©ulture

“ตั้งใจและอุตสาหะอย่างมาก เพื่อให้คนไทยและโลกรู้ว่าเมืองไทยมีดี”

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน หรือ ‘คุณใหม่’ กล่าวในวันเปิดตัวนิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ซึ่งแต่เดิมคือ ‘วังหน้า’ หรือพระราชวังบวรสถานมงคลในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

วังหน้าคืออะไร สำหรับคนที่สงสัย อธิบายให้ง่ายและสั้นคือ เป็นพระราชวังที่ประทับของบุคคลที่มีฐานะเป็นองค์รัชทายาท ผู้มีสิทธิ์จะขึ้นครองราชสมบัติต่อไป ก่อนจะสิ้นสถานะลงในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสยามเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองให้ทันสมัย

เมื่อสถานะสิ้นสุด บทบาทของวังหน้าก็จบสิ้นไปด้วย จากพระราชวังใหญ่ มีป้อมปราการและกำแพงล้อมรอบ บางส่วนถูกรื้อ บางส่วนถูกดัดแปลงเป็นส่วนหนึ่งของสนามหลวง พิพิธภัณฑ์ โรงละคร และบางพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เดิมเป็นพระที่นั่งท้องพระโรงของวังหน้า สำหรับพระมหาอุปราช เสด็จออกฝ่ายหน้าคือเสด็จออกว่าราชการ หรือเสด็จออกรับแขกเมือง
ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
พระราชวังบวรสถานมงคล ถ่ายโดย ปีเตอร์ วิลเลียม ฮันท์ ค.ศ.1946

แม้จะถูกรื้อและดัดแปลงไปมาก แต่ปัจจุบันก็ยังหลงเหลือร่องรอย หลักฐาน รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง ศิลปะ จิตรกรรม ซึ่งเป็นมรดกอันงดงามและมีค่าอยู่ไม่น้อย

ในฐานะคนที่ไม่ได้เติบโตในเมืองไทย แต่มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง คุณใหม่เล็งเห็นคุณค่าของวังหน้าที่ตั้งอยู่ใจกลางพระนคร จึงตั้งใจศึกษาโดยใช้เวลาราวหกถึงเจ็ดเดือนไปกับการอ่านตำราไทยและเทศ พูดคุยกับผู้คน นักวิชาการ ศิลปิน สถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เพื่อเชื่อมข้อมูลอันกระจัดกระจายให้เป็นภาพอันเรียบง่าย แล้วสื่อสารออกไปถึงผู้คนร่วมสมัย

“เรื่องนี้เป็นเรื่องยาก ต้องเข้าใจคนทั่วไป แล้วคนจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับเรื่องนี้”

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

คุณใหม่ในฐานะผู้อำนวยการโครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และสื่อความหมายด้วยเทคโนโลยี กรมศิลปากร จึงร่วมมือกับ Google Arts & Culture นำเสนอเรื่องราวของวังหน้าผ่านนิทรรศการดิจิทัล ที่ออกแบบมาให้คนทั่วไป ‘เข้าถึง’ และสัมผัสวังหน้าได้อย่างลึกซึ้ง

“เวลาทำจะนึกอยู่เสมอ ถ้าเราไม่มีความรู้เลย จะเริ่มต้นอย่างไร และควรสื่อสารอย่างไร เพื่อให้คนเข้าถึงและรู้สึกได้เหมือนที่เรารู้สึก”

วังหน้าคืออะไร มีดีอย่างไร ทำไมคุณใหม่ถึงอยากให้คนไทยและทั่วโลกได้รู้จักและรู้สึก

แวะสำรวจไฮไลท์บางส่วนในนิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ที่จัดแสดงใน Google Art & Culture ในรูปแบบมัลติมีเดีย ที่ common อยากให้คุณได้สัมผัส

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
หน้าหลักของ ‘วังหน้า’ หรือพระราชวังบวรสถานมงคลใน Google Art & Culture

ชม 4 นิทรรศการออนไลน์จากจุดเริ่มต้นสู่การชุบชีวิต ‘วังหน้า’ สู่ความร่วมสมัย

นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา แบ่งออกเป็น 4 นิทรรศการย่อย ได้แก่

1. รู้จักวังหน้า

ที่พาไปรู้จักวิวัฒนาการของวังหน้า และพัฒนาการแนวคิดของตำแหน่ง “อุปราช” หรือพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สอง ผ่านการศึกษาร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่วังหน้าเดิมในกรุงเทพมหานคร และถอดรื้อประวัติศาสตร์เบื้องหลังของวังหน้า

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
คำว่า “หน้า” ระบุตำแหน่งของวัง ที่จะต้องอยู่รอบนอก (ส่วนหน้า) ของวังหลวง และมีนัยหมายความถึงหน้าที่ที่จะต้องพิทักษ์วังหลวง ดังนั้นผู้ดำรงตำแหน่งอุปราช หรือวังหน้า คือผู้บัญชาการทัพหน้า และเป็นผู้นำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิ – การจัดกระบวนทัพแบบกระทิงตามตำราพิชัยสงคราม

2. กว่าจะเป็น “นัยระนาบนอก: อินซิทู” ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย

จากข้อมูลในอดีตสู่การแตกหน่อต่อยอดของความคิดใหม่ โดยให้ศิลปินร่วมสมัยและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ มาร่วมตั้งคำถามและสร้างผลงานโต้ตอบกับลำดับชั้นของเวลาและเรื่องราวประวัติศาสตร์ในพื้นที่วังหน้า เพื่อเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน และเชื่อมผู้คนให้เข้าถึงประวัติศาสตร์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
การแสดงขับร้องประสานเสียง โดยคณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู (Photo: ศรีสุภัจจ์ เสถียรศรี)

3. ชุบชีวิตมรดกทางประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้ “อินซิทู”

ศึกษาพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของวังหน้า ผ่านการถอดรหัสสิ่งทอร่วมสมัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น เพื่อรู้จักวังหน้าให้ลึกขึ้นจากหลักฐานต่างๆ ที่จับต้องได้และหลงเหลืออยู่

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
แผนผังของวังหน้าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระอนุชาธิราช ในรัชกาลที่ 4)

4. ผัสสะแห่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้ของ “อินซิทู”

ดนตรี ภาษา และรสชาติ แม้จะดูนามธรรม แต่ก็เป็นมรดกที่เชื่อมผู้คนสู่ประวัติศาสตร์ได้อย่างทรงพลัง เช่น ผลงานเพลง The Ghost of Wang Na ที่ ตุล ไวฑูรเกียรติ นักร้องนำวงร็อก อพาร์ตเมนต์คุณป้า และ Marmosets นักแต่งเพลงอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกันดัดแปลงเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้เครื่องดนตรีไทยผสานสำเนียงเพลงอิเล็กทรอนิกส์ร่วมสมัย จนได้ผลงานเพลงที่เชื่อมอดีตเข้ากับปัจจุบัน (ฟังเพลง The Ghost of Wang Na)

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
พื้นที่จัดแสดง The Ghost of Wang Na : การอ่านบทเพลงยาว พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบเพลงอิเล็กทรอนิก (Photo: ภากร มุสิกบุญเลิศ)

ดูจิตรกรรมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ผ่านความทรงจำที่ยังคงอยู่

“สำหรับเรา ที่นี่เป็นผลงานระดับมาสเตอร์พีซของต้นยุครัตนโกสินทร์เลยนะ”

คุณใหม่พูดถึงพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ด้วยดวงตาที่เปล่งประกาย

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

พระที่นั่งองค์นี้เป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างแรกๆ ของวังหน้าในรัชสมัยรัชกาลที่ 1 จิตรกรรมฝาผนังจึงมีอายุย้อนไปถึงช่วงนั้น โดยศิลปินบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ พร้อมรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นความทรงจำส่วนตัวของศิลปินที่ฝากไว้ในชิ้นงาน

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
ภาพจิตรกรรมฝาผนังพิธีอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

แต่การจะมองภาพจิตรกรรมในพระที่นั่งฯ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะระยะที่ห่าง ผนังที่สูง ทำให้ยากจะมองเห็นรายละเอียด ทว่าใน Google Arts & Culture ได้เก็บภาพจิตรกรรมเหล่านั้น ด้วยวิธีการถ่ายภาพความละเอียดสูง ทำให้ผู้ชมสามารถดูภาพจิตรกรรมทั้งมุมกว้างและมุมขยายถึงระดับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ได้

กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ วังหน้า นิทรรศการ
กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ

บวกกับข้อมูลและความทรงจำที่ กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ นักพฤกษศาสตร์และอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เติบโตในย่านบางกอกน้อยที่อยู่รอบอาณาเขตที่เคยเป็นวังหน้าบรรยายไว้ในนิทรรศการ ก็ทำให้การชมภาพจิตรกรรมได้ทั้งสาระและความรื่นรมย์

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

ดอกบ๊วยและดอกโบตั๋น

ดอกบ๊วยมีกลีบดอกมนเป็นเอกลักษณ์ ต้นบ๊วยจะเติบโตเฉพาะในพื้นที่สูงที่มีอากาศเย็นสบาย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าไม่น่าจะมีต้นบ๊วยปรากฏอยู่จริงในพื้นที่วังหน้าเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่เขตร้อน แต่กลับมีปรากฏในภาพจิตรกรรมฝาผนัง

การที่มีภาพต้นบ๊วยปรากฏเฉพาะบางภาพ เป็นเพราะต้นไม้ชนิดนี้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับโชคลาภและฐานันดรศักดิ์ เชื่อว่าศิลปินที่วาดภาพอาจเคยเห็นต้นบ๊วยในภาพวาดแบบจีนและญี่ปุ่น หรือในเอกสารทางศาสนาในสมัยนั้น

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

ทุเรียน ยางนา และมะพร้าว

พรรณไม้สามชนิดที่เห็นในภาพจิตรกรรม ได้แก่ มะพร้าว (Cocos nucifera L.) ทุเรียน (Durio zibethinus L.) ที่กำลังติดผล และต้นยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. ex G. Don). ที่มีลำต้นสีขาว และมีโพรงดำๆ เพราะคนเอาไฟไปลนลำต้นเพื่อให้ได้ชันมาใช้ เพราะในสมัยนั้นคนที่อยู่ริมน้ำจะต้องปรับปรุงเรือนทุกปีด้วยการยาชัน ซึ่งได้มาจากยาง

มะพร้าวและทุเรียนเป็นพรรณไม้ยอดนิยมที่ปลูกกันทั่วไปในย่านบางกอกน้อย

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture
ชมพระที่นั่งพุทไธสวรรย์อย่างใกล้ชิดในมุมมอง Google Street View

รู้จัก ‘วังหน้า’ ให้มากขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส

“เล่าแบบนี้ไม่ได้” อาจารย์ท่านหนึ่งแนะนำคุณใหม่ ขณะที่เธอกำลังบรรยายเด็กกลุ่มหนึ่งที่มาเที่ยวชมวังหน้า

อาจารย์ท่านนั้นบอกว่าเพราะเด็กบางคนมาจากต่างจังหวัด เพิ่งเข้ากรุงเทพฯ ครั้งแรก และไม่เคยเห็นวังหน้ามาก่อน

ดังนั้น ต้องหาวิธีถ่ายทอดด้วยการเชื่อมโยงกับปัจจุบัน จากสิ่งที่เด็กๆ รู้จัก แล้วค่อยดึงเข้าสู่ประวัติศาสตร์ เด็กๆ ก็จะหันมาสนใจอดีต

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

คุณใหม่ถามว่า แล้วเด็กๆ ควรจะได้สิ่งที่เธอถ่ายทอดมากน้อยเท่าไหร่ถึงจะดี

“แค่ 10% ก็พอแล้ว” อาจารย์ตอบ แล้วเด็กๆ ที่อยากรู้ก็จะไปตามต่อกันเอง

คุณใหม่เล่าว่าเธอได้ไอเดียการถ่ายทอดประวัติศาสตร์วังหน้าส่วนหนึ่งจากตรงนี้ และพยายามอย่างยิ่งที่จะทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นกับผู้คนที่มาเข้าชมนิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ในโลกออนไลน์

“เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเข้าถึงคน แต่ต้องทิ้งเรื่องราวบางอย่างไว้ให้คนอยากมาหาคำตอบด้วยตัวเอง”

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน นิทรรศการ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระราชวังบวรสถานมงคล ดิจิทัล Google Art & Culture

Fact Box:

ผู้ที่สนใจสามารถชมนิทรรศ วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา ในรูปแบบดิจิทัลได้บนเว็บไซต์ Google Art & Culture หรือแอพพลิเคชั่น Google Art & Culture ทั้งระบบ iOS และ Android