w©rld

ถึงวันนี้ (24 มี.ค.) คงไม่มีใครไม่รู้จัก COVID Tracker แพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลผู้ติดเชื้อและสถานการณ์ โควิด-19 แบบเรียลไทม์

ท่ามกลางข่าวรายวันที่ชวนตื่นตระหนก รายงานยอดผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการของภาครัฐที่ดูเหมือนไร้ทิศทาง ยิ่งทำให้ COVID Tracker เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้คน เพื่อเช็คพื้นที่เสี่ยง ข่าวลวง ข่าวจริง และติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

‘ตลอด 7 วันที่ผ่านมา เรามีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากกว่า 9 ล้านครั้ง’

คือส่วนหนึ่งของข้อความที่ทีม 5Lab บริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ ผู้อยู่เบื้องหลัง COVID Tracker โพสต์อัพเดทสถานการณ์ผ่านหน้าเพจเมื่อสี่วันก่อน

ขณะที่สามวันก่อนหน้านั้น common มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับพวกเขา ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์อยู่ที่ 5 ล้านครั้ง ซึ่งนับว่ามหาศาลสำหรับเว็บไซต์ที่เพิ่งทำคลอดได้เพียงไม่กี่วัน

แน่นอน ฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์สถานการณ์คือหนึ่งในปัจจัย แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือจุดเริ่มต้นของไอเดียสร้างสรรค์ กระบวนการทำงานระหว่างทาง ที่แสนเรียบง่าย แต่ทว่าทรงพลัง

จุดประกายจากปัญหาใกล้ตัว

5Lab เป็นบริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ ที่ให้บริการทำเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่น และสื่อดิจิทัลต่างๆ อย่างครบวงจร มีทีมงานทั้งหมด 7 คน แบ่งเป็น Co-Founder 3 คน และน้องๆ ทีมงาน 4 คน

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

วันหนึ่งซึ่งตรงกับวันที่มีข่าวคนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แถวสีลม (12 มี.ค.) ไม่ไกลจากที่ตั้งบริษัท 5Lab ที่อยู่สาธร

เจนนี่-รมิดา จึงไพศาล หนึ่งในทีมงานที่พูดถึงตัวเองว่า “หนูชอบโวยวาย” ก็โยนไอเดียขึ้นมากลางออฟฟิศ ว่าเราน่าจะมีแอพหรือเครื่องมือที่คอยบอกตำแหน่งผู้ติดเชื้อ เพื่อเตือนว่าพื้นที่ไหนอันตรายหรือไม่อันตราย

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
เจนนี่-รมิดา จึงไพศาล Product Designer & Front-end Developer

“วันนั้นข่าวคนติดเชื้อเริ่มเยอะขึ้นแล้ว คนก็เริ่มกลัว เราเองก็กลัว จุดเริ่มต้นคือช่วยตัวเอง ไม่ได้คิดจะช่วยใครขนาดนั้น” โบว์-พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล Chief Marketing Officer หนึ่งใน Co-Founder พูดถึงจุดเริ่มต้นที่เกิดขึ้นอย่างเรียบง่าย

“พอน้องโยนไอเดียมา พี่ๆ ในทีม (โน้ต-นิธิ ประสานพานิช Chief Design Officer และใหม่-อาพร พลานุเวช Chief Technology Officer ที่เป็น Co-Founder อีกสองคน) ก็…อ่ะ! ทำเลย”

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
โบว์-พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล Chief Marketing Officer

ราวห้าโมงเย็นวันนั้น ทุกคนในออฟฟิศมาระดมสมองกัน เพื่อคิดหา ‘บางสิ่ง’ ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาของพวกเขา

ระดมไอเดียและสร้างงานแบบ Hackathon 

ไม่นานหลังไอเดียแรกถูกโยนขึ้นกลางอากาศ ภาพของ ‘บางสิ่ง’ ก็กลายเป็นรูปเป็นร่าง ด้วยวิธีการระดมสมองที่เรียกว่า Hackathon

ว่าแต่ Hackathon คืออะไร?

ใหม่ในฐานะ Chief Technology Officer อธิบายว่า มันคือการระดมไอเดียกัน แล้วทำกันแบบมาราธอนไม่หยุด จนกว่าจะได้ไอเดียที่เอาไปทำเป็นชิ้นงานจนสำเร็จ

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
ใหม่-อาพร พลานุเวช Chief Technology Officer

“สำหรับผม การระดมสมอง (Brainstorm) เป็นขั้นตอนหนึ่งของ Hackathon ที่มาของคำนี้มาจากคำว่า แฮก (Hack) + มาราธอน (Marathon) ในมุมฝรั่งคำว่า ‘แฮก’ หมายถึงการเอาอะไรก็ได้มายำๆ กันในเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อให้ใช้งานได้ พอมาบวกกับ ‘มาราธอน’ ก็หมายความว่า การมาช่วยกันยำไอเดียให้เร็วที่สุด แล้วทำอย่างต่อเนื่องเหมือนมาราธอน

“มายด์เซ็ตของคนทำ Hackathon คือ ‘ถ้าไม่เสร็จไม่นอน’ ดังนั้น เราต้องรีบทำให้เสร็จ เพื่อให้มันใช้งานได้เร็วที่สุด วิธีการนี้จะช่วยให้เราตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออก เราจะเริ่มทำแต่สิ่งที่จำเป็น สิ่งที่ไม่จำเป็นเราไม่ทำ เพราะไม่งั้นเราจะไม่ได้นอน” (หัวเราะ)

ทันทีที่ไอเดียตกผลึกจนเป็นภาพวาดดราฟต้นแบบ (Prototype) ทุกคนในทีมก็ช่วยกันระดมหาข้อมูล เขียนโปรแกรม และออกแบบทั้ง UX/UI โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนทั่วไปดูง่าย ใช้ง่าย และเข้าใจได้ง่ายที่สุด

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
ต้นแบบ COVID Tracker ดราฟแรกและดราฟเดียว

สามชั่วโมงผ่านไป เว็บแอพที่ชื่อ COVID Tracker ก็เสร็จสิ้น “คืนนั้นทำทั้งคืน ถึงเที่ยงคืนตีหนึ่ง ตอนเช้าก็เผยแพร่ ส่งกันเอง ส่งให้เพื่อน ส่งให้คนในครอบครัว กะเอาไว้ใช้ในกลุ่มเล็กๆ แต่หลังจากนั้นไม่ถึงครึ่งชั่วโมง เว็บก็ถล่ม เพราะคนเข้ามาเยอะมาก”

โบว์ย้อนความทรงจำ ก่อนที่ชีวิตของทีมงาน 5Lab จะเปลี่ยนไปโดยไม่มีใครคาดคิด

แบ่งปัน-จัดสรรงานด้วยทีมเวิร์ค

2.3 ล้าน คือจำนวนคน (users) ที่เข้ามาใช้งานเว็บ COVID Tracker ในวันแรกวันเดียว ก่อนที่คนจะหลั่งไหลเข้ามาไม่ขาดสาย

เมื่อคนจำนวนมากเข้ามาใช้ และมีหลายคนแจ้งข้อมูลและพิกัดผู้ติดเชื้อมายังทีมงาน จากโปรเจคที่ทำกันสนุกๆ ก็กลายเป็นอีกหนึ่งงานที่ต้องรับผิดชอบและจริงจัง นอกเหนือจากงานประจำ 

“บริษัทเราทำซอฟต์แวร์ ทำเว็บไซต์ ฯลฯ ให้กับลูกค้า พอตอนนี้ทำอันนี้ ก็เหมือนกับเราต้องทำงานลูกค้าไปด้วย งานนี้ก็อัพเดทไปด้วย ต้องใช้คำว่าแทบไม่มีเวลา”

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
เตชินท์ ตันตินีรนาท Developer & Product Designer

โบว์เล่าถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ก่อนเสริมว่า ด้วยความที่เป็นบริษัทเล็กๆ มีทีมงานอยู่ 7 คน ทุกคนจึงแบ่งงานกันทำตามความถนัด โดยแบ่งเป็นทีมที่ทำเรื่องคอนเทนต์ ค้นหาและตรวจสอบข้อมูล และทีมที่ดูแลเว็บไซต์ทั้งระบบและดีไซน์

ส่วนงานที่เพิ่มขึ้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคอนเฟิร์มเคสผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน แต่แนวโน้มที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คำถามคือ ณ ตอนนี้ พวกเขาเอา ‘เวลา’ ที่ไหนมาทำ?

“พวกเราเอาเวลาว่างมาทำสิ่งนี้ครับ” โน้ตตอบอย่างอารมณ์ดี ขณะที่คนอื่นๆ ก็พยักหน้าเห็นตามนั้น

เปิดกว้าง รับฟัง และปรับปรุงอยู่เสมอ

ใครที่เคยเข้าเว็บ COVID Tracker จะเห็นว่า เว็บไซต์ในวันแรกกับวันนี้มีฟังก์ชั่นบางส่วนที่แตกต่างกัน

เช่น หลังจากหนึ่งสัปดาห์ผ่านไป จากที่มีแค่ภาษาไทย ก็มีการเพิ่มมาอีก 4 ภาษา ได้แก่ อังกฤษ ญี่ปุ่น จีนกลาง และจีนกวางตุ้ง

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

หรือสัญลักษณ์ต่างๆ บนแผนที่ ก็ปรับปรุงให้สื่อสารได้อย่างตรงจุดมากขึ้น “ต้องบอกว่ามีคนคอมเมนต์มาทุกรายละเอียด เช่น สีดูยากจัง ทำไมดูไม่ค่อยชัด” โบว์บอกว่า ทุกความคิดเห็นที่ส่งเข้ามา ทีมงานไม่เคยปล่อยผ่าน แต่จะนำไปศึกษาเพิ่มเติม และยอมรับว่า เราไม่ได้รู้ดีที่สุด

“เรามีการปรึกษาคนที่เข้าใจเรื่องการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ว่า ควรใช้สีอะไร เช่น คำแนะนำที่เราได้รับคือสีเขียวไม่ควรใช้ เพราะมันหมายถึงปลอดภัย แต่จริงๆ แล้ว ไม่มีใครการันตีได้ว่าปลอดภัย หรือสถานประกอบการที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้ว ตอนแรกเราใส่สีฟ้า แต่สีนี้อาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าปลอดเชื้อแล้วร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็อีกเช่นกัน ไม่มีใครการันตีได้ เราก็ปรับเป็นสีเหลือง

“ต้องบอกว่าทีมงานได้ความรู้จากการทำสิ่งนี้เพิ่มขึ้นทุกวัน”

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล
แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช Product Designer & Project Manager / หนูดี ดลพร วรญาณโกศล Project Manager

วางแผนล่วงหน้า ประเมินสถานการณ์ตามความเป็นจริง

COVID Tracker เป็นแพลตฟอร์มแบบ Location Base ที่ระบุพิกัดของผู้ติดเชื้อ เพื่อให้คนรู้พื้นที่เสี่ยง และเลี่ยงพื้นที่นั้น

สิ่งจำเป็นสำหรับระบุพิกัด คือ ข้อมูล

ที่ผ่านมา แม้จะมีคนส่งข้อมูลผู้ติดเชื้อเข้ามาหลังไมค์เยอะมาก แต่ทางทีมงานก็ไม่สามารถนำข้อมูลนั้นเผยแพร่ได้ เนื่องจากต้องตรวจสอบกับข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขและกรมควบคุมโรคระบาด เพื่อข้อมูลที่ตรงกัน และไม่สร้างความสับสนให้กับประชาชน

คำถามคือ หากวันหนึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากหลักสิบเป็นหลักร้อย หรือถ้าโชคร้ายอาจมากกว่านั้น การอัพเดทข้อมูลและสถานการณ์ที่ต้องเร็วแบบเรียลไทม์ ทีมงานเล็กๆ ที่มีอยู่ 7 คน จะรันต่อไปอย่างไร

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

โบว์บอกว่านี่คือเรื่องหนึ่งที่ทีมงานพูดคุยและวางแผนกันไว้แล้วเบื้องต้น ถ้าวันนั้นมาถึง ซึ่งไม่รู้ว่าจะช้าหรือเร็ว บทบาทของ COVID Tracker ที่ระบุพิกัดผู้ติดเชื้ออาจไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะถึงตอนนั้น คงไม่มีใครอยากออกจากบ้าน 

“ถ้าเกิดเป็นอย่างนั้น เราจะยกระดับตัวเองให้เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลแต่ละแห่งรองรับผู้ป่วยติดเชื้อได้กี่คน มีเครื่องมือทางการแพทย์มากน้อยแค่ไหน เพราะตอนนั้นคนคงไม่อยากออกไปไหน นอกจากไปโรงพยาบาลแล้วล่ะ เราคิดเผื่อไปแบบนี้ และถ้าเป็นแบบนี้ เราก็สามารถช่วยคนต่อไปได้

“ล่าสุด เรากำลังประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อระบุข้อมูลของผู้ประกอบการ ว่าตรงนี้มีขายอาหารอะไร ของกินอะไร เพราะวันนี้คนเริ่มตระหนกไปซื้ออาหารตามซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มากักตุน แต่ที่จริงยังมีผู้ประกอบการที่ผลิตของกินขาย แต่ไม่ได้อยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตอีกเยอะมาก ซึ่งถ้าทำถึงขั้นนี้ เราจะไม่ได้ช่วยแค่ประชาชน แต่ช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยด้วย”

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

ในมุมคนที่ทำงานด้านเทคโนโลยี คิดว่าแพลตฟอร์มนี้จะไปได้ไกลแค่ไหน?

“อย่างที่บอก มันเป็นแพลตฟอร์มข้อมูล ถ้าข้อมูลไม่มี มันจะไปไม่ได้ แต่ถ้ามีข้อมูล จะทำอะไรก็ได้ มีคนเขียนข้อความส่งมาบอกว่า ทำไมไม่ทำแบบไต้หวัน ที่บอกว่าที่ไหนมีขายหน้ากาก เราก็ตอบว่า เรายังไม่รู้เลยว่ามีขายที่ไหน แต่ถ้าวันหนึ่งมีข้อมูลให้ ทำได้อยู่แล้ว”

Making Technology More Human หัวใจคือวิธีคิด

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับ COVID Tracker คือเรื่องบังเอิญใช่หรือไม่ อาจใช่ แต่ไม่ทั้งหมด เพราะว่ากันตามตรง สิ่งที่เกิดขึ้นก็พอจะมีเหตุผลในตัวมันเองอยู่บ้าง

ในเว็บไซต์ 5lab.co ที่หน้า about ซึ่งเกี่ยวกับข้อมูลองค์กร มีประโยคหนึ่งใหญ่เตะตา ‘Making Technology More Human’ ที่มาที่ไปของประโยคนี้คืออะไร

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล

“เป็นความตั้งใจของเรา” โบว์ตอบ “เพราะเรารู้ว่า เวลาพูดภาษาโปรแกรมเมอร์ คนจะ turn off พูดอะไรเหรอ แต่ด้วยความที่ทุกคนในทีมมีความเป็นดีไซเนอร์ และเคยทำโฆษณามาก่อน เราจึงพยายามทำให้เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่คนทั่วไปจับต้องได้ และเข้าถึงง่ายที่สุด เพราะต่อให้ทำเทคโนโลยีเจ๋งแค่ไหน แต่ถ้าคนไม่เข้าใจ ไม่ใช้ ก็ไม่มีประโยชน์”

สำหรับเรา COVID Tracker คือหลักฐานที่พิสูจน์ถึงความตั้งใจของ 5Lab ได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ เพิ่มเติม

วันนี้บริษัท 5Lab เป็นที่รู้จักมากขึ้น คิดจะใช้โอกาสนี้ขยายธุรกิจไหม? เราถาม Co-Founder คนหนึ่งก่อนจากกัน

“ตอนนี้ ยังไม่คิด เรายังอยากทำงานตรงนี้ที่เป็นตัวเรา แบบของเราให้ดีที่สุด แล้วก็มีลูกค้าที่ชอบเรา คุยกันได้แบบนี้ เรายังไม่คิดจะเทิร์นตัวเองไปเป็นอะไร เราไม่ใช่สตาร์ทอัพ เราเป็นบริษัทเอกชนเล็กๆ ที่ตั้งใจอยากทำให้ธุรกิจของลูกค้าเดินไปได้ ด้วยการเอาเทคโนโลยีมาทำให้ลูกค้าทำงานได้ดีขึ้น

“พูดง่ายๆ คือทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ผ่านเทคโนโลยีนี่แหละ”

บริษัท 5Lab COVIDTracker COVID-19 โควิด-19 เว็บแอพ เว็บไซต์ พิกัด ผู้ติดเชื้อ รมิดา จึงไพศาล พัชรินทร์ ตันชัยเอกกุล นิธิ ประสานพานิช อาพร พลานุเวช เตชินท์ ตันตินีรนาท แพรว เพ็ญพรรธน์ เจริญพานิช ดลพร วรญาณโกศล