w©rld

เชื่อว่าหนึ่งในค่าใช้จ่ายที่พ่อแม่มือใหม่ต้องหมดเปลืองจนปวดหัวก็คือ ค่าเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ของลูกน้อย ที่หากนับเฉพาะชุดเด็กในช่วง 4 ขวบปีแรก ลองคำนวณดีๆ มีสิทธิ์เสียทรัพย์ไปนับแสน

เพราะร่างกายของเด็กวัยนี้เติบโตขยายขนาดอย่างรวดเร็ว โดยถ้าจะนับเป็นไซส์เสื้อผ้าก็ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงถึง ไซส์ด้วยกัน

PetitPli
Photo: https://shop.petitpli.com/products/early-access-clothes-that-grow-bottoms-mini

นอกจากการสิ้นเปลืองเงินทองโดยใช่เหตุแล้ว เสื้อผ้าทีเด็กๆ ใส่ไม่ได้แล้วก็กลายเป็นของเหลือทิ้งโดยไม่จำเป็น ทางแก้ก็หนีไม่พ้นการนำไปบริจาคหรือขายต่อในรูปแบบของเสื้อผ้ามือสอง ซึ่งรับความนิยมทางซีกโลกตะวันตก แต่ไม่ใช่ที่นี่ ประเทศไทย 

ถึงอย่างนั้นก็ตาม เสื้อผ้าเด็กมือสองก็ยังถือเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะสุดท้ายแล้วเด็กๆ ก็จะเติบโตไปพร้อมๆ กับความคุ้นเคยในการบริโภค fast fashion ไม่ต่างจากคนรุ่นก่อน ที่ใส่เสื้อผ้าแค่แป๊บๆ ใส่ไม่ได้ก็ทิ้ง เบื่อก็โกยออกจากตู้เสื้อผ้า แล้วหาซื้อชุดใหม่ไปเรื่อยๆ

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/B3sPDSIHTZ_/

คงจะดีกว่านี้ถ้าเสื้อผ้าแต่ละตัวที่เด็กๆ หยิบมาสวมใส่สามารถปลูกฝังจิตสำนึกด้านการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้กับพวกเขาไปในตัว 

นี่จึงเป็นคอนเสปท์ยิ่งใหญ่ที่แฝงไว้ในเสื้อผ้าของมนุษย์ตัวน้อยแบรนด์ Petit Pli (เปอตี พลี) เสื้อผ้าเด็กที่ผ่านการคิดค้นให้เด็กๆ สามารถสวมใส่ได้สบาย กันลม กันน้ำ กันซน ที่สำคัญคือ ชุดเดียวใส่ได้ตั้งแต่ยังแบเบาะไปจนถึง 4 ขวบ

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/CCeArT5gxEl/

หน้าตาของเสื้อผ้าเด็กแบรนด์ เปอตี พลี ดูไปก็คล้ายเอาผ้าพลีท (Pleat) มาตัดเย็บง่ายๆ แต่ในทุกรอยพับของเปอตี พลี แตกต่างกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นชนิดผ้า จำนวนจีบ ไปจนถึงการคิดค้นเนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติกันลม กันน้ำ และกันบาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งหมดนี้มีจุดเริ่มต้นจากมันสมองของอดีตวิศวกรการบินที่ผันตัวมาเป็นดีไซเนอร์ชุดเด็กแห่งอนาคตได้ โดยมีหลานแท้ๆ เป็นผู้จุดประกาย

PetitPli
ไรอัน มาริโอ ยาซิน (Ryan Mario Yasin)
ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Petit Pli
Photo: https://www.instagram.com/p/Bl6CAXRlY0A/

ไรอัน มาริโอ ยาซิน (Ryan Mario Yasin) คือชื่อของบัณฑิตหนุ่มไฟแรง เจ้าของดีกรีปริญญาตรีด้านวิศวกรรมการบินจาก Imperial College of London และปริญญาโทด้านการออกแบบนวัตกรรมระดับโลกจาก Royal College of Arts ประเทศอังกฤษ ที่ถึงกับอึ้งไปพักใหญ่เมื่อเขาพบว่าเสื้อผ้าที่ซื้อเป็นของรับขวัญหลานวัยแรกเกิดกลับคับไวเกินคาด 

ยาซินจึงตระหนักได้ว่า ทุกวันนี้เสื้อผ้าเด็กไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวและการเจริญเติบโตของเด็กวัยแรกเกิดไปจนถึงวัยที่เริ่มวิ่งได้ ทั้งๆ ที่ร่างกายของพวกเขาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วถึง ไซส์ภายใน ปี 

มากไปกว่านั้นคือ การตื่นรู้ทันทีว่านี่ไม่ใช่แค่ปัญหาภายในครัวเรือนแล้ว แต่ถือเป็นปัญหาระดับมนุษยชาติก็ว่าได้

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/B1ENPcnA-vu/

คิดได้ดังนั้น เขาจึงนำความรู้ทางวิศวกรรมที่ไดร่ำเรียนมาบวกกับหัวคิดด้านการออกแบบมาใช้ในการคิดค้นเสื้อผ้าเด็กที่ใส่ใจในทุกกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ โดยมีเป้าหมายหลักคือ เพื่อลดปริมาณขยะและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/B2oDw1RHf-b/

เนื้อผ้าที่แบรนด์ เปอตี พลี ใช้ จึงทำมาจากผ้ารีไซเคิลที่ได้จากการนำวดน้ำพลาสติกแบบ PET ไปผ่านกระบวนการผลิตเส้นใยเชิงเดี่ยว จึงทำให้ง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลต่อเมื่อเสื้อผ้าหมดอายุการใช้งานแล้ว อีกทั้งโรงงานผลิตซึ่งตั้งอยูในประเทศโปรตุเกสยังใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก จึงช่วยประหยัดพลังงานได้อีก 30%

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/Bqw6UrlgSPV/

หน้าตาของชุดเด็ก เปอตี พลี ดูคล้ายชุดวอร์มที่ทำจากผ้าพลีท ซึ่งความพิเศษของเนื้อผ้าที่มีรอยพับยับๆ ย่นๆ นั้น นอกจากจะขยายได้ทุกทิศทางแบบยืดหยุ่นตามขนาดของร่างกายที่เติบโตขึ้นแล้ว ยังระบายอากศได้ดี กันลม กันน้ำ และ กันซน’ ได้อย่างดีเยี่ยม

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/BVpjVI6BnOF/

ระบบกันซนในชุดเปอตี พลี หมายถึง คุณสมบัติของเนื้อผ้าที่ช่วยลดการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวร่างกาย เพราะทีมผู้ผลิต – ที่ไม่ได้มีแค่ดีไซเนอร์ แต่ยังมีทั้งนักประสาทวิทยา นักสังคมวิทยา และนักอื่นๆ อีกหลายแขนง – ลงความเห็นตรงกันว่า เด็กทุกคนบนโลกล้วนซุกซนและพกพาจิตวิญญาณนักกีฬาเอาไว้ในตัวเอง ดังนั้น ไม่ว่าเขาจะวิ่ง เล่น กระแทก ตีลังกา หรือหกล้มแค่ไหน ถ้าใส่ชุดเปอตี พลี ก็เบาใจได้อีกระดับ

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/CJJRbnbA0R7/

เปอตี พลี จึงเป็นนิยามของความยั่งยนที่แฝงอยู่ในเสื้อผ้าที่เด็กๆ สวมใส่ นี่จึงเป็นการปลูกฝังให้พวกเขารู้จักข้อดีของ slow fashion กับตัวโดยไม่ต้องพร่ำสอนอีกต่อไป ในเมื่อเสื้อผ้าที่ติดอยู่กับตัวเขาในทุกอิริยาบถของขวบปีแรกๆ ของชีวิต ใส่ได้นาน คุ้มค่า และสร้างมลภาวะน้อยที่สุด

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/CGx11vUAlmf/

เสื้อผ้าเด็กที่ถือกำเนิดในกรุงลอนดอนกำลังบอกชาวโลกว่า ถ้าจะมีอะไรที่ #ให้มันจบที่รุ่นเรา อย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ขอให้เป็นอวสานชุดเจ้าหญิงที่ใส่เอาสนุกได้ไม่กี่ครั้งก็เบื่อ แล้วสนัสนุนให้เด็กๆ แห่งโลกอนาคตหันมาสวมใส่เสื้อผ้าดีไซน์เรียบ คุณภาพดี สวมได้ยาวนานหลายปี ที่มีส่วนกำหนดชะตาของพวกเขาด้วยตัวเอง 

แม้จุดเริ่มต้นของ เปอตี พลี จะเริ่มที่เสื้อผ้าเด็ก แต่แน่นอนว่ายาซินและทีมไม่หยุดคิดค้นและพัฒนาไปสู่การออกแบบเสื้อผ้าสำหรับผู้ใหญ่ โดยแผนเดิมวางไว้ที่ชุดคลุมท้อง แต่จู่ๆ โควิด-19 ก็มาช่วยเข็นให้ผลิตภัณฑ์ใหม่จาก เปอตี พลี ออกสู่ท้องตลาดไวกว่าที่คาดการณ์ ซึ่งก็ได้แก่ หน้ากากผ้า Beta (MSK) ที่มีคุณสมบัติเดียวกับเสื้อผ้าเด็ก คือ ระบายอากาศได้ดี เนื้อผ้ายืดหยุ่น สวมใส่สบาย มีช่องสำหรับใส่ฟิลเตอร์กันฝุ่น PM 2.5 และดัดแปลงใช้แทนผ้าพันคอได้อีกด้วย

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/CEHxzL_g7ot/

ไม่แปลกที่แบรนด์เครื่องแต่งกายซึ่งเพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2017 จะสามารถคว้ารางวัลหลายแขนงจากหลาเวทีมาครอง ไม่ว่าจะเป็นในสาขาด้านการออกแบบ วิศวกรรม แฟชั่น ไปจนถึงรางวัลด้านความยั่งยืน อาทิ รางวัลชนะเลิศ Dezeen Award สาขา Wearable Design of the Year 2018, UK James Dyson Award, Red Dot Award 2019, H&M Global Change Award และล่าสุดกับการเข้ารอบสุดท้าย Vogue Italia x YOOX: The Future of Responsible Fashion Challenge ที่คัดเลือกจากความคิดสร้างสรรค์ในการนำเทคโนโลยีมาปฏิวัติวงการแฟชั่นอย่างยั่งยืน 

ล่าสุด หน้ากากผ้าของ Petit Pli ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสาร Time ให้เป็น ใน 100 นวัตกรรมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ประจำปี 2020 ดีขึ้นอีกด้วย

PetitPli
Photo: https://www.instagram.com/p/CHqqzjygYDk/

รางวัลที่ได้รับคือกำลังใจชั้นดีสำหรับคนทำงาน โดยเฉพาะสำหรับทีม เปอตี พลี ผู้ออกแบบเสื้อผ้าที่เติบโตไปพร้อมเด็กๆ ที่สวมใส่ ที่น่าจะเป็นหนึ่งในแบรนด์แห่งความยั่งยืนที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ พร้อมส่งต่อนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนให้ทั้งคนรุ่นนี้ และคนรุ่นต่อไปเรียนรู้ที่จะรักษ์โลกของเรา 

รู้จัก Petit Pli เพิ่มเติมได้ที่ https://shop.petitpli.com/