w©rld

motto เท่ๆ หรือการป่าวประกาศปรัชญาองค์กรเจ๋งๆ ไม่ได้ช่วยสร้างเป้าหมายร่วมกันให้พนักงานองค์กร

สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะทำให้พนักงานทุกคนมีเป้าหมายร่วมกันได้ นั้นเรียบง่ายมาก

เพียงแค่คุณต้องเข้าใจพนักงาน

ความเข้าใจอาจฟังดูนามธรรมนะครับ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องสลับซับซ้อน ขอแค่คุณเข้าใจว่าพนักงานก็ต้องการมีความสุขในชีวิต และมีความสุขระหว่างการทำงาน

เช่นเดียวกับที่เราอยากมีความสุข

Farmgruop

Farmgroup
Farmgroup บริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบและแฟชั่นสัญชาติไทยที่ให้ความสำคัญเรื่องความสุขของพนักงานควบคู่ไปกับการสร้างผลงานที่ดี

วิธีที่จะสร้างความฝันร่วมกันขององค์กรและพนักงาน ในฐานะผู้บริหาร คุณจำเป็นต้องถามว่าความฝันของพนักงานคนนั้นคืออะไร เพื่อจะหาจุดเชื่อมโยงระหว่างฝันของเขากับฝันของเรา

ถ้าพนักงานคนนั้นยังไม่รู้ว่าตัวเองเกิดมาเพื่ออะไร การถามถึงความฝันของเขาอาจช่วยให้เราและเขาได้ร่วมค้นหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

ถึงตรงนี้ บางคนอาจสงสัยว่าทำไมเราต้องให้ความใส่ใจกับพนักงานขนาดนั้น ถ้ายังจำได้ พนักงานคือองค์ประกอบหนึ่งของ ‘กระบวนการ’ และกระบวนการคือสิ่งสำคัญที่สุด

เพราะฉะนั้นพนักงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ

พนักงานสำคัญขนาดไหนกับองค์กร? คำถามนี้ตอบได้ 2 มุม

มุมแรก ตัวพนักงาน

โลกดิจิทัลและการพัฒนาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะการมาถึงของ AI ระบบ Automation ที่มีทักษะสูงขึ้นเรื่อยๆ เริ่มเข้ามาทดแทนแรงงานคน ทำให้คนตั้งคำถามกับตัวเอง เช่น คำถามทั่วไปอย่าง ‘งานที่ทำอยู่จะถูก AI แย่งงานไหม’ สภาพสังคมยุคใหม่ได้บีบบังคับให้มนุษย์ต้องกลับมาหาคุณค่าในตัวเอง

ถ้ามนุษย์ไม่สามารถตอบได้ว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร มีจุดประสงค์ใดในชีวิต สุดท้ายมนุษย์คนนั้นก็ไม่ต่างจากหุ่นยนต์

โซเฟีย หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลกที่แสดงอารมณ์และสีหน้าได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ งานประชุม RISE Technology Conference ณ ฮ่องกง ปี 2018 (Photo: ISAAC LAWRENCE / AFP)

เพราะสิ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจาก AI ก็คือ ‘ปัญญา’ ที่ไม่ได้หมายถึงความรู้ทั่วไป (เพราะกูเกิลก็รู้) แต่คือความรู้ที่ลึกกว่านั้น นั่นคือรู้ว่าทำไมเราจึงดำรงอยู่ และจะอยู่อย่างไร

กล่าวอย่างถึงที่สุด ปัญญาของมนุษย์คือการรู้จักตนเอง

Furhat หุ่นยนต์โซเชียลทึ่ตอบโต้กับมนุษย์ได้ พัฒนาโดยสตาร์อัพ Fruhat Robotics ด้านหุ่นยนต์สัญชาติสวีเดน ถ่ายเมื่อปี 2018 (Photo: PATRICIA DE MELO MOREIRA / AFP)

มุมที่สอง ตัวองค์กร

ถ้าองค์กรมีพนักงานที่ทำงานไปวันๆ โดยไร้ความหมาย แปลว่าพนักงานคนนั้นจะย้ายงานกี่ที่ก็ได้ ถ้าได้เงินเดือนหรือผลตอบแทนเยอะขึ้น นั่นแปลว่าเป็นเรื่องยากที่พนักงานคนนั้นจะอยู่กับองค์กร ขณะเดียวกันองค์กรก็จะมี turnover สูง เปลี่ยนคนบ่อย แม้ธุรกิจจะอยู่ได้ แต่ก็จะไม่โตมากและไม่ยั่งยืน

(Photo: OLI SCARFF / AFP)

กลับกัน ถ้าคุณเป็นองค์กรหรือผู้บริหารที่สนใจแต่ ‘ผลลัพธ์’ พนักงานจะไม่ใช่โจทย์สำคัญที่คุณให้ความสนใจ เพราะโฟกัสของคุณจะอยู่ที่การตั้งเป้าหมาย ยอดขาย และผลกำไร โดยไม่สนใจ ‘กระบวนการ’

ในการได้มาซึ่งยอดขาย ตัวพนักงานจะต้องทำงานหนักเกินไปไหม หรือจะมีความสุขหรือไม่ คุณอาจคิดว่านี่คือเรื่องที่ควรใส่ใจ แต่การพุ่งเป้าไปที่ผลลัพธ์กลับทำให้คุณหลงลืม

(Photo: WANG ZHAO / AFP)

หรือถ้าองค์กรถึงเป้า คุณถึงเป้า แต่พนักงานไม่มีความสุขเลย คุณอาจดีใจแล้วชวนเขามาฉลอง แต่อีก 3 เดือนต่อมาพนักงานคนนั้นลาออก เพราะเขาไม่มีความสุข แล้วคนที่ออกไปคือคีย์แมนของคุณ คือเซลล์ที่ทำยอดขายได้ 50 ล้านบาท

นั่นหมายความว่าคุณต้องหาคนใหม่มาเติมยอดขาย 50 ล้านที่หายไป …อย่างนั้นหรือ?

สำหรับผม ไม่ว่าจะทำธุรกิจอะไรก็ตาม ควรทำเหมือน ‘ตุ่มที่น้ำไม่มีวันไหลออก’

แน่นอน คุณต้องใส่ใจและหมั่นตรวจสอบว่าตุ่มของคุณจะไม่มีรูรั่วหรือรอยร้าวที่จะเป็นเหตุให้เกิดรูรั่วในอนาคต

พฤติกรรมดังกล่าวไม่ใช่การเพ่ง ‘ผลลัพธ์’ แต่เป็นการใส่ใจ ‘กระบวนการ’

(Photo: medium.com | @marcvollebregt)

ถึงตรงนี้ ผมคิดว่าหลายคนคงจะเห็นความสำคัญของ ‘กระบวนการ’ และรู้วิธีที่จะหากระบวนการหรือทิศทางของตัวเองและองค์กรกันแล้ว

แต่ยังจำได้ไหม เมื่อตอนที่แล้วของบทความ ผมใช้คำว่า ‘กระบวนการที่ดี’ จะนำไปสู่ผลลัพธ์ หรือในทางกลับกัน ผลลัพธ์ที่ดีคือผลพลอยได้จากกระบวนการที่ดี

แล้วเราจะสร้างกระบวนการที่ดีอย่างไร?.

อ่านต่อ…

เรียบเรียง: วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์