life

ถ้า Eden’s เป็นคาเฟ่ที่เกิดขึ้นจากความอยากที่จะลุกมาอบขนมที่ตัวเองชอบกินให้คนอื่นได้กิน My Kitchen Out of Eden’s ก็เกิดขึ้นด้วยแนวคิดเดียวกัน

นั่นคือ การลงมือทำหนังสือที่ตัวเองอยากอ่าน ให้ผู้มีจริตเดียวกันได้พลิกหน้ากระดาษเสพความสุขโดยพร้อมเพรียง 

ซึ่งการผลิตสิ่งพิมพ์เป็นสิ่งที่ เด่น – นิรามย์ วัฒนสิทธิ์ เจ้าของคาเฟ่ Eden’s ถนัดเป็นทุนเดิม ด้วยประสบการณ์คนทำนิตยสารมืออาชีพมานานเกินสิบปี

Eden's Journal
เด่น – นิรามย์ วัฒนสิทธิ์
เจ้าของคาเฟ่ Eden’s

หลังจากเปิดเตาอบขนมจนสร้างชื่อให้ Eden’s เป็นคาเฟ่ที่จุดกระแสให้ถนนหลานหลวงกลายเป็นย่านเก่าที่เย้ายวนใจให้ผู้คนแวะเวียนไปเยือนมาตลอด ปี นิรามย์จึงอยากฉลองวาระครบรอบให้กับร้านในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ด้วยการผลิตวารสารขึ้นมาสักฉบับ 

ไอเดียนี้เกิดขึ้นแบบบังเอิญ หลังจบทริปพักผ่อนประจำปีในช่วงปลาย พ.2562 ที่เขาเลือกกลับไปเยือนเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย หลังห่างหายไปนานกว่า ปี ซึ่งนิรามย์พบว่าเมลเบิร์นเปลี่ยนไป… 

จากนครที่อุดมไปด้วยคาเฟ่ในบรรยากาศคล้ายๆ กับ Eden’s คือ รื่นรมย์ทว่าขรึมขลัง เก่าแต่ก็ไม่แก่ และคลาสสิคในแบบที่เป็นกันเอง

Eden's Journal

เมลเบิร์นใน พ.ศ. นี้กลับเต็มไปด้วยคาเฟ่สีเขียว ชมพู ฟ้าเจิดจ้าในสไตล์พาสเทล แต่กลับไม่ทำให้นิรามย์ร้องยี้ เพราะเขาพบว่านี่เป็นเสน่ห์ใหม่ที่ยังยึดโยงอยู่กับรากเหง้าเดิม นั่นคือ ความเป็นเมืองอาหารที่อุดมไปด้วยไลฟ์สไตล์ของการกิน ดื่ม เที่ยว ในแบบที่เขารักมาโดยตลอด

Eden's Journal

นิรามย์จึงเดินทางกลับไปเมลเบิร์นอีกครั้งในช่วงต้น พ.2563 พร้อมพกไอเดียในการผลิต journal ใส่กระเป๋าไปแบบเต็มพิกัด และเดินทางกลับมาตุภูมิทันแบบฉิวเฉียด ก่อนที่ไวรัสโคโรนาจะยึดครองทั้งโลกให้เข้าสู่สภาวะล็อกดาวน์ 

และก็ด้วยความที่โลกถูกล็อกดาวน์นี่เอง ที่ไม่เพียงทำให้เกิด My Kitchen Out of Eden’s ฉบับ Melbourne ขึ้นเมื่อกลางปี แต่ยังทำให้นิรามย์มีเวลาผลิต My Kitchen Out of Eden’s The Holiday Issue ตามมาเป็นของขวัญส่งท้ายปีโควิดที่ 1 

Eden's Journal

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ได้อ่าน My Kitchen Out of Eden’s เราเชื่อว่าคุณคงอยากรู้ถึงเบื้องหลังของแรงบันดาลใจในการผลิตวารสารรายครึ่งปีเล่มนี้ ที่นิรามย์ใช้พื้นที่ทุกฟลอร์ในคาเฟ่ของเขาเป็นแหล่งผลิตทุกภาพและตัวอักษร ที่แค่พลิกหน้ากระดาษอ่านก็เหมือนได้ออกไปใช้ชีวิตด้วยกันนอกครัว Eden’s  

 อยากเห็นอะไร อยากอ่านอะไร และอยากคุยกับใคร

Eden's Journal

ตอนไปเมลเบิร์นรอบแรก ไปแค่ วัน ซึ่งไม่พอ เพราะสิ่งที่ค้างคามาก คือ หลังจากไม่ได้ไปมา ปี เมลเบิร์นเปลี่ยนไปมาก เหมือนเปลี่ยนจากยุคพ่อแม่กลายเป็นรุ่นลูก (ชี้ไปในร้าน) นี่คือมู้ดเมลเบิร์นในแบบที่เด่นชอบ อารมณ์เขละขละ ดำๆ เลอะเทอะ ซึ่งปัจจุบันแทบไม่เหลือบรรยากาศแบบนี้อีกแล้ว เมลเบิร์นกลายเป็นสีชมพูอ่อน เขียวอ่อน มีแต่คาเฟ่สะอาดคลีน กลายเป็นว่าของเก่าหน้าตาประมาณนี้ไปอยู่ตามร้านขายของเก่าหมด แต่ทำไมเราถึงยังชอบเมลเบิร์นอยู่ 

เพราะเมลเบิร์นยังเป็นเมืองกินเที่ยว เป็นเมืองอาหาร แต่กลายเป็นว่าสิ่งที่เราชอบไม่ได้อยู่ในหน้าตาแบบนี้ แต่ยังคงอยู่ในรากเหง้า เด่นเชื่อว่าในร้านสีเขียว ชมพู ลึกๆ แล้วเบื้องหลังของร้านเหล่านี้ก็เป็นลูกๆ ของคนเคยทำร้านอารมณ์เขละขละที่เราชอบ พอรู้สึกแบบนั้นก็เลยกลับไปอีกรอบ

Eden's Journal

คราวนี้จึงเป็นการไปเที่ยวกึ่งทำงาน เพราะทำดัมมี่ของเล่มแรกเสร็จไว้แล้วครึ่งนึง จึงเดินทางไปเมลเบิร์นด้วยความรู้สึกที่ว่า เมื่อกลับมาจะ fill เต็มทั้งเล่ม เด่นใช้วิธีพิมพ์คำถามใส่กระดาษเตรียมไว้ 20 แผ่น แล้วพกติดตัวไปเมลเบิร์นด้วย เวลาไปไหนก็จะสอดกระดาษไว้ในหนังสือ เช่น ถ้าไปกินอาหารอิตาเลียนร้าน Marios แล้วเจอมาริโอ (เจ้าของร้าน) ก็จะให้เขาเขียนตอบ ถ้าไม่เจอวันนี้ วันหน้าก็จะไปอีก หรือถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ค่อยเปลี่ยนคนเอาก็ได้

Eden's Journal

เอาจริงๆ ก็คล้ายจังหวะที่ลูกค้ามาที่ร้าน Eden’s นี่แหละ ถ้าดูแล้วเขาไม่ยุ่งมาก ก็จะเดินเข้าไปหา ยื่นกระดาษที่พิมพ์คำถามไว้แล้วให้เขาเขียนตอบ เช่น ถามถึงเมนูที่ชอบทำหรือชอบกินเวลาคิดถึงบ้าน เพราะส่วนมากจะเป็นลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้ชีวิตหรือทำงานที่เมืองไทย จากนั้นเด่นจะแอบถ่ายรูปเขาไว้ เพราะรู้สึกว่าเวลาแอบถ่ายจะให้อารมณ์ที่ดีกว่าการบอกกล่าวกันก่อน แล้วค่อยให้เขาดูรูปตอนเรียกคิดเงินว่า เมื่อกี้ฉันถ่ายรูปเธอ ขอเอาไปลงหนังสือได้ไหม ซึ่งทุกคนก็โอเค

Eden's Journal

สิ่งที่เด่นได้จากคอลัมน์เล็กๆ ที่ให้ลูกค้าเขียนคำตอบในกระดาษคำถามที่เรายื่นให้ ก็คือ โมเมนต์ที่เราได้รู้จักเขาเพิ่มเติม เราแอบเห็นตอนที่เขานั่งคิดแล้วดูมีความสุข ก่อนจะลงมือเขียน และเด่นก็รู้สึกว่าบางคำถามก็พาเขากลับไปสู่อะไรบางอย่าง เช่น ในแววตาคิดถึงบ้านของคุณลุงยูเอ็น (หมายถึง ลูกค้าประจำซึ่งทำงานอยู่ที่องค์การสหประชาชาติมันดูเอ่อๆ ไม่ได้เศร้า แต่ดูมีความสุข อารมณ์เหมือนเขาได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง

Eden's Journal

ตอนแรกที่คิดไว้คือ เล่มแรกเป็นเมลเบิร์น เล่มที่สองอาจจะเป็นปารีส หรือนิวยอร์ก แต่พอเราเดินทางไม่ได้ จึงกลายเป็นความท้าทายครั้งใหม่ ที่ประจวบกับตอนที่หนังสือเล่มแรกพิมพ์ออกมาเสร็จพอดี เด่นเลยพิมพ์ไปบอก ออเดรย์ เพื่อนที่เป็นครูสอนแฟชั่นอยู่ที่ Central Saint Martins ลอนดอน และชอบจัดดอกไม้เป็นงานอดิเรก ซึ่งเราคุยกันมาตลอดว่าอยากทำโปรเจคท์อะไรสักอย่างด้วยกัน ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นเสียที ออเดรย์ก็เลยบอกว่า งั้นทำเลย ผ่าน virtual conversations นี่แหละ ซึ่งเรารู้สึกเหมือนดีดนิ้ว และลงมือทำทันที

ทุกคนไม่ได้มีความสุขหรอก แต่ในเมื่อล็อกดาวน์ทำให้ออกไปไหนไม่ได้ ฉันก็นั่งทำสวนไปสิ ความสุขมันหาได้ อยู่ที่มุมมองจริงๆ 

พอได้เรื่องจากลอนดอนเป็นเรื่องแรก คราวนี้มีอะไรอีกที่เรานึกถึง เด่นนึกถึงปารีส เมื่อนึกถึงโต๊ะอาหารที่ปารีส ฉันนึกถึงบ้านของอพอลลีน ซึ่งตอนนี้อพอลลีนย้ายกลับไปอยู่เทลอาวีฟแล้ว ถ้าอย่างนั้นบ้านเธอที่เทลอาวีฟตอนนี้เป็นยังไง ฉันอยากเห็น มันจึงเป็นการกลับไปสู่โจทย์ คือ ฉันอยากเห็นอะไร อยากอ่านอะไร และอยากคุยกับใคร ซึ่งสิ่งที่ได้กลับมามี quality ดีพอที่จะตีพิมพ์เป็นเรื่องให้คนอื่นๆ อ่านได้ด้วย

Eden's Journal

สุดท้ายแล้ว My Kitchen Out of Eden’s จะเป็นหนังสือที่ไม่ได้มีแค่เรื่องราวของเมืองๆ เดียว หรือถ้าเป็นเมืองเดียวก็จะมีความหลากหลาย และเกี่ยวพันกับเรื่องของอาหาร การกินอยู่ อาร์ต สถานที่ สุดท้ายแล้วก็ไม่พ้นสิ่งที่ตัวเองชอบ เรากินอยู่ด้วยจริตแบบนี้ โต๊ะควรจะเป็นแบบไหน สิ่งที่เรากิน หรือความทรงจำของ guest แต่ละคนในเล่ม 

เรื่องอาหารมันไม่มีวันจบ แล้วพอเราจับเรื่องอาหาร มันก็กลับมาที่คนที่เราเจอในร้าน ซึ่งก็มีเรื่องวัฒนธรรมเข้ามา เป็นความรู้สึกที่ เฮ้ย มันดีมากเลย” 

Eden's Journal

ที่ไหนๆ ก็เป็นที่ทำงานได้ 

การอยู่กับล็อกดาวน์มากเข้า ทำให้เราได้มีเวลาอยู่ในสเปซแห่งนี้มากขึ้น ได้ปิดม่านนั่งทำงานเงียบๆ จนทำให้เราอยากคุยกับคนน้อยลง อยากเจอคนน้อยลง เพราะเรามีความสุขกับตัวเอง เป็นความสุขที่นิ่งๆ ไม่หวือหวา 

ถามว่าเราอยากเจอคนไหม เรายังอยากเจอ แต่น้อยลง วิธีการอยากเจอมันเปลี่ยน เราไม่ได้อยากเจอกันแล้วคุยอะไรยาวๆ แต่เรายังอยากคุย จึงเกิดเป็นไอเดียในการทำเล่มสาม ซึ่งกลับมาที่โจทย์เดิมจากเล่มสองว่า เราอยากคุยกับใคร เราไม่ได้อยากโดดเดี่ยว ยังอยากคุย แต่คุยแค่ไหน

Eden's Journal

อย่างล่าสุด คุณป้าวัย 70 ปีคนหนึ่ง ซึ่งเป็น Food Illustrator ที่เด่นติดตามงานของเขามานาน เพิ่งเขียนคำตอบส่งมาให้ ซึ่งเขาเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชื่อเมืองหรือชื่อคนก็ไม่ขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งมันก็บ่งบอกถึงอะไรบางอย่าง ที่ทำให้เราได้หันกลับมามองสิ่งเล็กๆ มากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องสื่อสารผ่านคำพูดทั้งหมด

Eden's Journal

และจากการติดต่อเพื่อขอสัมภาษณ์หลายๆ คนที่มาเป็น guest ในแต่ละเล่ม ที่แม้เด่นอาจจะเริ่มชอบผลงานของพวกเขาทางอินสตาแกรม แล้ว Direct Message ไปคุย แต่ท้ายที่สุดก็ต้องติดต่อผ่านทีมพีอาร์ของพวกเขาตามแบบแผน ซึ่งมันทำให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ ซึ่งเราชอบ เหมือนได้ย้อนกลับไปสู่สมัยทำแม็กกาซีนอีกครั้ง ที่การทำงานทุกอย่างมีขั้นตอน 

ในขณะที่ทีมของตัวเองเล็กมาก มีแค่เด่นที่ทั้งเขียนและถ่ายรูป กับคนจัดอาร์ตเวิร์คและคนแปลอีกอย่างละคน ซึ่งก็คล่องตัวและสะดวก ทำให้ค้นพบว่าเราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ สุดท้ายแล้วที่ทำงานของยุคนี้มัน compact และง่ายมาก เด่นใช้แค่สมุดโน้ตหนึ่งเล่ม กับมือถือหนึ่งเครื่อง แค่นี้เลย ที่เหลือก็คือ โลกอยู่ในมือเรา คุณจะกล้าทำมันหรือเปล่าเท่านั้นเอง”

Eden's Journal

ปกติช่วงปีใหม่จะมีลูกค้าจองกินข้าวในห้องนี้ (บนชั้นสอง) แต่ปีนี้เด่นไม่ได้ทำ เพราะเดิมตั้งใจตกแต่งห้องนี้ใหม่เพื่อเปิดขายไวน์ในมื้อดินเนอร์ แต่ด้วยสถานการณ์ของปีนี้ทำให้ไม่อยากพูดจากับใคร อยากอยู่เฉยๆ เงียบๆ เรารู้สึกว่าบรรยากาศมันไม่ปกติ ตัวเองยังไม่อยากปาร์ตี้ ไม่อยากทำอะไรเลย ถ้าอย่างนั้นก็เก็บห้องนี้ไว้ก่อน ซึ่งกลายเป็นข้อดีคือ เรามีที่ทำงาน เหมือนนั่งทำงานในห้องกินข้าว ซึ่งก็เป็นมู้ดที่ดีและชอบมาก แถมยังซัพพอร์ททุกอย่าง เช่น หากรรไกรไม่เจอ ก็เอาที่เปิดขวดไวน์มาตัดเชือกที่มัดห่อหนังสือเอาไว้ได้ อะไรแบบนี้

Eden's Journal

เคยคิดเหมือนกันว่าไม่มีห้องนี้ มีแค่คาเฟ่ข้างล่าง แล้วหนังสือพวกนี้จะไปกองไว้ตรงไหน ดังนั้น ถ้านี่คือห้องทำงานของคนคนเดียว ก็ถือว่ากว้างมาก และแล้วในวันนึง เมื่อจบขั้นตอนการผลิตและส่งหนังสือ ก็แค่เก็บทุกอย่างเข้าที่ ตรงนี้ก็กลายเป็นโต๊ะกินข้าวได้ปกติ มันคือการจัดการกับสเปซให้เหมาะกับการใช้งานได้หลายฟังก์ชั่น

Eden's Journal

Eden's Journal

แต่จริงๆ แล้ว เด่นชอบคิดงานบนเตียง นอนกลิ้งทำอยู่แต่บนนี้ เพราะสุดท้ายแล้วมักจะจบงานด้วยมือถือเครื่องเดียวเลยจริงๆ แม้บางครั้งข้อมูลอาจจะหายไป เพราะเครื่องเต็มหรือแฮ้งบ้าง ทำให้หลังๆ รู้สึกว่าถ้ามันหายก็คือหาย ก็แค่นั้นแหละ ปลง

Eden's Journal

การกลับมาเป็นคนทำสิ่งพิมพ์อีกครั้ง 

สิ่งพิมพ์มันอยู่กับเรามาตั้งแต่แรก วันแรกที่เปิดร้านก็มีกระดาษรองจานแล้ว ซึ่งแผ่นแรกสุดพัฒนามาจากรูปดอกไม้ในหนังสือเก่าตั้งแต่ปี 1855 ที่ลายเส้นสวยมาก จนเด่นให้เพื่อนเอาไปพัฒนาแล้วทำเป็นลายบนที่รองจาน หลังจากนั้นปริ้นท์ก็เลยอยู่กับร้านนี้มาเรื่อยๆ

Eden's Journal

Eden's Journal

ทั้ง เล่มมีของแถม ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการมีกิมมิคหรือของแถมนั้นดีหรือไม่ดี กลายเป็นว่าคนอาจจะลุ้นว่าเล่ม จะแถมอะไร อย่างเล่มแรกมีแผ่นพับ Eden’s Press สอดเข้าไปให้ เล่มสองแถมโปสการ์ด ด้วยความที่ไอเดียต่างๆ เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ เช่น คอนซ็ปต์เล่มที่เกิดจากบรรยากาศในช่วงล็อกดาวน์  ที่ทำให้เด่นได้เจอคนที่เราคุยด้วยแล้วคลิก พอมานั่งอ่านคำตอบที่แต่ละคนเขียนมา ทำให้เห็นว่าคนอื่นๆ ในโลกลำบากกว่าเราอีก อย่างออเดรย์ก็ไม่มีงานสอนเลยด้วยซ้ำ ดังนั้น ทุกคนไม่ได้มีความสุขหรอก แต่ในเมื่อล็อกดาวน์ทำให้ออกไปไหนไม่ได้ ฉันก็นั่งทำสวนไปสิ ความสุขมันหาได้ อยู่ที่มุมมองจริงๆ 

เด่นก็เลยรู้สึกว่าโปสการ์ดเป็นเซอร์ไพรส์ที่พอเปิดหนังสือแล้ว อ๊ะ มีกระดาษหล่นมาแผ่นนึง ซึ่งคุณจะเก็บไว้เอง หรือส่งให้ใครต่อก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้น

Eden's Journal
โปสการ์ดเซอร์ไพรส์ที่ถูกสุ่มและสอดไว้ใน My Kitchen Out of Eden’s เล่ม 2

ส่วนเล่มสามอาจจะไม่มีกิมมิคแล้ว แต่เป็นการเพิ่มหน้ากระดาษแทน ซึ่งก็เป็นเซอร์ไพรส์หรือรางวัลที่คืนกลับให้คนอ่านอีกแบบนึง เราอยากจะโชว์รูปสวยๆ หนึ่งรูปให้เต็มตาขึ้นในรูปเล่มขนาดเดิม เพราะพกพาสะดวก และโดยส่วนตัวอยากให้มีความเป็นซีรีส์ที่วางเรียงๆ แล้วเป็นไซส์เดียวกัน 

การทำหนังสือมันเปลี่ยนไปตามยุคด้วย บางคนก็จะบอกว่าชอบเราตอนที่ทำนิตยสาร Lips Love ซึ่งเด่นรู้สึกว่าตัวเราก็หนีความเป็นตัวเองไม่พ้น เราชอบกินอยู่ด้วยไลฟ์สไตล์แบบนี้ เพียงแต่มันเบาขึ้นไปตามวัย เน้นเรื่องที่คิดเยอะขึ้น คุยกับคนมากขึ้น และลึกซึ้งขึ้น

Eden's Journal

โดยส่วนตัวเป็นคนชอบร้านที่ไม่ได้เปลี่ยนอะไรเยอะ ชอบอารมณ์ของการมีร้านที่ชอบไปเป็นประจำ แล้วทางร้านรู้ว่าเราจะกินอะไรโดยที่ไม่ต้องถาม เด่นรู้สึกว่าคนที่ร้านแบบนี้เก่งมาก ทำไมเราเองถึงจำลูกค้าไม่ได้ขนาดนั้น ดังนั้น เด่นเลยรู้สึกว่าการเปลี่ยนเมนูในร้านบ่อยๆ มันเหนื่อย ควรจะทำยังไงให้คนรู้สึกว่าไม่เห็นจำเป็นต้องเปลี่ยนเลย หรือเปลี่ยนยังไงให้รู้สึกว่าไม่เบื่อมาก อาจจะเอาเมนูเข้าเอา-ออกนิดๆ หน่อยๆ หรือมีเมนูตามฤดูกาล ซึ่งเวิร์คเสมอ

กลับมานึกๆ ดู การทำหนังสือก็คล้ายๆ ตอนทำร้าน ที่เริ่มต้นด้วยความไม่แน่ใจว่าทำแล้วจะเวิร์คไหม

“แต่เรารู้สึกว่าเราถนัดแบบนี้ เราอยากทำแบบนี้ มันน่าจะออกมาดี อย่างน้อยก็ไม่มีอะไรเสียหาย จึงลงมือทำ”

Eden's Journal

อุดหนุน My Kitchen Out of Eden’s ได้โดยตรงที่ร้าน Eden’s เลขที่ 7/1 ถนนหลานหลวง (ตรงข้ามพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า) กรุงเทพฯ เปิดวันอังคาร-วันอาทิตย์ เวลา 9:00-17:00 น.  

หรือสั่งซื้อได้ทาง www.instagram.com/eden_niram