life

น้ำทะเลสีครามเข้มกลับกลายเป็นสีดำและมีผิวสัมผัสเหนียวข้นหนืด

สาเหตุเป็นเพราะว่าน้ำทะเลผสมปนเปกับปริมาณน้ำมันดิบราว 50,000 ลิตร ที่รั่วไหลออกมาจากจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเลของบริษัท สตาร์ ปีโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 20 กิโลเมตร

Photo: Jack Taylor / AFP

นับจากวันแรกที่น้ำมันดิบรั่วไหล คือ วันที่ 25 มกราคม หลังจากนั้นเพียง 3 วัน น้ำมันดิบที่ลอยขึ้นสู่ผิวทะเลก็ถูกกระแสน้ำพัดคราบน้ำมันมาเกยชายฝั่งของหาดแม่รำพึงเป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร สีน้ำตาลของทรายจึงเปลี่ยนเป็นสีดำไม่ต่างจากสีของน้ำมันดิบ

Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP

ผู้ว่าราชการจังหวัดระยองต้องประกาศให้หาดแม่รำพึงเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าออกบริเวณหาด และห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นน้ำเด็ดขาดเพื่อป้องกันอันตราย จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ

สำหรับการขจัดคราบน้ำมันดิบจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คราบน้ำมันที่ยังลอยตัวอยู่ในน้ำกับคราบน้ำมันที่เกยฝั่งบนชายหาด

Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP

เพื่อยับยั้งไม่ให้น้ำมันดิบแพร่กระจายไปยังชายหาด เจ้าหน้าที่จะใช้เรือและเฮลิคอปเตอร์ฉีดโปรยสารขจัดคราบน้ำมัน (Dispersant) ทำให้น้ำมันดิบแตกตัวแล้วสลายหรือจมลงใต้ทะเล แต่สารเคมีนี้เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงใช้ได้ในปริมาณจำกัด แล้วใช้สารจุลินทรีย์ชีวภาพมาช่วยขจัดคราบน้ำมันแทน รวมถึงใช้เรือวางทุ่นดักน้ำมันดิบ (boom) ในทะเล ป้องกันไม่ให้น้ำมันดิบลอยขึ้นชายฝั่ง

ส่วนน้ำมันดิบบนหาดและชายฝั่ง เจ้าหน้าที่จะใช้แผ่นซับน้ำมัน (absorbent sheet) สัมผัสกับทรายและน้ำทะเลโดยตรง เพราะดูดซับน้ำมันดิบได้มาก อาศัยหลักการเดียวกับใช้กระดาษซับน้ำมันในอาหาร ช่วยลดปริมาณคราบน้ำมันที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลและทรายได้อย่างต่อเนื่อง

Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP

นอกจากนี้ยังต้องใช้เครื่องยนต์ดูดของเหลวด้วยระบบสุญญากาศ (vacuum truck) ร่วมด้วย เพื่อดูดน้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นสูง คล้ายกับการดูดสิ่งปฏิกูลหรือดูดตะกอนโคลนและไขมันในบ่อบำบัด

Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP

แม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ แต่ผลกระทบและความเสียหายที่ถูกทำลายลงเพราะน้ำมันดิบยังคงอยู่ สัตว์ทะเลจำนวนมากทั้งเต่าและโลมา ซึ่งมีประชากรน้อยและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ต้องตายเพราะกินน้ำมันดิบเข้าไป

ปูลมที่เดินอยู่บนชายหาดแม่รำพึงที่ปนเปื้อนคราบน้ำมันดิบ
Photo: Jack Taylor / AFP
คลื่นซัดเอาคราบและก้อนน้ำมันดิบเกยชายหาด น้ำทะเลและทรายบางส่วนเปลี่ยนเป็นสีดำ
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
Photo: Jack Taylor / AFP
นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยบูรพา กำลังเก็บตัวอย่างคราบน้ำมันดิบไปศึกษา
Photo: Jack Taylor / AFP

เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นความสูญเสียของธรรมชาติที่ทุกคนทุกฝ่ายควรให้ความสนใจอย่างจริงจัง และทวงถามถึงความรับผิดชอบ มากกว่าจะเป็นเพียงข่าวสารให้พูดถึงแล้วถูกลืมเมื่อเวลาผ่านไป