©ulture

ขวดยาสมุนไพรนับร้อยเรียงอยู่ในตู้ไม้ที่ตั้งอยู่มุมหนึ่งในบ้านของ มาโคซี มาลัตจิ (Makhosi Malatji) หมอแผนโบราณชาวแอฟริกาใต้วัย 37 ปี ผู้อาศัยอยู่ในเมืองโจฮันเนสเบิร์ก 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

วิถีชีวิตของเธอเปลี่ยนไปหลังเกิดโรคระบาด มาลัตจิเป็นอีกหนึ่งคนที่รักษาคนไข้ของเธอผ่านทางออนไลน์ ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้หมอแผนโบราณจากหมู่บ้านในชนบทยังคงรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีแบบดั้งเดิมได้ในวันที่เชื้อไวรัสไม่อนุญาตให้พวกเขามาพบกัน 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)
(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

มาลัตจิศึกษาศาสตร์การรักษาแบบดั้งเดิมของชาวซูลูที่เรียกว่า ‘ซังโกมา (Sangoma)’ มานานกว่า 10 ปี และปีนี้เป็นปีแรกที่เธอต้องเริ่มรักษาผ่านทางออนไลน์ด้วยสมาร์ตโฟนหนึ่งเครื่อง เธอสวมเสื้อสีแดงชาดตามความเชื่อของซังโกมา อุปกรณ์การรักษาตั้งเป็นสัดส่วน มีพรมลายสวยแขวนเป็นฉากหลัง บ้านของเธอดูคล้ายกับสตูดิโอมากกว่าคลินิกหมอแผนโบราณอย่างที่เคยเป็นมา

เดิมทีแต่ละหมู่บ้านในชนบทของแอฟริกาใต้จะมีซังโกมาประจำถิ่นอยู่เสมอ เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย พวกเขา็จะไปรักษาที่คลินิกของซังโกมาคนนั้น โดยซังโกมามีฐานะเป็นหมอแผนโบราณผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรพื้นบ้านและใช้วิธีการรักษาแบบดั้งเดิม แต่ที่ต่างแผนปัจจุบันคือ นอกจากจะรักษาอาการทางกายแล้ว ซังโกมายังรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณ ช่วยปัดเป่าภัยอันตรายให้คนไข้หายป่วยจากเคราะห์ร้ายอีกด้วย 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

เมื่อเป็นวิธีการรักษาแบบเก่าแก่ที่ไม่ได้รับรองด้วยวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังปะปนกับความเชื่อเรื่องภูติ ผี วิญญาณ ทำให้ในปี 1957 ซังโกมากลายเป็นอาชีพผิดกฎหมายปราบปรามอาคม (Witchcraft Suppression Act) ก่อนที่อีกสิบปีให้หลัง วิธีรักษาของซังโกมาจะกลับมาเป็นที่ยอมรับอีกครั้งในฐานะ หมอแผนโบราณ (Traditional health practitioners)

หลายปีที่ซังโกมาถูกทำให้หายไปจากสังคมแอฟริกาใต้ ทำให้การสืบทอดภูมิปัญญาขาดช่วง หมอแผนโบราณยุคใหม่จึงเป็นลูกหลานที่ได้เรียนรู้จากคนรุ่นปู่ย่า วิธีคิดเกี่ยวกับการรักษาจึงพร้อมปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยที่เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกให้แก่พวกเขา 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

ซานติ มาโดโล (Xhanti Madoloวัย 39 ปี เป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นในวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม ในปี 2002 เขาจากบ้านเกิดที่อีสเทิร์นเคปไปยังโจฮันเนสเบิร์ก นั่นทำให้เขามองเห็นว่ามีคนชนบทอีกมากมายที่อพยพเข้าเมือง แต่ยังอยากรักษากับหมอแผนโบราณอย่างที่พวกเขาคุ้นเคย มาโดโลจึงชวน ซิฟิโว ลินดี (Siphiwo Lindi) เพื่อนของเขามาช่วยกันพัฒนาเว็บไซต์ Gogo Online ซึ่งรวบรวมข้อมูลการติดต่อของซังโกมาทั่วแอฟริกาใต้เอาไว้ในที่เดียว สำหรับใครที่อยากรักษาทางไกลกับหมอแผนโบราณ

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)
(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

พวกเขาชวนกันเดินทางไปยังถิ่นทุรกันดารที่เทคโนโลยีแทบจะเข้าไม่ถึง เพื่อขอข้อมูลการติดต่อซังโกมา ในตอนแรกพวกเขาต่างก็คิดว่าหมอแผนโบราณจากหมู่บ้านในชนบทอาจไม่ชอบใจวิธีใหม่นี้สักเท่าไหร่ แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม เพราะในเดือนพฤศจิกายนที่เปิดตัวเว็บไซต์ก็มีซังโกมาจากทั่วแอฟริกาใต้มาลงทะเบียนกับพวกเขามากกว่า 200 คน และ ยิ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามในช่วงล็อกดาวน์ ที่หมอกับผู้ป่วยไม่ได้รับอนุญาตให้เจอกันได้ การรักษาออนไลน์กลายจึงเป็นทางออก 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)
(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

กลิ่นธูปคละคลุ้งไปทั่วห้องของมาลัตจิ เธอกำลังเริ่มพิธีทำนายดวงชะตาด้วยกระดูกหยั่งรู้ให้กับหญิงสาวจากอีกฝั่งจอสมาร์ตโฟน แม้ว่านี่จะเคยเป็นพิธีที่ทั้งหมอและคนไข้จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันตอนรักษา แต่มาลัตจิก็พยายามทำให้สิ่งนี้ยังคงเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์แม้ช่องทางสื่อสารจะเปลี่ยนไป   

เธอมักง่วนอยู่กับการจัดแจงมุมกล้องในช่วงแรกๆ แต่เมื่อเริ่มชำนาญ ผลพลอยได้ของการรักษาออนไลน์สำหรับเธอนั้นดีเกินคาด เพราะนอกจากจะประหยัดเวลาไปได้มากแล้ว ยังทำให้เธอได้รักษาคนไข้จากหลายประเทศทั่วโลกไม่ว่าจะเป็น ดูไบ อิตาลี และศรีลังกา 

(Photo : Guillem Sartorio / AFP)

นี่ไม่ใช่วิถีใหม่ของมาลัตจิเพียงคนเดียว แต่ยังเป็นเทรนด์การรักษาแบบใหม่ของซังโกมายุคมิลเลนเนียนที่ยินดีจะให้เทคโนโลยีช่วยให้การรักษาแบบดั้งเดิมยังดำเนินต่อไปได้ในศตวรรษหน้า 

อ้างอิง