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนถึงวันละ 20,000 ราย (Photo : AFP)

 

โดมินิก ฟาเก็ต (Dominique Faget) นักข่าวชาวฝรั่งเศสรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่สำนักงานใหญ่ของ Agence France-Presse ในกรุงปารีส เมื่อวันที่ 15 กันยายน ปี 1976 (Photo : DANIEL JANIN / AFP)

 

นางแบบชาวปารีสต่อแถวรับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ หลังจากที่มีการระบาดอย่างหนักในปี 1955 (Photo : STF / AFP)

 

ในปี 1961 พนักงานต้อนรับกำลังฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ ณ ห้องพยาบาลของสถานี Orly หลังจากที่กักตัวอยู่ในห้องรับรองผู้โดยสารชาวปากีสถานเป็นเวลานาน ในจำนวนนั้น มีคนที่กำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลในลอนดอนเพราะติดโรคนี้อีกด้วย (Photo : AFP PHOTO STF / AFP)

 

แพทย์ฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยที่โรงพยาบาลปาสเตอร์ ในกรุงปารีส หลังจากที่อหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักในกลุ่มประเทศคาบสมุทรอาหรับ (Photo : AFP)

 

ฝรั่งเศสออกกฎใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนสิงหาคม ปี 1971 ว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางไป-กลับฝรั่งเศสและสเปนต้องฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคทุกคน เนื่องจากโรคนี้กำลังระบาดในกลุ่มประเทศคาบสมุทรอินโดจีน ผู้คนจึงพากันไปเข้าแถวรับวัคซีนหน้าสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส (Photo : AFP)

 

แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับชายคนหนึ่ง ที่สถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ปี 1938 (Photo : AFP)

 

เด็กหญิงรับวัคซีนโปลิโอที่ผสมอยู่ในก้อนน้ำตาล ในปี 1964 ซึ่งมีรายงานว่ามีผู้ป่วยโปลิโออักเสบในเมือง Marmande ในฝรั่งเศส จำนวน 15 ราย ทำให้รัฐบาลตัดสินใจฉีดวัคซีนให้กับประชากรที่มีอายุ 3 เดือน – 35 ปี ทุกคน (Photo : AFP)

 

แพทย์ฉีดวัคซีนให้กับผู้ยากไร้ แถวๆ ร้านขายยา Ain Chok ในเมืองคาซาบลังคา โมร็อกโค เพื่อป้องกันโรคไข้รากสาดใหญ่และโรคบิด ในปี 1945 (Photo : AFP)

 

ปี 1945 เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นฉีดวัคซีนให้กับชาวเบอร์เบอร์ ในแถบ Haut-Ziz ในเมืองตาฟิลาเลต ตอนใต้ของโมร็อกโก เพื่อป้องกันไข้รากสาดใหญ่ (Photo : AFP)

 

ปี 1971 ประชาชนมาต่อแถวที่หน้าศูนย์การแพทย์ของกระทรวงการต่างประเทศของกรุงบรัสเซลส์เพื่อรับวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ก่อนออกประเทศไปท่องเที่ยวในวันหยุดยาว (Photo : AFP)

อ้างอิง

  • The College of Physicians of Philadelphia.The History of Vaccines. https://bit.ly/3iW0VRg