w©rld

เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว (Holocaust) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมที่น่าสลดใจที่สุดอีกครั้งในประวัติศาสตร์ เมื่อพรรคนาซีเยอรมันกวาดล้างชาวยิวให้ไปเป็นแรงงานทาสในค่ายกักกันและสังหารพวกเขาไปกว่า 6 ล้านชีวิต

75 ปีให้หลัง เมื่อเหตุการณ์สะเทือนขวัญนี้สิ้นสุดลง สำนักข่าว AFP ได้ตระเวนถ่ายภาพของผู้รอดชีวิตจากค่ายกักกันที่อาศัยอยู่ที่อิสราเอล เพื่อหวังว่าเรื่องราวในวัยเด็ก ความทรงจำจากวันวาน และความโหดร้ายที่แต่ละคนได้พบเจอ จะคอยย้ำเตือนมนุษย์รุ่นหลังอยู่เสมอว่า

‘ครั้งหนึ่งสงครามเคยโหดร้ายกับมนุษยชาติมากแค่ไหน’

 

บัตเชวา ดากัน (92 ปี)

เทลอาวีฟ , 15 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

บัตเชวา ดากัน (Batcheva Dagan) ในวัย 90 ปี ถ่ายภาพกับหนังสือที่เธอเขียนเล่าเรื่องความโหดร้ายในค่ายกักกัน เดิมทีแล้วเธอไม่ใช่คนที่นี่ ดากันเกิดที่โปแลนด์และถูกจับเข้าไปอยู่ในค่ายกักกัน ครอบครัวของเธอทั้งหมดเสียชีวิตลงที่นั่น ความเจ็บปวดครั้งนั้นทำให้เธอก็พยามยามให้ความรู้เรื่องโฮโลคอสและอุทิศชีวิตที่เหลืออยู่ให้กับการสอนหนังสือแม้จะเป็นคุณทวดแล้วก็ตาม

 

เมนาเฮม ฮาเบอร์แมน (94 ปี)

กรุงเยรูซาเล็ม, 12 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

เมนาเฮม ฮาเบอร์แมน (Menahem Haberman) กับภาพถ่ายตัวเองในอดีตเมื่อครั้งที่ยังเป็นแรงงานในค่ายกักกัน เขาเกิดที่เชโกสโลวะเกีย เป็นคนเดียวในบรรดาพี่น้องทั้ง 8 คนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธ์ และยังเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายมามากมายทั้ง การทำงานเยี่ยงทาสในค่ายที่มีสุขภาวะย่ำแย่ เป็นแรงงานที่เอาชวิทซ์ มีชีวิตอยู่ในเหตุการณ์ Death March และแม้จะติดเชื้อวัณโรคจากค่ายบูเคินวัลท์ แต่ท้ายที่สุดเขาก็มีชีวิตรอดออกมาได้ 

ปัจจุบันฮาเบอร์แมนอาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเลมกับผู้เป็นลูกสาว ที่แขนของเขาเผยให้เห็นหมายเลข A10011 ที่สักเอาไว้สมัยเป็นแรงงานในค่ายเอาชวิทซ์

 

ชมูเอล โบเกลอร์ (92 ปี)

กรุงเยรูซาเล็ม, 12 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

ชมูเอล โบเกลอร์ (Schmuel Bogler) เกิดที่ฮังการีในปี 1929 มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยที่เขาเป็นน้องคนสุดท้อง เขาถูกจับไปยังค่ายกักกันเอาชวิทซ์พร้อมบรรดาพี่น้อง แต่มีเพียงเขาและพี่ชายเท่านั้นที่รอดชีวิตกลับมาได้ 

ชมูเอลเขียนหนังสือหนึ่งเล่มที่เล่าเรื่องความโหดร้ายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่กับ โชชานา โบเกลอร์ (Shoshana Bogler) ผู้เป็นภรรยา ที่กรุงเยรูซาเล็ม

 

มัลก้า ซาเคน (93 ปี)

เทลอาวีฟ, 16 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

เมื่อไหร่ที่ความทรงจำอันเลวร้ายในค่ายกักกันหวนกลับมา มัลก้า ซาเคน (Malka Zaken) มักจะกอดตุ๊กตาเอาไว้แน่นๆ เพราะมันทำให้เธอนึกถึงแม่ที่เสียชีวิตไปจากเหตุการณ์วันนั้น

เดิมที ซาเคน เกิดที่กรีซ ในปี 1928 เธอมีอายุเพียง 12 ปีเท่านั้นตอนที่ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกัน และได้รับมอบหมายให้เป็นแรงงานพับผ้าของชาวยิวที่ถูกสังหารในห้องรมแก๊สที่เอาชวิทซ์ 

 

เซสมุล อิเซค (94 ปี)

กรุงเยรูซาเล็ม, 8 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

เซสมุล อิเซค (Szmul Icek) เป็นชาวโปแลนด์โดยกำเนิด ในภาพถ่ายเขาถือรูปพ่อแม่ที่เสียชีวิตในค่ายไปพร้อมกับพี่สาวของเขาอีก 1 คน อิเซคกับพี่ชายเป็นสมาชิกครอบครัวเพียงสองคนที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 

ตรงกันข้ามกับคนอื่นๆ อีกหลายคน เซสมุลไม่กลับไปเยือนค่ายกักกันอีกเลยหลังจากนั้น อีกทั้งยังไม่อ่านหนังสือและไม่อยากรับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพราะนั่นเป็นประสบการณ์ที่แสนเจ็บปวดสำหรับเขา

 

โดฟ ลันดาว (93 ปี)

เทลอาวีฟ , 16 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

โดฟ ลันดาว (Dov Landau) เป็นชาวฮังการีโดยกำเนิด เขาโชว์ภาพถ่ายของเขาและเพื่อนนักโทษที่รอดชีวิตจากค่ายกักกันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เขามักจะเล่าประสบการณ์ในค่ายกักกันบนเวทีสาธารณะอยู่บ่อยๆ และเป็นคนหนึ่งที่กลับมาเยือนค่ายเอาชวิทซ์เป็นร้อยๆ ครั้งพร้อมกับคณะนักเรียนที่มาทัศนศึกษาและกลุ่มคนที่มาเยือนเพื่อรับรู้ความโหดร้ายของสงคราม

 

เฮเลนา เฮิร์ช (93 ปี)

เทลอาวีฟ , 16 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

เฮเลนา เฮิร์ช (Helena Hirsch) ถกแขนเสื้อขึ้นเผยให้เราเห็นหมายเลขนักโทษ A20982 ที่สักไว้ที่แขน เมื่อครั้งถูกจับไปเป็นแรงงานทาสและทำงานอย่างหนักที่ค่ายเอาชวิทซ์ในปี 1944 เธอเป็นสมาชิกคนเดียวของครอบครัวที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้น

 

แดนนี่ ชาโนช (89 ปี)

คาร์เม โยเซฟ, 10 ธันวคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

แดนนี่ ชาโนช (Danny Chanoch) โพสต์ท่าคู่กับภาพถ่ายตัวเองและภาพถ่ายของอูริ ชาโนช (Uri Chanoch) ผู้เป็นพี่ชาย พวกเขาได้พบกันอีกครั้งที่อิตาลี หลังสงครามสิ้นสุดลง และพากันอพยพไปเลสไตน์ในปี 1946

ชมูเอล บลูเมนเฟลด์ (96 ปี)

เทลอาวีฟ , 28 พฤศจิกายน 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

ชมูเอล บลูเมนเฟลด์ (Shmuel Blumenfeld) เผยว่าเขายังจำภาพของค่ายกักกันและเพื่อนๆ ได้เป็นอย่างดี หลังจากที่สงครามสิ้นสุดลงเขาได้ตระเวนรวบรวมดินจากสถานที่ต่างๆ ซึ่งเป็นที่ที่ครอบครัวของเขาเสียชีวิต เก็บเอาไว้ในถุงสีเหลืองใบเล็กๆ และขอร้องกับลูกว่าให้ฝันมันไปพร้อมๆ กับร่างของเขาในวันที่จากโลกนี้ไป

ซาอูล โอเรน (92 ปี)

กรุงเยรูซาเล็ม, 2 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

ซาอูล โอเรน (Saul Oren) เปิดแขนโชว์ให้เห็นเลขนักโทษ 125421 สมัยที่เขายังอยู่ในค่ายกักกันเอาชวิทช์ เขาได้รับเลือกจากแพทย์นาซีให้เป็นหนูทดลองสำหรับการรักษาต่างๆ ข้างในนั้น และถูกย้ายไปยังค่ายกักกันที่เยอรมนีในเวลาต่อมา  

อับราฮัม เกอร์ชอน (83 ปี)

กรุงเยรูซาเล็ม, 8 ธันวาคม 2019

(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)
(Photo : MENAHEM KAHANA / AFP)

อับราฮัม เกอร์ชอน (Avraham Gershon) เกิดที่ในเชโกสโลวาเกียในปี 1938 เขามีอายุเพียง 6 ขวบเท่านั้นตอนที่ถูกจับเข้าไปอยู่ในค่ายกักกัน เขาเผยว่าไม่เคยร้องไห้เลยสักครั้ง เพราะกลัวจะเป็นเป้าสายตาและทำให้ถูกฆ่าได้