w©rld

หลังจากเทสล่าเปิดตัวรถกระบะ Tesla Cybertruck ดีไซน์ ‘เหลี่ยมๆ’ ของมัน ก็กลายเป็นประเด็นที่ผู้คนพูดถึง

บางคนชมว่าสวย บ้างก็บอกว่าขี้เหร่ (คิดออกมาได้ไง!?)

ร้อนจน อีลอน มัสก์ ต้องออกมาทวีตบอกเหตุผลว่า ที่ดีไซน์แบบนี้เพราะเครื่องจักรในปัจจุบันไม่สามารถขึ้นรูปโลหะแข็งชนิดพิเศษ (Ultra-Hard 30X Cold-Rolled Stainless Steel) ที่ใช้ในการผลิตรถรุ่นนี้ได้ หน้าตาตัวรถจึงออกมาแบบที่เห็น

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
รถกระบะ Tesla Cybertruck

แต่รู้หรือไม่ ยุคหนึ่งรถยนต์ก็เคยมีหน้าตาเหลี่ยมๆ (แม้จะไม่เหลี่ยมเท่ารถของอีลอน มัสก์) ก่อนจะเปลี่ยนเป็นดีไซน์มนๆ แบบที่เห็นในปัจจุบัน

จุดเปลี่ยนของดีไซน์อยู่ตรงไหน ทำไมจากที่เคย ‘เหลี่ยม’ ถึงได้ ‘โค้งมน’ แล้วจากที่มนก็กำลังจะกลับมาเหลี่ยมอีกครั้ง

การจะหาคำตอบนี้ เราอาจต้องย้อนกลับไปช่วงยุค 80s

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
นิวยอร์กในปี 1979 หรือหนึ่งปีก่อนเข้ายุค 80s (Photo: ephemeralnewyork.files.wordpress.com)

เงื่อนไข ยุคสมัย และดีไซน์

นอกจากยุค 80s จะเป็นจุดกำเนิดของ เอ็มทีวี (สถานีโทรทัศน์สำหรับวัยรุ่นที่เน้นเปิดมิวสิควิดีโอ) และราชาเพลงป็อปอย่างไมเคิล แจ็คสัน ว่ากันว่าจุดเปลี่ยนของดีไซน์รถยนต์ก็เกิดขึ้นในยุคนี้

จากรถที่มีดีไซน์เหลี่ยมๆ ที่ฝรั่งใช้คำว่า ‘super boxy’ สู่รถที่มีดีไซน์โค้งมน จนกลายเป็นมาตรฐานการออกแบบรถยนต์ในยุคต่อมา

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
รถยนต์ Toyota Corolla รุ่นที่ 4 ปี 1979-1983 เทียบกับรุ่นที่ 5 ปี 1995-2000 (Photo: expansion.com)

เราสามารถสังเกตจุดตัดของดีไซน์ดังกล่าวได้จากรถยนต์บางรุ่นในอเมริกา เช่น รถยี่ห้อ Buick LeSabre รุ่นปี 1991 เทียบกับปี 1992 ที่ดีไซน์เริ่มคลี่คลายจากความเหลี่ยมสู่ความโค้งมน อย่างเห็นได้ชัด

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
รถยนต์ Buick LeSabre ปี 1991 (บน) เทียบกับปี 1992 (ล่าง)

ส่วนสาเหตุที่ดีไซน์รถยนต์เปลี่ยนไป มีการวิเคราะห์ว่า เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ เทรนด์การออกแบบของรถยุโรป ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และเทคโนโลยีใหม่ในการผลิตที่เอื้อต่อดีไซน์ที่โค้งมน

 

ความโค้งมน ต้นแบบความหรูหราของรถยุโรป

หากพูดถึงดีไซน์ความโค้งมน จะพบว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ย้อนไปไกลถึงดีไซน์รถยนต์ยุคแรก ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงเสียดทานของอากาศระหว่างรถขับเคลื่อน

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
Chrysler Airflow ปี 1934 (Photo: wheelsage.org)

ถึงแม้ดีไซน์จะตอบโจทย์เรื่องฟังก์ชั่น แต่ผู้คนในอเมริกากลับชื่นชอบรถยนต์ดีไซน์เหลี่ยมมากกว่า

เมื่อรถเหลี่ยมๆ ขายดี ส่งผลให้รถที่ผลิตในอเมริกันช่วง 1970s มีรูปทรงเหลี่ยมจนดูเหมือนนำกล่องสามใบ (กระโปรงหน้า ห้องโดยสาร และกระบะท้าย) มาติดกัน

ผิดกับฝั่งยุโรป ที่รถยนต์ดีไซน์โค้งมนเป็นที่นิยม เนื่องจากราคาน้ำมันฝั่งยุโรปค่อนข้างสูง บวกกับนักออกแบบรถยนต์ โดยเฉพาะในเยอรมนี พยายามคิดค้นการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิง

รถหรูฝั่งยุโรปยุค 60s และ 70s เช่น พอร์เชอ เมอร์เซเดส-เบนซ์ บีเอ็มดับเบิลยู จึงมีดีไซน์ที่โค้งมนต่างจากรถฝั่งอเมริกัน

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
รถยนต์ Porsche 911 ปี 1969 รุ่นรถที่โด่งดังและขึ้นทำเนียบรถสวยคลาสสิก (Photo: Wikipedia)

ต่อมาดีไซน์ที่แตกต่างได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ “ผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันช่วงกลางยุค 80s เลียนแบบความสุนทรีย์แบบยุโรป เพื่อจับกลุ่มลูกค้าระดับสูง” เดวิด การ์ตแมน นักเขียนชาวอเมริกัน ตั้งข้อสังเกตไว้ในหนังสือ Auto Opium: A Social History of American Automobile Design

ฟอร์ด (Ford) คือบริษัทผลิตรถสัญชาติอเมริกัน บริษัทแรกที่ปรับดีไซน์เหลี่ยมๆ ของรถลุงแซมสู่ความโค้งมน โดยมี Ford Sierra ปี 1982 เป็นรุ่นแรก แม้จะทำยอดขายไม่ดีนัก แต่รถรุ่นนี้ก็ได้จุดประกายให้ผู้ผลิตรถยนต์อเมริกันรายอื่นเริ่มทำตาม

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
Ford Sierra ปี 1982 (Photo: cars-data.com)

จากนั้นสี่ปีต่อมา ผู้ใช้รถชาวอเมริกันก็เริ่มเปิดใจ เมื่อยอดขายรถ Ford รุ่น Taurus ปี 1986 ที่ใช้ประกอบหนังเรื่อง RoboCop ไปได้สวยจนช่วยกู้วิกฤตบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดกระแสผลิตรถยนต์ดีไซน์โค้งมนแบบอเมริกันในเวลาต่อมา

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
Ford Taurus ปี 1986 และภาพยนตร์เรื่อง RoboCop (Photo: cars-data.com)

ราคาน้ำมัน เงื่อนไขสำคัญสู่ดีไซน์เพื่อความประหยัด

ถ้าน้ำมันราคาถูก ดีไซน์โค้งมนคงไม่เกิดขึ้น เพราะผู้ใช้รถยนต์คงจะไม่เดือดร้อนกับค่าน้ำมัน จนนักออกแบบรถต้องมาขบคิดว่า จะสร้างรถยนต์แบบใด ที่จะช่วยประหยัดน้ำมันได้มากกว่าที่เคยเป็น

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
ราคาน้ำมันในอเมริกา ปี 1972-2016 (Photo: zfacts.com)

ความสำเร็จของรถ Ford รุ่น Taurus ปี 1986 ที่ออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ โดยทดสอบในอุโมงค์ลม ได้กลายเป็นต้นแบบของรถยนต์หลายรุ่นหลังจากนั้น

“รถยนต์ (ยุคต่อมา) ดูจะมีหน้าตาเหมือนๆ กัน เพราะรูปร่างของพวกมันมาจากการทดสอบในอุโมงค์ลม และการออกแบบเพื่อประหยัดน้ำมัน” ลาร์รี่ เอ็ดเซล นักเขียนหนังสือประวัติศาสตร์การออกแบบรถยนต์หลายต่อหลายเล่ม ให้ความเห็น

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
(Photo: link.springer.com)

เทคโนโลยีการผลิต บรรทัดสุดท้ายดีไซน์โค้งมน

รถยนต์ดีไซน์มนๆ คงจะอยู่แค่บนกระดาษ ถ้าเทคโนโลยีไม่เอื้อต่อการผลิต

เทคโนโลยีที่ว่านี้ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

1. การขึ้นโมเดลรถด้วยคอมพิวเตอร์ จากเดิมนักออกแบบจะใช้วัสดุอย่างไม้หรือดินเหนียว ซึ่งจะมีข้อจำกัดการออกแบบรูปทรงมากกว่าการวาดในคอมพิวเตอร์

2. เทคโนโลยีการผลิตที่ช่วยให้การทำอลูมิเนียมเป็นรูปโค้งงอง่ายและถูกกว่าสมัยก่อน

เมื่อเทคโนโลยีเอื้อ ราคาน้ำมันแพง และตลาดต้องการ รถยนต์หน้าตาเหลี่ยมๆ จึงค่อยๆ อันตรธานหายไปจากตลาด แล้วแทนที่ด้วยรถยนต์โค้งๆ มนๆ ถึงแม้จะเป็นรถที่พยายามดีไซน์ให้เหลี่ยมอย่างรถ Nissan Cube ก็ยังให้ความรู้สึกโค้งและมนมากกว่ารถดีไซน์ธรรมดาในยุค 70s

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
Nissan Cube Z12 ปี 2013 (Photo: Wikipedia)

ผ่านไปอีกหลายทศวรรษ ในขณะที่หลายคนคิดว่ารถดีไซน์เหลี่ยมๆ คงจะถึงจุดจบ จู่ๆ รถดีไซน์เหลี่ยมๆ กลับมาอีกครั้ง และเป็นการกลับมาที่ ‘เหลี่ยม’ กว่ารถทุกรุ่นในอดีต ที่น่าตกใจคือมียอดสั่งจองก่อนผลิตจริงทะลุ 250,000 คัน!

จนอดสงสัยไม่ได้ว่า Tesla Cybertruck จะเป็นแค่กระแสวูบวาบ หรือจะเป็นจุดเปลี่ยนของดีไซน์รถยนต์ในอนาคต เหมือนกับที่รถ Ford รุ่น Taurus เคยทำไว้เมื่อปี 1986.

รถยนต์ ดีไซน์ ออกแบบ รถ เหลี่ยม โค้ง มน เปลี่ยน ทำไม boxy tesla cybertruck
Ford Taurus (บน) Tesla CyberTruck (ล่าง)

อ้างอิง: