pe©ple

1.

เวลามีใครให้ความสนใจถามว่า ทำไมต้องทำงานเกี่ยวกับหนัง ฉันมักจะนึกย้อนไปถึงบรรยากาศวันที่ลูกสาวเพิ่งกลับมาจากโรงเรียน

“แม่ วันนี้มีเพื่อนมาแซวหนูด้วยล่ะ ว่า ‘แม่เธอฉายหนังอะไรอยู่อะตอนนี้ เรารู้นะ ทะลึ่งจัง’

วันนั้นลูกสาวกลับจากโรงเรียนแล้วเล่าเรื่องนี้ให้ดิฉันฟังแทนคำทักทาย

“หืม? ทะลึ่งจังคืออะไร หมายถึงเรื่อง The Dreamers น่ะเหรอ”

ใช่แล้ว เธอหมายถึงหนังเก่าของ แบร์นาโด แบร์โตลุชชี่ เรื่องนั้น เรื่องที่หมิ่นเหม่ชวนลุ้นว่าจะไม่ได้ฉาย ค่าที่มันมีอย่างน้อยสองครั้งที่เราได้เห็นภาพอวัยวะเพศของตัวละครใหญ่บึ้มเต็มจอ แต่ท้ายที่สุดหนังก็ผ่านการพิจารณามาได้อย่างงดงามด้วยเรต 20+ และทำให้มันได้เข้าฉายในระบบพาณิชย์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในไทย แลกกับการที่ผู้ชมต้องยื่นบัตรประชาชนก่อนเข้าโรงเพื่อยืนยันว่าอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

ดิฉันไม่แปลกใจกับคำแซวของเพื่อนลูก อย่าว่าแต่เด็ก ทุกครั้งที่โปรโมทหนังเรื่องนี้บนช่องทางอื่นๆ คอมเมนต์สองแง่สามง่ามที่แสดงความตื่นเต้น หรือต่อต้าน ต่อการที่หนังมีฉากเปลือยโจ๋งครึ่มก็ปรากฏให้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่เข้าใจได้

และอันที่จริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเด็นในหนังถูกเปิดขึ้นในบทสนทนาของครอบครัว ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดิฉันต้องพยายามขบคิดว่าควรตอบลูกอย่างไร และก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพยายามจับฉวยจังหวะนั้นเป็นโอกาสของการชวนลูกให้แสดงความเห็นหรือพูดคุยต่อเนื่องสู่เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คำทักเรื่อง The Dreamers เปิดช่องให้ดิฉันได้คุยกับลูกในเรื่องที่ยามปกติอาจหาจังหวะพูดถึงได้ไม่ง่ายหรือราบรื่นนัก เราคุยกันว่าอะไรควรเรียกว่า “โป๊” อะไรควรเรียกว่า “ทะลึ่ง”

โป๊ต้องทะลึ่งไหม ทะลึ่งต้องโป๊ไหม โป๊แล้วผิดไหม ทะลึ่งได้มั้ยคนเรา เราควรหรือไม่ควรเหมารวมมันเป็นสิ่งต้องห้าม ฯลฯ และด้วยหนังเรื่องเดียวกันนี้ เมื่อขยับขยายพื้นที่ไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์บนช่องทางสื่อสารกับผู้ชม เนื้อหานั้นก็ขยายตามไปสู่เรื่องของเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้กำกับ

ความโป๊เปลือยมีนัยทางการเมืองหรือไม่ ทำไมมันต้องปรากฏคู่เคียงกับฉากต่อสู้บนท้องถนนของนักศึกษาในปารีสยุค 1960 ทั้งหมดนั้นสะท้อนความเคลื่อนไหวในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์อย่างไร และทำไมนี่จึงเป็นหนึ่งใน “หนังมีฉากโป๊” ที่ไม่ควรถูกหยุดพินิจพิเคราะห์ตรงแค่ความโป๊ของมัน

ดิฉันไม่แปลกใจกับคำแซวของเพื่อนลูก อย่าว่าแต่เด็ก ทุกครั้งที่โปรโมทหนังเรื่องนี้บนช่องทางอื่นๆ คอมเมนต์สองแง่สามง่ามที่แสดงความตื่นเต้น หรือต่อต้าน ต่อการที่หนังมีฉากเปลือยโจ๋งครึ่มก็ปรากฏให้เห็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่เข้าใจได้

และอันที่จริง นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ประเด็นในหนังถูกเปิดขึ้นในบทสนทนาของครอบครัว ไม่ใช่ครั้งแรกที่ดิฉันต้องพยายามขบคิดว่าควรตอบลูกอย่างไร และก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราพยายามจับฉวยจังหวะนั้นเป็นโอกาสของการชวนลูกให้แสดงความเห็นหรือพูดคุยต่อเนื่องสู่เรื่องที่เกี่ยวข้อง

the dreamers

คำทักเรื่อง The Dreamers เปิดช่องให้ดิฉันได้คุยกับลูกในเรื่องที่ยามปกติอาจหาจังหวะพูดถึงได้ไม่ง่ายหรือราบรื่นนัก เราคุยกันว่าอะไรควรเรียกว่า “โป๊” อะไรควรเรียกว่า “ทะลึ่ง”

โป๊ต้องทะลึ่งไหม ทะลึ่งต้องโป๊ไหม โป๊แล้วผิดไหม ทะลึ่งได้มั้ยคนเรา เราควรหรือไม่ควรเหมารวมมันเป็นสิ่งต้องห้าม ฯลฯ และด้วยหนังเรื่องเดียวกันนี้ เมื่อขยับขยายพื้นที่ไปสู่การนำเสนอคอนเทนต์บนช่องทางสื่อสารกับผู้ชม เนื้อหานั้นก็ขยายตามไปสู่เรื่องของเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้กำกับ

ความโป๊เปลือยมีนัยทางการเมืองหรือไม่ ทำไมมันต้องปรากฏคู่เคียงกับฉากต่อสู้บนท้องถนนของนักศึกษาในปารีสยุค 1960 ทั้งหมดนั้นสะท้อนความเคลื่อนไหวในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์อย่างไร และทำไมนี่จึงเป็นหนึ่งใน “หนังมีฉากโป๊” ที่ไม่ควรถูกหยุดพินิจพิเคราะห์ตรงแค่ความโป๊ของมัน

the dreamers scene
(photo: https://www.reddit.com)

เมื่อวานนี้เองที่เพิ่งมีผู้ถามดิฉันเรื่องการจัดโปรแกรมฉายหนังว่า การนำหนังที่มักถูกประทับตราว่าเข้าใจยากหรือสนุกน้อยกว่าหนังทั่วไปมาฉายนั้น มีจุดประสงค์อะไรกันแน่และจะเอาตัวรอดทางธุรกิจได้จริงไหม

breaking habits
(photo: https://www.facebook.com/TheWarehouse30)
vincent
(photo: www.imdb.com)
trainspotting
(photo: https://www.sothebys.com)
holy-motors03
(photo: https://countertransferencethefilm.wordpress.com)

คำถามแรกตอบไม่ยากนัก ตลอดการทำงานที่ผ่านมาดิฉันหมกมุ่นกับการพยายามสื่อสารว่า ในโลกกว้างขวางใบนี้มีภาพยนตร์มากมายหลากเนื้อหาหลายวิธีนำเสนอ มันคงไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ทั้งสำหรับคนทำหนังและคนดูหนังที่จะต้องถูกตีกรอบการทำและการชมไว้ภายใต้โจทย์ทางการตลาดแคบๆ ซึ่งโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่เป็นผู้กำหนด การหาหนทางให้หนังเล็ก หนังแปลกประหลาด หนังนอกกระแสทั้งหลายแหล่มีโอกาสได้เดินทางมาถึงผู้ชมจึงเป็นความสนุก ความสุข และภารกิจกลายๆ ของคนมากมาย ไม่เฉพาะดิฉัน แต่รวมถึงคนที่ก้าวเข้าสู่งานจัดจำหน่ายเผยแพร่หนังแบบอิสระซึ่งต่างทำงานที่ตนเชื่อถือศรัทธา

ที่ตอบยากกว่ามากคือคำถามที่สอง แน่นอนว่าพวกเราทำงานโดยรู้ทั้งรู้ว่าไม่มีวันร่ำรวย หรือแม้แต่จะเข้าใกล้กับคำว่าเติบโตทางธุรกิจจนกินดีอยู่ดีอะไรขึ้นมาได้ แต่จะตอบว่าเรายอมอดมื้อกินมื้อด้วยความรักก็ดูจะเพ้อเจ้อไปสักหน่อย ดิฉันมักพยายามตอบคำถามนี้ตามความเป็นจริงมากที่สุดว่า เหตุผลที่ยังอยู่รอดได้เพราะเราต้องพยายามทำให้มันอยู่รอดให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยการลดต้นทุนการทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่ยังทำให้งานดูดีเหมาะสม และเพิ่มปริมาณงานให้มากที่สุดเพื่อเพิ่มระดับรายได้ขึ้นตาม

ลงทุนน้อย เก็บเล็กเก็บน้อย และทำงานหนัก ฟังดูไม่ค่อยใช้วิถีการทำงานที่น่าพิสมัย แต่ประมาณนี้แหละ ความเป็นจริงของสิ่งที่เราหลายคนก็พบอยู่

3.

อย่างไรก็ดี คำถามยากที่สุดที่ได้ยินเมื่อวานนี้ กลับเป็นคำถามที่รูปประโยคดูเหมือนง่ายแสนง่าย – “ตกลงเราดูหนังกันไปทำไม การดูหนังคืออะไรกันแน่”

“เราดูหนังเพื่อที่จะเหงาน้อยลง”
– ทอม แฮงค์ส –
.
“การดูหนังเป็นหนทางให้คนเราได้เข้าใจมนุษย์ที่แตกต่างจากเรา”
– มิเชลล์ โอบาม่า –
.
“ผมจินตนาการไม่ออกว่าชีวิตเขาจะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไม่มีหนัง เพลง และหนังสือ”
– โจเซฟ กอร์ดอน เลวิตต์ –
.
“ภาพยนตร์เปรียบได้ดังหน้าต่างบนผนัง
เพราะมันเปิดโอกาสให้เราได้มองเห็นโลกใบนี้ผ่านสายตาของคนอื่น”
– โรเจอร์ อีเบิร์ต –

นั่นสิ การดูหนังคืออะไรกันแน่ แต่ละคนคงมีเหตุผลเป็นของตัวเอง ทอม แฮงค์ส บอกว่าเราดูหนังเพื่อที่จะเหงาน้อยลง มิเชลล์ โอบาม่า บอกว่าการดูหนังเป็นหนทางให้คนเราได้เข้าใจมนุษย์ที่แตกต่างจากเรา โจเซฟ กอร์ดอน-เลวิตต์ บอกว่าเขาจินตนาการไม่ออกว่าชีวิตเขาจะเป็นอย่างไร หากโลกนี้ไม่มีหนัง เพลง และหนังสือ โรเจอร์ อีเบิร์ต บอกว่าภาพยนตร์เปรียบได้ดังหน้าต่างบนผนัง เพราะมันเปิดโอกาสให้เราได้มองเห็นโลกใบนี้ผ่านสายตาของคนอื่น

หลังจากคิดวนเวียนอยู่หลายนาที ดิฉันขอเลือกเอาคำตอบของ ทิม เบอร์ตัน ที่ว่า เราสนใจหนัง เพราะหนังทำให้เรารู้สึกและใคร่ครวญ ไม่ใช่หนังทุกเรื่องที่จะ “อยู่กับเรา” เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ ในชีวิต นั่นคือบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วจากเราไป ขณะที่บางสิ่งก็คงอยู่ในใจเราอย่างนั้น

 

“เราสนใจหนัง เพราะหนังทำให้เรารู้สึกและใคร่ครวญ ไม่ใช่หนังทุกเรื่องที่จะอยู่กับเรา เช่นเดียวกันกับสิ่งอื่นๆ ในชีวิต” – ทิม เบอร์ตัน

 

สำหรับดิฉัน การดูหนังไม่ได้หมายถึงแค่การใช้เวลาไปกับการจับจ้อง ฟัง และรู้สึกกับภาพหรือเสียงที่เคลื่อนไหวอยู่บนจอ ทว่าความหมายแท้จริงอยู่ตรงสิ่งที่หนังสร้างให้เรานั้น ยังคงมีอายุต่อเนื่องยาวนาน ติดค้างอยู่ในใจเรา ในสมองเรา ท้าทายให้เราคิด ทำให้เราหัวเราะหรือร้องไห้เมื่อนึกถึง มากกว่านั้นคือทำให้เราหันไปมองรอบตัวด้วยสายตาใหม่ กระตุ้นเร้าให้เราอยากไปหาหนังสืออ่าน หาเพลงมาฟัง อยากคุยกับใครสักคนหรือหลายๆ คน อยากค้นพบเรื่องนั้นเรื่องนี้มากขึ้น อยากอยู่ในโลกอย่างเข้าอกเข้าใจสิ่งมีชีวิตและไร้ชีวิตทั้งหลายให้มากขึ้น

ดิฉันคิดเอาเองว่า เหตุผลที่หลายคนอดทนทำสิ่งที่ยาก ซึ่งให้ผลตอบแทนไม่มากนัก กินเวลากินแรงหนักหนา โดยให้คำตอบแค่ว่าเพราะนั่นเป็นงานที่ชอบอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกถ้วนทั้งหมด เพราะแท้จริงแล้วคำอธิบายเบื้องหลังของงานนั้นคือ เมื่อคนเราตระหนักว่างานของเราพอจะมีความหมายอะไรสักอย่าง เมื่อนั้นเราก็พลอยตระหนักว่าชีวิตของเราพอจะมีความหมายอยู่บ้างเช่นกัน และมันเป็นความรู้สึกดีที่บ่อยครั้งทำให้เราทนทานกับความยุ่งยากได้อย่างไม่น่าเชื่อ

มาร์ติน สกอร์เซซี คนทำหนังที่ดิฉันชอบมาก เคยบอกว่า “หนังคือการผสมผสานของสิ่งที่อยู่ในเฟรมภาพ และสิ่งที่อยู่นอกเฟรมนั่น”

ดิฉันคิดว่านี่ช่างเป็นคำอธิบายของสิ่งที่เราทำได้ดีมากๆ เพราะนั่นแปลว่าเรากำลังก้มหน้าก้มตาทำงานซึ่งสัมผัสได้

เพื่อจะยินดีปรีดาไปกับผลที่ตาของเราอาจมองไม่เห็น.

 

ขอบคุณภาพคุณธิดา จาก a day BULLETIN โดย ณัฐริกา มุคำ