life

ใช่น้องสองคนที่แร็ปหรือเปล่า เด็กมันเก่งนะ

เสียงตะโกนทักทายจากชายแปลกหน้าดังแว่วมาแต่ไกล ในขณะที่เขากำลังเดินเลียบทางรถไฟไปยังทิศทางที่ แร็ปเปอร์คนดังแห่งคลองเตยกำลังโพสต์ท่าให้ช่างภาพถ่ายรูป กลางแดดบ่ายปลายเดือนธันวาคม

School Town King

ตลอดทางที่บุ๊คและนนท์พาพวกเราเดินลัดเลาะไปตามตรอกแคบ รอบชุมชนล็อค ของพวกเขา มีเสียงทักทายจากเพื่อนบ้านดังขึ้นในทำนองนี้แว่วมาเป็นระยะ  

ชอบไหม ไปไหนก็มีแต่คนรู้จัก ขณะที่สายตาจับจ้องไปใน View Finder ช่างภาพก็เอ่ยถามกับนนท์ เพื่อให้นายแบบจำเป็นรู้สึกผ่อนคลาย ขณะที่ถูกกล้องถ่ายรูปจับจ้องจนอาจจะรู้สึกเกร็ง 

ไม่รู้เหมือนกันครับ ผมก็ไม่รู้ว่าจริงๆ เขาคิดยังไง ทักพวกผมด้วยความรู้สึกแบบไหนกันแน่ นนท์เผยความรู้สึกตามตรงถึงชีวิตที่เปลี่ยนไป ไม่เฉพาะหลังจากที่ภาพยนตร์สารคดี School Town King ฉายในโงภาพยนตร์อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมาเท่านั้น 

แต่ชีวิตของพวกเขาเปลี่ยนไปตั้งแต่เริ่มแร็ป และได้รับความสนใจในฐานะ แร็ปเปอร์แห่งคลองเตย

School Town King

เรื่องเล่าจากแดนสนธยาใจกลางมหานคร 

ชื่อของ บุ๊ค Elevenfinger และ นนท์ Crazy Kid อาจไม่ใช่ชื่อใหม่สำหรับคนที่ติดตามข่าวสารเป็นประจำ ที่น่าจะเคยได้ยินชื่อและเพลงของพวกเขามาบ้าง ด้วยความที่ทั้งคู่หยิบยกเอาวิถีชีวิตของชาวคลองเตยมาตีแผ่ในเพลงแร็ปที่แต่งเอง ร้องเอง ไม่ว่าจะเป็นเพลง จากเด็กสลัมเด็กเมื่อวานซืนเจ๋งพอ ฯลฯ ของบุ๊ค และเพลง สลัมคลองเตย ของนนท์ที่จะว่าไปก็ไม่ต่างอะไรกับบทเพลงเพื่อชีวิต ที่เลือกขับขานด้วยจังหวะและท่วงทำนองที่ต่างออกไป

School Town King

นับถอยหลังไปเมื่อ ปีก่อน ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างก็แร็ปไป เรียนไปตามปกติ ได้มีชายหนุ่มอีกหนึ่งคู่ที่ไม่ได้อยู่ในชุมชนคลองเตย แต่เคยมีปมด้านการศึกษาในวัยเยาว์ อยากเข้ามาทัศนศึกษาชีวิตของเด็กวัยเรียนในยุคปัจจุบัน 

พวกเขาคือ เบสท์ – วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย และ นัท – นันทวัฒน์ จรัสเรืองนิล คนทำงานด้านผลิตสื่อสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ทั้งนิทรรศการ ภาพเคลื่อนไหว มัลติมีเดีย ฯลฯ ภายใต้ชื่อทีม Eyedropper Fill ที่ตัดสินใจแตกหน่ออีกหนึ่งหน่วยงานออกมา ใช้ชื่อว่า Eye On Field แล้วจัดการปั้นโปรเจคท์แรกขึ้นมาเมื่อต้นปี 2562 ในชื่อ Connext Klongtoey โปรเจคท์ที่ชวนผู้ที่สนใจมาล้อมวงฟังเรื่องเล่าผ่านเสียงของเด็กคลองเตย ผ่านศิลปะ แขนง ประกอบด้วย ภาพถ่ายออกแบบแฟชั่นศิลปะสักลาย และการแต่งเนื้อร้องและทำนองแร็  

หลังจากจบโปรเจคท์นี้ ปรากฏว่ามีเด็กๆ ที่ยังสานต่อความตั้งใจด้วยการแร็ปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ได้แก่ บุ๊ค เด็กหนุ่มผู้มี 11 นิ้ว กับ นนท์ เด็กชายแก่นเซี้ยว นัทกับเบสท์งตัดสินใจคว้ากล้องมาบันทึกชีวิตประจำวันของพวกเขาต่อเนื่องอีก ปี ก่อนนำมาบอกเล่าผ่านภาพยนตร์สารคดี School Town King แร็ปทะลุฝ้า ราชาไม่หยุดฝัน ในที่สุด

School Town King
เบสท์ – วรรจธนภูมิ ลายสุวรรณชัย
ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง School Town King

ถึงเราจะอยู่ในกรุงเทพฯ ก็จริง แต่เราแทบไม่รู้เลยว่าคลองเตยเป็นบ้านของประชากรเจ็ดหมื่นกว่าคน และได้ชื่อว่าเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งผู้คนเหล่านั้นก็ใช้ชีวิตร่วมกับพวกเราในทุกๆ วัน เช่น เป็นแม่บ้าน เป็นยาม เป็นคนที่ทำงานในแต่ละที่ที่เราไป พวกเขาใช้ชีวิตปะปนกับพวกเรา แต่เรากลับรับรู้ถึงคำว่าคลองเตยในแง่เดียว ก็คือ ความน่ากลัว จนกลายเป็นตราประทับที่เด็กๆ ในชุมชนนี้ก็รู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำเหมือนกัน” เบสต์เปิดบทสนทนาถึงเหตผลที่เขาเลือกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตเยาวชนในชุมชนคลองเตย

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

ส่วนเหตุผลที่พวกเราเลือกเล่าเรื่องผ่านแร็ปเปอร์ เพราะอยากให้หนังเรื่องนี้มีเสียงของตัวคนอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งพอทั้งบุ๊และนนท์เป็นศิลปิน พวกเขาจึงเป็นเหมือนนักสื่อสารไปในตัว ส่วนเราในฐานะคนทำหนัง เป็นผู้สร้างสรรค์งาน ก็เท่ากับว่านักสร้างสรรค์มาทำงานด้วยกัน ผมเลยทำหนังเรื่องนี้เหมือนกึ่งๆ collaborate กัน การที่ใช้เพลงของพวกเขามาผสมอยู่ในหนังก็เหมือนกับเสียงของเขาได้ถูกพูดออกมา แล้วยิ่งเนื้อหาที่พูดกลั่นออกมาจากความเป็นเด็ก จึงยิ่งบริสุทธิ์ เราเลยได้ยินในมุมที่ อ๋อ จริงๆ แล้วเด็กที่โตมาเป็นวัยรุ่นขนาดนี้ เขาก็ยังรู้สึกโดนกดทับจากอะไรบางอย่าง ก็เลยรู้สึกว่านี่เป็นจุดที่น่าสนใจที่ทำไมถึงต้องเป็นคลองเตย ทำไมถึงต้องเป็นแร

School Town King
นัท – นันทวัฒน์ จรัสเรืองนิล
โปรดิวเซอร์แห่ง Eye On Field

แต่ตัวหนังเองจะเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามากกว่า” นัท โปรดิวเซอร์ประจำโปรเจคท์นี้ เสริมถึงใจความสำคัญของภาพยนตร์ “เพราะโปรเจคท์ Connext Klongtoey ก็เริ่มมาจากประเด็นเรื่องการศึกษา แต่พอเราเข้าไปเห็นปัญหาจริงๆ แล้วก็คิดไม่ออกเหมือนกันนะว่าต้องแก้ยังไง จะแก้แค่มิติการศึกษาอย่างเดียวคงแก้ไม่ได้ เพราะยังมีมิติอื่นๆ อีกเยอะมาก ซึ่งข้อดีของการเป็นหนังสารคดี คือ เราไม่ได้นั่งเทียนคิดขึ้นมาเอง แต่เรา capture สิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะไปปรากฏบนจอภาพยนตร์ ในหนังก็เลยมีประเด็นที่ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องของโรงเรียน การศึกษา เศรษฐกิจ รวมถึงความ Coming of Age ของตัวน้องๆ เองด้วย คนนึงกำลังจะจบม.อีกคนกำลังจะจบ ม.ประเด็นทั้งหมดนี้จึงกลมๆ อยู่ในหนังเรื่องนี้

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

แต่ School Town King ก็ดำเนินไปตามครรลองของหนังสารคดีทุกเรื่อง ที่แม้จะตีแผ่เรื่องราวประเด็นปัญหาหนักหนาแค่ไหน แต่ผู้กำกับก็ไม่สามารถกำหนดบทสรุปแบบชี้ชัดฟันธงลงไปได้ 

เพราะเนื้อหาที่ได้รับชมตลอดระยะเวลา ชั่วโมงในหนัง เป็นเพียงบทบันทึกความจริง ณ ห้วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ทั้งปัจจุบันและอนาคตของปมปัญหาต่างๆ ในเรื่องจึงจะยังคงดำเนินต่อไปแบบไร้สคริปต์ 

ดังนั้น ถ้าเปรียบชีวิตของบุ๊คและนนท์เป็นเพลงแร็ปสักเพลง เนื้อหาที่เราได้ชมใน School Town King ก็เป็นเพียงท่อนไรห์มในช่วงต้นของเพลงแห่งชีวิต ที่ยังต้องแต่งเติมเนื้อหาให้เข้ากับสารพันเหตุการณ์ที่จะต้องพบเจอต่อไปอีกหลายสิบไรห์ม

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

เราตั้งใจเอาไว้ว่าหนังเรื่องนี้คงไม่ได้บอกอะไรขนาดนั้น ไม่ได้บอกว่าแร็ดีหรือไม่ดี การศึกษาดีหรือไม่ดี มันเหมือนเป็นประตูบานนึงที่ทำให้คนเข้ามาเพื่อที่จะพูดคุยถกเถียงเกี่ยวกับมิติของปัญหาที่เกิดขึ้น แต่เมนหลักเส้นทางหลักคือ เรื่องการศึกษา ซึ่งมีอะไรเกี่ยวเนื่องกันอยู่เยอะแยะมากมาย ทั้งการบูลลี่ในโรงเรียน ไหนจะเรื่องทัศนคติของน้องๆ อีก เด็กเรียนคิดเห็นยังไง เด็กกิจกรรมคิดยังไ โปรดิวเซอร์แจงบทสรุปปลายเปิดของหนังที่ให้ผู้ชมได้นำไปตกตะกอนกันต่อไป 

เป็น (คนจับภาพชีวิต) วัยรุ่นมันเหนื่อย 

School Town King ไม่ใช่ผลงานกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกของรรจภูมิ เขาเคยบันทึกภาพชีวิตของคนฉายหนังในโรงหนัง stand alone แห่งย่านฝั่งธนที่กำลังจะเลิกกิจการและถูกทุบทิ้ง ในภาพยนตร์เรื่อง นิรันดร์ราตรี มาก่อนหน้านี้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การบันทึกภาพชีวิตมนุษย์วัยกลางคนกับมนุษย์วัยรุ่นย่อมแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

ทั้งสองเรื่องมีความยากเรื่อง subject แต่ยากไปคนละแบบ นิรันดร์ราตรียากตรงการรอคอย ซึ่งตอนนั้นผมยังเด็กด้วย เลยยังไม่รู้เลยว่าการทำสารคดีต้องทำแบบไหน ก็เลยถ่ายไป ตัดไป เฝ้ารอชีวิตเขาเรื่อยๆ 

ส่วนเรื่องนี้ยากเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรื่งแรกไม่มีอะไรเปลี่ยนเลย ลอยไปเรื่อยๆ เราก็รอการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชีวิตเขา ไม่มีคอนฟลิกท์ ส่วน School Town King มีคอนฟลิกท์ทุกวัน” เบสท์หัวเราะลั่น เมื่อนึกถึงกระบวนการทำงานที่ผ่านมา 

วันนี้ชอบอันนี้ อีกวันไม่เอาแล้ว” นัทยกตัวอย่างเพิ่มเติม

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

“School Town King ยากตรงที่บางทีเรา track ความคิดของน้องๆ ไม่ได้ การทำสารคดีเหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราตั้งสมมติฐาน แล้วไปถ่ายทำ พูดคุย ใช้ชีวิตอยู่กับเขา เพือที่ว่าสุดท้ายแล้วทุกอย่างที่เกิดขึ้นนั้นพิสูจน์ความคิดเราไหม แล้วกระบวนการนี้ก็เกิดวนไปเรื่อยๆ จนตัดต่อจนหนังเสร็จ 

สมมติว่าวันนี้ผมสัมภาษณ์บุ๊ ซึ่งเพิ่งคุยกันไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว พออาทิตย์นี้เขาเปลี่ยนคำตอบแล้ว ทำให้เรางงว่าจริงๆ แล้ว แนวคิดต่อเรื่องบางเรื่องสำหรับเขาคืออะไรกันแน่ จนผมต้องอาศัยการสำรวจซ้ำๆ ว่ามีเรื่องไหนบ้างที่ผ่านมา ปีแล้ว บุ๊ยังพูดคำเดิมอยู่ และพยายามเลือกพาร์ทเหล่านั้นมาอยู่ในหนัง เพราะผมเองก็รู้สึกว่ามันเป็นช่วงเวลาของวัยนี้ที่เกิดการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาเป็นปกติของเขา 

ก้อนที่อยู่ในหนังจะเป็นก้อนที่ stable ของน้องๆ ซึ่งเขาก็จะรู้สึกเองว่าไม่ได้เสียใจกับสิ่งที่ตัวเองทำลงไป ทั้งหมด เป็นการพัฒนา เป็นการเติบโตมากกว่า” ผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดบทบันทึกหนึ่งของช่วงชีวิตแร็ปเปอร์วัยรุ่นปิดท้ายด้วยความเข้าใ

ชีวิตของเด็กยุคนี้ค่อนข้างจะเรียลิตี้มากๆ เขาเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันเยอะ ซึ่งก็คงไปกระตุกเส้นอะไรบางอย่างของน้องๆทำให้เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่าเขาสามารถทำอไรกับเรื่องเหล่านี้ได้บ้าง

อย่างที่พี่เบสท์บอกว่าผมเปลี่ยนใจรายวัน การมีคนตามถ่ายก็เหมือนมีคนช่วยจดไดอารี่ให้เรา วันนึงเมื่อผมได้กลับมาดูในสิ่งที่ตัวเองอาจจะลืมไปแล้ว ผมจะได้ตระหนักและคิดถึงมันอยู่เรื่อยๆ บุ๊คเล่าถึงความรู้สึกของการมีคนมาถือกล้องเดินตามเพื่อบันทึกภาพเขาถึงในห้องนอน

School Town King
บุ๊ค – ธนายุทธ ณ อยุธยา

ช่วงแรกผมก็ตื่นเต้น เกร็งๆ แต่พอเจอกันนานเข้าผมก็ชิน ผมเป็นคนประเภทที่อยู่ไปนานๆ แล้วจะชิน เช่น โดนด่าบ่อยๆ ก็ชิน พอชินก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไร ใช้ชีวิตไปตามปกติ ปั่นคนโน้นคนนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ปั่นครูก็ปั่นพ่อแม่” นนท์ หนุ่มน้อยเจ้าของรอยยิ้มทะเล้นเล่าถึงการไม่ทิ้งความเป็นตัวของตัวเอง โดยนอกจากมุมของความเป็นตัวป่วน เขามีความมุ่งมั่นที่น่าจะไม่เผลอทิ้งไว้กลางทาง 

นนท์วางแผนจะศึกษาต่อมัธยมปลายในสายการเรียนศิลป์สังคม เพราะอยากเรียนทางด้านนิติศาสตร์ ฝันอยากเป็นทนายเพื่อช่วยเหลือผู้คนรอบตัว

School Town King
นนท์ – นนทวัฒน์ โตมา

ด้วยกระแสของการเมืองในช่วงปีที่ผ่านมา ที่ทั้งบุ๊คและนนท์ก็ออกไปมีส่วนร่วมกับการชุมนุมบ่อยๆ ทำให้เขาคงอยากศึกษาเพิ่มเติมด้วยว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้องอยู่หรือเปล่า” นัทเสริมถึงเบื้องหลังความตั้งใจของนนท์ ก่อนที่เจ้าตัวจะเล่าเพิ่มเติมว่า 

ผมชอบช่วยเหลือคนอื่น ทำให้ผมอยากจบไปเป็นทนาย ผมเห็นความเหลื่อมล้ำ เห็นคนโดนกดขี่มาเยอะ คนที่ควรจะนะในชั้นศลกลับต้องแพ้และติดคุก ผมเลยอยากเป็นทนายที่ยื่นมือไปช่วยคนที่ไม่มีตังค์แบบฟรีๆ 

ส่วนผตอนนี้ไม่ได้เรียนแล้ว ด้วยความที่ผมทำงานมาตั้งแต่ 9-10 ขวบ ผมมองว่าเราหาตังค์ได้ตั้งแต่เด็ แค่เราต้องรู้วิธีการหา ผมเลยคิดว่าทำงานดีกว่า เพราะเรียนจบยังไงก็ต้องทำงานอยู่ดี ผมคิดว่าผมรอไม่ได้ในการที่จะทำงานหรือหาตังค์ เลยต้องมุ่งมั่นที่จะหา เรียนรู้จากข้างนอก จากประสบการณ์ เพราะสิ่งที่โรงเรียนสอนส่วนใหญ่ก็มีใน YouTube หรือ Google อยู่แล้ว” บุ๊คแชร์อีกหนึ่งมุมมองในการดำเนินชีวิตที่เขาเลือกกำหนดเอง

School Town King

ผมสังเกตว่าเด็ก Gen C มักจะนึกถึงสังคมเยอะ อาจเป็นเพราะว่าเขาเติบโตในยุคที่ไม่ได้เห็นความสวยงามเท่ารุ่นของพวกผม ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนรุ่นพวกเรามีความยูโทเปียอยู่สูง มีเวลาได้เพ้อฝันถึงกวี แต่ชีวิตของเด็กยุคนี้ค่อนข้างจะเรียลิตี้มากๆ เขาเห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันเยอะ ซึ่งก็คงไปกระตุกเส้นอะไรบางอย่างของน้องๆ ทำให้เกิดการตั้งคำถามกับตัวเองว่า เขาสามารถทำอไรกับเรื่องเหล่านี้ได้บ้าง ผมว่าเด็กรุ่นนี้ส่วนใหญ่เป็นแบบนี้หมดเลย เด็ที่ออกมาชูสามนิ้วก็เป็นเซนส์ประมาณนี้” ผู้กำกับภาพยนตร์ออกความเห็นจากการได้ใกล้ชิดกับมนุษย์ต่างเจเนอเรชั่นในช่วงเวลาหนึ่ง  

ยุคเรากว่าจะถูกเปรียบเทียบกันทีนึต้องผ่านผู้ใหญ่ เช่น แม่พูดถึงคนข้างบ้าน อะไรแบบนั้น แต่น้องๆ เขาเกิดในยุคที่มีสื่อโซเชียลต่างๆ อยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นไอจี เฟสบุ๊ก ทำให้เกิดการเปรียบเทียบกัแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง จึงไม่น่าแปลกใจที่น้องๆ จะรู้สึกถึงสิ่งนี้พร้อมๆ กัน

School Town King
ภาพจากภาพยนตร์ School Town King

ในเมื่อแต่ละคนต่างก็เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในมือ อยากรู้อะไรก็ได้รู้ อยากแสดงออกก็ด้แสดงออก แล้วอะไรที่ทำให้ยังรู้สึกถึงความเหลื่อมล้ำหรือโดนกดทับอยู่ 

ุ๊คเอาจริงๆ ผมออกมาต่อสู้ตรงนี้ ผมไม่รู้เรื่องประชาธิปไตยหรอก แต่ว่าผมออกมาด้วยหลักของความเป็นคนมากกว่า ผมไม่รู้ว่ามันเชื่อมกันยังไงนะ ผมเห็นคนลำบาก โดนกดทับมา ผมรู้สึกว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อันไหนที่เราไม่รู้เราก็พยายามศึกษาไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะเข้าใจในจุดนี้ แต่ประเด็นหลักคือ เราจะทำให้มันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครต้องมาโดนกดทับอีกต่อไป  

นนท์: ผมเจอความเหลื่อมล้ำแทบทุกวันเลยนะ อย่างกลุ่มผมก็จะดูเกเรหน่อยในโรงเรียน แล้วครูก็จะเทไปในฝั่งเด็กดี อย่างเวลามีกิจกรรมที่ต้องออกไปทำในนามของโรงเรียน บางครั้งพวกผมก็อยากไปบ้าง แต่ทำไมต้องให้เด็กเรียนก่อน ไม่ให้พื้นที่เด็กอย่างพวกผมบ้าง ผมว่าไม่ว่าคนจะดีหรือไม่ดีควรได้รับสิทธิ์ที่เท่ากัน

School Town King

บุ๊ค: เช่น ไอ้นี่ใส่รองเท้านักเรียน ไอ้นั่นใส่รองเท้าแตะ เพราะไม่มีทุนทรัพย์พอที่จะไปซื้อรองเท้าหรือชุดนักเรียนดีๆ ได้ ผมว่าควรจะมองคนเท่าเทียมกัน ไม่มองที่เสื้อผ้า มองที่บทบาทและหน้าที่ที่เขาพึงปฏิบัติได้เพื่อโรงเรียนดีกว่า 

นนท์: เหมือนเป็นการสั่งสมให้เด็กไม่กล้าออกสิทธิ์ออกเสียง จนกลัวไปเลย ครูชอบพูดกับพวกผมว่า เธอเป็นเด็กไม่ดี แต่งกายไม่สุภาพ จนทำให้พื่อนๆ บางคนไม่กล้าพูด ไม่กล้าออกสิทธิ์ออกเสียง  

ตัวของพี่ๆ เองหลังจากคลุกคลีอยู่กับน้องๆ มานาน มีอะไรเปลี่ยนแปลในตัวเองบ้าง 

เบสท์: เปลี่ยนเยอะเลย อันดับแรก ผมเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้น เพราะเด็กวัยนี้เขาเจออะไรมาเยอะจริง หรือเป็นเพราะผมไม่ได้ไปตามเด็กกลุ่มอื่นหรือเปล่า แต่จากที่สังเกต ผมรู้สึกว่าน้องๆ กลุ่มนี้มีเรื่องที่อยากจะพูดเยอะ โดยเฉพาะการที่พวกเขาต้องมีทักษะการเอาตัวรอดเพิ่มเข้าไปด้วย สมมติปัญหาบางเรื่องสำหรับเด็กที่มีฐานะ เขาก็อาจจะเซฟตัวเองได้ แต่เด็กๆ กลุ่มนี้ต้องทำงานหาเงินเองด้วย ไม่ใช่แค่เรียนหนังสืออย่างเดียว

School Town King

และผมรู้สึกว่าการทำหนังถือเป็นความสัมพันธ์แบบนึ พอเราได้รับฟังเสียงของเด็ก gen นี้ จนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ทุกวันนี้ที่เขาออกมาชูสามนิ้วกันก็น่าจะเกิดจากปัญหาประมาณนี้แหละ เพราะจากที่ฟังสัมภาษณ์หลายๆ คนที่ออกมาเปนแกนนำ ที่บ้านก็มีปัญหาโดนกดทับมาเหมือนกัน เลยทำให้เขาต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่างออกมา ส่วนหนังเรื่องนี้ก็เป็นพาร์ทที่ฉายให้เห็นภาพก่อเกิดเหตุการณ์ที่เด็ก ออกมาประท้วงอย่างในทุกวันนี้ว่าอะไรกดทับพวกเขาอยู่ ผมอาจจะไม่ได้เข้าใจพวกเขาที่สุด ยังมีอีกหลายมิติที่ผมยังไม่รู้ แต่ในเบื้องต้น น้องๆ คนนี้ก็พอจะทำให้ผมเดาได้ว่า มันคงประมาณนี้แหละ 

นัทในฐานะที่ผมรับหน้าที่โปรดิวซ์ จึงต้องมีการวางแผนอยู่เสมอ ทำให้ผมต้องเริ่มที่จะเปิดใจเสียก่อน ซึ่งผมรู้สึกว่ากระบวนการเปิดใจอาจจะมาก่อนการเข้าใจด้วยซ้ำ มีหลายครั้งที่พวกเราไม่เข้าใจน้องๆ เลยว่า เฮ้ย มึงเปลี่ยนทำไมวะ เมื่อวานมึงยังคิดอย่างนี้อยู่เลย ทำแบบนี้ไปทำไม ทำแบบนี้มันโอเคแล้วจริงๆ เหรอ ฯลฯ เพราะเมื่อเราทำหน้าที่ผู้บันทึกเรื่องราว เราจะถูกผลักให้ไปอยู่ตรงสามแยกของการตัดสินใจในทุก วันว่า เรื่องนี้เราห้ามเขาดีไหม หรือจะปล่อยไป

“หนังเรื่องนี้คงไม่ได้บอกอะไรขนาดนั้น ไม่ได้บอกว่าแร็ปดีหรือไม่ดี การศึกษาดีหรือไม่ดี มันเหมือนเป็นประตูบานหนึ่งที่ทำให้คนเข้ามาเพื่อที่จะพูดคุยถกเถียงเกี่ยวกับมิติของปัญหาที่เกิดขึ้น”

คราวนี้มันจะเกิดความเข้าใจหลังจากนั้นจริงๆ แต่เราต้องเปิดใจด้วยการไม่ห้ามพวกเขาให้ได้ก่อน ด้วยความที่ตัวผมเองโตมาในครอบครัวที่ค่อนข้างจะ traditional ที่เน้นการห้ามมาโดยตลอด ซึ่งจริงๆ แล้วการห้ามมันเบียดบังความเป็นไปได้ต่างๆ เยอะมาก

ในตอนนี้ personal interest ของน้องทั้งสองคนอาจะยังเกาะอยู่ในเพลงเหมือนเดิม แต่จริงๆ แล้วความคิดหรือการกระทำของเขาพัฒนาไปมากกว่านั้น ซึ่งถ้าตอนนั้นเราตัดสินใจห้ามพวกเขา คงไม่ต่างอะไรกับการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ซึ่งอาจจะทำให้ไม่เกิดหนังเรื่องนี้ขึ้น หรือหนังอาจจะไม่เกิดเวอร์ชั่นที่กลมในแบบที่เราชอบอย่างในตอนนี้ก็ได้ ผมจึงคิดว่าการเปิดใจก็เป็นสเตจที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคนเหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าหนังเรื่องนี้เป็นประตู ก็อยากให้เป็นประตูที่ช่วยเปิดใจคน ด้วยการไม่ด่วนตัดสินใครไปก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม

School Town King

  • ติดตามผลงานของ บุ๊ค Elevenfinger ได้ทาง YouTube: Elevenfinger