การมาเยือนของโควิด-19 เปลี่ยนชีวิตของพวกเราไปอย่างไรบ้าง ?
แม้ละประเทศจะมี วิธีการ รับมือกับโรคระบาด อย่างโควิด-19 ในแบบฉบับของตัวเอง เพราะมีวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ และทัศนคติที่แตก ต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกคนกำลังเผชิญ หน้าเหมือนกัน คือ ‘ความเปลี่ยนแปลง’ เราทุกคนจำต้องปรับเปลี่ยนความเป็นอยู่ไม่มากก็น้อย เพื่ออยู่รอดในสถานการณ์เช่นนี้
common ชวนไปสำรวจวิถีชีวิตและความเป็นไปของเมืองใน หลายประเทศรอบโลกระหว่างช่วงวิกฤต โควิด-19 ผ่านสายตาของคนท้องถิ่นและคนไทย มาดูกันว่าโรคนี้ได้เปลี่ย น ชีวิตพวกเขาไปอย่างไรบ้าง ?
Australia, Sydney
เจน – รัตมา จำรูญศิริ (36, นักการตลาด)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ปกติทำงานที่ออฟฟิศ แต่ตอนนี้ work from home ก็ทำงานแบบปกติ แต่แฟนได้รับผลกระทบเพราะเป ็นช่างสัก รัฐบาลสั่งปิดร้านสักทั้งหม ด ปกติแฟนจะไม่ค่อยอยู่บ้าน ต้องออกไปเล่นเวคบอร์ด ไปดำน้ำ แต่ตอนนี้รัฐบาลออกกฎว่าห้า มทำกิจกรรมที่ไม่สำคัญกับชี วิตประจำวัน ถ้าทำผิดกฎจะเสียค่าปรับ 1,000 เหรียญ”
(Photo : รัตมา จำรูญศิริ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ที่นี่ไม่มีเคอร์ฟิว แต่ห้ามรวมกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตอนแรกรัฐออกกฎหมายว่า สถานที่ที่ไม่มีอากาศถ่ายเท จะรับผู้คนได้สูงสุดได้แค่ 100 คน หากเป็นที่เปิดโล่งจะรับได้ 500 คน แต่คนที่นี่ไปทะเลกันเยอะมา ก แล้วเกิน 500 คน อีกวันรัฐบาลก็ประกาศสั่งปิ ดหาด
รัฐบาลออกกฎว่าให้ใส่หน้ากา กเฉพาะคนที่ป่วยเท่านั้น คนที่ไม่ป่วยไม่ต้องใส่ เลยไม่มีใครใส่หน้ากากใดๆ ทั้งสิ้น น้องที่เป็นชาวออสซี่แท้ๆ ยังคิดว่าโควิดไม่ได้น่ากลั ว เหมือนแค่ไข้หวัด มีแค่คนที่ภูมิคุ้มกันไม่แข ็งแรงหรือผู้สูงอายุเท่านั้ นที่โคม่า
พอคนเริ่มติดเชื้อเยอะ ก็เริ่มรู้สึกว่าโรคนี้มันร ุนแรง หลังจากนั้นก็มีกฎหมายให้ปิ ดผับ คาสิโน ส่วนร้านอาหารก็ให้ซื้อกลับ บ้านได้อย่างเดียว ห้างจะเปิดแค่โซนซูเปอร์มาร ์เก็ต และจำกัดจำนวนคนที่เข้าไป ถ้าเกินตำรวจก็จะเข้าไปปรับ”
(Photo : รัตมา จำรูญศิริ)
“สองอาทิตย์ที่ผ่านมาผู้คนให ้ความร่วมมือดี อาจเพราะมีการปรับจริง สมมตินั่งรถไปด้วยกันสามคน ตำรวจก็จับ แล้วจะเช็คที่อยู่ว่าคือบ้า นเดียวกันไหม ถ้าไม่ใช่ก็โดนปรับ พวกแหล่งช้อปปิ้งก็เงียบกริ บ คนก็หันมาซื้อของแบบออนไลน์ กันหมด
รัฐบาลช่วยเหลือคน 2 แบบ คือ 1.Job Seeker ได้เงินอย่างต่ำคนละ 250 เหรียญต่ออาทิตย์ 2.Job Keeper ช่วยวีคละ 750 เหรียญ และหากใครที่ได้รับผลกระทบจ ากโควิดก็จะได้เพิ่ม 250 เหรียญ คนก็เข้าใจนะ แล้วอีกอย่างจำนวนเงินก็ดีใ นระดับหนึ่งและทุกคนก็พร้อม ใจกันประหยัด”
United Kingdom, Brighton
กระติ๊บ – สุวพีร์ สำราญ (28, นักศึกษาปริญญาโท)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ช่วงนี้การเรียนปริญญาโทเป ลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเดินไปอ่านหนังสือ ที่ห้องสมุด ไปพบอาจารย์ ที่ปรึกษาในการทำธีสิส แล้วได้คำตอบ สามารถกลับไปแก้ไขงานของตัว เองได้เลยทันที ก็กลายเป็นต้องกักตัวอยู่บ้ าน ส่งอีเมลล์ถามอาจารย์ และต้องรออาจารย์ตอบกลับ พอเรียนออนไลน์ สอบออนไลน์ อยู่แต่ในบ้าน ออกไปห้องสมุด หรือไปข้างนอกก็ไม่ได้ รู้สึกไม่แอคทีฟ ทำให้ความขี้เกียจครอบงำ แต่ได้ผูกมิตรกับเพื่อนร่วม บ้านที่เป็นต่างชาติมากขึ้น บางครั้งเขาก็ทำกับข้าวมาแช ร์กับเราบ้าง ส่วนตัวชอบปาร์ตี้ ตอนนี้ทำได้แค่เปิดแอปพลิเค ชันประชุมและชนแก้วกับเพื่อ นๆ ที่บ้านตัวเอง”
(Photo : สุวพีร์ สำราญ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“เมืองที่อยู่เป็นเมืองติดท ะเล มีชายหาด ช่วงหน้าร้อนอากาศดี ปกติทุกปีจะมีคนมาอาบแดดกัน แต่ช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่ านมา ภาครัฐประกาศห้ามคนมาอาบแดด ปรากฎว่าคนเปลี่ยนไปอาบแดดท ี่ริมระเบียงบ้านบ้าง ในสวนหลังบ้านบ้าง เอาเก้าอี้มานั่งรับแดดบ้าง
ส่วนที่ชายหาดก็เหลือไม่กี่ คน บางคนก็แอบไปอาบแดดในมุมโขด หินลับตาไม่ให้ตำรวจเห็น เพราะอาจถูกจับหรือโดนปรับไ ด้”
(Photo : สุวพีร์ สำราญ)
(Photo : สุวพีร์ สำราญ)
“นอกจากนี้ยังมีการออกกฎห้าม เดินรวมกลุ่มกันเกิน 2 คน ถ้ามากกว่านั้นต้องยืนห่างๆ กัน ไม่อย่างนั้นจะมีโทษ
สังคมโดยรวมมีคนใส่หน้ากากอ นามัยแค่ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ใช้ชีวิตกันปกติมาก และคนที่นี่เชื่อฟังภาครัฐ ตราบใดที่รัฐยังไม่ประกาศให ้ใส่หน้ากากอนามัยก็จะไม่ใส ่กัน คนส่วนใหญ่ที่ใส่หน้ากากเป็ นคนเอเชีย และมักจะถูกมองจากวัฒนธรรมข องเมืองที่ว่าคนใส่หน้ากากค ือคนป่วย
ร้านค้าต่างๆ เปิดเฉพาะร้านอาหาร ซึ่งแบบเดลิเวอรีขายดีมาก และเท่าที่ทราบก็ยังมีการจั ดปาร์ตี้ที่บ้านโด
ยนัดแต่เพื่อนสนิทกันเท่านั ้น”
China, Beijing
ทิม – ทิม สันตสมบัติ (29, สื่อมวลชน)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ชัดเจนที่สุดคือการทำงานจา กที่บ้าน จากปกติที่ต้องนั่งประจำออฟ ฟิศ หลังโควิด-19 ระบาด รัฐบาลออกมาตรการกำหนดให้อา คารสำนักงานต่างๆ จำกัดจำนวนคนเข้าไปทำงาน ดังนั้น คนที่เข้าออฟฟิศคือคนที่จำเ ป็นต้องมาจริง ๆ เท่านั้น ตั้งแต่เดินเข้าประตูที่ทำง านจะมีเส้นเตือนเว้นระยะ 1 เมตร เพื่อความปลอดภัย ทุกคนต้องเดินผ่านกล้องตรวจ อุณหภูมิร่างกาย โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังต ลอดเวลา”
(Photo : ทิม สันตสมบัติ)
“เรื่องอาหารการกินจากเดิมที ่พนักงานจะทานอาหารรวมกันได ้ที่โรงอาหารก็เปลี่ยนเป็นร ับข้าวกล่องออกไปต่างคนต่าง ทานข้างนอกแทน จะกินที่ออฟฟิศหรือเอากลับบ ้านไปก็สุดแล้วแต่ เวลาเข้าไปรับข้าวที่โรงอาห ารก็ต้องผ่านเครื่องตรวจอุณ ภูมิอีก ส่วนใหญ่จะเลือกทำอาหารทานเ องที่บ้าน ถ้าไม่สะดวกออกไปจ่ายตลาดก็ สามารถสั่งวัตถุดิบต่างๆ มาส่งได้
เวลาสั่งของจากเดิมที่รับพั สดุจากพนักงานขนส่งโดยตรง บางส่วนจะใช้วิธีใส่ตู้แทนแ ล้วให้เราไปกดรหัสเปิดเอาเอ ง ถือเป็นการส่งของแบบ ‘ไร้สัมผัส’ โดยกล่องพัสดุที่ได้รับมาจะ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อบริเวณท างเข้าชุมชน
เวลากลับบ้าน นอกจากจะต้องถูกวัดอุณหภูมิ ซ้ำอีก ยามจะตรวจบัตรผ่านเข้า-ออก ถ้าไม่ใช่คนในชุมชนก็ไม่สาม ารถผ่านรั้วกั้นเข้าไปได้ สำหรับคนในชุมชนเองก็มีการร ณรงค์ให้ต่างคนต่างอยู่ในห้ องของตัวเอง และลดการมีกิจกรรมทางสังคมไ ปก่อน”
ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยและยังเฝ้าระวังโควิด-19 (Photo : NICOLAS ASFOURI / AFP)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ด้วยความที่จีนเคยมีประสบก ารณ์จากโรคซาร์สระบาดเมื่อป ี 2003 มาก่อน คนจีนเลยตื่นตัวกับโควิด-19 มาก ที่ปักกิ่ง คนเริ่มใส่หน้ากากอนามัยเวล าออกไปในที่สาธารณะตั้งแต่พ บผู้ติดเชื้อรายแรกๆ ในเมือง จนกลายเป็นเรื่องปกติที่คนส ่วนใหญ่เลือกป้องกันตัวเอง ก่อนที่รัฐจะออกมาตรการบังค ับใส่หน้ากากอนามัยก่อนออกจ ากบ้าน หรือ สั่งปิดเมืองอู่ฮั่นเสียอีก”
ผู้คนกำลังข้ามถนน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน (Photo : NICOLAS ASFOURI / AFP)
“ถึงแม้ตอนนี้จีนจะควบคุมโคว ิด-19 ได้แล้ว ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตได้เกือ บเป็นปกติ แต่ผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอา การ รวมถึงผู้ป่วยที่เดินทางเข้ าเมืองจากต่างประเทศ ยังคงเป็นความท้าทายใหม่ที่ จีนให้ความสำคัญในการรับมือ การกลับมาระบาดซ้ำ ในขณะที่การเว้นระยะห่างทาง สังคม รวมไปถึงการป้องกันตัวเองไว ้ก่อน กลายเป็น ‘ความปกติใหม่’ (new normal) ในสังคมไปแล้ว”
USA, Los Angeles
นัทเทีย – กรีรัฐ สุนิศทรามาศ (35, ช่างภาพอิสระ)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“วงการแฟชั่นและถ่ายภาพในอเ มริกา คงพูดเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก “ตายสนิท” งานทั้งหมดถูกยกเลิกมาตั้งแ ต่เดือนมีนาคม ในภาวะแบบนี้แฟชั่นดูจะเป็น เรื่องท้ายๆ ที่คนจะสนใจ ฉะนั้นคนในแวดวงแฟชั่น คงต้องตกงานกันยาวๆ อย่างน้อยอีก 2-3 เดือน
การใช้ชีวิตในอเมริกา โดยปกติเราจะเร่งรีบกันมาก เพราะการแข่งขันสูง แต่การระบาดของโควิด-19 ทำให้ตัวเองมีโอกาสได้ใช้ชี วิตช้าลงบ้าง ตอนนี้เลยลองหัดเรียนเปียโน ออนไลน์ ทำกับข้าว ปลูกต้นไม้ และยังได้อ่านหนังสือมากขึ้ น ก็เลยเริ่มลองเขียนนิยายดูบ ้าง
จากความไม่แน่ไม่นอนของชีวิ ตนี่เอง เลยทำให้คิดว่า หรือเราควรมีอาชีพเสริม ที่มากกว่าหนึ่งอย่าง ฉะนั้นการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ในช่วงนี้ หากมองในแง่ดีก็อาจเป็นโอกา สของการเริ่มต้นใหม่ได้เหมื อนกัน”
(Photo : กรีรัฐ สุนิศทรามาศ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ที่พอจะมองบวกได้บ้างแบบนี ้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะตัวเอ งอาศัยอยู่ใน LA ที่สถานการณ์ไม่ได้ตึงเครีย ดเท่ากับนิวยอร์ก แต่ความตื่นตระหนกของผู้คนใ นตอนที่รัฐแคลิฟอร์เนียประก าศให้ทุกคนอยู่บ้าน (Safer at Home) ก็มีให้เห็นไม่แพ้ที่อื่น เช่น การแห่กักตุนอาหารและของใช้ จำเป็นจนเกลี้ยงชั้นวางของ
ส่วนร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ ก็นับว่าปรับตัวเข้ากับสถาน การณ์ได้เร็ว อย่างซูเปอร์มาเก็ต จะจำกัดคนเข้าได้ครั้งละไม่ เกิน 10 คน เพื่อรักษาระยะห่าง บางแห่งเริ่มมีระบบสั่งซื้อ ออนไลน์หรือโทรสั่งซื้อทางโ ทรศัพท์ แล้วค่อยนัดเวลามารับ พอมาถึงพนักงานจะนำสินค้ามา ส่งให้ที่ท้ายรถ โดยไม่ต้องสัมผัสกับพนักงาน ร้านอาหารก็ปรับตัวสู่ระบบเ ดลิเวอรี่แทบจะทุกแห่ง การส่งอาหารก็จะวางไว้ที่หน ้าบ้าน โดยไม่โดนตัวกัน”
(Photo : Apu GOMES / AFP)
“แต่อย่างหนึ่งที่อาจจะสวนทา งกับที่อื่นหน่อยคือ อเมริกาเพิ่งจะประกาศให้ทุก คนใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออก จากบ้าน เมื่อสามสัปดาห์ที่ผ่านมานี ้เอง เพราะที่นี่ถือเรื่องสิทธิเ สรีภาพมาก การบังคับให้ทำอะไรสักอย่าง โดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาส ตร์รับรองเป็นเรื่องยากมาก แต่ตอนนี้ถึงขั้นประกาศเป็น กฎหมาย ว่าทุกครั้งที่จะไปซื้อของห รือรับบริการอะไรก็ตามนอกบ้ าน ทุกคนต้องสวมใส่หน้ากากอนาม ัย”
Germany, Bonn, North Rhine-Westphalia
มาย – พัทธมน วงษ์รัตนะ (25, นักศึกษา)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“เราอยู่บ้านมาตั้งแต่กลางเ ดือนมีนาคมก็จริง แต่ยังออกไปไหนมาไหนได้ปกติ โดยเฉพาะที่สาธารณะ อาจเป็นเพราะว่าเมืองที่เรา อยู่มีธรรมชาติค่อนข้างเยอะ มาก คนส่วนใหญ่จึงออกมาเดินเล่น ออกกำลังกาย เราคิดว่าสถาพจิตใจของคนที่ นี่โอเคมาก เพราะทางการไม่ได้ประกาศเคอ ร์ฟิว หรือบังคับให้ทุกคนอยู่ในบ้ าน แต่ขอความร่วมมือให้ทุกคนเว้นระยะห่างทางสั งคม และไม่รวมตัวกันในที่แออัดแ ทน
ปกติช่วงเข้าฤดูใบไม้ผลิ ประมาณปลายเดือนมีนาคมถึงต้ นเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่ต้น cherry blossom บนถนนแถบเมืองเก่าออกดอกบาน เต็มต้น ซึ่งสวยมากๆ เป็นไฮไลท์ของเมืองบอนน์เลย ก็ว่าได้ มีทั้งคนในเมืองเองและนักท่ องเที่ยวแวะเวียนมาดูและถ่า ยรูป เรากับเพื่อนตั้งตารอคอยตั้ งแต่ฤดูหนาว พอโควิด-19 ระบาด ถนนเส้นนั้นก็ถูกปิด มีตำรวจมายืนเฝ้าเลย ขนาดขอผ่านไปซื้อของยังโดนด ุใส่ให้เปลี่ยนไปใช้ทางอื่น แทน”
“เป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะ เพราะรัฐที่เราอยู่เคยมียอด ผู้ติดเชื้อสูงสุด สาเหตุเกิดจากเดือนกุมภาพัน ธ์ที่ผ่านมา มีงานเทศกาลประจำปีของเมือง โคโลญ ซึ่งอยู่ติดกับเมืองบอนน์ ทำให้มีคนเดินทางไปร่วมงานเ ป็นล้านคน โชคดีที่เราไม่ได้ไป ยิ่งเป็นคนเอเชียด้วย เลยค่อนข้างระวังตัวเป็นพิเ ศษ ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า แต่รู้สึกว่ามีสายตามองมาที ่เราเหมือนกัน
จนถึงตอนนี้เราไม่ได้ใส่หน้ ากากเลย และยังไม่เห็นใครใส่ด้วย แต่ระยะหลัง หลายๆ รัฐเริ่มแนะนำให้คนใส่หน้าก ากบ้างแล้ว ส่วนรัฐที่เราอยู่ออกมาบอกเ ลยว่าถ้าใครอยากใส่ให้เย็บเ อง (หัวเราะ) ส่วนสาเหตุที่เยอรมันมีผู้ต ิดเชื้อสูง เพราะทางการเฝ้าระวังอย่างเ ข้มงวดและออกตรวจคัดกรองเยอ ะมาก หรือถ้าใครสงสัยว่าตัวเองจะ ติดเชื้อ ก็ให้โทรปรึกษาหมออย่างเดีย ว ห้ามเดินทางไปโรงพยาบาลเองเ ด็ดขาด เป็นวิธีป้องกันการแพร่เชื้ อในที่สาธารณะ ซึ่งส่วนใหญ่หมอจะแนะนำให้อ ยู่บ้านกักตัวรอดูอาการก่อน แต่ถ้าเคสไหนจำเป็นต้องเข้า รับการรักษาทันที ทางโรงพยาบาลจะส่งรถและเจ้า หน้าที่มารับถึงบ้าน”
(Photo : พัทธมน วงษ์รัตนะ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศแถ บเอเชีย คนในเยอรมนีตื่นตัวกับโควิด -19 ช้ามาก เพราะตอนแรกคนยังมองว่าคล้า ยไข้หวัดธรรมดา แต่เมื่อการระบาดเริ่มรุนแร งมากขึ้น ทางการก็ประกาศปิดสถานที่ที ่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อทันท ี ยกเว้นร้านค้าในชุมชนและซูเ ปอร์มาร์เก็ต
ช่วงแรกๆ มีคนจำนวนหนึ่งแห่ไปซื้อของ กักตุน ในภาษาเยอรมันเรียกว่า Hamsterkauf เป็นการเปรียบเทียบกับพฤติก รรมตุนอาหารไว้ในกระพุ้งแก้ มของหนูแฮมสเตอร์ แต่รัฐที่เราอยู่ไม่มีปัญหา นี้ เพราะว่าซูเปอร์มาร์เก็ตออก มาประกาศชัดเจนเลยว่ามีของข ายตลอดโดยเฉพาะกระดาษทิชชู่ แล้วก็ขยายเวลาเปิดร้านให้น านขึ้นด้วย ทำให้คนรู้สึกอุ่นใจขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าของจะขาดแคลน
จริงๆ เยอรมนีเป็นประเทศแห่งการวา งแผนและรัฐสวัสดิการ ในภาวะปกติทุกคนต้องจ่ายภาษ ีกันหนักมากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดวิกฤต คนที่ได้รับผลกระทบจะได้รับ เงินช่วยเหลือเยอะมากเช่นเด ียวกัน อย่างคนไทยที่เปิดร้านอาหาร ไทยหรือร้านนวดแผนไทย ก่อนทำธุรกิจก็ต้องทำเรื่อง ขออนุญาต ขึ้นทะเบียนร้านให้ถูกต้องต ามกฏหมาย หลังจากเปิดร้านแล้วก็ต้องร ายงานรายได้ทุกเดือน เมื่อเกิดวิกฤตจนต้องปิดร้า น ทางการจะรู้ทันทีว่าร้านนี้ ขาดรายได้ไปเท่าไหร่ แล้วร้านก็จะได้รับเงินช่วย เหลือ”
(Photo : พัทธมน วงษ์รัตนะ)
“เยอรมนียังโดดเด่นเรื่องระบ บการดูแลประชาชนให้มีความเป ็นอยู่ที่ดี (well-being) ด้วย สมมุติว่ามีคนได้รับผลกระทบ จนขาดรายได้ ทำให้มีเงินไม่พอจ่ายค่าเช่ าบ้าน ทางการอาจจะไม่ได้ให้เงินก้ อน แต่จะออกเอกสารรับรองเพื่อน ำไปผ่อนผันหรือละเว้นค่าเช่ ากับเจ้าของบ้านอีกที ทุกคนที่นี่จึงได้รับการดูแ ลให้มีชีวิตปกติที่สุด คือไม่ว่าจะเกิดวิกฤตอะไร ทางการมีแผนรับรองและเงินสำ รองสำหรับช่วยเหลือเสมอ
ด้านสาธารณสุขก็มีระบบการจั ดการดีมาก นับตั้งแต่เกิดการระบาดจนถึ งตอนนี้ จำนวนเตียงในโรงพยาบาลทั่วป ระเทศยังว่างมากกว่า 10,000 เตียง ทำให้สามารถเปิดรับผู้ป่วยต ิดเชื้อจากประเทศใกล้เคียงอ ย่างอิตาลีและฝรั่งเศสมาช่ว ยรักษาได้ด้วย”
Japan, Tokyo
ไหม – อรชมัย ธีรลักษณ์ (29, พนักงานบริษัท)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ การระบาดของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มรุนแรง มากขึ้น บริษัทที่เราทำงานออกมาตรกา รให้ทำงานอยู่บ้านทันที และมีเงินช่วยเหลือให้พนักง านคนละ 20,000 เยน เอาไว้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมใ นบ้านให้พร้อมทำงาน แล้วเดือนต่อๆ ไปก็ให้เงินเพิ่มอีกคนละ 3,000 เยน สำหรับช่วยค่าใช้จ่ายขณะอยู ่บ้าน และค่าอินเทอร์เน็ต”
(Photo : อรชมัย ธีรลักษณ์)
“ช่วงแรกๆ ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปมาก เพราะเราค่อนข้างตื่นตัว จากที่ออกจากบ้านทุกวัน กลายเป็นว่าอยู่แต่ในบ้าน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ก็จะไม่ออกไปไหนเลย รู้สึกว่ามีเวลาอยู่กับตัวเ อง ลองทำกับข้าวกินเอง ช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำวันไป ได้เยอะมาก
นอกจากงานประจำ เรายังเป็นนักเรียนฝึกหัดด้ านการพากย์เสียง โรงเรียนก็เลื่อนเปิดเทอม คนในวงการนี้ได้รับผลกระทบท างการเงินค่อนข้างหนัก เพราะงานต่างๆ ถูกยกเลิกทั้งหมด ดีหน่อยที่ทางการประกาศว่าจ ะให้เงินช่วยเหลือคนละ 100,000 เยน แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะได้จร ิงๆ เพราะก่อนหน้านี้ทางการประก าศแจกหน้ากากอนามัยบ้านละ 2 ห่อ เราเองก็ยังไม่ได้เลย แต่คงได้รับเร็วๆ นี้แหละ เห็นว่ากำลังทยอยแจกอยู่”
(Photo : อรชมัย ธีรลักษณ์)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“รู้สึกว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อย ตื่นตัวกันสักเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า เขาคุ้นชินกับการระบาดของโร คไข้หวัดใหญ่ในช่วงหน้าหนาว ประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ คนส่วนใหญ่เลยเข้าใจว่าโควิ ด-19 เป็นไข้หวัดแบบเดียวกัน ป่วยขึ้นมา แค่รักษาก็หาย ไม่ได้รู้สึกถึงอันตรายหรือ ความร้ายแรงของไวรัส จนกระทั่งมีคนดังหรือผู้มีช ื่อเสียงสังเวยชีวิต คนถึงจะเริ่มตื่นตัวกัน ส่วนหน้ากากอนามัยที่ขาดตลา ดอย่างหนักตั้งแต้ต้นปีจนถึ งตอนนี้ คนก็หันมาใช้หน้ากากผ้าแทนบ ้าง”
(Photo : อรชมัย ธีรลักษณ์)
“วัฒนธรรมญี่ปุ่นก็มีส่วน กฏที่ออกมาช่วงโควิด-19 ระบาด ทางการมักใช้คำว่า ‘ร้องขอให้’ หรือ ‘ขอความร่วมมือ’ แทนการบังคับ ประกอบกับคนญี่ปุ่นถูกปลุกฝ ังเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ตราบใดที่ไม่ไปรบกวนคนอื่นห รือทำให้ใครเดือดร้อน คุณจะทำอะไรก็ได้ คนจำนวนมากจึงใช้ชีวิตปกติเ หมือนไม่มีโควิด-19 ต่อให้มีตัวอย่างคนติดเชื้อ แล้วตายจริงๆ หรือทางการออกมาย้ำเตือนเสม อว่าให้ดูแลตัวเอง คนในครอบครัว และคนรักอย่าให้ติดเชื้อ ก็ยังมีคนที่เห็นแต่ความสุข ส่วนตัว ยิ่งคนที่ไม่มีครอบครัว อยู่ตัวคนเดียว ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเขาก็จะคิดว่าตัวเองไม ่มีคนรักหรือคนในครอบครัวให ้ห่วงคงไม่เป็นไร ซึ่งในสังคมญี่ปุ่นมีคนประเ ภทนี้ค่อนข้างเยอะ ฉะนั้นแล้วการใช้วิธีพูดอ้อ มค้อมสไตล์ญี่ปุ่นแต่ก่อนอา จจะได้ผล แต่ด้วยความที่สังคมเริ่มเป ลี่ยนไป คนบางกลุ่มจึงใช้ช่องโหว่ตร งนี้หาประโยชน์ เราคิดว่าเหตุการณ์นี้เผยให ้เห็นธาตุแท้คนญี่ปุ่นนะว่า เป็นชาติที่ยึดความเป็นปัจเ จกบุคคลแค่ไหน”
Netherland, Den Bosch
Hennie Bruurmijn (32, ครูสอนแบดมินตัน/ ธุรกิจส่วนตัว)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา การทำงานของผมเปลี่ยนไป คือต้องงดสอนกีฬาทุกชนิด และตั้งแต่มีคำสั่งให้งดกีฬ าในร่มทั้งหมด ก็ไม่มีลูกค้าที่อยากจะซื้อ อุปกรณ์กีฬา ร้านเกือบจะไม่มียอดขายเลย ในส่วนของพวกถ้วยรางวัล เมื่อไม่มีการจัดแข่งขันกีฬ าใดๆ ก็ไม่มีใครซื้อ
นอกจากชีวิตทำงาน ก็มีออกไปซื้อของให้ครอบครั วบ้าง มีเวลาพาหมาไปเดินเล่นมากขึ ้น แต่ก็ถือว่าออกนอกบ้านน้อยล ง ทำให้มีเวลาสำหรับการเรียนส ิ่งใหม่ๆ เช่น ฝึกเขียนโค้ดและวางแผนธุรกิ จมากขึ้น”
(Photo : Hennie Bruurmijn)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ร้านตัดผม ร้านอาหารในเมืองหลายๆ แห่งปิด มีร้านเสื้อผ้าบางร้านเปิดบ ้าง ส่วนกีฬาและงานอีเวนต์ถูกยก เลิกทั้งหมด มีแค่บางกิจกรรมออกกำลังกาย กลางแจ้งบางอันเท่านั้นที่ไ ด้รับอนุญาตในสัปดาห์นี้
ตลาดสดเปิดสัปดาห์ละสองครั้ ง อนุญาตให้ขายแค่อาหาร แต่พ่อค้าแม่ค้าจะไม่ได้มาข ายพร้อมกันทุกคน พวกเขาใช้พื้นที่เยอะขึ้นแล ะจัดคิวสำหรับผู้คนเพื่อให้ เกิดการเว้นระยะห่าง ถนนค่อนข้างเงียบและไม่มีรถ ติด ลานจอดรถและพื้นที่ต่างๆ ดูเหมือนจะมีคนแค่ 30 เปอร์เซ็นต์ของช่วงเวลาปกติ”
(Photo : Hennie Bruurmijn)
“มองในแง่หนึ่งมันสงบและมีพื ้นที่มากพอสำหรับทุกคน ผมสังเกตเห็นว่าผู้คนแปลกหน ้ามักจะยิ้มกว้างให้กันมากข ึ้น แล้วเดินเตร็ดเตร่อย่างสงบส ุขในย่านที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะวัยรุ่นอายุ 20 ต้นๆ และคนชรา แต่ก็มีบางคนที่เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้ยากในสถานการณ์นี้ เช่นกัน”
New Zealand, Auckland
เฟิร์น – อัญมณี เต็มกุลเกียรติ (38, ติดตามมากับครอบครัว)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“มาอยู่ที่นี่เพราะสามีมาทำ งาน ส่วนตัวมาเรียนและลูกก็มาเร ียน ชีวิตเปลี่ยนไปหลังโควิด ช่วงสัปดาห์แรกที่ต้องกักตั วอยู่บ้าน ยังรู้สึกชิล เหมือนได้หยุดงานอยู่บ้าน แต่พอสัปดาห์ที่ 2-3 เริ่มเข้าสู่ภาวะเครียด ซึ่งถึงปัจจุบันปรับตัวได้แ ล้ว
สิ่งที่เครียดในช่วงนั้นเพร าะการปรับตัว จากเดิมที่แค่ไปเรียน กลับมาดูแลสามีและลูกบ้าง แต่ละคนมีหน้าที่หลักของตัว เองที่ต้องไปทำนอกบ้าน กลายเป็นว่า ต้องทำหน้าที่ในฐานะนักเรีย น ฐานะแม่บ้าน พร้อมกับเป็นครูให้ลูกที่เร ียนออนไลน์ด้วย เพราะสมาธิของเด็กอยู่กับกา รเล่น อยากเจอเพื่อน เจอสังคมมากกว่าอยู่หน้าคอม เรียนหนังสือ”
(Photo : อัญมณี เต็มกุลเกียรติ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“เนื่องจากเป็นเกาะและมีพื้ นที่กว้าง ประชากรจึงไม่หนาแน่น ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกกลัวกา รระบาดเท่าใดนัก จะตื่นตระหนกก็เพียงเวลาเห็ นข่าว ส่วนใหญ่ใส่หน้ากากกันแค่ปร ะมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในจำนวนนั้นเป็นเอเชียเ สียส่วนใหญ่ หน้าบ้านเป็นทางลงชายหาด ปกติมีคนผ่านมากมาย ก็เงียบเหงาลง และไม่ค่อยเห็นใครใส่หน้ากา กด้วย”
(Photo : อัญมณี เต็มกุลเกียรติ)
“ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตจะแจกถุง มือพลาสติกและจำกัดจำนวนคนเ ข้า นั่นหมายความว่าเมื่อมีคนออ กมาหนึ่งคน ก็สามารถเข้าไปได้เพียงคนเด ียวเท่านั้น การต่อแถวเข้าซูเปอร์มาร์เก ็ตจึงเป็นอะไรที่ยาวนานมาก ตั้งแต่ 7 โมงเช้า ทุกคนนำถุงผ้ามาเอง แต่ช่วงหลังทางร้านประกาศห้ ามเอาถุงมา เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อ จึงให้นำรถเข็นขนของไปใส่หล ังรถตัวเองได้เลย
เนื่องจากมีการประกาศล็อกดา วน์ ห้ามคนเข้าและออกนอกประเทศ ทุกร้านปิดหมด ยกเว้นมินิมาร์ท ร้านขายยา รวมถึงห้ามออกนอกบ้านโดยไม่ จำเป็น คนทั่วไปใช้บริการสาธารณะไม ่ได้ ขึ้นได้เฉพาะบุคลากรทางด้าน สาธารณสุข พนักงานร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ต้อง ไปทำงานเท่านั้น”
Taiwan, Taipei
Wanyi – Wanyi Huang (26, นักศึกษาด้านศิลปะ)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ส่วนตัวคิดว่าตัวเองรู้สึก หดหู่มากกว่าแต่ก่อน เพราะกลัวการออกไปแฮงก์เอาท ์กับเพื่อนๆ แต่พอไร้กิจกรรมทางสังคมก็ร ู้สึกเบื่อ มีวันหนึ่งเพื่อนบอกว่าจะมา หาที่บ้าน วินาทีแรกก็ดีใจมาก แต่สักพักเริ่มนึกถึงจำนวนเ คสผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นท ุกวัน เลยบอกเพื่อนว่าเราคงต้องเจ อกันในวันที่สถานการณ์ดีขึ้ นกว่านี้ และก็รู้สึกเศร้ามากที่ไม่ได้เจอกัน
เรื่องเรียนก็เปลี่ยนมาเรีย นผ่านออนไลน์ทั้งหมด จากที่สังเกตอาจารย์สอนศิลป ะคนอื่นๆ เมื่อเด็กๆ ต้องอยู่ให้ห่างจากฝูงชน คุณครูก็จะส่งอุปกรณ์วาดรูป ไปที่บ้านของเด็กๆ และทำการสอนผ่านออนไลน์โดยใ ช้คอมพิวเตอร์หรือไอแพด คุณครูศิลปะในยุคนี้จึงต้อง เริ่มเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อาจบอกได้ว่าต้องฝึกเป็นยูท ูปเบอร์เลยก็ว่าได้”
(Photo : Sam Yeh / AFP)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“คนไต้หวันส่วนใหญ่ใส่หน้าก ากอนามัยเป็นปกติอยู่แล้ว เลยไม่รู้สึกว่ามันแตกต่างม ากนักกับก่อนหน้านี้ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ทุกว ันคือมีคนไปต่อแถวรอซื้อของ ที่ร้านขายยาจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเป็นเหล่าคุณย่า คุณยาย เป็นอีกเรื่องน่ารักที่เกิด ขึ้นในย่านที่ฉันอยู่ พวกเขาจะพกเก้าอี้ของตัวเอง ไปนั่งตรงหน้าร้านขายยา แม้ว่ามันจะผิดหลักการ social distancing และพวกเขาก็มาตรงเวลามาก หากร้านขายยาเปิด 14.00 น. ก็จะมารอตั้งตแต่ 12.30 น.”
(Photo : Sam Yeh / AFP)
“คาดว่าพวกเขาไปเพื่อซื้อหน้ ากาก เพราะรัฐบาลจะส่งหน้ากากไปย ังร้านขายยาแต่ละแห่งทั่วปร ะเทศ ผู้คนสามารถซื้อหน้ากากได้ใ นจำนวนจำกัด ราคาและในช่วงเวลาที่กำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนจะได้ ซื้อหน้ากากในราคาที่เป็นธร รม ไม่มีการกักตุน
ฉันสามารถเดินไปที่ร้านขายย า แสดงบัตรประชาชนและซื้อหน้า กากอนามัยได้จำนวน 9 ชิ้น สำหรับ 2 สัปดาห์ รัฐบาลต้องการให้ทุกคนได้รั บหน้ากากในจำนวนที่เท่าเทีย มกัน”
Georgia,Tbilisi
แพง – ฆนาธร ขาวสนิท (31, ฮิปปี้)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ในแง่กายภาพไม่ได้เปลี่ยนแป ลงอะไร แต่ในแง่จิตใจค่อนข้างเปลี่ ยนแปลงมาก ตั้งแต่ประเทศจอร์เจียร์ประ กาศปิดพรมแดน เรารู้สึกว่าไม่มีที่พิงหลั ง เพราะถ้าหากสถานการณ์รุนแรง มากขึ้น หมายความว่าเราจะยังเดินทาง กลับไทยไม่ได้ในทันที และไม่รู้ด้วยว่าทางการจะปิ ดพรมแดนไปอีกนานแค่ไหน”
(Photo : ฆนาธร ขาวสนิท)
“จริงๆ แล้วส่วนตัวไม่ใช่คนที่ชอบอ อกไปพบปะหรือสังสรรค์กับคนอ ื่นๆ อยู่แล้ว แต่พอเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นม า ก็รู้สึกว่ามันทำให้เราไม่ไ ด้เชื่อมต่อกับโลกเท่าที่คว รจะเป็น ทำให้ตระหนักว่าไม่ว่าจะเป็ นคนที่มีลักษณะการเข้าสังคม แบบไหน แต่ลึกๆ แล้วเราก็ยังเป็นสัตว์สังคม เลยอดไม่ได้ที่จะมีภาวะกังว ลและรู้สึกไม่มั่นคงอยู่ลึก ๆ
ตอนที่ได้ยินข่าวว่าคนเอเชี ยในอังกฤษถูกทำร้าย เราเองก็กลัวเหมือนกันนะ แต่คนที่นี่นิสัยดีมาก เขาเข้าหาและปฏิบัติต่อเราเ หมือนเป็นเพื่อน เดินมาทักทายพูดคุย ไม่มีทีท่ากีดกันใดๆ เขายังถามเราเลยว่าเป็นคนจี นหรือเปล่า พอเราตอบว่าเป็นคนไทย เขาก็ชวนคุยต่อไปอีกว่า สถานการณ์ของประเทศไทยเป็นย ังไงบ้าง ทุกอย่างปกติมากๆ หรือบางคนเห็นเราสูบบุหรี่ก ็เข้ามาขอไฟแช็คแล้วยืนสูบบ ุหรี่ด้วยกัน ตั้งแต่อยู่มาไม่เคยเจอปัญห าการเหยียดเลย เราสัมผัสได้ว่าทัศนคติของค นท้องถิ่นที่มีต่อคนเอเชียน ั้นดีมากๆ”
(Photo : ฆนาธร ขาวสนิท ภาพก่อนโควิด-19 ระบาด)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“ในย่านที่เราอยู่เรียกว่า Old Tbilisi เป็นย่านท่องเที่ยว ปกติมีชีวิตชีวามากเพราะคนแ วะเวียนไปมาแทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะได้ยินเสียงเพลงจากไนท์คล ับต่างๆ ไปทั่วบริเวณ และมีการจุดพลุตอนเที่ยงคืน ด้วย แต่ช่วงนี้ที่นี่เงียบเหงาข ึ้นเยอะมาก เพราะรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวต ั้งแต่ 3 ทุ่มถึง 6 โมงเช้า
ช่วงแรกที่รัฐบาลประกาศปิดป ระเทศ บรรยากาศโดยรวมค่อนข้างชวนใ ห้รู้สึกหดหู่เหมือนกัน เพราะคนต้องอยู่แต่ในบ้าน ห้ามรถทุกประเภทวิ่งบนถนนนา นประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ตอนนี้ทุกอย่างเริ่มผ่อน ปรน ในที่สาธารณะเราเห็นคนออกไป ซื้อของ ไปทำงาน บางคนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้ ง แต่ทุกคนยังคงสวมหน้ากาก และเว้นระยะห่างทางสังคมอยู ่
เราคิดว่าชีวิตทุกคนได้รับผ ลกระทบหมด เพียงแต่มาตรการของรัฐบาลช่ วยสร้างความมั่นใจให้ประชาช นในประเทศได้ หลังจากทางการประกาศให้ทุกค นกักตัวอยู่ในบ้าน มาตราการแรกที่รัฐบาลช่วยเห ลือคือ ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าไฟ ค่าน้ำ และค่าแก๊ส”
(Photo : ฆนาธร ขาวสนิท)
“ทุกคนค่อนข้างตื่นตัวกันมาก เรารู้สึกว่ารัฐบาลเองก็ค่อ นข้างจัดการได้ดีในภาวะแบบน ี้ เพราะเขาทำงานกันเร็ว มาตราการต่างๆ จะถูกประกาศใช้อย่างเร่งด่ว นหลังจากรัฐบาลประชุมหารือก ันเสร็จ เช่น การบังคับให้ทุกคนใส่หน้ากา กเมื่ออยู่ในสถานที่ปิดอย่า งร้านค้าและร้านขายยา ถ้าเจ้าหน้าที่พบเห็นว่ามีค นไม่ใส่หน้ากาก จะปรับทั้งคนที่ไม่ใส่และผู ้ประกอบการ ซึ่งค่าปรับค่อนข้างสูงมาก หากตีเป็นเงินไทย คือ 30,000 บาทสำหรับคนที่ไม่ใส่หน้ากา ก และ 150,000 บาทสำหรับผู้ประกอบการ และถ้าทำผิดซ้ำ จะถูกจำคุก 6 ปี
ร้านค้าต่างๆ จึงบังคับคนที่ต้องการเข้าม าซื้อของอีกทีว่า ทุกคนต้องใส่หน้ากาก ถ้าร้านไหนไม่อยากเสียลูกค้ าก็จะเตรียมหน้ากากแจกให้ทุ กคนใส่ก่อนเข้าร้าน หรือถ้าใครต้องการซื้อหน้าก ากก็มีขายในร้านขายยาเป็นหน ้ากากผ้าที่ใช้ซ้ำได้ ซึ่งรัฐบาลกำหนดโควต้าให้แต ่ละคนซื้อได้ 3 ชิ้น คิดเป็นเงินไทยประมาณชิ้นละ 5 บาท”
Denmark, Aarhus
วอ – วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ (32, นักศึกษาปริญญาเอก)
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป
“ชีวิตนักศึกษาปริญญาเอกเข้ าชั้นเรียนน้อยมากอยู่แล้ว ประมาณ 10 ครั้งต่อเทอม เพราะส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับก ารทำงานด้านวิจัยมากกว่า ปกติผมเข้าออฟฟิศที่มหาวิทย าลัยเกือบทุกวัน เพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกใ ห้ใช้งานได้ครบถ้วนมากกว่า โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลแล ะเอกสารทางวิชาการ แต่หลังจากโควิด-19 ระบาด มหาวิทยาลัยก็ประกาศให้ทำงา นที่บ้านแทน กลายเป็นว่าผมต้องอยู่ในบ้า นทุกวัน รู้สึกเบื่อมากๆ เพราะการอยู่บ้านค่อนข้างขา ดแรงจูงใจในการทำงานพอสมควร แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากพยายามปรับตัวให้ได้เ ร็วที่สุด”
(Photo : วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ)
“การระบาดของโควิด-19 ยังเป็นจุดเริ่มต้นให้เครือ ข่ายอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำ งานวิจัยด้วย เป็นการศึกษาเชิงสำรวจและเป รียบเทียบแต่ละประเทศเกี่ยว กับสุขภาพจิตและพฤติกรรมการ ใช้สื่อของคนที่ต้องกักตัวเ องในช่วงการระบาดของโควิด-1 9 สามารถทำแบบสอบถามได้ทาง https://www.survey-xact.dk/LinkCollector?key=GW7EM7YNS2C6
ส่วนการใช้ชีวิตประจำวันน่า จะเหมือนกับคนทั่วไป คือ รักษาความสะอาดมากขึ้น ป้องกันตัวเองจากความเสี่ยง มากขึ้น หมั่นล้างมือ พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้”
(Photo : วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้คนและ สังคม
“รัฐบาลเดนมาร์กสั่งปิดประเ ทศเร็วมากๆ ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมเลย เริ่มจากปิดสถานศึกษาทุกระด ับ ปิดห้างสรรพสินค้า หน่วยงานของภาครัฐบาลและรัฐ วิสาหกิจอื่นๆ ก็ปิดกันหมด ส่วนภาคเอกชน ทางการก็ขอความร่วมมือให้แบ ่งคนทำงานวันเว้นวัน เพื่อลดจำนวนคนที่เดินทางออ กมาในที่สาธารณะ หรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ยังเปิดให้บริการได้ ก็จะขีดเส้นให้แต่ละคนเว้นร ะยะห่างกัน ก่อนเข้าร้านขายของก็มีเจลใ ห้ใช้ มีถุงมือให้ใส่ แต่โดยรวมยังไม่ได้เข้มงวดถ ึงขนาดมีตำรวจคอยตรวจตราแบบ ฝรั่งเศสหรืออิตาลี”
(Photo : วรวัชร์ ตั้งจิตรเจริญ)
“แล้วธรรมชาติอย่างหนึ่งของค นสแกนดิเนเวีย คือ ชอบแสงแดดมาก วันไหนฟ้าแจ้งแดดออก คนจะออกจากบ้านมาเดินเล่น ผมก็ยังเห็นคนออกมาปกติ แต่สิ่งที่สังเกตเห็นได้ชัด เจนคือไม่มีใครใส่หน้ากาก ถามว่าซื้อใส่ได้ไหม เห็นว่ามีขายในออนไลน์แต่แพ งมากๆ ซึ่งปกติราคาของในเดนมาร์กก ็แพงอยู่แล้ว ยิ่งช่วงนี้ของหลายๆ อย่างหายากหรือมีจำกัด ก็ยิ่งมีราคาแพงขึ้นไปอีก อย่างพวกเจลล้างมือและแอลกอ ฮอล์ ราคาแพงขึ้น 1.5-2 เท่า
ตอนนี้โรงเรียน ร้านตัดผม และธุรกิจขนาดเล็กเริ่มกลับ มาทะยอยเปิดกันบ้างแล้ว แม้ว่าเดนมาร์กเป็นประเทศที ่เล็กมาก มีประชากรแค่ประมาณ 5.8 ล้านคนเท่านั้น และมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายวั นราว 100 คน แต่ทางการไม่ได้มองว่าต้องล ดจำนวนผู้ติดเชื้อให้เหลือ 0 คนเท่านั้น ถึงจะเปิดประเทศได้ เพราะเขาให้ความสำคัญกับการ ควบคุมอัตราผู้ติดเชื้อไม่ใ ห้เพิ่มสูงขึ้นไปมากกว่านี้ เพื่อที่ว่าระบบสาธารณสุขขอ งประเทศจะยังทำงานต่อไปได้ สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยอย่า งทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ”