w©rld

ได้เวลาเริ่มนับถอยหลัง 500 วันสู่โอลิมปิกเกมส์ 2020!

หนึ่งในหัวใจสำคัญในงานโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปีหน้า คือ ‘พิกโตแกรม’ (pictrogram) ซึ่งเป็นภาพที่ใช้สื่อสารแทนตัวหนังสือ คล้ายรูปวาดในถ้ำสมัยในยุคโบราณ

pictogram olympic
พิกโตแกรมงานโอลิมปิก ปี 2020 เปิดตัวเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ที่ผ่านมา (photo: https://www.olympic.org)
นักกรีฑาและนักเรียนชาวญี่ปุ่น ร่วมกันเปิดตัวและโชว์พิกโตแกรมงานโอลิมปิก ปี 2020 ในงาน ‘500 Days to Go’ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อชวนทุกคนร่วมนับถอยหลังสู่กีฬาโอลิมปิก (photo: https://www.wionews.com)

แท้จริงแล้ว ‘พิกโตแกรม’ ถือกำเนิดขึ้นในโลกตั้งแต่สมัยก่อน แต่ถูกนำมาใช้ในวงการกีฬาครั้งแรกในงานโอลิมปิก ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยทีมเจ้าภาพ

นับตั้งแต่วันนั้น จนถึงปี 2020 ที่ดินแดนอาทิตย์อุทัยมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกอีกครั้ง

การออกแบบ ‘พิกโตแกรม’ สำหรับงานครั้งนี้จึงไม่ธรรมดา

เพราะถือเป็นการพัฒนาและสืบทอดมรดกทางปัญญาการออกแบบของบรรพบุรุษ ผู้บุกเบิก คิดค้นและส่งต่อกันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ

คลิป VDO บอกเล่าการเริ่มต้นและที่มาที่ไปของพิกโตแกรมในงานโอลิมปิก ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์งานดีไซน์ในวงการกีฬา

จากเส้นสายตรงไปตรงมาปี 1964 สู่ความมีชีวิตชีวาปี 2020

ย้อนกลับไปในงานโอลิมปิก ปี 1964 พิกโตแกรมของญี่ปุ่นมี 20 ภาพกีฬา และ 39 ภาพที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาสำหรับบอกข้อมูลทั่วไป ทั้งหมดมีดีไซน์ที่เน้นความหนาทึบขอ คาแรคเตอร์ เส้นสายที่แข็งและตรงไปตรงมา

pictogram olympic
พิกโตแกรมในงานโอลิมปิก ปี 1964 ที่ประเทศญี่ปุ่น มีเส้นสายกราฟิกที่หนาทึบ เน้นเส้นตรงและวงกลมที่หนักแน่น (photo: https://imgur.com/user/ouikipedia)

แต่สำหรับงานโอลิมปิกปี 2020 ดีไซน์ของพิกโตแกรมมีความโมเดิร์นเข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยเน้นความมีมิติ เติมความมีชีวิตชีวา และเพิ่มรายละเอียดการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยออกแบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด 50 ประเภทกีฬา รวมทั้งเบสบอล ซอฟต์บอล คาราเต้ สเก็ตบอร์ด กระดานโต้คลื่น และปีนเขา ซึ่งเป็นกีฬาใหม่ในปีนี้ที่ถูกบรรจุเข้ามา เพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ให้เข้าร่วมโอลิมปิก ปี 2020 กันมากขึ้น

pictogram olympic
พิกโตแกรมกีฬากระดานโต้คลื่น ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โอลิมปิกที่มีการแข่งขันประเภทนี้ (photo: https://www.theinertia.com)
pictogram olympic
พิกโตแกรมสเก็ตบอร์ด จัดแข่งขันในโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี 2020 (http://www.boardstation.de)
pictogram olympic
พิกโตแกรมกีฬาปีนเขา หนึ่งในกีฬาใหม่ที่จัดแข่งขันในโอลิมปิกเป็นครั้งแรกในปี 2020 (photo: https://www.ukclimbing.com)

‘พิกโตแกรม’ ทางออกของปัญหาภาษาที่แตกต่าง

จุดเริ่มต้นของการใช้ ‘พิกโตแกรม’ ในงานโอลิมปิก ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น ไม่ใช่เพราะความอยากเท่ เก๋ หรือความสวยงามแต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจาก ‘ปัญหา’ ทางภาษาที่แตกต่างกัน

ในยุคนั้นคนญี่ปุ่นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ในขณะเดียวกันคนต่างชาติจากทั่วโลกที่เดินทางมาแข่งขันหรือร่วมเชียร์กีฬาในงาน ก็ไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้เช่นกัน ทางทีมดีไซเนอร์ของเจ้าภาพจึงสร้างสรรค์ ‘พิกโตแกรม’ ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ‘สร้างการสื่อสารที่ผู้คนจากนานาชาติเข้าใจตรงกัน’

pictogram olympic
โอลิมปิก ปี 1964 ที่ญี่ปุ่น มีการเริ่มใช้พิคโตแกรมเป็นครั้งแรก เพื่อการสื่อสารกับผู้คนต่างชาติ ต่างภาษาที่มาจากทั่วโลก
(photo: https://theolympians.co)

งานออกแบบพิกโตแกรมในสมัยโบราณไม่สวยงามอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งทางทีมดีไซเนอร์ญี่ปุ่นในงานโอลิมปิก ปี 1964 เป็นผู้นำมาปรับให้มีดีไซน์มินิมอล ลดทอนขนาด เน้นความเรียบง่ายแต่ลงตัว และเหลือไว้เพียงเส้นสายที่จำเป็น รวมทั้งจัดระเบียบการวางองค์ประกอบต่างๆ อย่างมีระบบ เพื่อช่วยให้ผู้คนต่างชาติ ต่างภาษา เข้าใจการสื่อสารได้ตรงกันมากที่สุด

การสร้างสรรค์พิกโตแกรมในครั้งนั้น จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการออกแบบและกราฟิกของโลก

pictogram olympic
พิคโตแกรมในสื่อต่างๆ ในงานโอลิมปิก ปี 2020 (photo: https://designkultur.wordpress.com)
pictogram olympic
พิคโตแกรมถูกสอดแทรกใช้ในการสื่อสารทุกรูปแบบในงานโอลิมปิก ปี 1964 (photo: https://designkultur.wordpress.com)
pictogram olympic
โปรแกรมการแข่งขันกีฬาแต่ละประเภท ดีไซเนอร์ใช้พิคโตแกรมช่วยในการสื่อสารกับคนทุกชาติ ทุกภาษา
(photo: https://designkultur.wordpress.com)

การเดินทางของพิกโตแกรมในโลกโอลิมปิก

หลังจากการถือกำเนิด ‘พิกโตแกรม’ ในโลกโอลิมปิก ดีไซเนอร์ประจำงานเริ่มให้ความสำคัญและใส่ใจกับการออกแบบพิกโตแกรมมากเป็นพิเศษ และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามทีมออกแบบแต่ละปี

โอลิมปิก ปี 1968 ที่เม็กซิโก Lance Wyman หัวหน้าทีมกราฟิก ดีไซน์พิกโตแกรมแบบใหม่ที่โฟกัสไปที่ภาพอุปกรณ์กีฬาหรืออวัยวะบางส่วนของนักกีฬา

pictogram olympic
(photo: https://www.alphabetilately.org)
pictogram olympic
Lance Wyman กราฟิกดีไซเนอร์ ผู้ออกแบบพิคโตแกรมงานโอลิมปิก ปี 1968 ที่เม็กซิโก
(phot: https://www.nialldebuitlear.com)

ในขณะที่ Josep M. Trias ปรับเปลี่ยนรูปทรงพิกโตแกรม โดยแบ่งร่างกายออกเป็น 3 ส่วน ในโอลิมปิ ปี 1992 ที่บาร์เซโลน่า

pictogram olympic
พิคโตแกรมงานโอลิมปิก ปี 1992 (photo: https://imgur.com/user/ouikipedia)
pictogram olympic
Josep M. Trias หัวหน้าทีมดีไซเนอร์โอลิมปิก ปี 1992 กับผลงานพิคโตแกรมของเขา (photo: https://graffica.info)

ในโอลิมปิก ปี 1972 ที่มิวนิค ผู้ออกแบบพิกโตแกรมคือ  Otl Aicher กราฟิกดีไซเนอร์ชาวเยอรมัน ผู้ได้ชื่อว่าสร้างสรรค์พิกโตแกรมสำหรับกีฬาได้ละเอียดและปราณีตมากที่สุดในประวัติศาสตร์

pictogram olympic
พิคโตแกรมโอลิมปิก ปี 1972 ได้ชื่อว่ามีความละเอียดและปราณีตมากที่สุดในประวัติศาสตร์
(photo: https://imgur.com/user/ouikipedia)
pictogram olympic
Otl Aicher ดีไซเนอร์ผู้ออกแบบพิกโตแกรมในโอลิมปิก ปี 1972 (photo: http://www.design-is-fine.org)

แต่โอลิมปิกฤดูหนาวปี 1994 ที่ Lillehammer ประเทศนอร์เวย์ เป็นปีที่พิกโตแกรมมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด เพราะมีการออกแบบให้พิกโตแกรมเป็นมากกว่าไอคอนธรรมดา โดยเน้นการ ‘เล่าเรื่อง’ ลงไปเป็นครั้งแรก และได้แรงบันดาลใจการดีไซน์มาจากภาพวาดในถ้ำอันเก่าแก่สี่พันปีของนอร์เวย์

ถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำมรดกทางท้องถิ่นมาผสมผสานงานกราฟิกอย่างพิกโตแกรม.

pictogram olympic
โอลิมปิกฤดูหนาวปี 1994 ที่ Lillehammer ประเทศนอร์เวย์ มีการเล่าเรื่องผ่านพิกโตแกรมเป็นครั้งแรก (photo: http://olympic-museum.de)
pictogram olympic
โปสการ์ดที่ระลึกงานโอลิมปิกฤดูหนาว ปี 1994 โดดเด่นด้วยพิกโตแกรมสีสันสดใส (photo: http://shop.olympic.org)

อ้างอิง: